Mastering the Market Cycle by Howard Marks
แปลจาก www.investorsingh.com/mastering-the-market-cycle-by-howard-marks-an-executive-summary/
‘Getting the odds on your side’ เลือกอยู่ในฝั่งที่ได้เปรียบเท่านั้น
หลัก ๕ ประการสำหรับสร้างปรัชญาการลงทุนให้ได้ชัยชนะ
๑) ศึกษาเทคนิคการทำบัญชี, การเงิน และ เศรษฐศาสตร์ ล้วนมีความจำเป็น แต่ยังไม่เพียงพอ
๒) ศึกษา เฝ้าดู ว่าตลาดการเงินทำงานอย่างไร
๓) อ่าน ลองอ่านงานที่อยู่นอกเหนือความสนใจ
๔) แลกเปลี่ยนความรู้กับนักลงทุนคนอื่น
๕) มีประสบการณ์กับการลงทุน/เก็งกำไร ลงทุนให้นานพอ จนผ่านวัฏจักรขึ้นและลงให้ครบ คุณจะมีประสบการณ์และรู้จักเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า
บทที่ ๑ ทำไมต้องศึกษาวัฏจักร
เพราะคุณต้อง ‘Getting the odds on your side’ เลือกอยู่ในฝั่งที่ได้เปรียบเท่านั้น
นักลงทุนขั้นเทพ คือคนที่..
- ใส่ใจกับวัฏจักร
- มีเซนส์ รู้ว่าลักษณะสภาพตลาดม การเคลื่อนไหวราคา ในขณะนั้นมันคุ้มค่าต่อการเสี่ยงหรือไม่
- มองแนวโน้มอนาคตออกว่า ถ้าลงทุนในตอนนี้ เขาจะได้เปรียบมากกว่าความเสี่ยง หรือยังคงเสี่ยงอยู่
สิ่งที่นักลงทุนควรสละเวลาเรียนรู้มากที่สุด ๓ เรื่องนี้
๑. รู้ให้มากกว่าคนอื่น โดยเฉพาะในเรื่องของ พื้นฐานของอุตสาหกรรม, บริษัท และ หลักทรัพย์
๒) รู้เรื่องการมีวินัย ในการควบคุมตนเอง ทำตามกฎและแผนที่วางไว้
๓) รู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมของสิ่งที่เรากำลังลงทุน สามารถตัดสินใจและเลือกกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุด
บทที่ ๒ ธรรมชาติของวัฏจักร
- ค่ากลาง คือทุกอย่าง แม้ราคาจะแกว่งขึ้นแรง ลงหนัก แต่ในที่สุดแล้วมันต้องกลับมาที่ค่ากลาง
- อย่าได้โฟกัสไปที่เหตุการณ์เดียว แต่จงมองต่อไปว่า จากนั้นจะเกิดอะไรขึ้น
- จุดสูงสุด (มองโลกในแง่ดี) จุดต่ำสุด (มองโลกในแง่ร้าย) คือสองด้านในเหรียญเดียวกัน
- Cycle คือ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้, เป็นสิ่งใหม่สำหรับคนที่ไม่เคยจดจำอดีต, มีการพักฐาน(ย่อตัว) และมักจะถูกมองว่า ขาดความสมมาตร
- อย่าได้โยนผ้ายอมแพ้ในยามที่เกิดความหดหู่ที่สุด และอย่าได้กระโจนเข้าร่วมในเวลาที่สุขใจที่สุด
บทที่ ๓ ความสม่ำเสมอของ cycle
- เราอาศัยอยู่ในโลกที่ให้ผลลัพธ์แบบสุ่ม ความเป็นมนุษย์คือความปัจเจก สิ่งที่เขาเลือกทำจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเกิม แม้ว่าพวกเขาจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และนั่นเองที่ทำให้ cycle คาดเดาได้แม่นยาก
- บางครั้ง cycle ก็ไม่สมบูรณ์ การคาดการณืตามทฤษฎีจึงเป็นไปในแบบสุ่ม เพราะถ้า cycle มันคาดเดาได้ง่าย คนทั้งโลกรู้กันหมด ก็ไม่ควรจะมีเกมการเก็งกำไรกันแล้ว
บทที่ ๔ วัฏจักรเศรษฐกิจ
วัฏจักรเศรษฐกิจ เป็นรากฐานที่ก่อให้เกิดวัฏจักรแทบทุกอย่างในโลกธุรกิจและตลาดหุ้น เพราะเมื่อเศรษฐกิจขยายตัว บริษัทก็จะเติบโต กำไรเพิ่ม ราคาหุ้นก็สูงขึ้น
- ควรโฟกัสไปที่แนวโน้มเศรษฐกิจระยะยาวมากกว่าระยะสั้น มองไปที่ค่ากลางหรือค่าเฉลี่ย ระยะสั้นแกว่งแรง แต่ระยะยาวจะมีความเสถีบรมากกว่า
- ความอิ่มเอมจะไม่ยั่งยืน เช่นเดียวกันกับความทุกข์ยาก ในที่สุดมันก็จะกลับตัวไปหาค่ากลาง แต่มีสิ่งหนึ่งที่สร้างความแตกต่างและกลับตัวยากก็คือ "พื้นฐาน"
บทที่ ๕ รัฐบาลกับวัฏจักรเศรษฐกิจ
- economic cycle ที่รุนแรงถือเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ถ้าเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ดีมากเกินไป ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตวเป็นถดถอย(อย่างเลี่ยงไม่ได้)ในอีกไม่นานจากนั้น
ในทางกลับกันหากถดถอยมากเกินไป อาจทำให้ผลกำไรของบริษัทตก คนตกงาน ในที่สุดก็ต้องเดือดร้อนไปถึงธนาคารกลาง การคลังของรัฐ รวมถึงรัฐบาลเข้ามแทรกแซง
บทที่ ๖ วัฏจักรกำไร
- วัฏจักรเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อผลกำไรของบริษัทส่วนใหญ่แบบเลี่ยงไม่พ้น
- มันมีผลต่อยอดขาย ราคาวัตถุดิบ ราคาสินค้า ซึ่งการตอบสนองของแต่ละแห่งก็จะต่างกันไป
บทที่ ๗ Pendulum ของ จิตวิทยาการลงทุน
- คุณสามารถหลีกเลี่ยงความสุดขั้วของการแกว่ง ด้วยการทำความเข้าใจ
- ความแปรปรวนของตลาดหุ้นคล้ายกับการแกว่งลูกตุ้น (pendulum) มันไม่หยุดนิ่ง แต่มันก็ไม่เคยสุดขั้วได้นาน เพราะมันจะกลับมาตรงกลางเสมอ
บทที่ ๘ cycle ของทัศนคติ ที่มีต่อความเสี่ยง
- ความเสี่ยง คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด สำหรับนักลงทุน
- การลงทุนคือการเสี่ยงเพื่อให้ได้กำไร
- ความเสี่ยง เป็นตัวขับเคลื่อนการลงทุน เสี่ยงน้อย-เข้าร่วม(ซื้อ) เสี่ยงมาก-สละเรือ(ขาย/เฉย)
- ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ คือ "การไม่คิดว่ามันไม่มีความเสี่ยงเลย" นักลงทุน/นักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่ มักให้ความเสี่ยงนำเสมอ แต่เขาก็ไม่ได้กลัว เขาเปิดใจรับมันและพร้อมบริหารจัดการตามแผนที่วางไว้
บทที่ ๙ Credit ycle
เครดิต เป็นเส้นเลือดของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจจะไม่สามารถเดินต่อไปได้ถ้าหากไม่มีสินเชื่อให้บริการ เครดิตเป็นเหมือนออกซิเจนต่อเศรษฐกิจ หากไร้ซึ่งเครดิตแล้วเศรษฐกิจพังแน่นอน
บทที่ ๑๐ Cycle ของหนี้ด้อยคุณภาพ
- ประเด็นนี้ถือเป็น "ความเชี่ยวชาญ" ของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เลย Howard Marks เป็นคนแรกที่จัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนในหนี้ด้อยคุณภาพ
- ในช่วงที่ตลาดสินเชื่อร้อนแรง จะมีการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่ด้อยค่า มีการออกพัมธบัตรที่ไม่มีหลักประกัน การขยายเครดิตแบบไม่ฉลาด นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายครั้งใหญ่
- เมื่อเกิดการล่ม การเจ๊ง นักลงทุนในการบริหารสินทรัพย์ก็จะเข้ามาคัดเอาของดีที่ยังพอหลงเหลือในเศษซากนั้น ตามกระบวนการที่เขาเห็นว่ามีโอกาสมากกว่าความเสี่ยง
บทที่ ๑๑ Real Estate Cycle
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นทรัพย์สินที่นิยมของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก เพราะเขาเชื่อว่า ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้, ราคาแพงขึ้นตามกาลเวลา ฯลฯ
- แต่พวกเขาลืมไปว่า ราคาที่เขาจ่ายไปนั้น มันแพงเกินไปหรือเปล่า?
- วัฏจักรของอสังหาฯ มีอยู่เช่นกัน มันมีระยะของมัน ตั้งแต่ การรอคอยให้คนมาเห็น, เริ่มต้นวางแผน, ก่อสร้าง และเปิดตัวเพื่อขาย มันใช้เวลานาน และถ้าระยะที่ต้องการขายเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยด้วยล่ะก็ เจ๊งลูกเดียว
บทที่ ๑๒ ยำรวมกัน
- พื้นฐานไม่ใช่ตัวแปรสำคัญที่สุดของการลงทุนสำหรับเขา มันคือ การวิเคราะห์ว่าตอนนี้นักลงทุนกำลังทำตัวเบี่ยงเบนไปจากสมมุติฐานของการมีเหตุผลที่ควรจะเป็นหรือไม่
- เซนส์ในการคาดเดาอนาคต (ตามเหตุและผลทางจิตวิทยา) มีความสำคัญไม่น้อย คนที่ประสบความสำเร็จจะมีทักษะของ "การคิดสองชั้น" มองไกลกว่าคนทั่วไป
- ๓ ขั้นตอนของตลาดกระทิง(ขาขึ้น)
๑. นักลงทุนส่วนน้อย มองว่าทุกอย่างเริ่มดีขึ้นแล้ว
๒. นักลงทุนจำนวนมากขึ้น เริ่มเชื่อว่าขาขึ้นเริ่มชัดเจน
๓. แทบทุกคน เชื่อว่ามันจะต้องวิ่งขึ้นตลอดกาล
- คนฉลาดลงมือทำก่อน คนโง่ลงมือทำในตอนจบ
- ลงมือทำก่อน คือ ผู้สร้าง จากนั้นเป็นคิวของนักเลียนแบบ สุดท้ายคนโง่จะทำตาม - บัฟเฟตต์
บทที่ ๑๓ วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ market cycle
- เป้าหมายคือ วางเงินในสถานการณ์ที่ได้เปรียบ เงินเติบโตขึ้นในอนาคตอันไกล้
๔ ตัวช่วยในการระบุวัฏจักร
๑. p/e ratios of stocks
๒. yields on bonds
๓. capitalization ratios of real estate (อัตราส่วนการโอนเป็นทุนของอสังหาริมทรัพย์)
๔. cash flow multiples on buyouts (กระแสเงินสดทวีคูณในการซื้อกิจการ)
- ผู้ที่ไม่เคยเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ จะทำพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
บทที่ ๑๔ Cycle positioning
- แบ่งสรรพอร์ตลงทุนตามการเคลื่อนไหวของตลาด(ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้) จะรุก หรือ จะตั้งรับ
- แนวคิดเบื้องหลังของการศึกษาวัฏจักร ทำเพื่อแบ่งสรรพอร์ต เพื่อรองรับกับโอกาสที่เป็นไปได้ในอนาคต
- สูตรสำเร็จในการลงทุนให้สำเร็จ ๓ เรื่อง
๑. Cycle positioning & Asset selection
๒. Aggressiveness & Defensiveness
๓. Skill & Luck
บทที่ ๑๕ ลิมิตของการเผชิญหน้า
- การแบ่งพอร์ตให้เหมาะสมกับการแกว่งของวัฏจักรไม่ใช่เรื่องง่าย
- หลายอย่าง มันไม่เป๊ะ คุณต้องทำความเข้าใจถึงข้อจำกัด ทักษะของคุณ และ อุปสรรคที่ไม่คาดคิด
บทที่ ๑๖ วัฏจักรแห่งความสำเร็จ
- การลงทุนนั้น มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของจิตใจมนุษย์
- ความสำเร็จนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี สำหรับคนส่นใหญ่ “Success isn’t good for most people’’ เพราะมันเปลี่ยนคน คือ ทำให้เขาคิดว่าตัวเองฉลาดกว่าตลาด ทำให้ทิ้งความรอบคอบและทำในสิ่งที่โง่กว่าเดิมได้อย่างไม่น่าเชื่อ
- บางครั้ง ที่ความสำเร็จ ก็ทำให้นักลงทุนคนนั้น ขาดแรงจูงใจ
บทที่ ๑๗ The Future of Cycles
- ภาวะฟองสบู่ ภาวะหลาดกลัวสุดขีด จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ผู้มาใหม่จะทำพลาดซ้ำได้อีก
- ความเบี่ยงเบนจากค่ากลาง เกิดจากการมองโลกในแง่ดีมากเกินไป จากนั้นมันจะกลับตัว ไปหาค่ากลาง และมองแง่ร้ายมากเกินจริง แล้วก็กลับตัวไปหาค่ากลาง
- เศรษฐกิจและตลลาดเก็งกำไรไม่เคยเคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง มันจะแกว่งขึ้นลง และจะเป็นแบบนี้ตลอดกาล
(จบ) หนังสือ Mastering the Market Cycle มีขายที่เว็บ amazon.com ครับ
ตอนนี้ยังไม่มีแปลเป็นภาษาไทย แต่อนาคต ผมเชื่อว่าต้องมี
(แนะนำหนังสือของ Zyo)