แนะนำอีบุ๊ก "เคล็ดลึก Position Size ปั้นพอร์ตเล็กให้เติบใหญ่ อย่างมั่นคง"

Image
โปรโมชั่นลดราคา 1-3 เมษายน นี้เท่านั้น ที่ https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1OTI2OTt9 “การเทรดไม่ใช่แค่เรื่องของการซื้อให้ถูกและขายให้แพง... แต่มันคือศิลปะแห่งการ ‘วางเดิมพัน’ อย่างชาญฉลาด” หากคุณเคยเทรดหุ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นรายวัน สวิง หรือถือระยะยาว มีสิ่งหนึ่งที่คุณอาจยังไม่เคยให้ความสำคัญมากพอ นั่นก็คือ...“ขนาดของสถานะ - เรียกภาษานักเทรดว่าขนาดไม้ (Position Size) ที่คุณใช้ในแต่ละดีล” คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับจุดเข้า (Entry), การดูกราฟ, อินดิเคเตอร์, ข่าว, หรือแม้แต่สูตรลับที่ได้มาจากกูรู แต่กลับละเลยคำถามง่าย ๆ ที่สามารถเปลี่ยนเกมได้ทั้งชีวิตการเทรด: - “คุณจะใส่เงินเท่าไหร่ในดีลนี้?” - “ถ้าขาดทุน คุณจะเสียกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต?” - “ถ้าชนะ คุณจะเพิ่มขนาดสถานะไหม?” ผมขอชวนคุณตั้งใจอ่านอีบุ๊กเล่มนี้ ไม่ใช่แค่เพื่อ “รู้” แต่เพื่อ “เข้าใจ” และ “ลงมือใช้” ในสิ่งที่นักเทรดระดับโลกทำกันทุกวัน จากสนามแข่งสู่สนามจริง อีบุ๊กเล่มนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์จริงของนักเทรดที่เข้าแข่งขันในเวทีระดับโล...

"ผมชอบระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% มากกว่า 75%" - Mark Minervini

ผู้คนมักจะประหลาดใจเสมอ 

เมื่อได้ยินผมบอกว่า 

"ผมชอบระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% มากกว่า 75%"

.

ผมมีเหตุผล ว่าทำไม

เพราว่า ระบบเทรดที่มีความแม่นยำ 25% นั้น มันอนุญาตให้ผมทำผิดพลาดได้หลายครั้ง(ผิด 7 ครั้ง จากทั้งหมด10 ครั้ง) แต่ผมก็ยังมีกำไรติดมือ

นี่แหละที่ผมเรียกว่า "การเอาความผิดพลาดมาใส่ในระบบ"

ผมพยายามที่จะสร้างระบบที่ "ความผิดพลาดไม่อาจทำลายผมได้"

ระบบที่แม้ผมจะคิดผิดได้หลายครั้ง แต่ผมก็ยังได้กำไร

.

ในการเทรดนั้น คุณไม่สามารถควบคุมความแม่นยำได้เลย

เพราะคุณไม่อาจควบคุมราคาหุ้นหลังจากที่คุณซื้อไปแล้วได้เลย

พูดง่าย ๆ คือ คุณมีโอกาสผิดพลาดได้เสมอ

ดังนั้นกลยุทธ์ของผมคือ ผมจะต้องไม่พึ่งพาความแม่นยำมากเกินไป

.

ผมจะหันไปจัดการกับสิ่งที่ผมสามารถควบคุมได้แทน

นั่นคือ "ความเสี่ยง"

แม้ผมจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของราคาหลังจากที่ซื้อได้

แต่ผมสามารถแบ่งเงินซื้อให้เสี่ยงต่ำได้

ผมสามารถตัดขาดทุนให้เสียน้อยได้

ผมสามารถเลือกที่จะไม่เทรดได้ ฯลฯ

.

ถ้าผมควบคุมขนาดความผิดพลาดจากหุ้นผู้แพ้ได้

แล้วผมสามารถทนรวยในหุ้นผู้ชนะให้ได้กำไรมากกว่าขนาดโดยเฉลี่ยของความเสียหายจากการตัดขาดทุนได้หลาย ๆ เท่า

ด้วยกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับรางวัลที่เป็นธุรกิจที่ดีนี่เอง

ที่ช่วยให้ผมยังคงทำเงินได้สม่ำเสมอ...แม้จะผิดพลาดบ่อยก็ตาม

- Mark Minervini

(อาจแปลไม่ตรงกับคำพูดเป๊ะ ๆ นะครับ

แต่มันน่าจะขยายความให้ท่านเข้าใจประเด็นที่แกอยากจะสื่อได้ดีขึ้น"

จากหนังสือ Think and Trade Like a Champion

.

ปล. ขอเสริมข้อเท็จจริงของแกอีกนิด

๑) ความจริงแล้วระบบเทรดของพี่มาร์ค ไม่ได้แม่นยำ 25% หรอก

ความแม่นยำโดยเฉลี่ยประมาณ 50%

๒) ที่แกยก "ความแม่นยำ 25%" มาพูดนั้น เพื่อให้เห็นภาพแตกต่างชัดเจน

๓) แกตั้งใจจะบอกกับเราว่า อย่าไปจริงจังกับความแม่นยำมาก(โดยเฉพาะถ้าคุณเลือกสไตล์สวิงเทรดแบบแกนะ) เพราะไม่มีใครควบคุมความแม่นยำได้หรอก(ขนาดแกเองที่เป็น Market Wizards ผู้ซึ่งปั้นพอร์ตโต 30,000 ยังทำไม่ได้เลย) 

๔) แกต้องการจะสื่อว่า ที่แกทำกำไรจากการเทรดได้สม่ำเสมอนั้น มันมาจากระบบเทรดที่มี "การควบคุมความเสี่ยง + บริหารความเสี่ยงต่อรางวัลที่เป็นธุรกิจ + ทบต้นกำไร" ไม่ใช่ระบบเทรดที่มีความแม่ยำสูงแต่อย่างใด

๕) เหนืออื่นใด ผมตีความว่า แกอยากให้พวกเรา "อย่าได้รังเกียจความผิดพลาดและอย่าได้หนีมัน" แต่จง "เอาความผิดพลาดมาอยู่ในการควบคุม" ให้ได้ดีที่สุดต่างหาก ก็ในเมื่อคุณไม่อาจหนีความผิดพลาดได้ - ทำไมคุณไม่เอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบไปเลย! นี่ต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่