การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

18 เหตุผลที่ทำให้นักลงทุน นักเล่นหุ้น 80% (ส่วนใหญ่) ยังไม่รวยเสียที

18 เหตุผลที่ทำให้นักลงทุน
นักเทรด นักเล่นหุ้น 80%
(ส่วนใหญ่) ยังไม่รวยเสียที



ผมไปไล่แกะมาจากบทสัมภาษณ์ทีละคน จากหนังสือ Momentum Master ที่เหล่า master แต่ละท่านได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความผิดพลาดของมือใหม่ ซึ่งพวกเขาเองก้เคยเป็นแบบนี้มาก่อน มิใช่เกิดมาแล้วเก่งเลย เคยพลาดแบบนี้มาก่อน
และก็ยังรวมถึงผมด้วย - ผมจึงจึงเสริมรายละเอียดที่ตัวเองเจอเข้าไปเป็นหัวข้อย่อย
เพื่อขยายความว่าทำอะไรพลาดไปบ้าง
ซึ่งคิดว่ามีคล้าย ๆ กัน ทั่วโลก

ทำขึ้นมาเอามาเตือนใจตัวเอง
ว่ายังมีจุดบกพร่องอะไรบ้าง ที่ต้องแก้ไข
จะว่าไปแล้ว งานใหญ่ของนักเทรดที่ดิ้นรน
ก็คือ "การแก้ไขตัวเอง ลดจุดอ่อน ให้เหลือน้อยที่สุดนี่แหละ"
ซึ่งบอกเลยว่า มีโคตรเยอะ แก้ไม่มีวันจบสิ้นจริง ๆ

เอาหัวข้อมาจากหนังสือ
Momentum master
อธิบายเพิ่มจากมุมมองของผมเอง

ทุกคนเข้ามาเทรด มาเล่นหุ้น ล้วนมีเป้าหมายคือ “เป็นคนรวย พอร์ตเติบโต”
แต่จากข้อมูลความจริง ก็คือ ใน 100 คนที่มาเล่นหุ้น มีไม่ถึง 20 คนที่พอร์ตโต
ที่เหลือ ล้วนต้องดิ้นรน ขาดทุน จนถึงขั้นหมดตัว และออกจากเกมไป

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
นี่คือข้อสังเกตจาก Momentum master


๑) เกณฑ์การคัดหุ้น ยังไม่ดีพอ

- ไม่มี check list
- ไม่มีการระบุจุดเข้าซื้อที่เสี่ยงต่ำ
- ไม่มีสูตรทำเงินเฉพาะตัว

๒) ไม่ยอมตัดขาดทุน

- ปล่อยให้การขาดทุนลุกลาม แทนที่จะรีบตัดตอน
- เก็บแต่หุ้นขาดทุนในพอร์ต

๓) ซื้อถัวเฉลี่ยขาดทุน

- ต้องการเป็นผู้ชนะทุกตา ทุกตัว ไม่ชนะไม่ยอม สู้จนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ
- เปลี่ยนเกม จากเทรดเป็นลงทุน(วีไอจำเป็น)
- หลอกตัวเองว่า เดี๋ยวมันก็กลับมา(กับหุ้นเน่า buy and hope) เพื่อถัวเฉลี่ย
- ขายหุ้นกำไร มาถัวเฉลี่ยหุ้นขาดทุน พอร์ตบวม ติดหุ้น ไม่มีเงินไปลงทุนใหม่



๔) ไม่รู้จักขายเก็บกำไร ปล่อยกำไรให้กลายเป็นขาดทุน

- คาดหวังกำไรมากเกินศักยภาพของหุ้น
- โลภ อยากได้มากกว่าเดิม ทั้ง ๆที่ราคา climax ไปแล้ว
- ต้องการขายหุ้นออกที่ราคาสูงสุด จะได้ไม่เสียใจทีหลัง

๕) ไม่รู้จักตัวเอง (ความผิดพลาด performance)

- ไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนตรงไหนบ้าง
- ไม่มีบันทึกการเทรด ไม่รู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเอง
- ไม่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
ซื้อ ขาย ตามดวง พึ่งพาโชค ถ้ากำไรก็บอกว่าตัวเก่ง พอขาดทุนโทษโชคชะตา

๖) ไม่ยอมเรียนรู้จากความผิดพลาด

เชื่อว่าตัวเองรู้ทุกอย่าง
เชื่อว่าการเล่นหุ้นทำกำไรได้ง่าย ๆ
เชื่อว่า ไม่ขายไม่ขาดทุน


๗) เปลี่ยนกลยุทธ์ไปมา ไม่มีการยึดมั่น

- ต้องการสูตรทำเงินโดยไม่พลาดเลย
- ไม่อยากขาดทุน
- ไม่ต้องการอยู่กับระบบที่ทำให้เจ็บปวด

๘) ไม่มีวินัย แหกกฎ

- ไม่เคยโดนให้เจ็บหนัก ๆ กับตัว
- ไม่เคยคิดว่านั่นคือความผิดพลาด
- ไม่อยากเจ็บปวด
- ไม่อยากบังคับตัวเอง
- รอให้เสียหายก่อนค่อยหาทางแก้ไข

๙) ไม่มีการบริหารอารมณ์ให้ดีพอ

- ไม่รู้ว่าอารมณ์เป็นต้นตอให้ขาดทุนหนัก
- ไม่รู้ว่าตัวเองตัดสินใจเทรดตามอารมณ์
- รู้ว่าเทรดตามอารมณ์ แต่ห้ามใจตัวเองไม่ได้



๑๐) ทำการบ้านน้อยเกินไป

- ขี้เกียจหาความรู้
- ซื้อหุ้นจากคำแนะนำของคนอื่น(มีมากมาย)
- ลอกหุ้นเซียน

๑๑) ไม่เข้าใจตลาดมากพอ

- ไม่รู้จักแนวโน้ม
- ไม่รู้จักว่าสภาพตลาดแบบไหนเสี่ยง แบบไหนปลอดภัย
- เล่นหุ้นแบบการพนัน
- เก็งกำไรระยะสั้น หาค่ากับข้าวตามคำแนะนำ

๑๒) ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ

- หาหุ้นเองไม่เป็น
- ตัดสินใจเองไม่ได้
- บริหารเงินไม่เป็น
- หบริหารความเสี่ยงไม่เป็น
- ระบุจุดซื้อที่เสี่ยงต่ำไม่ได้
- ระบุจุดตัดขาดทุนไม่ได้
- ระบุจุดขายล็อกกำไรไม่ได้

๑๓) ไม่ยอมรับความจริงว่าตัวเองทำผิดพลาด

- คิดว่าตัวเองถูกเสมอ คนอื่นต่างหากที่ทำให้ฉันพลาด
- ไม่เคยโทษตัวเอง
- ไม่เคยตรวจสอบตัวเอง
- มาเล่นหุ้นเพื่อทำเงินเท่านั้น ไม่อยากเก่ง


๑๔) ไม่มีความมุ่งมั่นมากพอ ล้มเลิกง่ายไป

- คาดหวังกำไรก้อนโตทันทีที่ลงเล่น
- คิดว่าการเทรดทำเงินง่าย เพราะเห็นตัวอย่าง
- เจอความผิดพลาด เจ็บปวด จึงล้มเลิก

๑๕) ใช้มาร์จิ้น ตั้งแต่เริ่มเทรด

- คิดว่าตลาดเล่นง่าย เพราะเห็นตัวอย่าง
- ต้องการกำไรก้อนโตในครั้งเดียว
- ไม่ประมาณตน และความเสี่ยง

๑๖) ขาด risk management

- ถ้าได้จุดซื้อที่ดี จะไปสนใจทำไมความเสี่ยง
- อ่านหนังสือประเภทเล่นหุ้นเสี่ยงต่ำ แล้วเชื่อ
- มั่นใจในตัวเองเกินไป เชื่อว่าตลาดหุ้นเล่นง่าย
- ต้องการพิสูจน์ตัวเอง ว่าเหนือกว่าตลาด


๑๗) ขาด money management

- ต้องการรวยเร็ว ๆ ไว ๆ
- ร้อนเงิน คิดว่าตลาดหุ้นคือแหล่งเงินง่าย มีแต่กำไร ไม่มีเสี่ยง
- มั่นใจเกินเหตุ ได้ข้อมูลดี คิดว่าไม่เสี่ยง จึงจัดเต็ม
- ไม่เข้าใจว่มเสี่ยงของการเทรด

๑๘) ไม่รู้จัก let's profit run

- กลัวกำไรเปลี่ยนไปเป็นขาดทุน
- กินกำไรคำเล็ก ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ (คิดว่าต้องชนะทุกครั้ง)
- ตั้งเป้ากำไรรายวัน
- เจอการขาดทุนแล้วไม่ยอมตัดขายตัวเดียว ก็กลืนกำไรสะสมมาเกลี้ยง

แนะนำคลิปที่มีเนื้อหาส่งเสริมกัน





(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)