การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

สรุป The Rule Part 2 สั้น ๆ


เห็นว่าน่าสนใจเลยสรุปให้อ่านกันอีกสักนิด สั้น ๆ - อยากรวย แต่ไม่อยากทำงานหนัก เพราะตัวเองเป็น dylesic ด้วย
- ไปเรียนเป็นนักแสดง ได้ทักษะการเข้าถึงแรงผลัก (motivation) ของใครสักคนในการทำอะไรสักอย่าง
- ตอนเรียนได้รับแรงบันดาลใจจากอาจารย์ท่านหนึ่ง เล่าถึงเรื่องราวในตลาดเก็งกำไร ในเชิงขบขัน แต่มันได้สร้างแรงกระตุ้นให้เขาเห็นโอกาสในการสร้างความร่ำรวย ถ้าใช้หลักการทางคณิตศาสตร์
- จบไปทำงานเป็นนักแสดง แต่ไม่ชอบ
- ไปเป็น music promoter ก็ไม่ยั่งยืน นักร้องติดยา วุ่นวาย ตายเกลื่อน
- จึงไปสมัครงานเป็นคนรับออเดอร์สั่งซื้อขายหุ้น
- แล้วไปประทับใจการเทรดของ Jack Boyd ที่เทรดทำเงินได้สม่ำเสมอ ทั้งที่เทรดชนะไม่กี่ครั้ง แต่ด้วยความที่กล้า stop loss ไว และ let profit run ทำให้แม้ได้หุ้นผู้ชนะไม่กี่ตัว (ปีละ 1-2 ตัว สำหรับผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ กำไรก้อนโต) ก็ทำกำไรได้เฉลี่ย ปีละ 20%
- ชอบการเทรดของ Boyd มาก จึงพยายามเอาทำเป็นสูตรคณิตศาสตร์ของตัวเอง - ได้หลักการ "การเดิมพัน 4 ประเภท" คือ (อันนี้ดี)
Good bet = การเดิมพันที่ดี
Bad bet = การเดิมพันที่ไม่ดี
Win Bet = การเดิมพันที่ชนะ
Lose bet = การเดิมพันที่แพ้

คนทั่วไป มองว่าการเดิมพันมีแค่ ชนะ กับ แพ้ เท่านั้น
แต่ Hite มองว่า มันมีอยู่ถึง 4 อย่าง
การเดิมพันที่ดี (good bet) กับ การเดิมพันที่ไม่ดี ก็คือ ความได้เปรียบ (odds)
การเดิมพันที่ชนะ (bad bet) กับ การเดิมพันที่แพ้ ก็คือ ผลลัพธ์ (outcome)


คุณไมสามารควบคุม ผลลัพธ์ (outcome) ได้เลย
แต่คุณสามารถควบคุม "ความได้เปรียบ" และ "ความเสี่ยง" ได้

ยกตัวอย่าง คุณพนันกับเพื่อน 1 ดอลลาร์ ถ้าทีมชนะ
หากคุณตกลง ความได้เปรียบของการพนันครั้งนี้คือ 50-50
โอกาสกำไรคือ 2 ดอลลาร์ ความเสี่ยงคือ 1 ดอลลาร์
นี่เป็นการเดิมพันที่ดีใช่หรือไม่ คำตอบคือ "ใช่" เพราะคุณลงขันเพื่อทำเงินให้ได้ 100% จากเงินต้น โดยที่คุณจะเสียเงินไปแค่ 1 ดอลลาร์

คุณสามารถลงเงิน $10 เพื่อ $20 ได้มั้ย? คำตอบก็คือได้
แล้วการลงเงิน $1,000,000 เพื่อความได้เปรียบ 50-50 ล่ะเป็นไง?
ตรงนี้บอกเลยว่าไม่เหมาะสำหรับคนทั่วไป เพราะมันเสี่ยงเกิน ถือว่าเป็น  bad bet
แต่ไม่ใช่สำหรับ Jeff Bezos ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่มาก เพราะเขามีเงินถึง $150 พันล้าน (เท่าไหร่หว่า?)
นี่เป็นวิธีคิดเกี่ยวกับความได้เปรียบ(odds)แบบง่าย ๆ

ถ้าคุณวางเดิมพันที่ดี (placing good bets) ในระยะเวลาที่ยาวพอ กฎของค่าเฉลี่ยจำทำงานให้คุณ
แต่ระหว่างนั้นคุณก็ต้องมีการขาดทุนอยู่บางครั้ง
ดังนั้นคุณควรเตรียมตัวเดิมพันด้วยเงินก้อนเท่าที่คุณสามารถเสียได้เท่านั้น

Bad bet and win big เป็นสิ่งที่ไม่ดี
ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังเดินข้ามถนนด้วยการก้มหน้าดูมือถือ นี่เป็น bad bet
โชคดี คือ คุณไม่โดนรถเหยียบ โชคร้ายคือโดนบี้ซะแบน
หมายความว่า แม้คุณจะโชคดีในครั้งนี้ แต่ถ้าคุณยังคงทำต่อไป กฎแห่งค่าเฉลี่ย (law of average) จะทำงาน นั่นก็คือ "โดนจนได้"

ฉะนั้น คอนเซ็ปท์ของ การเดิมพันที่ดีกับไม่ดี มันใช้ได้หมด รวมถึงการใช้ชีวิตด้วย

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน