Basic ของ การเทรดแบบทำธุรกิจ
ที่นักเล่นหุ้นมือใหม่ไม่เข้าใจ และพลาดมากที่สุด
เทรดแบบทำธุรกิจ ที่มือใหม่เข้าใจผิด
๐. จริง ๆ แล้ว มือใหม่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย
๑. ธุรกิจจริง ๆ เขาตั้งเป้ากำไรปีละ 20-30% เท่านั้น
๒. ธุรกิจจริงๆ เขาให้ความเสี่ยงมาก่อน
๓. ธุรกิจจริง ๆ เขาให้เงินสดสำคัญ
๔. ธุรกิจจริงๆ เขาวางแผนก่อน
๕. ธุรกิจจริงๆ เขาสนใจ ROE, ROA
๖. ธุรกิจจริง ๆ สนใจ NPL
เทรดแบบทำธุรกิจ ที่นักเล่นหุ้น/นักเทรดมือใหม่เข้าใจผิด
๐. จริง ๆ แล้ว มือใหม่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย
นักเทรดหน้าใหม่สวนใหญ่ไม่สนใจเรื่องการเทรดแบบทำธุรกิจ พวกเราเข้ามาเพราะความโลภ อยากได้กำไรง่าย ๆ ไว ๆ โดยไม่ต้องพยายามอะไรมาก จึง
ลอกหุ้นเซียน ซื้อหุ้นตามคำแนะนำ
(หากคิดเองได้) ใช้วิธีการแบบง่าย ๆ ลัด ๆ ในการคัดหา “หุ้นที่จะถูกปั่น” ในอนาคตอันไกล้
ลงไปเล่นหุ้นเศษสตางค์ เศษสลึง เพราะคิดว่าจะได้กำไรก้อนมหาศาล หากมันฟื้นกลับมาเต็มบาท
พูดง่าย ๆ คือ พวกเรา มองการเทรดแบบ “การพนัน” หวังจะใด้หุ้นสักตัว ที่มันจะเปลี่ยนเป็นตั๋วล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง ซึ่งไม่ใล่เรื่องผิด หรือ โง่ นั่นมันมาจากข้อมูลที่เราได้รับจากสื่อนั่นเอง
๑. ธุรกิจจริง ๆ เขาตั้งเป้ากำไรปีละ 20-30% เท่านั้น
แต่นักเทรด/นักเล่นหุ้นหน้าใหม่ส่วนใหญ่ คิดจะเอากำไรปีละ 100%++
นี่คือสิ่งที่เขาเรียกว่า “ความคาดหวังที่ไม่สมจริง”
แน่นอนว่ามีคนทำได้อยู่บ้าง (และแทบทั้งหมดจะต้องออกมาอวดออกสื่อว่าตัวเองทำได้) เราจึงรับรู้-และอยากได้บ้าง
แต่เมื่อลงมือทำจริง ก็ไม่ได้ +100% หรอก แต่มักจะ -30% หรือลบมากกว่านั้น เพราะเราไม่รู้ ไม่เข้าใจกระบวนการที่แท้จริง ว่ากว่าจะได้เด้ง เขาต้องต่อสู้กับตัวเองมากแค่ไหน อดทนมากแค่ไหน ซึ่งมันเป็นคนละเลเวลกับมือใหม่อย่างพวกเรา ที่อยากรวยไว ๆ โดยที่ไม่ต้องแลกอะไรกลับไปให้เลย แบบนี้ยิ่งขยัน ยิ่งขาดทุนหนัก
ทางที่ดี ก่อนจะเอาเด้ง ทำกำไรให้เท่าตลาดก่อน จากนั้น จึงเอาให้ได้ปีละ 20% ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว ทบต้นไปม่กี่ปี ก็รวยมหาศาล
๒. ธุรกิจจริงๆ เขาให้ความเสี่ยงมาก่อน
นักปล่อยกู้ ยังดูศักยภาพของผู้กู้ และต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันเลย
นี่คือตัวอย่างของการให้ความเสี่ยงมาก่อน ยิ่งลงทุนโดยไม่เสี่ยงเลย ยิ่งเป็นการทำธุรกิจที่ดี แต่ไม่น่าเชื่อว่า นักเทรดมือใหม่ส่วนใหญ่ ไม่สนใจความเสี่ยง คิดว่ามันไม่มีอยู่ ไม่เสี่ยง (แต่ทำไมตลาดขาลง ต่างพากันร้องโอดโอย พอร์ตติดลบ 50% ขึ้นไป หมายความว่าเรามองข้ามมัน)
มือใหม่มองปัจจัยความเสี่ยงในวงแคบเกินไป เพราะยังไม่รู้ ไม่เคยมีประสบการณ์ จึงมักจะเดินลุยไฟ, ลงไปเดินในดงกับระเบิด หลุมพราง ทำร้ายพอร์ตตัวเองให้เสียหายหนัก
แนะนำให้-คิดเผื่อในแง่ร้ายด้วย ว่าถ้ามีสิ่งที่ผิดคาด ผิดพลาด จะทำยังไง จะปกป้องเงินทุนอย่างไร อย่าพยายามหลอกตัวเอง
๓. ธุรกิจจริง ๆ เขาให้กระแสเงินสดสำคัญ
Cash is King เราดูหุ้นยังเลือกบริษัทที่มีกระแสเงินสดยอดเยี่ยม
โอกาสก็เหมือนรถเมล์ คันนี้ไปแล้ว อีกคันก็จะมาหาไม่ช้า
แต่เงินทุน หายไปแล้ว เอากลับคืนมายาก (มือใหม่มักยอมติดหุ้น)
ขาดทุน 50% คุณต้องทำคืน 100% ถึงจะกลับมาได้เท่าทุน
นี่แหละเหตุผลว่า ทำไมเราต้องรู้จัดตัดขาดทุน
ในยามวิกฤติ บริษัทที่โดนกระทบหนัก เขาจะตัดขายสินทรัพย์ออกไปแม้จะขาดทุนก็ตาม เพื่อสร้างกระแสเงินสด เอาเงินสดมาอยู่กับตัว
คล้ายกับตลาดหุ้น ก่อนราคาจะลงแรง panic จะมีคนฉลาดขายออกก่อนในช่วงต้นเทรนด์ เพราะเขามองไกล มองออกว่าจะเกิดวิกฤติขึ้นแน่ และสิ่งที่เขาควรทำก่อนคือ “สร้างกระแสเงินสด” เพื่อรอโอกาสดีในยามที่มือสมัครเล่น panic อันเป็นจังหวะเงินง่าย-ไม่เสี่ยงสำหรับพวกเขา
๔. ธุรกิจจริงๆ เขาวางแผนก่อน
กว่านักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จะลงเงิน ลงทุนอะไรสักครั้ง เขาจะคิดแล้วคิดอีก หาข้อมูล เก็บข้อมูลที่เป็นข้อมูลจริง คิดถึง worst case scenario เอามาเป็นฐาน คำนวนให้แน่ชัดว่า มันคุ้มที่จะเสี่ยงหรือไม่ จึงตัดสินใจลงเงิน พวกเขารบชนะบนกระดาษ ก่อนที่จะลงสนามจริงด้วยซ้ำไป
ต่างจากมือสมัครเล่น คิดแต่เพียงว่า คนอื่นทำแล้วได้กำไร(ซึ่งมีแค่คนเดียว ในพันคน) ก็คิดว่า ฉันต้องทำได้ ไม่สนใจว่าทำใม 999 คนถึงพลาด จึงไม่แปลกที่เขาจะเป็นคนที่ต้องพ่ายแพ้และเสียเงินไป เพราะคิดน้อยเกินไป ไม่วางแผน เจอปัญหาแล้วค่อยแก้ไขหน้างาน ซึ่งตอนนั้นคุณไม่มีตรรกะอะไรหรอก ใช้อารมณ์แก้อย่างเดียว ซึ่งไม่มีใครชนะเกมด้วยการใช้อารมณ์หรอกนะ
๕. ธุรกิจจริงๆ เขาสนใจ ROE, ROA
Return on Equity : ROE (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) เป็นตัวเลขที่จะบอกว่า คุณสามารถทำกำไรได้กี่บาทจากการลงเงิน 100 บาท
ROA คือ ตัวเลขที่บอกว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้กี่เปอร์เซ็นต์จากสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่
นักลงทุน/เทรดที่ประสบความสำเร็จ เขาจะคำนวนถึง Reward หรือ Upside (ตามความเป็นจริง ตอบได้ตามวิทยาศาสต์ คำนวนตามตัวเลขที่เป็นจริง – มิใช่จินตนาการ) ก่อนลงเงิน ว่ามันคุ้มหรือไม่
แตกต่างจากมือสมัครเล่น ซื้อทุกตัว ฝันจะได้กำไรเป็นเด้งทุกตัว แต่ถ้าถามเจาะลงไปว่า มันจะขึ้นเพราะอะไร ก็ไม่รู้ แค่ฝันกลางวันไปว่า เดี๋ยวเจ้ามือก็จะเข้ามาปั่น แถมปั่นแบบไม่พัก เพราะอยากให้เราได้กำไร
๖. ธุรกิจจริง ๆ สนใจ NPL
ธุรกิจใด ที่มี NPL สูง มีโอกาสเจ๊ง สูงมากตาม พวกเขาต้องปรับให้ค่านี้อยู่ในลิมิตขั้นต่ำเสมอ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และป้องกันความเสี่ยง NPL คือ หนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ นั่นเอง
นักเล่นหุ้นสมัครเล่นนั้น ชอบติดหุ้น ไม่ขายไม่ขาดทุน หุ้นตัวไหนที่ขาดทุนขอเก็บไว้ก่อน เดี๋ยวก็กลับมา แต่ปัญหาคือ หนึ่งในนั้นมักจะมีหุ้นตัวที่มันเลวร้ายจริง ๆ (ส่วนใหญ่กลับมา) แต่การมีตัวซวยตัวเดียว ก็เพียงพอที่จะทำให้ทั้งพอร์ตเสียหายยับเยินได้ เพราะมันจะทำหใพวกเรา หน้ามืด ถัวเฉลี่ยขาดทุน ขายหุ้นผู้ชนะตัวดี ๆ กำไร เอามาถัวเฉลี่ยแก้ไข กู้ชีวิต หุ้นเน่าตัวเดียว ผลก็คือ เงินทั้งพอร์ต มาจมกับหุ้นเน่าตัวเดียว ความชิบหายยับเยินจะซ้ำเติมก็เมื่อตลาด panic พอร์ตแทบลดลงมีเงินเหลือไม่ถึง 30% ก็มีมากมาย