ตัวตนที่แท้จริงของนักวิจารณ์ภายใน คือ ตัวตนของเราในวัยเด็ก
- Get link
- X
- Other Apps
ตัวตนที่แท้จริงของนักวิจารณ์ภายใน คือ ตัวตนของเราในวัยเด็ก เด็กที่น่าสงสาร ที่ตัวสั่นเทาเพราะ “กลัวว่าตนเองจะถูกตำหนิและปฏิเสธ” จิต(วิญญาณหลอนของ)เด็กคนนี้แหละที่คอยกดดันเราให้รับรู้ตลอดเวลาที่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่แสนน่ากลัวมาก่อน โดยเฉพาะการถูกทิ้งขว้าง
จากหนังสือ "ใช้สมองพลังบวก เอาชนะอารมณ์ลบ"
เราจึงต้องทำความเข้าใจและยอมรับให้ได้ว่า “เด็กคนนี้คืออดีต” อดีตได้ตายไปแล้ว มันเป็นเพียงแค่ชุดความทรงจำ ที่เป็นมโนคติเท่านั้น ตัวตนของนักวิจารณ์เด็กคนนี้ไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอก เราไม่ควรโกรธเขาด้วยซ้ำ แต่ให้มองเขาด้วยความเอ็นดู พยายามนึกน้อนกลับไป(หรือศึกษาว่า)แท้จริงแล้ววิญญาณเด็กคนนี้เขายังคงกลัวอะไรอยู่ เพราะอะไรถึงกลัวมากขนาดนั้น
เบื้องหลังความกลัวของวิญญาณเด็ก มีประมาณนี้
ถ้าอยากได้รับความรัก ก็ต้องมีอะไรมาโชว์หน่อย
ถ้าไม่มีใครเข้าใจ แล้วจะมีประโยชน์อะไร
ถ้าไม่ทำให้เสร็จ จนใครว่าอะไรไม่ได้ เขาก็คงเห็นเป็นเรื่องตลก
คนอื่น ๆ ใช้ชีวิตอย่างบ้าคลั่ง แล้วฉันจะอยู่อย่างสบายใจแบบนี้ได้หรือ
ชีวิตจะพัง ถ้าไม่ทำตามที่วางแผนไว้
ถ้าเป็นแบบนี้ คนอื่นก็คงผิดหวังในตัวฉัน
ไม่อยากสร้างความวุ่นวาย เลยต้องเลี่ยงความขัดแย้ง
ความเชื่อของนักวิจารณ์ภายใน มักจะได้รับอิทธิพลมาจากพ่อ แม่ กลุ่มเพื่อน หรือสื่อต่าง ๆ ได้ปลูกฝังลงในใจของเราทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว จนกลายเป็นกฎเหล็กที่เราต้องทำตามโดยไม่รู้ตัว
และความเชื่อเหล่านี้จะมีอทธิพลต่อทัศนคติ ที่เรามีต่อชีวิตอยู่ในโหมดเพื่อความอยู่รอด ทุกความเชื่อที่ว่า “ต้อง…ให้ได้นะ” หรือ “ห้าม…เด็ดขาดนะ” เป็นกรอบความคิดที่น่าจะเกิดขึ้นตอนที่เรารู้สึกถูกคุกคาม ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เหมือน “ถ้าประมาท…แกตายแน่”
ในโหมดของความอยู่รอดนั้น ความรู้สึก กังวล กลัว จะครอบงำประสาทสัมผัสทั้งหมดของเราไว้ จึงกลายเป็นปิดกั้นไม่ให้มองโลกแบบผจญภัย
อย่าได้ขับไล่ อย่าโกรธเคืองนักวิจารณ์ภายใน เพราะเขาเป็นแค่วิญญาณเด็กที่ตัวสั่นเทิ้มเพราะความกลัวเท่านั้นเอง สิ่งที่เราควรทำก็คือ “เฝ้ามอง” หรือ “รับรู้สิ่งที่เขาพยายามจะบอก” ยอมรับมัน แล้วหมั่นบอกเขาว่า “โลกนี้ไม่ได้เต็มไปด้วยสิ่งที่น่ากลัวเหมือนที่เธอคิดหรอกนะ”
- Get link
- X
- Other Apps