หลังจากสามารถทำจิตให้สงบได้แล้ว
ต้องสร้างปัญญาให้เกิด
นั่นคือพิจารณา ว่าทุกอย่างมันไม่แน่
ทุกอย่างล้วนไม่แน่
อร่อยเหลือเกิน ก็ไม่แน่
ไม่อร่อยเหลือเกิน ก็ไม่แน่
สบายเหลือเกิน ก็ไม่แน่
ไม่สบายเหลือเกิน ก็ไม่แน่
ชอบเหลือเกิน ก็ไม่แน่
ไม่ชอบเหลือเกิน ก็ไม่แน่
ไม่แน่ คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าพบ
ขึ้นเขาเหนื่อย คิดว่าอยู่ทะเลสบาย อากาศดี
พิจารณาดูให้ดี มันไม่แน่
อยู่ที่อากาศดี มีสุข
แต่ถ้าไปอยู่ที่อากาศร้อน ก็ไม่สบาย ทุกข์แล้ว
อย่าไปว่าร้อน ไม่ดี
พอถึงหน้าหนาว จะคิดถึงมัน
ทน อดกลั้น เท่านั้น ถึงจะแน่
อย่าได้ตัดสินว่าร้อนแย่ หนาวดี
ร้อน พัด เย็นชั่วคราว ไม่แน่
กลายเป็นเสพติด อากาศเย็น ก็ติดใช้พัดลม
ทดลอง ทนให้ผ่าน สิ่งที่ชอบ ไม่ชอบ
ให้ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง
ไม่ยึดติด คือ ไม่แน่ คือ ธรรมที่แท้
ไม่ตัดสิน คือ ไม่แน่ คือ ธรรมที่แท้
อย่าให้ความรู้สึก ชอบ/ไม่ชอบ มาครอบงำ ควบคุมชีวิต
เพราะถ้าให้มันนำ อยู่ที่ไหนก็ทุกข์
ชอบ/ไม่ชอบ ไม่มีอยู่จริง ไม่จีรัง ยั่งยืน
ความรู้สึก มันวิ่งหาสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ
ความรู้สึก ไม่แน่ มันมีเบื่อ มีหน่าย
ที่ไหนที่ท่านรู้สึกว่า สบาย / ชอบ มันก็ไม่แน่
เพราะอยู่ต่ออีกสักพัก ก็อาจจะเบื่อ ชักไม่ชอบ
นี่แหละคือความไม่แน่
เพราะเราให้ภายนอกมาเป็นปัจจัยชี้ขาดความชอบ/ไม่ชอบ
เราต้องตัดออก ทั้งปัจจัยภายนอก และความรู้สึก
ตัดออกด้วยการ เอาชนะ โดยรู้จักความจริงของมัน
ว่ามันไม่แน่ มันไม่ยั่งยืน ไม่จีรัง มีเสื่อมทั้งสิ้น
รู้จักความจริง เข้าใจความจริง คือ ปัญญา
ปัญญา คือ เห็นทุกข์ เผชิญหน้า จนเห็น
เอาชนะขีดจำกัด ความรู้สึก ให้ชนะให้ได้
ให้รู้ว่า ทุกข์/ความรู้สึก นั้น มันแค่เกิด แล้วก็จะดับไป
แต่ต้องฝืนตน อดทนให้ผ่านช่วงโอดครวญของร่างกายให้ได้ นี่คือ การข้ามเวทนา
ถ้าเราข้ามได้สักครั้งแล้ว รู้แล้วว่ามันหายได้ ก็จะไม่กลัว
เวทนา คือ ความรู้สึกไม่ชอบ
เวทนา คือ ความรู้สึกเจ็บปวด
สงบด้วยสมถะ ไม่พอ
สมถะ คือ อยู่ในสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่ชอบ
ต้องสงบด้วย ปัญญา คือ อยู่ในสถานที่ใดก็สุขได้
ธรรม ไม่ได้อยู่บนภูเขา ไม่ได้อยู่ที่ทะเล
แต่มันอยู่ที่ในของเราเอง
แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์
ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo
***********