เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

Image
Leoš Mikulka กับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและการจดบันทึกการเทรด   การแสวงหาการวัดผลเป็นตัวเลข: วิธีบริหารอารมณ์ขณะเทรด แปลจาก https://tradingresourcehub.substack.com/p/leos-mikulka-practical-risk-management-journaling อินโทรเวิร์ท เทรดเดอร์: สร้างเงินล้านด้วยธุรกิจตัวคนเดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1NjkwMjt9 PART 1: เส้นทางการเทรดของฉัน    ตลอดอาชีพการเทรดของฉัน ฉันได้ผ่านช่วงเวลาหวือหวาขึ้นลงมากมาย (ช่วง ‘รุ่งเรืองและล่มสลาย’ – Boom and Bust)   ฉันเกือบล้างพอร์ตครั้งแรกในปีที่สามของการเทรด   หลังจากทำกำไรได้ 40–50% ในปีที่สอง ฉันก็ตกหลุมพรางยอดฮิตของนักเทรดมือใหม่ที่ได้แรงหนุนจากตลาดที่ดี แม้ว่าจะตัดสินใจผิดพลาดก็ตาม:   ฉายภาพกำไรเหล่านั้นไปสู่จินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นมหาเศรษฐี   โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การกำหนดขนาดสถานะ (Position Sizing) ฉันจึงไม่พ...

ผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่นักเทรดสมบูรณ์แบบ ยังคงขายหมู ตกรถ ตัดขาดทุน

(ผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่นักเทรดสมบูรณ์แบบ)

มีคนสงสัยว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว ยังคงขายหมู ตกรถ ตัดขาดทุนด้วยเหรอ?

คำตอบก็คือ ใช่ครับ ผู้เชี่ยวชาญก็ยังมีการขายหมู คัทแล้วเด้ง ตกรถ เหมือนมือสมัครเล่นนั่นแหละ

ความต่างระหว่างนักเทรดมือสมัครเล่น(เม่า) กับ นักเทรดผู้เชี่ยวชาญ(มืออาชีพ)

๑) ถ้าคุณไม่เชื่อ ให้กลับไปอ่านหนังสือ Momentum Master,  หนังสือชุด Market Wizards ก็มีบอกความผิดพลาดเรื่องนี้เช่นกัน แม้แต่เซียนหุ้นบ้านเราเองคุณลองไปดูคลิปให้สัมภาษณ์เขาให้ดีครับ ว่าทุกคนล้วนมีปัญหาเรื่องเหล่านี้กันทั้งสิ้น ไม่มีใครเลี่ยงได้หรอก

.

๒) เหตุผลที่เขา ขายหมู คัทแล้วเด้ง ตกรถ เพราะเขาเทรดตามระบบของเขา ที่โฟกัสกระบวนการตามระบบ ที่มี Risk reward ตามระบบของเขาเอง ถ้าระบบสั่งให้ตัดขาดทุนเขาก็มีวินัยทำตามโดยไม่อิดออด ส่วนจะคัทแล้วเด้งไม่ใช่ปัญหาของเขา เพราะเขาควบคุมผลลัพธ์ไม่ได้ เขาไม่รู้อนาคตหรอก ก็แค่ทำตามระบบเท่านั้น

.

๓) การขายหมู คัทแล้วเด้ง ตกรถ เป็นสิ่งที่เม่าเอามาบูลลี่กันเองทั้งนั้นแหละ มืออาชีพเขาไม่สนหรอก เพราะเขาโฟกัสไปที่กระบวนการ มากกว่าผลลัพธ์

.

๔) ความสมบูรณ์แบบ คลีนชีต เป็นความเชื่อที่มือสมัครเล่นเข้าผิดมาก ว่ามืออาชีพนั้นต้องไม่พลาดเลย(เม่าเลยเทรดแบบกดดันตัวเองไง) ความจริงแล้วไม่ใช่ครับ นักเทรดที่ทำเงินได้สม่ำเสมอนั้นมี win rate 40-60% เท่านั้นเองครับ ตัดสินใจถูกครึ่งผิดครึ่งเป็นเรื่องปกติ ตัดขาดทุนเป็นเรื่องปกติ

.

๕) ตัวชี้วัดว่าใครจะทำกำไรสม่ำเสมอ ไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบหรอกนะครับ แต่มันคือ การบริหาร Risk Reward ที่เป็นธุรกิจ เฉลี่ยแล้วได้กำไร เขามาทำธุรกิจ ไม่ใช่พิสูจน์ว่าตัวเองถูก/สมบูรณ์แบบ

.

๖) เซียนเขารู้เรื่องนี้ดี ว่าเขาไม่จำเป็นต้องชนะ/คิดถูกทุกครั้งก็ปั้นพอร์ตให้รวยได้ เขาจึงกล้าตัดขาดทุน โฟกัสที่กระบวนการ และบริหารความเสี่ยงอย่างจริงจังไงครับ

.

๗) มันไม่สำคัญว่าคุณชนะกี่ครั้งแพ้กี่หน

แต่มันสำคัญตรงที่ว่า ตอนคุณชนะ คุณได้กำไรมากแค่ไหน ตอนคุณแพ้คุณเสียน้อยแค่ไหน

การรู้ตัวไวว่าเมื่อไหร่ที่คิดผิด คือกุญแจสำคัญครับ

.

๘) ลองเปลี่ยนจากการพยายามกดดันตัวเอง "ไม่ให้ขายหมู ไม่ให้คัทแล้วเด้ง ไม่ให้ตกรถ" ไปเป็นทำตามกระบวนการตามแผนการเทรดของตนเองเท่านั้นดูครับ สภาพจิตของคุณจะโล่งโปร่งสบายกว่าเดิม และคุณจะได้ผลงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอนครับ

.

๙) ผู้เชี่ยวชาญ ก็มีความเป็นมนุษย์เหมือนมือสมัครเล่น

เพียงแต่ใช้ mindset คนละชุด โฟกัสคนละจุดกับเม่า

เป็นด้านที่ขัดกับธรรมชาติมนุษย์ทั่วไนี่เป็นเหตุผลว่าทำไม  "จิตวิทยาการเทรด" จึงสำคัญ เป็นสิ่งมือสมัครเล่นควรทำความเข้าใจให้ดี




7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่