นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่!

Image
นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่! แปลและขยายความจาก  https://x.com/markminervini/status/1850913591630680378 นักเทรดหลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่า “งาน” หรือสิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการทำกำไรให้ได้มากที่สุด ในความจริงแล้ว เป้าหมายของการเทรดคือการทำเงิน แต่งานจริง ๆ ของนักเทรดนั้นคือการปฏิบัติตามและดำเนินกลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างมีวินัยโดยไม่หลุดออกจากกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าคุณสามารถยึดมั่นในกฎการเทรดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ตามมาคือกำไรและความสำเร็จจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป้าหมาย vs งานจริงของนักเทรด - เป้าหมาย  คือการทำเงินและสร้างผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้โดยตรง - งานจริง  ของนักเทรดคือการใช้กลยุทธ์ที่มีโอกาสชนะให้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีวินัย ยึดมั่นในแผนการเทรดที่ตั้งไว้ การทำตามกฎของตัวเองอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้คุณจัดการกับความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ ทำไมวินัยจึงสำคัญในงานของนักเทรด การมีวินัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเทรดมีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น การไม่มีวินัยในการเทรดจะทำให้นักเทรดเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

9 ประเด็น จากหนังสือ Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ

9 ประเด็น จากหนังสือ Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ



๑. สมองมีวิวัฒนาการมาเพื่อช่วยให้คุณเอาตัวรอดได้แต่ก็ยึดเอาตัวรอดพื้นฐาน 3 อย่างของสมองก็ทำให้คุณต้องมีความทุกข์ด้วย

- แยกสิ่งที่ในความเป็นจริงเชื่อมโยงกันอยู่ออก (แต่มันไม่มีทางแยกกันได้ขาด)
- พยายามทำสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคงที่ (แต่ปัญหาคือทุกอย่างในโลกเปลี่ยนแปลงตลอด)
- ยึดติดอยู่กับความเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว(แต่สุข/พอใจก็จะไม่ยืนยาว) และพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (แต่มันก็จะมาอยู่เรื่อย ๆ หนีไม่พ้น)

๒. หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ ก็ได้ออกเทศนาสอนชาวอินเดีย ให้รู้วิธี
- ดับไฟแห่งความโลภความโกรธเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณธรรม
- ทำใจให้นิ่งและมีสมาธิเพื่อที่จะมองทะลุความสับสนภายในใจออกไปได้
- พัฒนาญาณอยั่งรู้ อันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น

๓. สมองเติมสีสันให้กับประสบการณ์ของคุณด้วยลักษณะของความรู้สึกต่างๆทั้งที่น่าพอใจไม่น่าพึงพอใจหรือเฉยๆเพื่อที่จะคุณจะได้เข้าหาสิ่งที่น่าพึงพอใจหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจและก้าวต่อไปข้างหน้าจากสิ่งที่คุณอยู่เฉยๆ

๔. วิวัฒนา(สมอง)การสร้างให้เราใส่ใจกับประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจเป็นพิเศษ อคติที่เอนเอียงไปในทางด้านลบเช่นนี้ทำให้เรามักมองข้ามข่าวดี เน้นย้ำข่าวร้าย และสร้างความวิตกกังวล และการมองโลกในแง่ร้าย
- เป็นที่น่าสังเกตว่าสมองมีแนวโน้มที่จะนำความทรงจำแฝงเร้นไปในทิศทางลบ(ให้เราเห็นตลอด) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่แล้วประสบการณ์ของคุณในความเป็นจริงจะเป็นเรื่องบวกก็ตาม

๕. ลูกดอกสองลูก
- ความไม่สบายกายสบายใจบางอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มันเป็นรูปดอกแรกของชีวิต
- แต่(สมองทำให้)เรามีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อลูกดอกลูกแรกด้วยยาพิษตัวใดตัวหนึ่ง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธเกลียด และความหลง ซึ่งยาพิษแต่ละตัวก็มีตัณหาความทะยานอยากเป็นหัวใจของมัน ก็เท่าเรากับว่าเราได้ปาลูกดอกที่ 2 ใส่ตัวเราเองและผู้อื่น
- คนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาการโดนกระหน่ำโจมตีด้วยลูกดอกลูกที่ 2 อย่างต่อเนื่องเรื้อรังซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายมากมายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพวกเขา(ไม่รู้ว่ากำลังทำร้ายตัวเอง)

๖. การเจริญสติภาวนาจะไปเพิ่มเนื้อเยื่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความตั้งใจ ความใส่ใจ ความมีเมตตา และความเข้าอกเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น
นอกจากนี้ยังเป็นผลดีต่อการ(เยียวยา/บรรเทาความ)เจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆอีกมาก ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น ช่วยทำให้การทำงานทางจิตดีขึ้นด้วย

๗. แนวทางการเจริญภาวนา
- คุณฝึกการภาวนาได้ไม่ว่าจะเป็น เดิน นั่ง หรือ นอน
- สามารถเริ่มต้นด้วยเวลาสั้นๆแม้สัก 5 นาทีก็ยังดี
- หายใจเข้าลึกๆ จะหลับตาหรือไม่ก็ได้ และพยายามผ่อนคลายร่างกายให้ตระหนักรู้ถึงเสียงที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับลงแล้วปล่อยให้มันเป็นไปอย่างที่มันเป็น
- สังเกตลมหายใจรู้สึกถึงอากาศเย็นที่เข้าไปในตัวเมื่อหายใจเข้าและอากาศอุ่นที่ออกจากตัวเมื่อหายใจออก ดูความเคลื่อนไหวที่หน้าอกและท้องที่พองขึ้นและยุบตัวลง
- มีสติรับรู้ได้ว่ามีอะไรผ่านเข้ามาในใจ ตระหนักรู้ถึงความคิดและความรู้สึก ความหวังและแผนการ ภาพและความทรงจำที่ระดมเข้ามา รับรู้มันและก็เข้าใจว่าทุกๆสิ่งจะเข้ามาแล้วก็ออกไป ปล่อยให้มันเป็นอย่างที่เป็น อย่ายึดติดอยู่ในความคิดความรู้สึกใดๆ อย่าพยายามไปต่อสู้หรือสงสัยตื่นเต้นกับมัน

๘. อุเบกขา หมายถึงการไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ ต่อปฏิกิริยาตอบโต้ของคุณ ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร
อุเบกขา ช่วยสร้างกันชนรอบๆความรู้สึกที่มาพร้อมกับประสบการณ์ต่างๆ เพื่อที่คุณจะไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อความรู้สึกนั้นๆ ด้วยตัณหา ความทะยานอยาก
อุเบกขา เป็นเหมือนตัวตัดกระแสไฟฟ้า ที่คอยกั้นลำดับการทำงานตามปกติของใจ ที่เริ่มจากความรู้สึก ไปยังตัณหา ความทะยานอยาก ไปยังความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งนำไปสู่ความทุกข์ในที่สุด
- สร้างอุเบกขาด้วยการพยายามมีสติระลึกรู้ให้มากขึ้นถึงความรู้สึกที่มาพร้อมกับประสบการณ์ต่างๆ บอกตัวเองว่าความรู้สึกเหล่านั้นมาแล้วก็ไป และไม่คุ้มเลยที่จะคอยวิ่งตามหรือคอยต่อต้านขัดขืน

๙. สิ่งที่จะช่วยส่งเสริมการมีสติในชีวิตประจำวัน
- ทำสิ่งต่างๆให้ช้าลง
- พูดให้น้อยลง
- ให้ทำทุกสิ่งทีละอย่าง พยายามลดการทำหลายๆสิ่งพร้อมกัน
- ให้คุณตามดูลมหายใจในระหว่างที่ทำกิจวัตรประจำวัน
- ผ่อนคลายเข้าสู่ความรู้สึกของการมีความสงบสุขุม เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น เสียงเรียกโทรศัพท์ การเข้าห้องน้ำ หรือ การดื่มน้ำ ให้มันทำหน้าที่เหมือนระฆังวัดคอยเตือนให้คุณกลับสู่ความรู้สึก ในการ "ตั้งศูนย์ใหม่" (มีสติ รู้ตัว กาย ใจ ใหม่)

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่