เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

Image
Leoš Mikulka กับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและการจดบันทึกการเทรด   การแสวงหาการวัดผลเป็นตัวเลข: วิธีบริหารอารมณ์ขณะเทรด แปลจาก https://tradingresourcehub.substack.com/p/leos-mikulka-practical-risk-management-journaling อินโทรเวิร์ท เทรดเดอร์: สร้างเงินล้านด้วยธุรกิจตัวคนเดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1NjkwMjt9 PART 1: เส้นทางการเทรดของฉัน    ตลอดอาชีพการเทรดของฉัน ฉันได้ผ่านช่วงเวลาหวือหวาขึ้นลงมากมาย (ช่วง ‘รุ่งเรืองและล่มสลาย’ – Boom and Bust)   ฉันเกือบล้างพอร์ตครั้งแรกในปีที่สามของการเทรด   หลังจากทำกำไรได้ 40–50% ในปีที่สอง ฉันก็ตกหลุมพรางยอดฮิตของนักเทรดมือใหม่ที่ได้แรงหนุนจากตลาดที่ดี แม้ว่าจะตัดสินใจผิดพลาดก็ตาม:   ฉายภาพกำไรเหล่านั้นไปสู่จินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นมหาเศรษฐี   โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การกำหนดขนาดสถานะ (Position Sizing) ฉันจึงไม่พ...

วิธีการที่ช่วยนักเทรดที่ขาดทุนซ้ำซาก หมดตัว พอร์ตไม่โต ตลอด 15 ปี พลิกไปได้กำไรสม่ำเสมอหลังจากนั้น

วิธีการที่ช่วยนักเทรดที่ขาดทุนซ้ำซาก หมดตัว พอร์ตไม่โต ตลอด 15 ปี

พลิกไปได้กำไรสม่ำเสมอหลังจากนั้น คือ...

คิดและเทรดแบบรถถัง + ฟังตลาด + โฟกัสกระบวนการ และเลือกสัญญาณซื้อแค่ 1-2 ตัว

.

1. คิดและเทรดแบบรถถัง:

ตั้งรับให้ดี เสียให้น้อยก่อน รอจนโอกาสดี ๆ เข้ามาจึงจัดหนัก

รีบตัดขาดทุนตั้งแต่เสียหายเล็ก ๆ น้อย

เพื่อเก็บเงินสดก้อนโต รอโอกาสดี ๆ 

การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเพียงอย่างเดียวของเขาคือ การปรับความเสี่ยงต่อการเทรดของลงเป็น 0.25-0.5% ของเงินทั้งพอร์ตเท่านั้น

การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณเสียหายจากหุ้นผู้แพ้น้อยลง

.

2. ฟังตลาด:

เทรดตามอารมณ์ตลาด ตามความแข็งแรงของหุ้น ไม่ใช่ตามใจตนเอง

อย่าดื้อ เถียงตลาด อย่าแก้แค้นหลังจากขาดทุน เพราะมันจะทำให้คุณขาดทุนหนักกว่าเดิม เพราะเทรดตามอารมณ์

ฟัง feedback จากตลาดให้ดี เช่น ถ้าคุณขาดทุนแสดงว่าตลาดแย่(หุ้นตัวนั้นแย่) ก็ให้ถอนตัวออกมา อย่าไปยุ่งกับมันในตอนนั้น

แต่ถ้าหากคุณได้กำไร แสดงว่าหุ้นตัวนั้น มันเป็นของดี ควรทนรวยกับมันให้นาน จนกว่ามันจะจบแนวโน้ม

คุณควรบุกหนักในตอนที่ตลาดเงินง่าย

และเทรดให้น้อยหรือถือเงินสดอยู่เฉยๆ เมื่อตลาดได้เงินยาก 

.

3. โฟกัสกระบวนการ และเลือกสัญญาณซื้อแค่ 1-2 ตัว:

ยิ่งโฟกัสที่ผลลัพธ์ ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการเทรดตามอารมณ์เท่านั้น และที่ร้ายแรงจากนั้นก็คือ มันจะทำให้คุณเปลี่ยนกลยุทธ์ไปเรื่อย เพราะอยากได้กลยุทธ์ที่จะทำให้คุณ "พอใจทันที พอใจทุกครั้ง" ซึ่งมันไม่มีอยู่จริง

.

แต่ถ้าโฟกัสที่กระบวนการ มันจะช่วยให้คุณใจเย็น และบริหารจัดการการเทรดของคุณได้ดีขึ้น

วิธีการง่าย ๆ คือ เลือกหน้าเทรด หรือ สัญญาณซื้อแค่ 1-2 แบบพอ

ทุกสัญญาณซื้อมันทำเงินให้คุณได้แน่ เพียงแต่มันไม่ได้กำไรทุกครั้ง

ทุกสัญญาณซื้อ มีจุดอ่อน จุดแข็ง อยู่ในนั้น

เมื่อคุณเข้าใจสัญญาณซื้อได้ดีมากพอ คุณจะเริ่มหใ้ความสำคัญกับกระบวนการมากขึ้นตาม เพราะการเทรดที่ได้กำไรสม่ำเสมอนั้น มันขึ้นอยู่กับ  "การบริหารการเทรด+Position Sizing" ไม่ใช่แค่สัญญาณซื้อ

ถ้าคุณใช้สัญญาณซื้อเยอะ ๆ คุณจะต้องเจอปัญหา Overtrading แน่นอน

.

อ่านเนื้อหาเต็ม ๆ ได้ที่ https://x.com/AsymTrading/status/1793003052770734246

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่