เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

Image
Leoš Mikulka กับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและการจดบันทึกการเทรด   การแสวงหาการวัดผลเป็นตัวเลข: วิธีบริหารอารมณ์ขณะเทรด แปลจาก https://tradingresourcehub.substack.com/p/leos-mikulka-practical-risk-management-journaling อินโทรเวิร์ท เทรดเดอร์: สร้างเงินล้านด้วยธุรกิจตัวคนเดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1NjkwMjt9 PART 1: เส้นทางการเทรดของฉัน    ตลอดอาชีพการเทรดของฉัน ฉันได้ผ่านช่วงเวลาหวือหวาขึ้นลงมากมาย (ช่วง ‘รุ่งเรืองและล่มสลาย’ – Boom and Bust)   ฉันเกือบล้างพอร์ตครั้งแรกในปีที่สามของการเทรด   หลังจากทำกำไรได้ 40–50% ในปีที่สอง ฉันก็ตกหลุมพรางยอดฮิตของนักเทรดมือใหม่ที่ได้แรงหนุนจากตลาดที่ดี แม้ว่าจะตัดสินใจผิดพลาดก็ตาม:   ฉายภาพกำไรเหล่านั้นไปสู่จินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นมหาเศรษฐี   โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การกำหนดขนาดสถานะ (Position Sizing) ฉันจึงไม่พ...

What I Learned Losing a Million Dollars : สิ่งที่ผมเรียนรู้จากการขาดทุน

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit


หนังสือเล่มนี้เขียนถึงเรื่องราวของ Jim Paul เทรดเดอร์ใน wallstreet ที่เริ่มต้นจากการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากนั้นก็ขาดทุนมากกว่าล้านดอลล่าร์ในการเทรดถั่วเหลือง(soybean-oil spread trade)

ซึ่งจากความผิดพลาดในครั้งนั้น เขาก็ได้บทเรียนจากมันอย่างมากมาย เขาพบว่าแม้ว่ามีหลายวิธีการหลายตลาดที่แตกต่างกันในการทำเงินจากการเทรด แต่นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จทุกรายมักจะต้องมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมความสูญเสีย

จากประสบการณ์นี้เขาได้สรุปถึงความจำเป็นในการพัฒนาและทำตามแผนการที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดแนวทางการหนี(exit)ก่อนที่จะมีการเข้าซื้อ(enter) จนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้

เล่มนี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีแผนการเทรดและเป็นมืออาชีพแล้ว แต่มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นเทรดก็ควรจะอ่าน เพราะจะได้มุมมองไปใช้ในการเข้าเทรดของคุณ
ถ้าคุณนำอารมณ์ไปใช้ร่วมกับการเทรดโดยที่ไม่มีการวางแผนที่เหมาะสม คุณก็อาจจะประสบกับหายนะแบบเขา

การเรียนรู้วิธีการไม่ให้ขาดทุนมีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ที่จะทำกำไร
- ในตลาดมีวิธีการมากมายในการทำเงินอย่างต่อเนื่อง เพราะมีคนแนะนำบอกแนวทางกันมากมาย แต่แนวทางของการขาดทุนนั้นมีไม่มาก
- การขาดทุนในตลาดหุ้นมาจากสาเหตุ 2 อย่างนี้
๑) ความผิดพลาดจากการวิเคราะห์
๒) ความผิดพลาดจากการประยุกต์ใช้
การวิเคราะห์ตลาดเพื่อทำเงินไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุด ดังนั้นอย่าเสียเวลาเพื่อศึกษาหาแนวทางวิเคราะห์มากมาย แล้วคัดเอาสิ่งที่ดีที่สุดเลย สิ่งที่ควรศึกษาคือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือแนวทางในการวิเคราะห์ต่างหาก

นักเทรดขาดทุนได้อย่างไร?
๑) ขาดทุนเพราะนักเทรดเอง
- มันเป็นเรื่องง่ายที่จะทนถือหุ้นที่ขาดทุนเอาไว้ เพราะว่าพวกเขาคิดว่าการขาดทุนนั้นทำให้เขาสูญเสียชื่อเสียงและความภาคภูมิใจนี่คือ Egoซึ่งมันมักจะชักนำให้นักเทรดต้องขาดทุนอยู่ตลอดเวลา
๒) เมื่อนักเทรดประสบกับการขาดทุนมันจะนำพาพวกเขาก้าวไปสู่อารมณ์ 5 ระยะ ที่จะทำให้พวกเขาขาดทุนมากกว่าเดิม

- ปฏิเสธ : พวกเขามองหาความเห็นที่สอง และพยายามบังคับตัวเองให้เชื่อใครก็ได้ที่ยืนยันว่าความคิดที่ไม่ขายขาดทุนของเขายังถูกต้องอยู่
- โกรธ : เริ่มแสดงความไม่พอใจต่อตลาดหรือคนอื่นๆที่ทำให้เขาต้องซื้อหุ้นตัวนั้น
- ต่อรอง : มีการต่อรองว่าจะขายหุ้นออกเมื่อราคาดีดกลับไปถึงต้นทุน
- ซึมเศร้า : แยกตัวเองออกจากคนอื่น หมดความสนใจในทุกๆสิ่ง หมดความสามารถในการโฟกัส
- ยอมรับ : ในที่สุดก็ยอมรับตัวเองว่าไปต่อไม่ไหว และต้องขายขาดทุน หรือถูกบังคับให้ขายขาดทุนโดย margin call

พัฒนาแผนและปฏิบัติตามแผน
- คุณต้องมีวิธีการที่จะถอนตัวเองไม่ให้ฝังใจประสบการณ์เลวร้าย(ขาดทุนยับ)ในครั้งก่อน คุณต้องพยายามเข้าใจตลาดในขณะที่คุณกำลังตัดสินใจจะลงมือ และต้องรักษาความเป็นกลางในขณะที่คุณกำลังเทรด นั่นคือคุณต้องมีแผน
- คนทั่วไปมักจะล้มเหลวในการประยุกต์ใช้แนวทางของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาไม่มีการวางแผนในการควบคุมความเสี่ยง
- ถ้าคุณไม่ได้มีการคิดวางแผนก่อนที่จะเทรด คุณก็แค่เป็นนักพนันหรือนักแทงหวย ตอนนั้น Ego จะเป็นผู้มีอิทธิพลในการควบคุมแนวทางในการตัดสินใจของคุณ มันจะเป็นการใช้อารมณ์ล้วนล้วนๆ ถ้าอารมณ์เข้ามามีส่วนในการตัดสินใจคุณก็จะกลายเป็นแมลงเม่าที่เป็นเหยื่อของคนฉลาด

องค์ประกอบของแผน
๑) คุณต้องเลือกว่าคุณเป็นนักเทรดประเภทไหน
- คุณเป็นนักลงทุน หรือนักเก็งกำไร?
- ตลาดที่คุณจะเข้าไปเทรดเป็นแบบไหนมันต้องสอดคล้องกับการใช้ชีวิต และเวลาที่เหมาะสมกับคุณด้วย
๒) เลือกวิธีการวิเคราะห์
- ต้องเอาสักอย่าง ไม่ข้ามไปข้ามมาใช้หลายวิธี โดยเฉพาะใช้เป็นหลักฐานที่จะสนับสนุนให้ต้องทนถือหุ้นที่ขาดทุน
๓) พัฒนากฎ
- กำหนดกฎที่เหมาะสมกับตัวคุณ และมันต้องได้รับการพิสูจน์จากตัวคุณว่ามันเอาไปใช้หาโอกาสที่สามารถใช้ซ้ำได้ ที่สำคัญก็คือคุณต้องสามารถระบุจุดเข้าและจุดออกได้ก่อนที่จะใช้เงินเทรดจริง
๔) สร้างแนวทางการควบคุมให้ทำตามกฎ
- กำหนดกฎเกณฑ์ของการขายหุ้นตัวนั้น ที่มีทั้งการขายทำกำไรและขายตัดขาดทุน เอาไว้ล่วงหน้า
- ก่อนที่คุณจะใช้เงินจริงเพื่อเทรดคุณต้องตัดสินใจได้ว่า จะซื้อที่ราคาไหน, ซื้อเมื่อไหร่ และทำไมถึงซื้อ รวมถึงเมื่อไหร่ที่คุณจะต้องขายออก

ที่มา https://whatheheckaboom.wordpress.com/2015/09/27/book-review-of-what-i-learned-losing-a-million-dollars-by-jim-paul-and-brendan-moynihan/


-------------------------------------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดยหนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก
หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ และ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด



ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือหุ้นทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?
อ่านที่มาจากบทความนี้ครับ หนังสือหุ้นเทคนิคอลที่ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก

สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


"ส่งข้อความ" สั่งได้ที่เพจ zyobooks : facebook.com/zyobooks ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่