คุณต้องลงสนามเทรดจริง ถึงจะเข้าใจการเทรดอย่างแท้จริงได้

"มีเพียงเกม (การเทรด) เท่านั้น ที่จะสอนให้คุณเข้าใจเกม (การเทรด) ได้"— Jesse Livermore ไม่มีหนังสือ บทความ หรือคำแนะนำใด ๆ ที่จะสอนคุณให้เป็นเทรดเดอร์ที่แท้จริงได้ นอกจากการลงสนามเทรดจริง คุณจะเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ตรง ทั้งจาก ความสำเร็จและความผิดพลาด ๑) เรียนรู้จากตลาด – กราฟ ราคาวิ่ง แรงซื้อแรงขาย จะเป็นครูที่ดีที่สุด ๒) ทดสอบกลยุทธ์จริง – ทฤษฎีดีแค่ไหนก็ไร้ค่า ถ้าคุณไม่ลองใช้จริง ๓)ฝึกควบคุมอารมณ์ – เทรดจริงเท่านั้นที่จะสอนให้คุณรับมือกับความโลภและความกลัว สรุป: คุณต้องลงมือเทรดเอง ฝึกฝน ปรับปรุง และเรียนรู้จากทุกการซื้อขาย นั่นคือวิธีเดียวที่จะเข้าใจ "เกมการเทรด" อย่างแท้จริง

ความเสี่ยงในการเทรด/ลงทุน คืออะไร? + แนวทางบริหาร ความเสี่ยง


www.newtraderu.com/2020/03/24/a-risk-management-process-for-traders/
ในการเทรด หรือ การลงทุน risk management เป็นกระบวนการที่มาจากความเข้าใจ ระบุได้ ปรับแต่งเป็น และสามารถจัดการความเสี่ยงที่มีศักยภาพ เพื่อที่จะรักษาเงินทุนไม่ให้ถูกทำลายจากการขาดทุนเพียงแค่ครั้งเดียวมากเกินไป ซึ่งความเจ็บปวดจากการขาดทุนจะทำให้นักเทรดเกิดความคิดทางลบต่อระบบการเทรดของตนเอง ทำให้คิดละเมิดกฎ และไม่ให้ความสนใจความน่าจะเป็นในระยะยาว

ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ มีอะไรบ้าง?
- ราคากลับตัวอย่างรุนแรง
- ราคาเปิด gap ไปไกล

เพราะอะไร? นี่คือสาเหตุ
- เกิดสถานการณ์ทางการเมือง (ม็อบ ปิดสถานที่สำคัญ)
- ตลาด panic
- บริษัทล้มละลาย
- ความเสี่ยงทางการเงิน (เช่นลดค่าเงินบาท)
- รายงานกำไรขาดทุนหนัก/กำไรโตเว่อร์
- ข้อบังคับจากทางการ
- เงินเฟ้อ
มาตรการเกี่ยงกับเงินตรา ฯลฯ

เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้ราคาร่วงแรง หรือวิ่งสวนทางกับความต้องการของนักเทรด สร้างความเสี่ยง คือ ทำให้ขาดทุนครั้งเดียว มากเกินที่จะควบคุมได้ มันคือ worst case scenario ที่เราต้องคิดเผื่อไว้ เพื่อที่จะหาทางจำกัดความเสียหายไม่ให้รุนแรงจนทำลายเงินทุนของเรามากเกินไป
หน้าที่แรกของนักเทรด คือ การรักษาเงินทุนของตัวเอง ต้องจำไว้ให้มั่น
คุณต้องเล่นเกมรับให้ดีเสียก่อน ที่จะรุก

วิธีการบริหารความเสี่ยงแบบง่าย ๆ มีดังนี้
๑) ขั้นตอนแรก คือ ระบุความเสี่ยงให้ได้ก่อน
เมื่อคุณรู้ว่าความเสี่ยงมีอยู่จริง และคุณพร้อมยอมรับมัน คุณก็จะสามารถวางแผนรับมือกับความเสี่ยงนั้นได้ นักเทรดมือใหม่ส่วนใหญ่เห็นแต่โอกาสกำไร(ฝันกลางวัน) แต่ละเลยความเสี่ยง(ความจริง) นั่นเป็นสาเหตุให้พวกเขาติดหุ้นติดดอย ขาดทุนเงินหายไปมากมาย

๒) ต่อมา ให้หาข้อมูลเพิ่มว่า มันเกิดถี่แค่ไหน ส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงได้มากขนาดไหน
รายงานผลประกอบการ มีทุกไตรมาส
government issues economic รายงานเป็นประจำ
ธนาคารกลางออกมาตรการดอกเบี้ย
วิกฤติ ตลาดขาลงครั้งใหญ่ มาทุก ๑๐ ปี
พวกนี้เราสามารถคิดเผื่อและบริหารจัดการรองรับได้

๓) ก่อนที่จะลงเงิน คุณต้องรู้ว่า "จุดขายหุ้นหนีตาย" อยู่ตรงไหน เมื่อมันไม่เวิร์ค
ต้องมี stop loss ที่มีพื้นฐานมาจากการเคลื่อนไหวราคาที่าวนทางกับความคาดหวังของคุณ
ส่วนนักลงทุน ก็ต้องดูการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐาน ที่พิสูจน์ชัดว่าคิดผิด

๔) ก่อนลงเงิน คิดต่ออีกว่า ฉันจะยอมเสียเงินกี่บาทถ้าขาดทุน
อย่าได้เสี่ยงด้วยเงินก้อนเดียวลงในหุ้นตัวเดียว (all-in)
กระจายความเสี่ยงให้พอเหมาะ ถ้าตัดขาดทุนก็เสียไม่มาก แต่ถ้ากำไรก็ได้เป็นกอบเป็นกำ

๕) แล้วนึกต่อไปอีกว่า จะเริ่มล็อกกำไรเมื่อไหร่
กำไรที่แท้จริง คือ เงินที่คุณขายออกมาจากการเทรด
ควรมีการทำ trailing stop เพราะมันช่วยบอกคุณได้ว่าควรล็อกกำไรเมื่อใด


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

ดูยังไงว่าเป็น Cup with Handle pattern?

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน