Posts

Showing posts from October, 2022

การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ "จิตวิทยาการเทรด" คือ สร้างความเชื่อมั่นในระบบเทรด

Image
วิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ "จิตวิทยาการเทรด" คือ สร้างความเชื่อมั่นในระบบเทรด 1. ระบบเทรดที่ให้ positive expectancy ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ เป็นระบบที่มี win rate 40-50% ก็ทำเงินได้แล้ว หมายความว่า ใน 10 ครั้ง ต้องตัดขาดทุน 5-6 ครั้งเลยทีเดียว 2. คุณต้องมีศรัทธาในระบบว่าทำเงินแน่ แม้จะต้องเจอการขาดทุนติดต่อกัน 3. การขาดทุนและตัดขาดทุนจะไม่ทำให้จิตใจของคุณหวั่นไหวถ้าคุณมีศรัทธาในระบบ 4. และเมื่อคุณรู้ชัดและเชื่อว่ายังไงซะการเทรดของคุณจะต้องเจอการตัดขาดทุน มันจะทำให้คุณเปิดใจรับกับมันและมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างดีที่สุด 5. มันจะทำให้คุณให้ความสำคัญกับ position sizing มากขึ้น เพื่อลดขนาดของความเสียหายเมื่อคุณคิดผิด 6. เมื่อคุณจำกัดขนาดความเสียหายให้อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ "สภาพจิตใจ" ของคุณก็จะมีความเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวต่อการขาดทุน ส่งผลให้คุณมีความมั่นใจในการทำตามแผนมากขึ้น (เพิ่มเติมจากหนังสือ "จิตวิทยาการเทรด")

เคล็ดในการเอาความรู้การเทรดฝรั่งไปใช้งาน

Image
1. บอกตัวเองไว้ก่อนเลยว่า มันไม่ได้แม่นยำทุกครั้ง (แม้แต่เมืองฝรั่งเองก็ไม่แม่น) แม่นสัก 50% ก็ทำเงินได้แล้ว (ถ้าไม่เชื่อข้อนี้ เลิกไปเลยดีกว่า) 2. กราฟมันไม่เลือกตลาดหุ้น/ตลาดเก็งกำไรเฉพาะหรอก มันเกิดได้ทุกที่ เพราะมันสะท้อนอารมณ์ความโลภ/ความกลัวของมนุษย์ ที่ไม่ว่าชาติไหน/ประเทศไหนก็เป็นมนุษย์ มีโลภ มีกลัว มีความกลัวสูญเสียเหมือนกัน 3. เลือกเอาสัก 1-2 แบบไปใช้ก็พอ 4. เอาไปใช้ร่วมกับ - การบริหารความเสี่ยง ยอมเสี่ยงเท่าไหร่ก่อน - Risk Reward ที่เป็นธุรกิจ - Position sizing ที่เป็นธุรกิจ (การเทรดเป็นธุรกิจสุดซีเรียส ไม่ใช่ซื้อหวยที่กะเอาแม่นอย่างเดียว คุณต้องรู้จักบริหารการเทรดให้เป็นด้วย) 5. จำไว้เสมอว่าการเทรดด้วยกราฟ ไม่ใช่แค่การจำกราฟแล้วฝากความหวังกับมัน แต่ต้องมีการบริหารการเทรดด้วย นี่จึงเป็นการยืนยันว่า การเทรดที่สำเร็จนั้นต้องประกอบด้วย Psychology 60% Money management 30% Methods 10% 6. อย่าได้ฝากชีวิต/ความหวังไว้กับ 10% มองโลกให้กว้าง รู้จักบริหารความเสี่ยง ผ่านการเข้าใจชีวิตจริง แล้วคุณจะเทรดอย่างมีความสุขและรอดได้

อย่าได้เทรดเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพไปวันๆ อย่าให้การขาดทุนทำให้คุณดูโง่

Image
อย่าได้เทรดเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพไปวันๆ อย่าให้การขาดทุนทำให้คุณดูโง่ ๑. อย่าได้เทรดเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพไปวันๆ - อย่าเฝ้าจอ เฝ้าการสวิงของกราฟขึ้นลง เพราะมันจะทำให้คุณร้อนรน เทรดสั้นเพราะกลัว และหวั่นไหวตั้งคำถามกับกลยุทธ์ - หางานอดิเรกทำระหว่างเวลาเทรด ๒. จงมองการเทรดว่าเป็น "สงครามทางจิต" ไม่มีใครเอาปืนมาจี้คุณให้ซื้อขายหุ้นเลย คุณตัดสินใจเองทั้งสิ้น - คุณต้องวางแผน และทำตามมันเท่านั้น - บริหารความเสี่ยง เงินทุนให้ดีที่สุดก่อน ๓. อย่าให้เงินทำให้คุณดูโง่ - กลัวขาดทุน ไม่อยากเสียเงิน - เสี่ยงมากเกินเพราะหน้ามืด - ไม่รู้จุดออก - ไม่สนใจการปกป้องเงินทุน วิธีแก้คือ วางแผนให้ครอบคลุม

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)