สรุป The Money Game by Adam Smith
แปลจาก novelinvestor.com/notes/the-money-game-by-adam-smith
- ตลาดหุ้น/เก็งกำไร คือ เกม
- บางคนเข้ามาเล่นเกมเพื่อความสนุก เปลี่ยนบรรยากาศ
- บางคนมาเล่นเกมตามหลักทฤษฎีเกม หลักคณิตศาสตร์เพื่อหาความน่าจะเป็นที่จะได้กำไร
- การลงทุนในตลาดหุ้น คือเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะการลงทุน คือการใช้ประโยชน์จากจิตวิทยาฝูงชน เพื่อให้คาดเดาได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่(ที่คิดเหมือน ๆ กัน)
- เป้าหมายของคนส่วนใหญ่คือเข้ามาเพื่อทำเงิย แต่บางคนก็เข้ามาเพื่อเล่นเกมเท่านั้น (ซึ่งเขาต้องอยู่ในเกมตลอดเวลา)
- มูลค่าของหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้น ถามสิบคน ก็จะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน บางคนใช้หลักการประเมนมูลค่า ส่วนใหญ่ก็ใช้อารมณ์
- อารมณ์มนุษย์ ทำให้ทฤษฎี, กลยุทธ์, หรือมุมมองเกี่ยวกับตลาดที่ไม่สมบูรณ์แบบ, ไม่แม่นยำ, บางครั้งผิด, และไร้เหตุผล อารมณ์ทำให้ตลาดมีชีวิต, ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
- คุณต้องรู้จักตัวเอง ช่างสังเกต ซื่อสัตย์ต่อตนเอง และเรียนรู้จากความผิดพลาด การตัดสินใจเกิดจากอคติของเราเกี่ยวกับการลงทุนนั้น จงเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากมัน
กฎข้อ ๑ ถ้าคุณไม่รู้จักตัวเอง ตลาดหุ้น/เก็งกำไร เป็นสถานที่ที่คุณจ่ายแพงเพื่อหาคำตอบ
- วุฒิภาวะทางอารมณ์ การรักษาความนิ่ง วินัย ความอดทน จะมีประโยชน์ในการเอาตัวรอดผ่านสถานการณ์ในเกมการเทรดที่เต็มไปด้วยความเครียด วิตกกังวล
ความวิตกกังวล ความเครียด จนต้องใช้อารมณ์นี่แหละที่ทำให้การลงทุน/เทรด/เก็งกำไรมีค่าใช้จ่ายราคาแพง
- Mass มักจะแพ้ และผิดเสมอ
- ทุกคนมักเชื่อว่าตัวเองเป็น "นักสวนกระแส - contrarian" ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งของ mass เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์แล้ว เรามักรู้สึกสบายใจเสมอเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของ mass
- ในภาวะฟองสบู่ เป็นช่วงที่ทุกคนมีความสุข แล้วจากนั้นราคาก็จะกลับตัวแรง
- ทำไมพวกเขาถึงเล่นเกม? มีหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็น ต้องการแสดงออก, สร้างภาพ, ทำตามกระแสมวลชน, เป็นคนวงใน, อวดชาวบ้าน ฯลฯ
- มีน้อยคนนักที่เข้ามาเล่นเกมเพื่อเงิน
- ผู้เข้าร่วมทั้งหมด เล่นเกมต่างกัน แต่ละคนสร้างกฎของตนเองขึ้นมา มีคำจำกัดความเกี่ยวกับชัยชนะที่แตกต่างกันไป และพวกเขาก็มักจะเปลี่ยนกฎและคำจำกัดความได้บ่อยตาม performance ของตนเอง
- ความโลภและความกลัว เป็นอารมณ์ที่รุนแรงที่สุด เพราะไม่มีใครชอบที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่า เราเกลียด/กลัวความพ่ายแพ้(ขาดทุน)มากกว่าชนะ(กำไร)
- ความโลภและความกลัว และอารมณ์อื่น ๆ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน เปลี่ยนเป้าหมายและกำหนดลิมิตของความสำเร็จ/ความพยายาม ลังเล ไม่กล้าตัดสินใจ กล้า มั่นใจ มุทะลุ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอันตรายต่อความสำเร็จในการเทรด/ลงทุน
- ไม่ว่านักลงทุนจะเริ่มต้นสไตล์ไหนก็ตาม พื้นฐาน/เทคนิคอล/ไสยศาสตร์ อีกไม่นานก็จะตัดสินใจเหมือนกัน คือไม่ ผ่านความโลภ ก็ความกลัว
- เป้าหมายสุดท้ายของการลงทุนคือ คือ ความสงบสุข สามารถเลี่ยงความวิตกกังวล ซึ่งคุณต้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร และกำลังทำอะไรอยู่
กฎข้อที่ ๒ ตัวตนของนักลงทุน และกระบวนการลงทุน ต้องแยกจากกันให้เด็ดขาด
- ความผูกพัน หรืออารมณ์ใด ๆ ที่เอาไปใช้ในการลงทุน จะนำพาให้เกิดประสบกาณ์ที่เลวร้ายสำหรับนักลงทุน
- สิ่งสำคัญที่คุณต้องตระหนักให้ชัด คือ "หุ้นไม่รู้ว่าคุณเป็นเจ้าของมัน" มันไม่สนใจคุณ
- คุณต้องไม่ผูกมันตัวเองกับหุ้น สามารถตัดทิ้งมันได้ ถ้ามันไม่ทำเงินให้
- ระวังการตั้งเป้าหมายที่เป็นตัวเลขที่เจาะจง ตั้งง่ายแต่ทำตามได้ยาก เพราะคุณจะปรับมันด้วยความอิจฉา กลัว และความโลภ
- ไม่มีระบบไหนที่เวิร์ค ทำเงินได้ตลอดเวลา/ในตลาดทุกประเภท บางครั้งการอยู่เฉย ๆ ไม่เข้าไปเล่น (ถ้าเห็นว่าเสี่ยงมาก) ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากกว่า
- ปัญหาของบริษัทที่เติบโตสูง คือ มันไม่สามารถรักษาการเติบโตให้ยั่งยืนได้ ถ้าไม่โตราคาหุ้นจะถูกทำลาล้างทันที เพราะมันจะถูกลอกเลียนแบบ มี supply ล้นตลาด การลดราคาเพื่อแข่งขันทางราคาจะตามมา นั่นแหละคืออาถรรพ์ของการเติบโตสูง
- Bias ของ Adam Smith คือ การโฟกัส กระจายความเสี่ยงได้ แต่ต้องลงตัว ไม่มากเกินไปจนได้ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่า
กฎข้อ ๓ หาคนฉลาดให้เจอ Find smart people
- ดูความสำเร็จในอดีตของเขา
- หลายคนเลือกที่จะเล่นเกมด้วยการคัดเลือกตัวที่ดีที่สุด (คัดนางงาม) ผ่านการคาดเดาความเห็นของ mass เรากำลังคิดอยู่ว่าคนอื่นกำลังทำอะไรและจะทำอะไร
- การเทรด/ลงทุนให้ได้ชัยชนะ มักจะเป็นการทำตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ (mass) เมื่อคนส่วนใหญ่ขาดทุนหนัก จะมีคนส่วนน้อยได้กำไรจากมัน แต่การคิดสวนมวลชนมักเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ไม่สบายใจ
- หากมีคนบอกว่าระบบหนึ่ง เวิร์คมาก สามารถนำนายว่าคนอื่นทำอะไรอยู่ เมื่อทุกคนใช้มัน ระบบนั้นจะไม่เวิร์คอีกต่อไป
- แนวโน้มจะยังคงไปต่ออย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะกลับตัว
- pattern ในอดีต จะกำหนดท pattern ในอนาคต ซึ่งโมมนตัมจะเห็นชัดผ่านกราฟ
- ไม่มีใครวัดปริมาณอารมณ์ได้ คำนวนไม่ได้ด้วย ราคาหุ้นที่แพงแล้วยังสามารถแพงได้อีก และที่ว่าถูกก็สามารถถูกได้มากกว่านั้นได้เช่นกัน
- ในทุกการเคลื่อนไหวของตลาด จะมีคนโชคดี(ฟลุกกำไร)
- แต่ก็มีนักลงทุนบางคน ประสบความสำเร็จโดยไม่มีระบบใด ๆ เป็นพิเศษ เขาอาจใช้สัญชาตญาณส่วนตัว หรือเข้าถึงข้อมูลได้ดีกว่า
- ความเชื่อมั่นทางตัวเลข มักจะไม่แม่นยำ เพราะตลาดหุ้นนั้นเกิดจากอารมณ์ที่ไม่สามารถวัดได้ ยิ่งใช้คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากเท่าไหร่ ผลลัพธ์ก็ยิ่งคล้ายกับการเสี่ยงโชคเท่านั้น
- มาตรฐานทางบัญชีและงบการเงินก็มีความแม่นยำเช่นกัน แต่นั่นก็เป็นข้อมูลในอดีต ไม่มีความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่าเสื่อมราคา การตัดจำหน่าย การประเมินสินค้าคงคลัง ค่าความนิยม ฯลฯ
- การลงทุนเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์
- ตลาดไม่เป็นไปตามตรรกะ มันเป็นไปตามกระแสน้ำที่ลึกลับของจิตวิทยามวลชน
- สภาพคล่องหรือขาดสภาพคล่องเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ไล่ตามประสิทธิภาพระยะสั้น หากทุกคนต้องการออกไปและไม่มีใครซื้อ
- จิตวิทยามวลชน จะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้านักลงทุนรุ่นใหม่ เพราะพวกเขายังใหม่เกินไปที่จะจำช่วงเวลาที่เลวร้ายของตลาด และพวกเขาจะพ่ายแพ้ในตลาดปัจจุบัน ดังนั้นพวกเขาจึงศรัทธาใน คณิตศาสตร์ยุคใหม่ เศรษฐศาสตร์ใหม่ และตลาดใหม่
- การวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยมและเข้าใจง่าย แต่คนส่วนใหญ่จะยังคนไม่เชื่อจนกว่ามันจะพิสูจน์ว่าจริง
- เงินคือ รางวัลของเกมการทำคะแนน เป็นเส้นทางสู่ความร่ำรวย ปริศนาอยู่ที่คุณนิยามถึงความร่ำรวยนั้น คุณสามารถปฏิบัติต่อมันเหมือนผู้ครอบครอง ถือครองเพื่อดูว่าใครสะสมมันมากที่สุด หรือถือจนถึงวาระสุดท้าย หรือแม้กระทั่งเพื่อให้อิสรภาพทางการเงินแก่คุณ
(แนะนำหนังสือของ Zyo)