การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

ทำไมช่วง 6 ปีแรกของอาชีพนักเทรดของพี่ Mark Minervini จึงพอร์ตพัง-หมดตัว? และจุดเปลี่ยนที่ทำให้กลับมาเป็นผู้ชนะคืออะไร?

"เพื่อให้ทุกอย่างมันเคลียร์ 100% 

ผม(จะบอกความจริงให้คุณรู้ทั่วกันว่า)ได้ทำผิดพลาดนับพันครั้งตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีแรก(ผมพลาดเละเทะมาก)

... แต่กุญแจสู่ความสำเร็จในระยะยาวของผมคือ การหลีกเลี่ยงความเสียหายจากความผิดพลาดครั้งใหญ่ และยอมให้หุ้นที่ดีที่สุดเป็นแนวทางในการลงทุนของผมเสมอ โดยผมจะไม่โต้เถียงกับคำตัดสินของตลาดเด็ดขาด"

- Mark Minervini


จากภาพบน ตรงที่เป็นกรอบสีแดงคือช่วงแรกที่พี่มาร์คเข้าสู่ตลาด

ทั้ง ๆ ที่ตลาดเป็นขาขึ้นแต่แกก็ยังทำเงินไม่ได้

๑) เหตุผลคือในตอนนั้น แกใช้กลยุทธ์ซื้อหุ้น laggard หุ้นที่ทำจุดต่ำสุดใหม่แบบวีไอมือสมัครเล่นทำ หาหุ้นไม่เป็น ซื้อหุ้นตามคำแนะนำของมาร์เก็ตติ้งให้เล่นหุ้นปั่นสตอรี่ ซ้ำร้ายคือ

- แกไม่ขายไม่ขาดทุน

- และ ถัวเฉลี่ยขาดทุน

จึงทำให้พอร์ตพัง หมดตัวไป

(ปัญหาไม่ใช่แนวทางวีไอ - แต่เป็นเพราะแกรู้ไม่จริง และไม่มีการบริหารความเสี่ยงเลย)


๒) แกกลับมาอีกครั้ง พร้อมเงินก้อนใหม่ และเปลี่ยนมาร์เก็ตติ้งใหม่ แต่ด้วยความที่คบกันแบบคู่คิดคู่แข่ง ทำให้ตอนที่ขาดทุนไม่กล้าบอกให้ตัดขาดทุน(ในอดีตนั้น จะซื้อขายหุ้นต้องให้มาร์เก็ตติ้งทำให้) จึงอมพะนำไว้ ทนเก็บหุ้นขาดทุนไว้ก่อน รอให้ราคากลับมาเท่าทุนก่อนจึงค่อยเกทับกัน แต่ปัญหากลับร้ายแรงหุ้นนั้นยังลงหนักต่อ ก็ยังหน้าบางไม่ให้มาร์เก็ตติ้งคู่ซี้ขาย จึงหมดตัวไปอีกรอบ (ปัญหาคือ -ไม่ขายไม่ขาดทุน)


๓) จุดเปลี่ยน คือแกได้เรียนวิชาจากปู่โอนีล กับ พี่เดวิด ไรอัน จึงได้แนวทางคัดหุ้นแบบ CAMSLIM ใช้พื้นฐาน+เทคนิคอล มาปรับใช้

- ตั้งปณิธานว่า อยากจะเก่งเหมือน เดวิด ไรอัน (ซึ่งเป็นคนรุ่นราวคราวเดียวกัน) ให้ได้

- โดยกุญแจสำคัญคือแกจริงจังกับ

-- การตัดขาดทุน 

-- การบริหาร Risk Reward ที่เป็นธุรกิจ 

-- รู้จักรอคอย-ตลาดแย่ไม่เทรด 

- - จะเทรดแบบจัดหนักเฉพาะตอนที่ตลาดเป็น Easy Money เท่านั้น

-- มุ่งเน้น ทบต้นกำไร แทนที่จะทบต้นความผิดพลาด


๔) จากนั้นผลงานก็ดีขึ้น และกลับมาปั้นพอร์ต เติบโตพุ่งทะยาน และแข่ง US Investing Championship ได้แชมป์อีกต่างหาก

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)