Stop Loss ไม่ใช่แค่เรื่องของ กี่เปอร์เซ็นต์ หรือ ตัดยังไง ตัดแบบไหน แต่ควรเป็นเรื่องของ "ทำไมต้องตัดขาดทุน"
- Get link
- X
- Other Apps
ตัดขาดทุน ไม่ใช่แค่เรื่องของ กี่เปอร์เซ็นต์ หรือ ตัดยังไง ตัดแบบไหน
แต่ควรเป็นเรื่องของ "ทำไมต้องตัดขาดทุน"
เพราะ
๑) เราเทรดตามความเชื่อส่วนตัว/อคติเฉพาะตัว
ถ้าคุณเทรดด้วยความเชื่อว่า การเทรดช่วยให้คุณรวยไว มีสูตรสำเร็จ คุณจะตัดขาดทุนได้ยาก เพราะเจตนาสวนทางกัน
๒) ถ้าอยากตัดขาดทุนได้ง่าย ต้องเปลี่ยนความเชื่อใหม่ ว่า
- คุณคิดผิดได้ตลอด และ อะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดหุ้น
- รู้ไวและยอมรับได้ไว ว่าเมื่อไหร่ที่คิดผิด
- หุ้นทุกตัวน่าระแวงหมด
- หุ้นที่วิ่งขึ้น = หุ้นดี
- หุ้นที่วิ่งลง = หุ้นแย่ (ไม่เกี่ยวกับพื้นฐาน)
๓) Position Sizing คือเคล็ดลับ
- มีเงินเดิมพันเยอะในผู้ชนะ น้อยมากในผู้แพ้
- ตัวอย่างง่าย ๆ คุณมีหุ้น A เป็นผู้แพ้ ติดลบ7%
กับหุ้น B เป็นผู้ชนะ บวก 5%
ถ้าดูแค่เปอร์เซ็นต์ จะเป็นว่าแทบไม่ต่างกัน
แต่ถ้าคุณ position sizing เป็น โดยให้หุ้นผู้แพ้ยังคงมีเงินเดิมพันแค่ 1,000 บาท แต่ผู้ชนะมีเงินเดิมพัน 50,000 บาท
ความต่างชัดเลย เพราะหุ้น A คุณเสียแค่ 70 บาท
หุ้น B คุณได้กำไรแล้ว 500 บาท
ตัดขาดทุนเสียเงิน 70 บาท ง่ายกว่า 7,000 บาทแน่นอน
การรู้จักบริหารเงินทุน คือ ตัวเปลี่ยนเกม
๔) แต่ทั้งนี้ กว่าที่คุณจะบริหารเงินทุนได้แบบนี้ คุณต้อง
- แยกแยะผู้แพ้กับผู้ชนะได้ดี
- รอคอยเก่ง อดทนได้นาน โดยเฉพาะกับหุ้นผู้ชนะ
- กล้ากำจัดหุ้นอ่อนแอ อ่อนแอก็แพ้ไป ถ้าดีพอก็พร้อมให้รางวัล
- ถ้าคุณมี "ฝูงหุ้นผู้ชนะ" ที่ค้ำพอร์ตอยู่มากพอ คุณจะตัดขาดทุนผู้แพ้ได้ง่ายมาก และมีแต้มต่อในการให้รางวัลและตัดขาดทุน
- ผู้ชนะคือหุ้นนำตลาด ไม่ใช่ laggard
- คุณไม่ควรเชื่อใจหุ้นตัวใดตัวหนึ่งตั้งแต่แรก ด้วยการทุ่มเงินก้อนโตเต็มโควตาตั้งแต่ไม้แรก = ประมาทมาก
- คุณคือนักบริหาร ไม่ใช่ นักพนัน
- คุณต้องบริหารหุ้น ไม่ใช่เป็นทาสของหุ้น
- Copy trade ไม่มีทางยั่งยืนเท่า Copy Why
๕) ผู้ชนะสนใจวิธีคิด ส่วนผู้แพ้สนใจวิธีทำ
- Get link
- X
- Other Apps