การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

ขยายความประเด็นทบต้น ไม่ทบต้น จากหนังสือคิดและเทรดอย่างแชมป์ หน้า 120

 มีนักเรียนที่ลงคอร์ส Swing trade ถามประเด็นนี้ครับ ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก ผมเลยเขียนบทความตอบไปดังนี้

คำถามคือเขาลงสัย "นัย" ของตารางนี้ครับ


หน้า 120 ของหนังสือ คิดและเทรดอย่างแชมป์

มันหมายความแบบนี้ครับ :

(ผมตีเป็นเงินบาทก็แล้วกันนะ)

๑) ช่องแรกที่ไม่ทบต้นนั้น เขาจะ fix position size ที่ 100,000 ทุกครั้ง หมายความว่า ครั้งที่เขาได้กำไร 50,000 แม้จะได้เงินรวมเป็น 150,000 แต่เขาจะกันเอากำไร 50,000 เก็บเข้ากระเป๋าไว้ไม่เอาไปลงเทรดด้วย เขาจะเทรดแค่ 100,000 เดียวเท่านั้น(เสมอ) วิธีนี้ทำให้เขามีกำไรติดกระเป๋าไว้เสมอ และ ควบคุมความเสี่ยงได้ดีกว่าครับ


๒) ข้อดีของแนวทางนี้คือ เมื่อเขาขาดทุน จะเสียเท่าที่ size ที่ลงไป เท่านั้น

ครั้งที่สอง position size ที่ 100,000 เขาขาดทุนเสียไป 40,000 ก็จริง แต่เขาก็เหลือเงินสดออกมา 60,000 บาท เมื่อเอาไปรวมกับที่ติดกระเป๋าไว้ก่อนหน้านี้ 50,000 ก็จะมีเงินรวม 110,000

ซึ่งครั้งต่อไปเขาก็จะ ดึงเอาไปเทรดแค่ 100,000 เหมือนเดิม (มีเงินสดติดกระเป๋าไว้ 10,000)


๓) พอครั้งต่อไป ลงเงินเทรดแค่ 100,000 เขาได้ชนะกำไร 50% ก็จะได้เงินสดเข้ามาเพิ่มอีก 50,000 บาท เมื่อรวมกับต้นทุนเดิม 100,000 รวมกับที่ติดกระเป๋า 10,000 บาท ก็จะรวมเป็น 160,000 บาท


๔) ต่อไป เขาก็จะคง position size ที่ 100,000 อีก ไปเรื่อย ๆจนครบ 24 ครั้ง


๕) การทำแบบนี้ทำให้เงินทุนของเขา ไม่โดนทำลายทั้งก้อน เหมือนคนที่สอง ที่ทบต้นทั้งก้อนครับ


น่าจะเห็นภาพนะครับ


๖) จุดสังเกตคือ การลง Position size ใหญ่ คุณจะรวยถ้าคุณชนะทุกครั้ง

แต่คุณจะซวย ถ้ากลยุทธ์ของคุณแม่นยำต่ำ + %ตัดขาดทุนโตเกิน ครับ


๗) จุดสังเกตอีกเรื่องคือ ระบบนี้มี Win rate 50%, Risk:Reward 1:1.25 ดูเหมือนว่าจะเป็นระบบที่ทำเงินได้ แต่เมื่อสองคนเทรดระบบเดียวกันทำไมมีคนได้กำไรกับขาดทุนล่ะ? คีย์สำคัญก็คือ:

** เทคนิค Position size คุณต้องเอามาใช้ร่วมด้วยครับ

** การจำกัดขาด Risk ให้เสียน้อยที่สุด ก็สำคัญไม่แพ้กันครับ (ลองคิดต่อเล่น ๆ นะครับ ถ้าคนที่สอง เขาตัดขาดทุนแค่ 10% จะเป็นยังไง?)


"การทบต้น จิตใจสภาพจิตวิทยา ที่เสียเสียมาก ได้ได้มาก แต่ควบคุมความเสี่ยงที่ 10%"

จากนั้น นักเรียนคนเดิมก็ถามต่ออีกว่า

(ตอบคำถามนักเรียน)

"การทบต้น จิตใจสภาพจิตวิทยา ที่เสียเสียมาก ได้ได้มาก แต่ควบคุมความเสี่ยงที่ 10%"

เป็นคำถามที่น่าสนุกในการหาคำตอบมากครับ

ผมคิดเล่น ๆ ก็ได้ 6 ประเด็นนี้ครับ 

1) การยอมเสียมากเพื่อแลกกับการได้มาก (Dead or Alive) คือ ทัศนคตินักพนันครับ แบบนี้ในระยะยาว "เจ๊ง" แน่นอนครับ เงินหมด สภาพจิตพังแน่นอนครับ

.

2) การควบคุมความเสี่ยงที่ 10% เป็นเรื่องที่ดีมากนะครับ เพราะมันจำกัดการสูญเสียให้คุณ + และถ้าคุณสามารถการันตีกำไร(หรือได้บ่อย) 50%  คุณก็จะรู้สึกดีกับการตัดขาดทุน 10% อย่างมากเลยครับ

10% ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชไป

ผมว่าเรื่องนี้ทำได้เลย ใจไม่เสียแน่



3) แต่ปัญหาก็คือ ถ้าคุณต้องการกำไร 50% ต่อการเทรดทุกครั้ง มันเป็นไปได้ยาก ตามธรรมชาติแล้ว จาก 10 ตัว คุณจะเจอแค่ 2 ตัวเท่านั้นเองครับ

ดังนั้น ความคาดหวังของคุณต้องสมจริงด้วยครับ อย่าคาดหวังว่าต้องได้กำไรแถมยังต้องได้ 50% ด้วย แบบนี้ทำลายสุขภาพจิตแน่นอนครับ

.

ผมมองว่า นี่อาจเป็นแนวทางของการซื้อแล้วถือ ที่นักลงทุนที่ยังไม่สำเร็จ(แต่เกือบ ๆ แล้วนะ)ส่วนใหญ่ทำกัน

.

4) ปล. ถึงกระนั้น ผมมอว่า การทนรวยให้ได้กำไร 50% นั้นเป็นไปได้ แถมมี Win rate 50% ตามที่พี่มาร์คยกมาให้ดูนั้น มันเป็นไปได้ -- เพียงแต่คุณต้อง "แลก" กับการยอมขาดทุน 40% ต่อตัว เพื่อเพิ่ม Win rate ให้สูงขึ้นครับ (ยิ่งขนาดการขาดทุนแคบ ก็ยิ่งโดน stop loss บ่อย ทำให้ Win rate ลดลงต่ำครับ แต่ถ้าคุณถ่างให้กว้าง คุณก็จะโดน stop น้อยลง Win rate ก็จะสูงขึ้นครับ)

.

หมายความว่า ถ้าคุณตัดสินใจ Stop loss 10% ตัวเลขจะเปลี่ยนไปทันที ไม่ใช่แบบที่ในตารางแน่นอนครับ

.

5) ประเด็นคือ คุณจะยอมได้มั้ย?  Drawdown 40% จึงค่อยขาย?

และถ้าคุณยอมแล้วคุณจะเสียอะไรไป มันคุ้มค่ากับการเสี่ยงมั้ย?

คุณจะยอมแลกกับการหมดตัวไว(Dead) กับ การรวยเร็ว(Alive)มั้ย

.

6) ถ้าคุณเลือกที่จะบริหารความเสี่ยง คุณต้องแลกกับการรวยที่ช้าลง

คุณต้องยอมให้ความสม่ำเสมอ เวลา และการทบต้น ช่วยงานคุณครับ

ถ้าคุณอยากสบายใจกับการเทรด ต้องให้เวลาเป็นเพื่อน เท่านั้นครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)