เรียบเรียงจาก medium.com/@skueong/thinking-in-bets-making-smarter-decisions-when-you-dont-have-all-the-facts-book-notes
การมองการตัดสินใจทุกครั้งว่าเป็นการเดิมพัน มันจะช่วยให้เราค้นพบกับดัก/หลุมพรางในการตัดสินใจ เพื่อหลีกเลี่ยงและเรียนรู้จากมัน รวมถึงป้องกันไม่ให้อารมณ์เข้ามามีส่วนร่วมในระหว่างกระบวนการตัดสินใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สองสิ่งที่กำหนดผลลัพธ์จากการเดิมพัน
๑. คุณภาพของการตัดสินใจ
๒. โชค
บทที่ ๑ ชีวิต คือการเล่นเกมโป๊กเกอร์ มิใช่หมากรุก
โป๊กเกอร์ สอนให้เรา สนใจในผลลัพธ์ ความอันตรายของผลลัพธ์
ทำให้ผู้เล่นหักห้ามใจตัวเองไม่ให้เปลี่ยนแผนระหว่างทาง เพียงเพราะว่าผลลัพธ์ระยะสั้นไม่ได้ดังใจ
เมื่อเรามองย้อนจากผลลัพธ์ กลับไป ยังต้นตอ/กระบวนการ จะทำให้เห็นว่าระหว่างนั้นเราเดินไปตกหลุมพรางอะไรบ้าง หากเอามาวางเป็นโครงสร้าง/กฎ/กระบวนการคัดกรองเอาไว้ ครั้งหน้าก็จะไม่พลาดซ้ำ
Von Neumann บอกว่า หมากรุกไม่ใช่เกม มันเป็นการคำนวนที่มีรูปแบบชัดเจน ซึ่งไม่เหมือนการใช้ชีวิตจริง Real life ประกอบด้วยการบลัฟ(เกทับ), กลเม็ดล่อลวงเล็ก ๆ น้อย ๆ, การถามตัวเองว่าถ้าเราทำแบบนี้คนอื่นจะคิดยังไง นี่แหละเป็นเกมในแบบที่ นอยมันน์เห็น
โป๊กเกอร์เป็นเกมที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน มันเป็นเกมที่เราต้องตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอนของช่วงเวลา ยังมีข้อมูลที่มีค่าซ่อนอยู่ในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมี "โชค" เป็นองค์ประกอบของผลลัพธ์อีกต่างหาก แม้ว่าทุกจุดคุณตัดสินใจได้ดี แต่คุณก็ยังคงแพ้เพราะคุณไม่รู้ว่าไพ่ใบใหม่จะออกหน้าไหน ซึ่งคุณต้องบริหารจัดการตามการเผยตัวของมัน
เมื่อเกมจบ คุณต้องทำงานต่อด้วยการเรียนรู้ แยกคุณภาพการตัดสินใจออกจากอิทธิพลของโชค (ซึ่งเป็นเรื่องยาก)
สิ่งที่ทำให้การตัดสินใจที่ดีไม่ใช่ว่ามันมีผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม การตัดสินใจที่ยอดเยี่ยมเป็นผลมาจากกระบวนการที่ดี และกระบวนการนั้นจะต้องรวมถึงความพยายามในการแสดงสถานะความรู้ของเราเองอย่างถูกต้อง ในที่สุดสถานะของความรู้นั้นก็คือ“ ฉันไม่แน่ใจ”
ผู้เชี่ยวชาญจะได้เปรียบมากกว่ามือใหม่ เพราะสามารถคาดเดาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้แม่นกว่า
ถ้าเราไม่สามารถแยกแยะระหว่าง
- ความสามารถในการคัดตัวเลือกที่ดี(ตามแหล่งข้อมูลที่ได้) กับ
- ประเภทการตัดสินใจที่เราต้องเลือกใช้ และ
- วิธีการลงมือทำที่ดี
คนนั้นจะพบกับความเจ็บปวด
เมื่อเราคิดล่วงหน้าไปถึง
- โอกาสในการเกิดผลลัพธ์ ที่หลากหลาย และ
- ทำการตัดสินใจ จากพื้นฐานของโอกาสเหล่านั้น
มันไม่ได้หมายความว่าเราผิดพลาด ถ้าหากว่าผลลัพธ์ไม่ได้ออกมาตรงใจ
มันหมายความเพียงแค่ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่มันเป็นไปได้จากทางเลือกทั้งหมด
การคาดการณ์(ทำนายอนาคต) ไม้ว่าจะแม่นยำ 100% หรือ 0% ก็ไม่ใช่ความผิดพลาด เพราะอนาคตนั้นไม่อาจคาดเดาได้
การตัดสินใจ เป็น การเดิมพันเกี่ยวกับอนาคต มันจึงไม่มีถูกหรือผิด เพราะเราเลือกตัดสินใจตามทางเลือกและความน่าจะเป็นซึ่งมีพื้นฐานมาจากทรัพยากรที่เรามี(หรือ โฟกัส)
เมื่อเราคิดถึงผลลัพธ์ผ่านมุมของความน่าจะเป็น เราจะใช้ผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการเป็นตัวพิสูจน์ว่าเราคิดผิด ดังนั้นถ้าเรามีการลิสต์ทางเลือกเอาไว้ที่หลากหลายและคิดถึงคว่าน่าจะเป็นเอาไว้ที่หลากหลาย ก็เป็นไปได้ที่เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้น (แต่ถึงกระนั้น โชคชะตามก็จะเข้ามาแทรกแซง-เปลี่ยนผลลัพธ์ได้เช่นกัน เผื่อใจไว้ด้วยก็ดี)
การนิยามความผิดพลาดที่ดี จะช่วยให้เราปล่อยความเจ็บปวดเมื่อเจอผลลัพธ์ที่แย่ได้ แต่ถึงกระนั้น-ไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปปรับเปลี่ยนความผมายของ "ความถูกต้อง" ได้เช่นกัน
พูดง่าย ๆ คือ ผลลัพธ์ที่ผิดหวัง ไม่ใช่ความผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ตรงใจ ก็มิใช่ชัยชนะ จิตใจของเราก็จะสงบขึ้น
บทที่ ๒ เดิมพันกันมั้ย?
เมื่อใดก็ตามที่เราลือกปฏิเสธ choice ที่เป็นไปได้ choice เหล่านั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบ ซึ่งอาจทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ดีหรือแย่กว่าที่คาดก็ได้ ดังนั้นทุก ๆ การเลือก มันมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่เสมอ
การตัดสินใจของเรา คือ การเดิมพัน
เราตัดสินใจกันเป็นประจำ ผ่านการเลือกใช้ทรัพยาการ ด้วยการพิจารณามันผ่านความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป เลือกสิ่งนี้จะได้ผลลัพธ์ยังไง นั่นแหละคือการเดิมพัน
การตัดสินใจของเราส่วนใหญ่ ไม่ได้เดิมพันกับคนอื่นหรอก แต่เรากำลังเดิมพันกับอนาคตของตัวเอง
เราจะลงมือเดิมพัน ถ้าคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้น สูงกว่าการยอมแพ้/อยู่เฉย ๆหรือหมอบ
แน่นอนว่า เราเดิมพัน ตาม ความเชื่อของเราเอง
ความเชื่อที่ดี มาจากการเรียนรู้จากความหลากหลายของชีวิต ไม่ใช่ความเชื่อของตัวเองแบบเดี่ยว ๆ คุณต้องปรับคามเชื่อตัวเองให้เป็นกลาง และสอดคล้องกับความหลากหลาย (ตามประสบการณ์และการเรียน/หาความรู้) แบบนี้จะทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น
Daniel Gilbert บอกว่า เรามักจะเชื่อว่า สิ่งที่เราได้ยินและอ่านนั้นเป็นความจริง แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำเสนออย่างชัดเจนว่าเป็นเท็จ แต่เราก็ยังมีแนวโน้มที่จะประมวลผลข้อมูลนั้น ว่า "เป็นความจริง"
การพยามยามค้นหาความจริง อาจไม่ได้ความจริง
เพราะธรรมชาติมนุษย์นั้น มักคิดว่าตัวเองเป็นคนเปิดกว้างและสามารถเปลี่ยน/ปรับปรุงความเชื่อตามข้อมูลใหม่ได้ แต่จากการวิจัยพบว่า แทนที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อของตัวเองไปตามข้อมูลใหม่ เรากลับ-ปรับเปลี่ยนการตีความข้อมูลนั้นให้เข้าข้าง-ตรงกับความเชื่อของเราไปซะอย่างนั้น
เมื่อคุณปักใจเชื่อไปแล้ว ก็ยากจะเปลี่ยนใจไปเชื่อเรื่องตรงข้าม
ความร้ายกาจของข่าวปลอม Fake News ก็คือ มันได้สร้างความเชื่อให้กับผู้ชมที่ตั้งใจจะเชื่อรออยู่แล้ว อินเตอร์เน็ทเป็นแหล่งแพร่ที่ทรงพลัง มันสามารถกระตุ้นให้เราเลือกปักใจเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้จะมีความเห็นต่างในนั้นมากมายก็ตาม และเราจะพยายามเข้าหาแหล่งข้อมูลที่สนับสนุน/พูดถึงความเชื่อของเราเท่านั้น
เมื่อมีคนท้าทาย เดิมพันว่าความเชื่อของเรานั้นผิดเพี้ยน มันยิ่งกระตุ้นให้เราหาเหตุผลหลาย ๆ อย่างมาสนับสนุนว่าความเชื่อของเรานั้นถูกต้อง โดยอัตโนมัติ (แทนที่จะเปิดใจรับ)
แต่เมื่อถูกท้าทายการเดิมพัน ด้วยจำนวนเงิน เราจะมีความรรอบคอบมากขึ้น ไม่บุ่มบ่ามท้าทาย เปิดใจมากขึ้น
นอกจากเราจะแสดงให้คนอื่นเห็นถึงความเชื่อของตนเอง แลเว เรายังมีการแอบให้คะแนนความเชื่อของตนเอง (0-10) อีกด้วย
ความเข้มข้นของควาามเชื่อนั้น ขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลมาเชื่อมโยงกันของตัวเราเอง ไม่ใช่การมีข้อมูลที่หลากหลาย
บทที่ ๓ เดิมพัน เพื่อเรียนรู้
ความต่างที่ยิ่งใหญ่ระหว่าง การได้รับประสบการณ์
กับ ได้รับความเชี่ยวชาญ คือ
ความสามารถในการระบุว่าผลลัพธ์ของการตัดสินใจของเรานั้น มันมีบางสิ่งที่สอนเรา และให้บทเรียนเราอะไรบ้าง
การตัดสินใจอะไรก็ตาม มันคือการเดิมพัน ว่าอนาคตเราจะได้อะไร (ซึ่งผลลัพธ์มีทั้งสมหวังและผิดหวัง) คนที่จะก้าวหน้ากว่าใครก็คือคนที่กล้าเรียนรู้จากผลลัพธ์นั้น(ที่งแย่และดี) เพื่เอาไปเป็นข้อมูลไปเดิมพัน(ในลักษณะเดียวกัน) อีกครั้งในอนาคต
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว เราต้องปรับปรุงตัวเอง ให้มีความสามารถในการแยกแยะ ว่าผลลัพธ์นั้นมันให้บทเรียนที่ดีอะไรกับเราบ้าง และเมื่อไหร่ที่จะตัดตอนวงจร feedback loop
หากการตัดสินใจของเรา ไม่มีผลกระทบอะไรมากมายนัก(สุ่ม) โชคจะเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดผลลัพธ์
มนุษย์ส่วนใหญ่ มี pattern ในการมองผลลัพธ์ที่เหมือนกันคือ ถ้าผลโดนใจก็จะให้เครดิตตัวเอง ผิดหวังจะโทษโชคชะตาหรือโทษชาวบ้าน น้อยคนนักที่จะกล้าเรียนรู้บทเรียนจากผลลัพธ์เหล่านั้น
วิธีการชดเชยอคติทางความเชื่อของตนเอง อันเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ ก็คือ เรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่น
แทนที่จะรู้สึกแย่เมื่อต้องยอมรับความผิดพลาด ให้คิดต่อไปว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากความเจ็บปวดนี้มันขัดขวางโอกาสในการเรียนรู้ของเรา
บทที่ ๗ การผจญภัยในห้วงจิตใจ
เครื่องมือของ Jack Welch ตั้งคำถามผ่านกรอบของอดีต ว่า "ฉันจะรู้สึกอย่างไรว่า ถ้าฉันตัดสินใจแบบนี้ เมื่อสิบปีที่แล้ว สิบเดือนที่แล้ว หรือ สิบปีที่แล้ว?"
ปัญหาของเราก็คือ มาตรวัดความสุขของเรา ที่ใช้วัดในขณะปัจจุบันเท่านั้น(ความสุขทันใด) ซึ่งวิธีที่ฉลาดและยั่งยืนกว่าคือ การคิดถึงความสุขในระยะยาว เหมือนการถือหุ้น(ตัวเอง)ในระยะยาว
คิดถึงอนาคตที่อยู่ในเซ็ทของลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (มาจากการจินตนาการ (best/worst scenario) มันจะช่วยให้เรารู้ว่าตัดสินใจแบบนี้จะเกิดอะไรขึ้น หาความเป็นไปได้ แล้วเดิมพันไปที่ความน่าจะเป็นที่จะชนะ
นักโป๊กเกอร์ที่ดีที่สุด จะคิดถึงผลกระทบจากการตัดสินใจจากปัจจุบัน ว่าหากเดิมพันไปแล้วฝ่ายตรงข้ามจะตัดสินใจอย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์การขาย หรือ กลยุทธ์ทางธุรกิจ หรือกลยุทธในห้องพิจารณาคดี นักยุทธศาสตร์ที่ดีจะพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เป็นไปได้เท่าที่จะนึกถึง จากนั้นจะเลือกวิธีการตอบสนองต่อแต่ละสถานการณ์แบบเจาะจง
การจินตนาการว่าเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเพิ่มความสามารถในการระบุสาเหตุของผลลัพธ์ในอนาคตได้ถูกต้อง 30%
Premortem ระบุ worst case สิ่งที่น่ากลัวเอาไว้ ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น จะช่วยสร้างความท้าทายให้เรา ในการหาทางปกปิด ป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้
แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์
ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo
***********