การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

6 ยอดประโยชน์ ของ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

6 ยอดประโยชน์ ของ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มีอะไรบ้าง?
บทความนี้ผมจะยกตัวอย่างให้ทราบกัน
เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ คือ Moving average อันเป็นต้นตำหรับ ที่เราเอาแนวคิดมาจากฝรั่งนั่นเอง
มันเป็นเส้นที่เกิดจากการคำนวนราคาปิดของแท่งเทียน ที่มีหลากหลายสูตร
มีทั้ง SMA, EMA, WMA ฯลฯ
พวกนี้ท่านสามารถค้น google หาิธีคำนวนเองได้เลย ผมไม่ขอลงรายละเอียด เพราะไม่จำเป็น
ผมอยากจะเน้นให้ท่านเอาไปประยุกต์ใช้งาน ดีกว่า

ใช้เส้นค่าเฉลี่ยแบบไหน ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด?
ฝรั่งเขาบอกว่า ถ้าคุณต้องการความแม่นยำระยะสั้น ให้ใช้ EMA
เพราะเส้นค่าเฉลี่ย EMA จะวิ่งไกล้แท่งราคามากที่สุด เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อให้ตอบสนอง วิ่งทันราคาระยะไกล้มากกว่า
นักเทรดระยะสั้น เช่น เดย์เทรด หรือ สวิงเทรดระยะสั้น ใช้ EMA จะดีกว่า
เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น คือ 5 , 10, 20, 50 วัน

แต่ถ้าใครเป็นนักลงทุน ระยะกลาง - ยาว
เขาบอกว่าให้ใช้เส้น SMA จะดีดว่า เพราะมันเสถียร คือ วิ่งตามช้า แต่มั่นคงกว่า
สังเกตง่าย ๆ คือ ราคาวิ่งร่วงแรง แต่เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว ยังวิ่งเฉียงขึ้นอยู่เลย

ประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
๑) ใช้ดูแนวโน้มได้
เส้นค่าเฉลี่ย วิ่งเฉียงชันขึ้น ใต้แท่งราคา แสดงว่า เป็นแนวโน้มขาขึ้น
เส้นค่าเฉลี่ย วิ่งเฉียงชันลง เหนือแท่งราคา แสดงว่า เป็นแนวโน้มขาลง

๒) ใช้ดูความแข็งแรง อ่อนแรง ของแนวโน้มได้
ราคาวิ่งห่างจากเส้นค่าเฉลี่ย ยิ่งห่างมาก ยิ่งแข็งแรง

๓) ใช้เป็นแนวรับ แนวต้านได้
หุ้นแทบทุกตัว จะมีเส้นค่าเฉลี่ยที่เป็นแนวรับ แนวต้านของมัน
หากท่านปรับเส้นให้ดี ก็จะได้จุดซื้อ แบบ buy on dip (ซื้อที่แนวรับ) และ ขายที่แนวต้านได้

๔) ใช้เป็นจุด ซื้อ - ขาย หุ้นได้
- ซื้อที่แนวรับ ที่โซนเส้นค่าเฉลี่ย แบบ buy on dip ได้
- ซื้อเมื่อราคาเกิด golden cross
- ซื้อเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่นระยะยาวขึ้น

- ขายเมื่อราคาหลุดเส้นค่าเฉลี่ยที่เคยเป็นแนวรับมาก่อนได้
- ขายเมื่อเกิด dead cross
- ขายเมื่อราคา ซิ่งแรง ห่างจากเส้นค่าเฉลี่ยมาก ๆ

ข้อดีของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ที่เห็นชัดที่สุด คือ มันเป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐาน ที่ทุกโปรแกรมดูกราฟหุ้น เขาให้มาแบบฟรี ๆ
แม้แต่เว็บไซต์ที่ให้ดูกราฟหุ้นฟรี ๆ ก็ยังมีให้บริการเลย
ซึ่งของฟรีแบบนี้ เปิดดูที่ไหนก็ได้แบบนี้ ถ้าท่านใช้ประโยชน์มันเป็นนะ คุ้มค่ามาก

ผมเป็นนักเทรดที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคบื่อนที่เป็นคู่มือทำเงินครับ
ก็สามารถทำเงินได้ดี ไม่เครียดด้วย
การเทรดทำเงินได้ ไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อนหรอกครับ
ท่าง่าย ก็ได้เงิน

หนังสือบอกประโยชน์ของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และ แนวทางการเทรด
หากท่านต้องการได้เคสการเทรดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ผมได้อัดประโยชน์ของมันแต่ละเส้น พร้อมเคสแบบจัดหนัก ปล่อยของไม่มีกั๊ก
สามารถซื้ออ่านได้ครับ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" กับ " หุ้นซิ่งสวิงเทรด"


หนังสือ รวมเทคนิคเทรดหุ้น ด้วย เส้นค่าเฉลี่ย

หนังสือ รวมเทคนิคเทรดหุ้น ด้วย เส้นค่าเฉลี่ย
เข้าไปหาซื้อหนังสืออ่านได้ที่ www.facebook.com/zyobooks


คลิปสอนเทคนิคเทรด ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย
คลิกเข้าไปดูที่ลิงค์นี้นะครับ
เส้น ค่า เฉลี่ย เคลื่อนที่ moving average
https://www.youtube.com/playlist?list=PL-aoBPT-frlj9HXnH5m5ZDrH9MgG1LYWn

เทคนิค การ เทรด เส้น EMA
https://www.youtube.com/playlist?list=PL-aoBPT-frljh6xK9iKlj8emUkpaEq-hd

ผมไม่สามารถเอาคลิปมาแปะได้ทั้งหมด เพราะมันจะโหลดช้ามาก
ให้ท่านเข้าไปชมใน YouTube เลยดีกว่าครับ

รายชื่อคลิป รวมเทคนิคเทรดหุ้น ด้วย เส้นค่าเฉลี่ย มีดังนี้
- SMA, EMA WMA ใช้เส้นค่าเฉลี่ยอันไหนดี
- การแบ่งระยะหุ้น 4 ระยะด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์
- เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน แนวต้านทางจิตวิทยาของหุ้นขาลง
- เส้นค่าเฉลี่ย SMA ที่นิยมใช้ มีอันไหนบ้าง
- แชร์เทคนิคเทรดด้วยเส้นค่าเฉลี่ย - แท่งราคาตัดเส้นขึ้นซื้อ ตัดลงขาย
- เส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์ เทียบได้กับกี่วัน
- เทคนิค และแนวทางการสวิงเทรดด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จากหนังสือ หุ้นซิ่งสวิงเทรด
- แชร์วิธรตั้งค่า เส้นค่าเฉลี่ย EMA ใน Streaming สำหรับมือใหม่เล่นหุ้น
- หลักพื้นฐาน 15 ข้อ เพื่อการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น
- วิธีแบ่งแนวโน้มหุ้น ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน และ 200 วัน
- 6 เส้นค่าเฉลี่ยเทพ ที่เซียนหุ้นใช้กันอย่างแพร่หลาย
- วิธีแยกแนวโน้มหุ้น ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 30 สัปดาห์
- 5 จุดซื้อหุ้นที่ดี สำหรับนักลงทุน
- 50 day Rule หลักการ trailing stop ทนรวยด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
- วิธีใช้เส้นค่าเฉลี่ย เพื่อวิเคราะห์ราคาหุ้น ว่าราคาน่าเข้าซื้อหรือยัง
- วิธีใช้ Daily chart (กราฟหุ้นรายวัน) เพื่อหาจังหวะซื้อหุ้น ที่เสี่ยงต่ำ
- เทคนิคจับจังหวะซื้อ ขายหุ้น ด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ย ดู Market Cycle และ การเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
- สรุปหลักการพื้นฐาน เทคนิคเก็งกำไรด้วยเส้นค่าเฉลี่ย อย่างง่าย ๆ
- สรุปเทคนิควิเคราะห์หุ้นด้วย Moving Average ระยยะสั้น, กลาง, ยาว ด้วยเส้น 5, 10, 21, 50, 100 และ 200 วัน



(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ







และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน