การเทรด คือ stress test (การทดสอบความกดดัน) ต่อวินัย อารมณ์ อีโก้ และพลังใจของคุณ

Image
"การเทรด คือ stress test (การทดสอบความกดดัน) ต่อวินัย อารมณ์ อีโก้ และพลังใจของคุณ คุณต้องผ่านการทดสอบทั้งหมดเพื่อที่จะทำกำไรได้" - สตีฟ เบิร์นส์ Trading is a stress test on your discipline, emotions, ego, and will power. You must pass all the tests to be profitable.  ทำไมเขาถึงกล่าวเช่นนี้? ประโยคนี้สื่อถึงความจริงที่ว่า การเทรดไม่ได้เป็นเพียงการซื้อขายเพื่อทำกำไร แต่ยังเป็นกระบวนการที่ท้าทายด้านจิตใจและอารมณ์ของนักเทรดอย่างมากในหลายแง่มุม: e-book : วินัย:ผลพลอยได้ของ Edge... ในรูปแบบ ebook   https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=327917 วินัย (Discipline): คุณต้องมีวินัยในการทำตามแผนการเทรดอย่างเคร่งครัด เช่น การตั้งเป้าหมาย การกำหนดจุดเข้าและออก การตัดขาดทุน เป็นต้น หากไม่มีวินัย คุณอาจตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ ซึ่งมักนำไปสู่ความสูญเสีย สโตอิกศาสตร์ สำหรับนักเทรด : เก็บเกี่ยวกำไร เย็นใจ ในเกมที่ไม่แน่นอน... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  (เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมอารมณ์)   https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=319842 ...

บาป 7 ประการ ที่ขัดขวางความเจริญของนักเทรด - 7 Deadly Sins of Trading - Discipline


(เนื้อหานี้ ถูกคัดออกจากร่างหนังสือ "วินัยนักเทรด" ครับ)


แนะนำงานเล่มใหม่ล่าสุด (เป็น ebook นะครับ)
วินัยนักเทรด


วินัยนักเทรด

เข้าไปชมตามลิงค์นี้ครับ http://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjE0MTUyNyI7fQ


คุณจะได้อะไรจากหนังสือ “วินัยนักเทรด”?

1. ลงลึกเรื่องจิตวิทยานักเทรด อธิบายด้วยภาษาชาวบ้านเข้าใจง่าย ช่วยให้นักเทรดเข้าใจที่มาที่ไปและเข้าใจตัวเองและตลาดมากขึ้น

2. อะไรที่ทำให้นักเทรดขาดวินัย ช่วยให้เรารู้จักจุดบอดทางการเทรด ที่ยังมองไม่เห็น ไม่คิดว่ามันสำคัญ

3. วิธีสร้างและรักษาวินัย ช่วยให้นักเทรดสร้างทักษะ/ความเชื่อสำคัญที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการเทรดระยะยาว

4. คำคมเกี่ยวกับวินัยจากนักเทรดที่ประสบความสำเร็จ ช่วยให้นักเทรดเห็นความสำคัญของวินัยและรู้ว่าอะไรที่ตัวเองยังขาดไป เพื่อจะสร้างเพิ่มขึ้นมาให้มีเหมือนเซียน

5. กฎการเทรดที่จำเป็นต่อความสำเร็จและลดความเสี่ยง

6. ทำไมนักเทรด 90% ล้มเหลว?

7. ทำไม “ตัวนักเทรด” คือ “ศัตรูตัวฉกาจของตนเอง”? ช่วยให้นักเทรดสนใจอารมณ์ความรู้สึกของตนเองมากขึ้น เพื่อที่จะได้หาทางบริหารจัดการมันให้ดีต่อไปครับ




ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนผลงานครับ


ผมเคยผ่านตา ประเด็น 7 Deadly Sins of Trading มาหลายครั้ง 

แต่สารภาพตามตรงว่า "ไม่เข้าใจ เอาไปใช้ไม่เป็น" ว่ามันจะมีประโยชน์อะไรกับการเทรดของตัวเอง 

ที่คิดแบบนี้ เพราะตอนนั้นคิดแต่เพียงว่า "การระบุจุดซื้อที่ชนะ 100% คือสิ่งที่ผมต้องหาให้เจอ" 

ทำให้ผมสนใจแค่กลยุทธ์เท่านั้น ไม่ได้คิดว่า "จิตใจ" มันจะมีอิทธิพลมากกว่าแม้แต่น้อย


ผ่านไปหลายปี จนกระทั่งวันนี้ ที่เริ่มประจักษ์ชัดว่า "ตัวเราคือศัตรูตัวร้ายที่สุด คอยขัดขวางความสำเร็จในการเทรด" จึงลงลึกศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง 

พบว่าประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก อย่างน้อยมันน่าจะเป็นประตูด่านแรกที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของ "จิตใต้สำนึก" มากขึ้น



พูดง่าย ๆ ว่า บาปทั้ง 7 นี้ ล้วนมาจาก "จิตใต้สำนึก" ล้วน ๆ มันเป็นเหมือนซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ติดตั้งอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราตั้งแต่เกิด มันเป็นกลไกการตอบสนองแบบอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัว 

ด้วยความที่มันเป็นสิ่งที่ถูกติดตั้งในตัวมนุษย์ทุกคนมาแล้ว นักเทรดส่วนใหญ่จึงได้ทำในสิ่งที่เหมือน ๆ กัน  ทำให้เกิด “การคิดแบบฝูงชน” ขึ้นมา 

อะไรก็ตามที่คนหมู่มากทำ เซียนมักจะบอกว่ามันจะลงเอยด้วยการขาดทุนเสมอในโลกการเก็งกำไร


“ความจริงก็คือตลาดส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพแทบจะตลอดเวลา แต่สิ่งที่ให้มันไร้ประสิทธิภาพ ก็คือตัวนักลงทุนเอง เพราะพวกเขาถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ โลภ-กลัว อันจะชักนำให้พวกเขาลงมือทำแบบสุดโต่ง และสร้างความผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ” - Howard Marks


ในบทนี้ผมจะลงรายละเอียดว่า “ที่มาเกิดจากอะไร กระทำในลักษณะไหน” เท่านั้นนะครับ

ส่วนการแก้ไข จะเขียนไว้ในบทหลังจากนี้ จะได้ไม่ปนกัน




1. ความต้องการสมบูรณ์แบบ

โดยธรรมชาติมนุษย์ ลึก ๆ แล้ว "เราไม่ต้องการทำอะไรผิดพลาดเลย" 

เพราะว่าเราได้เชื่อมโยงว่า "ถ้าคุณทำความผิดพลาด จะส่งผลให้คุณถูกลงโทษ"  ให้พบกับความเจ็บปวด ความทุกข์ ความอึดอัด ไม่สบายใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณไม่ต้องการ


มองผ่านมุมของ "ความอยู่รอดของสัตว์ที่เป็นเหยื่อ" 

การที่สมองปรารถนาให้เราทำตัวสมบูรณ์แบบ ก็เป็นเพราะว่า สัตว์ตัวไหนที่ไม่สมบูรณ์ มีแนวโน้มที่จะเป็นเหยื่อ ถูกฆ่าให้ตายไวกว่าตัวอื่นที่สมบูรณ์กว่า 

ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด ไม่ถูกมองว่าอ่อนแอ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ 

เราจึงต้อง "พยายามแสร้งให้ดูสมบูรณ์แบบที่สุด" เท่าที่จะทำได้ 


ด้วยเหตุนี้ ธรรมชาติมนุษย์จึงไม่อยากทำอะไรผิดพลาดเลย เพราะไม่อยากเจ็บปวด 

สิ่งนี้เองที่เป็นตะกอนให้เรา "ปรารถนาความสมบูรณ์แบบ" ไม่ว่าจะเป็น

- การมุ่งหน้าหาระบบเทรดที่สมบูรณ์แบบ ชนะ 100% หรือที่เรียกว่า Holy grail

- คุณต้องการผลลัพธ์ที่ถูกใจเท่านั้น

- คุณคาดหวังในผลลัพธ์มาก อยากได้กำไรเท่าไหร่ ต้องได้ตามนั้น

- คุณละทิ้งระบบเทรด หรือกลยุทธ์เทรดแบบใดแบบหนึ่งไวเกินไป เพราะพบว่า "มันไม่แม่น" เพราะพลาดไม่กี่ครั้ง แล้วกระโดดไปใช้กลยุทธ์ใหม่ที่เขาว่าดี เปลี่ยนไปเรื่อย จนกว่าจะได้ระบบที่สมบูรณ์แบบ

- คุณเชื่อว่าตัวคุณสมบูรณ์แบบที่สุด หากขาดทุนขึ้นมา คนอื่นที่ผิด สิ่งแวดล้อมต่างหากที่ผิด ไม่ใช่ตัวคุณ





2. ความกลัว

ความกลัว เป็นปมที่ฝังลึกในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะ "ความกลัวสูญเสีย" 

ทำให้เราไม่อยากพบกับความพลัดพราก ถูกทอดทิ้ง ความผิดหวัง ความเสียใจ ถูกหลอกลวง ขาดทุน ฯลฯ  เหตุผลที่สมองต้องติดตั้งกลไกตอบสนองต่อความกลัวให้อยู่ที่จิตใต้สำนึกก็เพื่อให้เรา "ระมัดระวังภัย" ความกลัวทำให้เราตื่นตัวอยู่ตลอด และรีบหนีให้ไกลจากความเสี่ยงหรือภัยอันตรายที่เกิดขึ้นนั้น 


แน่นอนว่า เมื่อมาเทรด เราก็พกเอาความกลัว อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาด้วย 

เมื่อ "เรากลัวขาดทุน" ทำให้...

- เรารีบขายหุ้นออก เมื่อรับรู้ว่าตลาดหุ้นต่างประเทศลงหนัก

- เราขายหุ้นออก เมื่อรับรู้ถึงข่าวร้าย

การตั้งระดับตัดขาดทุนที่แคบเกินไป ก็มีสาเหตุจากความกลัวเช่นกัน 

แม้คุณจะบอกว่า "ฉันไม่อยากขาดทุนมากเกินไป" คุณจึงตั้งระดับตัดขาดทุนแคบที่สุด เท่าที่คุณจะยอมเสียได้ แต่ปัญหาก็คือ มันแคบเกินไป การแกว่งของราคากว้างกว่ากรอบที่คุณกำหนดไว้มาก ทำให้ราคาลงไปทะลุระดับ stop loss ของคุณแล้วดีดกลับไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้ คุณโดนเขย่าให้ระบบตัดขาดทุน โดยที่แนวโน้มยังไม่จบรอบ พอคุณขายออก ราคาก็ดีดกลับขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่แทบจะทันที 

คุณตกรถไม่พอ ยังขาดทุนอีกต่างหาก เรียกว่าเจ็บใจคูณสองไปเลย


นอกจากนี้ หากคุณไม่ยอมขายขาดทุน สิ่งที่เราตอบสนอง ก็เป็นความกลัวในรูปแบบของ “ความหวัง” ในใจคุณให้เหตุผลว่า "ถ้ายังไม่ขายออก ก็ไม่ขาดทุนเงินจริง" เป็นอาการกลัวขั้นสุดจนแปรเป็นความหวังไปแล้วนั่นเอง ลักษณะการแสดงออกด้วยความหวัง

- ยกเลิกระดับ stop loss

- เลื่อน stop loss ลงไป


อีกความกลัวหนึ่งที่เรานึกไม่ถึงก็คือ “กลัวไม่เหมือนชาวบ้าน” นี่ก็เป็นธรรมชาติมนุษย์ที่ถูกติดตั้งมาแต่เกิดเช่นกันครับ เรามีความเป็น “สัตว์ฝูง” ที่จะมีความรู้สึกปลอดภัยมากกว่าเมื่ออยู่ในกลุ่มคนที่คิดเหมือนกัน หรือ เรามักจะรู้สึกอยากรู้อยากเห็นเมื่อเจอกลุ่มคนไปรวมกันอยู่เยอะ ๆ จิตใต้สำนึกจะกระตุ้นให้เราเดินเข้าไปใกล้ ๆ โดยอัตโนมัติ (หรือจะบอกว่า ฝูงชนดึงดูดให้เราเข้าไปหาก็ได้เช่นกัน)



อันตรายของการรวมฝูง คืออะไร? 

ในชีวิตจริงก็ไม่ค่อยอันตรายเท่าไหร่นะครับ มันเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะช่วยให้เรามีโอกาสอยู่รอดได้ 

แต่ในเกมการเทรดนั้น การคิด/ตัดสินใจลงมือทำเหมือน ๆ กัน ซื้อหรือ ขายพร้อม ๆ กัน ของรายย่อยจำนวนมากนั้น มักจะเป็นการทำผิดพลาดเสมอครับ เพราะนักเทรดที่ “มองเกมสองชั้น” ผู้มีเงินเยอะ เป็นมืออาชีพ จะรอจังหวะนี้ในการ “เทรดสวนมวลชน” เพื่อเอาประโยชน์แบบง่าย ๆ 

ปู่บัฟเฟตต์ เป็นตัวอย่างที่ชัดมาก แกบอกเลยว่า “จงกล้าเมื่อคนส่วนใหญ่กลัว แต่จงกลัวเมื่อคนส่วนใหญ่กล้า” การซื้อขายตรงข้ามกับมวลชนแบบนี้นี่เองที่ทำให้แกรวยมหาศาลอย่างในวันนี้


นักเทรดผู้แพ้ จะใช้อารมณ์ในการเทรด และน่าแปลกที่อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับพวกเรานั้นมักจะคิดเหมือน ๆ กันโดยบังเอิญ (ความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรอกครับ แต่มันมาจากสัญชาตญาณสัตว์ฝูงที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกผู้คนนั่นแหละ) 

ถ้าราคาวิ่งขึ้นร้อนแรง เพราะข่าวดี เม่าส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการ FOMO (Fear Of Missing Out หรือ กลัวตกรถ) แย่งกันไล่ซื้อหุ้น panic buy กันเป็นจำนวนมาก 

หากราคาร่วงแรงเพราะข่าวร้าย เม่าทั้งหลายก็จะตกใจ panic sell กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทั้งสองจังหวะนี้มักจะเป็นจุดกลับตัวให้เม่าได้คิดผิดเสมอครับ



3. ความภาคภูมิใจ หรือ อีโก้

“คุณจะต้องจ่ายแพงมาก ถ้าหากพยายามทำให้ตลาดเชื่อว่า ตลาดคิดผิด แต่คุณคิดถูก” 

- Ed Seykota

อีโก้เป็นบาปร้ายแรงที่สุดที่นักเทรดมีครับ แน่นอนว่ามันเป็นธรรมชาติมนุษย์ที่ติดตัวเรามาแต่เกิด 

เรามีความถือดี มีความเชื่อว่าตัวเองคิดถูก และปรารถนาว่าผลลัพธ์ที่จะออกมานั้น ต้องตรงกับที่เราอยากได้ ถ้าหากไม่ได้ตามที่หวังล่ะก็ เราก็จะพยายามทำให้ถูกใจด้วยการแก้ไข หรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็จะใช้วิธีการ "โทษคนอื่น" ไปเลย

ทำไมอีโก้ ถึงถูกติดตั้งให้เป็นกลไกพื้นฐานของมนุษย์? มันทำให้เรารู้ตัวว่า "เราเป็นใคร" เป็นการระบุตัวตน เพื่อกำหนดคุณค่า กำหนดความเป็นปัจเจก 


อีโก้คือ "ความหวงแหนสิ่งที่เป็นของตน" 

ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ ให้ท่านดูสิ่งที่ “หมา” กระทำเป็นนิสัย ไม่ว่าจะเป็น

- การเยี่ยวรดล้อรถยนต์ เสาไฟฟ้า ต้นไม้ เพื่อกำหนดเขตแดนของตนเอง ทำไปเพื่ออะไรรู้มั้ยครับ? เพื่อกำหนดเขตหากินของมันไง เหตุผลที่ต้องกำหนดก็เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอื่นมาแย่งอาหาร นั่นแหละครับ "เพื่อความอยู่รอด" ของมันเอง


มนุษย์ก็เช่นกัน อีโก้ นอกจากจะใช้เพื่อบอกโลกว่า "ฉันมีตัวตน" (นึกภาพเด็กมือบอนที่เอาสีสเปรย์ไปฉีดกำแพงระบุสัญลักษณ์แก๊ง/กลุ่มของตัวเองสิครับ) ลึก ๆของจิตใต้สำนึก มันกระตุ้นให้เราทำไปเพื่อความอยู่รอดเช่นกันครับ


- อีโก้ มีไว้เพื่อให้เรามีสิทธิ์เต็มที่ในการแสดงออกถึงความรุนแรง นึกภาพกลับไปที่หมาอีกครั้ง เมื่อใดก็ตามที่มีหมาตัวอื่น(แม้แต่คนก็ตาม)ที่มันไม่คุ้นกลิ่น มันจะไม่รีรอที่จะโผล่ออกมาเห่ากรรโชก เพื่อขับไล่ให้ออกไปจากเขตแดนของมันทันที 


บริบทของมนุษย์ก็ไม่ต่างกันครับ 

ความขัดใจ/การตอบสนองด้วยความรุนแรงของมนุษย์ส่วนใหญ่ล้วนมาจากการถูก "ทำลายอีโก้" นี่แหละ 

เราตอบสนองไปเพื่อบอกคนอื่นว่า "ฉันมีตัวตน ฉันอยู่ที่นี่มาก่อน มันเป็นของฉัน"  

ในการเทรด เราใช้อีโก้ เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองถูก ไม่ว่าจะเป็น

- เมื่อการเทรดนั้นพบกับการขาดทุน คุณจะไม่ยอมรับมันอย่างง่าย ๆ คุณจะเถียงตลาดด้วยการทนถือรอให้มันกลับมา หรือถ้ายังลงต่อคุณก็จะหาเงินมาซื้อถัวเฉลี่ย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณซื้อหุ้นถูกตัว เมื่อมันกลับมาได้ คุณจะมีกำไรมากกว่าเดิม

- นักเทรดบางคน ที่มีผลการศึกษายอดเยี่ยม เป็นนักกีฬาดาวเด่นของโรงเรียน/สถาบัน หรือ เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรณ์ใหญ่ มักจะไม่สามารถยอมรับว่าตัวเองคิดผิด เพราะพกพาความภูมิใจมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเทรด พอขาดทุนก็ไม่สามารถยอมรับได้ง่าย (บางคนไม่ยอมบอกใครด้วยซ้ำว่ากำลังเล่นหุ้นอยู่-แน่นอนว่าขาดทุน) หากอีโก้จัดมาก ๆ ก็จะเถียง/ตอบโต้ตลาดอย่างรุนแรงด้วยการถัวเฉลี่ยขาดทุนจนกว่าจะแพ้ไปข้าง(แน่นอนว่าเป็นนักเทรดที่แพ้ตลาดอยู่ร่ำไป) เมื่อไม่ยอมรับว่าตัวเองคิดผิด จึงต้องเจอการขาดทุนหนักสาหัส ในที่สุดครับ 

“ลืมอีโก้หรือเกียรติประวัติของคุณซะ ตลาดมันไม่รู้จักและไม่แคร์พวกนี้หรอก

ไม่ว่าก่อนหน้านี้คุณจะเก่งแค่ไหน ตลาดก็จะเก่งกว่าคุณ

IQ สูงหรือปริญญาสูงแค่ไหนก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จในตลาดหุ้น 

ยิ่งอีโก้มากก็จะทำให้เสียเงินมาก

ดังนั้นอย่าทะเลาะกับตลาด และอย่าพยายามพิสูจน์ว่าตลาดผิดและตัวเองถูก 

เพราะยิ่งพยายามคุณจะยิ่งเสียเงิน”

 – William J. O’Niel



4. ความโลภ 

สาเหตุที่ทำให้จิตใต้สำนึกของมนุษย์มีความโลภ ก็คือ “เพื่อความอยู่รอด” นั่นแหละครับ 

อยู่รอดเพราะมีอาหารให้กินไม่อดอยาก อยู่รอดเพราะได้เพราะได้สร้างสังคมฝูงขึ้นมาได้ 

เพราะคนที่มั่งคั่งมีสมบัติเยอะย่อมดึงดูดให้คนเป็นจำนวนมากเข้าหา การเกิดสังคมฝูงย่อมเกิดอิทธิพลในการต่อรอง อันจะเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดมากขึ้นได้ 


ในการเทรดนั้น เราเข้ามาสู่วงการนี้เพราะความโลภล้วน ๆ เลย 

เราอยากสร้างความมั่งคั่ง เอาเงินมาต่อเงิน เมื่อมั่งคั่งก็จะไม่อดอยาก โอกาสอยู่รอดก็มากขึ้นตาม 

เราจึงรู้สึกดีกับกำไรที่ได้มาเพราะสมองรับรู้ถึงโอกาสอยู่รอดที่มากขึ้น และอยากได้มากกว่าเดิมอีก ยิ่งมากยิ่งดี


ความโลภ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักเทรด มากมาย อาทิ

-ชักนำให้เราเข้ามาเทรด เพราะความโลภ

-ไม่ยอมให้เราขายหุ้นออก ทั้ง ๆ ที่ราคาพีค เพราะความโลภ อยากได้เพิ่ม

-กล้าซื้อถัวเฉลี่ยขาดทุน เพราะความโลภ หลอกตนเองว่าถ้าราคากลับขึ้นไปได้ จะกำไรมากกว่าเดิม

-กล้าทุ่มซื้อหุ้นด้วยเงินก้อนใหญ่ หรือทุ่มหมดหน้าตัก เพราะกลัวรวยช้า

-เข้าซื้อหุ้นตามคำแนะนำ การเชียร์ ที่บอกว่า upside สูง เพราะคิดว่าไม่เสี่ยง โอกาสชนะสูง


ความโลภทำให้นักเทรดไม่สนใจความเสี่ยง มองโลกในแง่ดี 

และบ่อยครั้งที่เรามักจะ “โลภในเวลาเดียวกัน” เพราะธรรมชาติมนุษย์มักจะคิดอะไรเหมือน ๆ กัน ทำให้ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นตัวเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย 

เมื่อใดก็ตามที่นักเทรดรายย่อยจำนวนมากซื้อพร้อม ๆ กันจำนวนมาก เมื่อนั้นเขาจะตกเป็นเหยื่อเสมอ


เป็นเหยื่อได้ยังไง?

ขออธิบายเพิ่มเติมผ่านบริบทของ “การตกปลา/จับปลาจำนวนมาก” 

นักตกปลา/นักประมงที่ชาญฉลาด จะใช้หลักการ “โปรยเหยื่อที่ปลาชอบในขอบเขตที่จับง่าย” เพื่อล่อให้ปลามารวมฝูงกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เขามีโอกาสได้ปลา(เหยื่อของนักตกปลา)มากที่สุด

การเทรดก็ไม่ต่างกันครับ ยามใดก็ตามที่มีนักเทรดจำนวนมากเข้าไปซื้อหรือขายหุ้นตัวใดตัวหนึ่งอย่างคึกคัก ก็ไม่ต่างจากฝูงปลาที่มารวมฝูงกันเป็นจำนวนมาก นี่เป็นโอกาสทองของนักล่าผู้ช่ำชองในการใช้ประโยชน์จากฝูงเหยื่อ ถ้าฝูงเหยื่อซื้อ-นักล่าก็จะขายให้ หากฝูงเหยื่อขาย-นักล่าก็จะซื้อ 

แน่นอนว่า เหยื่อมักจะแพ้เสมอ เสียเปรียบตลอดกาล




5. ความโกรธ 

ความโกรธ เป็นกลไกธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่ต้นเช่นกัน เราทำไปเพื่อความอยู่รอด 

โดยพื้นฐานก็เพื่อขับไล่ภัยคุกคามที่คืบคลานเข้ามาใกล้ (นึกภาพหมาที่ส่งเสียงขู่ หรือเห่ากรรโชกดูครับง่าย ๆ) มนุษย์ยังแสดงอาการโกรธเกรี้ยวหากถูกขัดใจ ถูกข่มขู่ กลั่นแกล้ง อีกด้วย คือ ยิ่งคาดหวังมาก ยิ่งรู้ว่าฝั่งตรงข้าม "ด้อยกว่า หรือ ไม่ดีเท่า" ดีกรีความเกรี้ยวกราดยิ่งสูงตาม


ทั้งนี้สิ่งกระตุ้นให้แต่ละคนเกิดความไม่พอใจนั้นล้วนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าเขาตีความและรู้สึกกับมันอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว เราจะโกรธก็ต่อเมื่อ

- ถูกคุกคาม

- รู้สึกผิดหวังมาก ๆ หรือ หมดทางสู้

- ได้รับความไม่เป็นธรรม

- ถูกหยามเกียรติ หรือ อีโก้

- ความกลัว โดย “ความโกรธ” มีที่มาจาก “ความกลัว” นั่นเอง หมามีความกลัวเสียผลประโยชน์ แต่ถ้าหงอ ก็โดนขับไล่ ทางเลือกที่มีโอกาสชนะมากกว่า คือ “เกรี้ยวกราด” ดักไว้ก่อน


ในการเทรด เราจะเกิดอาการโกรธเกรี้ยวเกิดเมื่อ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตรงใจ 

ยิ่งผิดคาดแถมทำให้ขาดทุนหนัก ทั้ง ๆ ที่คิดว่าเอาอยู่ เป็นหมูในอวยแล้วล่ะก็ ดีกรีเกรี้ยวกราด จะสูงปรี๊ด ๆ เลยล่ะ


เราคิดว่าการขาดทุนนั้น เป็นการคุกคามจากตลาด ถูกตลาดหลอก และถูกหยาม (ตรงทุกข้อที่ว่ามาเลย)

พอนักเทรดโกรธ สิ่งที่เขาทำก็คือ "ต่อสู้แบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เพื่อพิสูจน์ผลแพ้ชนะ" ด้วยการ

- ถัวเฉลี่ยขาดทุน

- เทรดแบบแก้แค้น

 ทั้งสองการกระทำนี้ ไม่เคยทำให้เราจบสวยเลย 

เมื่อนักเทรดทำสิ่งนี้เป็นประจำ ความหายนะมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ ไม่ช้าก็เร็ว




6. ความประมาท

ประโยคที่คนโบราณบอกไว้ว่า "ความประมาท เป็นหนทางสู่ความตาย"  นั้นเป็นเรื่องจริง 

ซึ่งมันเป็นธรรมชาติ ที่เราเลี่ยงไม่ได้


เมื่อไหร่ที่คุณประมาท เมื่อนั้น คุณกำลัง "พนัน" ในเกมที่ "มีความเสี่ยงสูงกว่าโอกาส" 

ถ้าหากโชคดี คุณก็รอดแบบเฉียดฉิว แต่ถ้าหากพลาด คุณต้องจ่ายค่าเสียหายแพงมาก


เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกล้าเข้าไปยุ่งกับความเสี่ยง โดยโอกาสมีแค่ 50% หรือต่ำกว่านั้น 

แสดงว่าคุณมีความประมาท คุณกำลัง "พนัน"


นี่คือตัวอย่างของลักษณะความประมาท ในการเทรด

- ไม่ยอมเคารพเช็กลิสต์ ข้ามหัวข้อที่สำคัญ เพราะกลัวไม่ได้หุ้น (FOMO)

- ไม่เคารพกฎการเทรดของตนเอง เพราะกลัวไม่ได้หุ้น กลัวตกรถ จึงกล้าเสี่ยงเผื่อฟลุค

- ไม่สนใจความเสี่ยง อยากพนัน เผื่อโชคเข้าข้าง

- ไม่เคารพการบริหารเงินทุน ซื้อหุ้นเกินโควตา เพราะกลัวรวยช้า หรือ อยากแก้แค้นเอาคืนทันที

- ซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง เพราะคิดว่ามี upside สูงดี ซื้อเก็บไว้เผื่อมีคนมาปั่นราคา

- ไล่ตามซื้อหุ้นที่ยอดของแท่งเขียวยาว เพราะกลัวตกรถ คิดพนันว่ามันต้องไปต่อ แต่ไม่มองว่าราคามันอาจจะพีคแล้วก็ได้

- รีบซื้อหุ้นตอนที่ราคาร่วงแรงแดงยาว เพราะคิดว่ามันลงมาเยอะแล้ว น่าจะหยุกแล้วเด้ง

- ใช้ leverage หรือ margin เพราะอยากรวยไว ๆ กำไรก้อนโต  ฯลฯ

เมื่อใดก็ตามที่คุณเทรดด้วยความประมาท เมื่อนั้นคุณมีโอกาสโดนตลาดเล่นงานให้เจ็บหนักได้ 

แม้บางครั้งคุณจะโชคดีได้กำไร แต่ในระยะยาวแล้ว ความเสี่ยงจะเล่นงานคุณให้ขาดทุนหนักแน่นอน




7. ใจเร็วด่วนได้

 “ธรรมชาติมนุษย์มักจะคิดอะไรแบบระยะสั้นๆ ถ้าเลือกได้ก็จะไม่ต้องการเหนื่อยจากการทำงาน 

พวกเขาไม่ตระหนักเลยว่าความสำเร็จหลายอย่างต้องแลกด้วยความเจ็บปวด 

คุณอาจจะเรียกมันว่าเป็นความโลภ แต่ผมเรียกมันว่าธรรมชาติของมนุษย์ 

เราอยากได้เงินมาก ๆ โดยไม่ต้องการเสียสละอะไรเลย(ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้)”

- Rey Baros

ความไม่อดทนรอคอย ถือเป็นอีกบาปที่นักเทรดส่วนใหญ่เป็นกัน 

เราคาดหวังต่อผลลัพธ์ที่ถูกใจ เราอยากได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการทันที รวดเร็ว 

จึงมองหา "สูตรลัดรวยไว" กำไรก้อนใหญ่ทันที ไม่ต้องเสียเวลามาก

มันเป็นอารมณ์แบบเด็ก ๆ ที่ไม่เข้าใจความจริง หรือ ธรรมชาติของชีวิต 


ฝรั่งเขาเรียกความจริงนี้ว่า Learning curve คือ กิจกรรมอะไรก็ตามที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ ที่ทำให้เราเป็นผู้ชนะ หรือ ผู้นำอันเป็นคนส่วนน้อยของสังคมที่ได้ผลประโยชน์เป็นกอบเป็นกำนั้น มันไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน 


ถ้ามันได้ง่าย สิ่งนั้นก็จะไร้ค่าไปทันที

เมื่อมันยาก จึงมี Learning curve ของมัน ซึ่งเรื่องนี้มือใหม่ไม่เข้าใจ 

นอกจากคนที่อยู่ในวงการมาพอสมควร ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายรอบ


ความโลภ กับ ความกลัว ถือเป็นตัวกระตุ้นให้นักเทรดขาดความอดทนครับ 

ด้วยความที่มันเป็นอารมณ์ที่มีต้นตอมาจากจิตใต้สำนึก จึงทำให้นักเทรดไม่ทันสังเกตและตามไม่ทัน 

หลงคิดว่ามันเป็นตรรกะ

 

ตัวอย่างการกระตุ้นจากความกลัว คือ FOMO หรือกลัวตกรถ, กลัวกำไรกลายเป็นขาดทุน, กลัวทำผิดพลาด/คิดผิด, กลัวผิดหวัง ฯลฯ

ความโลภ ก็จะมาในรูปแบบของความต้องการได้รับสิ่งที่คาดหวังในทันที, ต้องการรวยเร็ว ๆ, คาดหวังในกำไรที่เป็นไปได้ยาก


นอกจากนี้ อารมณ์เบื่อหน่ายอยากหาอะไรทำ/หาหุ้นเล่นให้ได้สักตัวสองตัว อยากรู้สึกตื่นเต้น/ได้ลุ้นสนุก ๆ 

ก็เป็นตัวกระตุ้นให้นักเทรดขาดความอดทนได้เช่นกัน

เมื่อนักเทรดขาดความอดทน เขาจะทำสิ่งเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว

- เสี่ยงมากเกินไป หรือ กล้าเสี่ยงทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็น อยู่เฉย ๆ ก็ดีอยู่แล้ว ดันแกว่งเท้าหาเสี้ยน ให้ขาดทุนเล่นซะงั้น

- Overtrading เข้าเทรดหุ้นที่ไม่อยู่ในแผน แล้วสร้างความยุ่งเหยิงให้ตามแก้ตามเช็ด ต้องหาทางแก้แค้นเอาคืน ยิ่งเทรดยิ่งเสียหายหนัก

- เปลี่ยนระบบไปเรื่อย เมื่อพบว่าระบบนั้นทำให้ขาดทุน ไม่แม่น ก็หมดศรัทธา รีบทิ้ง แล้วไปลองระบบใหม่ทันที หวังจะได้ระบบที่สมบูรณ์แบบไม่แพ้เลยสักครั้งเดียว

- ซื้อดัก รีบซื้อไว ซื้อก่อนจะระบบจะส่งสัญญาณซื้อ

- ขายออกไวเกินไป เพราะเกิดความหวั่นไหวในการแกว่งที่หวาดเสียว กลัวกำไรกลายเป็นขาดทุน จึงตกใจขายออก กลายเป็น "คัทแล้วเด้ง" ทุกทีไป


เมื่อคุณเทรดแบบคนขาดความอดทน ผลงานที่ได้ก็จะไม่ออกมาดีเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องขาดทุน เสียเล็กเสียน้อยเพราะ unforced error 

หรือถ้าถึงคราวซวย คุณไปสร้างปมใหม่สุดอันตราย ที่กระตุ้นให้เกิดการ overtrading และเทรดแบบแก้แค้นล่ะก็ หายนะมาเยือนแน่นอนครับ


บาปที่ 7 ดูแล้วไม่มีดีเลยสำหรับนักเทรด เรารู้ครับว่ามันไม่ดี

แต่รู้ทั้งรู้ ก็ไม่อาจหักห้ามใจ หรือเอาชนะบาปทั้ง 7 ได้

เพราะอะไรรู้มั้ยครับ มันถูกปล่อยออกมาจากจิตใต้สำนึกไงครับ

ไม่ได้ปล่อยแบบนาน ๆ ที แต่ปล่อยออกมาเรื่อย ๆ 

วิธีแก้ ต้องไม่รักษาที่ปลายเหตุ แต่ท่านต้องลงไปรื้อที่ต้นตอ คือ จิตใต้สำนึกเลยครับ





(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)

หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ