การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

Wyckoff Methods Concept


ดูคลิป คลิกเข้าไปชมตามลิงค์นี้
https://www.youtube.com/playlist?list=PL-aoBPT-frljbupyLa4HgNl-ZZ9Cy1f3V&disable_polymer=true



Wyckoff Methods Concept


Richard Wyckoff. From Wikipedia, the free encyclopedia. Richard Demille Wyckoff (November 2, 1873 – March 7, 1934) was a stock market authority, founder and onetime editor of the Magazine of Wall Street (founding it in 1907), and editor of Stock Market Technique.
แกเป็นนักเขียน บรรณาธิการ นักหนังสือพิมพ์ และ stock market authority





กฎคลาสสิคของ Wyckoff

1. The Law of Supply and Demand.
ตลาดมีการตอบสนองต่อการต่อสู้กันของราคา คือ Price Action นาที/นาที bar by bar เป็นต้น
ถ้าหากความต้องการซื้อ (demand) มีมากกว่าการเสนอขาย (supply) ราคาจะขึ้นไปจนพอดีกับความต้องการซื้อ (demand) แต่หากการเสนอขาย (supply) มีมากกว่า ราคาจะตกลงมา จนมาพอดีกับ demand
เช่น การลดราคาประมูลเพื่อให้ขายสินค้าได้ การลดราคาสินค้าเพื่อให้คนกลับมาซื้อสินค้า

2. The Law of Cause and Effect
กฎของเหตุและผล คือ ต้องมีสาเหตุก่อนถึงจะทำให้เกิดผล และผลนั้นต้องมีสัดส่วนที่พอเหมาะกับสาเหตุที่เกิดขึ้นด้วย
Volume น้อย ต้องมาพร้อมกับ การเคลื่อนไหวราคาแคบๆ
วอลุ่มสูง ต้องมาพร้อมกับแท่งราคาขนาดยาว
ถ้าวอลุ่มสูง แต่ราคาแท่งสั้น สื่อถึงความขัดแย้ง มีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้ม
ถ้าวอลุ่มน้อย แท่งราคายาว สื่อว่าเกิดความขัดแย้ง มีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้ม

มันเป็นเรื่องความไม่สมดุลหรือไม่สมดุลระหว่าง demand และ supply
ซึ่งแสดงออกผ่านวอลุ่มการซื้อขาย

3. The Law of Effort VS. Result
กฎของแรงกระทำและผลของแรงกระทำ
คล้ายคลึงกับกฎฟิสิกส์ของนิวตัน ทุกๆแรงกระทำจะเท่ากับแรงที่อยู่ตรงข้ามเสมอ
ซื่งก็คือ
แรงที่มากระทำ (Volume) = ผลของการกระทำ (Price Action)
นี่คือทฤษฏีที่ Wyckoff ได้ค้นพบและ อธิบายไว้ เราจะเริ่มเรียนรู้ วิเคราะห์แท่งเทียนแต่ละแท่งเทียนโดยใช้หลักการ forensic approach เพื่อค้นพบว่า กฎเหล่านี้ยังคงอยู่ ถ้าหากมันยังมีอยู่ ตลาดจะตอบสนองตามกฎ และเราจะเริ่มสืบหาจากแท่งเทียนนั้น แต่หากราคาไม่ได้เคลื่อนที่ตากกฎ มีความผิดปกติ เราก็จะเริ่มค้นหาเหตุผลว่าทำไม จึงเป็นเช่นนั้น


Livermore VS Wyckoff
ทั้งคู่เป็นคนในยุคเดียวกันครับ เมื่อได้เจอกัน โดย Wyckoff ขอสัมภาษณ์ Livermore ที่ตอนนั้นโด่งดังมาก หลังจากที่หมดตัวแล้วกลับมาทำเงินได้อย่างมหาศาล เป็นเหมือนแมวเก้าชีวิต คนอเมริกันฮืฮากันใหญ่ แน่นอนว่านักข่าวก็อยากรู้ว่าลิเวอร์มอร์ ทำได้ยังไง
ก็เลยกลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้
(ซึ่ง Wyckoff ก็ไปสัมภาษณ์ คนที่ดังมากอีกคน คือ W.D. Gann)


ผมมีโอกาสได้อ่านเล่มนี้คร่าวๆ ก็ได้เนื้อหาที่ตัวเองพอจะแปลได้มีดังนี้
การเลือกหุ้น, หนทางสู่ความสำเร็จ, การตีความข่าว, ตลาด

เป็นบทสัมภาษณ์ที่ให้กับ Richard D. Wyckoff หลังจากที่ล้มละลายครั้งแรกแล้วกลับมาทำเงินได้อีกครั้งและสามารถใช้หนี้ได้หมดในเวลาไม่นาน ซึ่งตอนนั้นผู้คนฮือฮามาก
ผมจะคัดเอาเฉพาะเนื้อหาบางส่วนที่สนใจและพอแปลได้เข้าใจนะ


เลี่ยงหุ้นราคาถูกๆ
ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดของนักลงทุนมือใหม่ก็คือการซื้อหุ้นที่ถูกซื้อขายในราคาถูกๆ เพราะความจริงก็คือราคาไม่ได้บอกมูลค่าที่แท้จริงเสมอไป ควรดูอย่างอื่นด้วย เช่นการจ่ายปันผล ความสามารถในการทำกำไร ฯลฯ


หาธุรกิจที่แข็งแกร่ง
- ในการเลือกหุ้น, นักลงทุนควรดูว่าอุตสาหกรรมไหนอยู่ในตำแหน่งที่แข็งแรง ธุรกิจไหนที่อ่อนแอกว่า อ่อนแอที่สุด ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ  - นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เคยแยกว่าหุ้นตัวไหนแข็งแรงตัวไหนอ่อนแอ แถมแยกไม่เป็นด้วย ทำให้พลาดโอกาสงามๆไปบ่อยครั้ง จึงควรเลี่ยงอุตสาหกรรมที่อ่อนแอและหุ้นที่ราคาต่ำมากๆ เพราะมันบ่งบอกว่ามีพื้นฐานที่ไม่มั่นคง
- ให้เกาะกระแสอุตสาหกรรมที่แข็งแรงไว้ พวกที่มีอนาคตสดใสและเติบโตได้อีก


หุ้นมีฤดูกาลและแฟชั่นของมัน - นักลงทุนควรเข้าใจว่าหุ้นหรือธุรกิจนั้นล้วนมีฤดูกาลและแฟชั่นของมัน เช่น ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับหุ้นรถยนต์และยาง ซึ่งราคาจะวิ่งดีในช่วงนั้นแล้วจากนั้นก็จะร่วงเพราะจบช่วงเวลาที่ดีไปแล้ว


หนทางสู่ความสำเร็จ
- การประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นมีวิธีการเดียวเท่านั้น - คือ การหาข้อมูลอย่างหนักก่อนลงทุน โดยเฉพาะทางด้านพื้นฐานของกิจการ ประวัติ และสถานการณ์ของเศรษฐกิจในขณะนั้น
.
- สิ่งที่ทำให้ลิเวอร์มอร์ประสบความสำเร็จก็คือ "ความรู้+ความอดทน" น้อยคนนักที่ประสบความสำเร็จในตลาดได้โดยปราศจากความอดทน คนส่วนใหญ่อยากรวยเร็วๆ ผลคือไปไล่ซื้อหุ้นที่ยอดดอยกัน
ในระยะยาวแล้ว, ความอดทนจำเป็นเหนือกว่่าสิ่งอื่นใด ความรู้ก็จำเป็น หาข้อมูลให้มากก่อนซื้อหุ้น อย่าหวั่นไหวหากราคาไม่ไปไหน มันจะวิ่งเมื่อถึงเวลา,โดยเฉพาะในช่วงตลาดขาขึ้น อย่าลืมเลือกหุ้นแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่แข็งแรง และให้ซื้อเมื่อคุณเห็นว่ามันกำลังจะวิ่งขึ้นเท่านั้น


วิธีการหาข้อมูลจากข่าว
นอกจากการที่เขานอนไวและตื่นเช้า ลิเวอร์มอร์ใช้เวลาหนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนอาหารเช้าเพื่ออ่านหนังสือพิมพ์ โดยเน้นไปที่การเจาะหาความจริงจากข่าวนั้นๆ หาข้อมูลที่น่าจะมีผลต่อตลาด, ธนาคาร, การค้าต่างประเทศ, การเงิน, ผลิตผลการเกษตร, รายงานของบริษัท และสถิติการซื้อขาย


วิธีการตีความข่าว
หลังจากที่อ่านข่าวตอนเช้า, เขาจะได้ข้อมูลทางพื้นฐาน แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาตัดสินใจซื้อเลย แต่จะดูเทป(หรือในปัจจุบันก็คือติ๊กเกอร์รวมถึงกราฟ) ข่าวจากเทปจะบอกให้เขารู้ถึงความเคลื่อนไหวและพัฒนาการล่าสุดของมันที่ถูกสะท้อนจากทุกส่วนของโลก เพราะตลาดจะเป็นตัวสะท้อนความเห็นของผู้เล่นทุกคนซึ่งบางคนอาจมีพลังมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนอารมณ์ตลาดให้คนอื่นๆตัดสินใจซื้อหรือขายตามได้ ลิเวอร์มอร์ชอบอ่านความนัยเพื่อค้นหาว่าทำไม "พวกเขา" ถึงได้พยายามทำสิ่งนั้น
การตีความข่าวของเขานั้น, ทำได้สองทาง
๑) เพื่อตัดสินว่าคนส่วนใหญ่/หรือรายใหญ่คิดจะขายเพื่อกดทั้งตลาดหรือเพื่อทุบหุ้นแค่บางตัว
จากนั้น ๒) เขาจะดูติ๊กเกอร์เพื่อหาหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากข่าวนั้น เพื่อดูว่ามันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหรือขายในหุ้นบางตัว
การตีความข่าวของเขาอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างจากการแสดงออกของตลาด แต่เขาก็รู้ว่าการพัฒนาการนั้นมีความสำคัญเพียงพอ, มันจะส่งผลต่อเทปในอีกไม่ช้า


ตลาดต้องการ "การทำความเข้าใจ"
ลิเวอร์มอร์บอกว่า "ทุกคนคิดว่าความสำเร็จของเขานั้นขึ้นอยู่กับโอกาสที่อาจจะมาจากข้างนอกตลาด ซึ่งเป็นทัศนคติที่ผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว ปัญหาใหญ่สุดของใครก็ตามที่ซื้อหุ้นก็คือเขามองว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ควรมีใครสักคนเข้าใจว่าการลงทุนหุ้นนั้นต้องการ “การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมตัว”  ซึ่งไม่ต่างจากการเรียนกฎหมายหรือแพทย์เลย คนมากมายบอกว่าที่ผมกำไรหุ้นเป็นเพราะความโชคดี ทั้งที่ความจริงแล้ว, ผมใช้เวลาตลอด15 ปีเพื่อเรียนรู้มันอย่้างไกล้ชิด จะว่าผมอุทิศชีวิตให้กับมัน, อีกทั้งยังลงมือทำให้ดีที่สุดอีกด้วย


Wyckoff & VSA (Volume Spread Analysis)
Wyckoff ท่านเป็นคนแรกๆ ที่เขียนถึง VSA ครับ
แต่ก่อนผมเคยให้ความสนใจกับเรื่องนี้พอสมควร
หนังสือที่แนะนำให้อ่านคือ



แต่ด้วยความผมเองก็ไม่ได้จริงจังกับเรื่องของวอลุ่มแล้ว เนื่องจากไม่ได้สนใจเก็บหุ้นที่จุดต่ำสุด
แต่จะขอซื้อแพงกว่านั้นอีกหน่อยในตอนที่มีการยืนยันขาขึ้นได้แล้ว

แต่ไหนๆแล้ว ผมก็ไม่ได้ทิ้งหรอก ก็เอามาใช้บ้าง เพื่อดูทรงของหุ้นตัวเองที่ถูกดันขึ้นไปค้างเติ่ง แช่ออกข้างแล้วไม่ยอมไปไหน การนั่งดูพฤติกรรมของมัน พร้อมกับใช้วิชานี้หลอก เอ้ย...ปลอบประโลมตัวเองให้มีความหวังในการทนถือนานขึ้น ก็ถือว่าไม่เสียเปล่านัก

เอาล่ะ มาเริ่มที่ความหมายกันก่อนเลย
VSA ย่อมาจาก Volume Spread Analysis แปลว่า การดูความสัมพันธ์ของวอลุ่ม(Volume ) และช่วงราคา (Spread) แล้วเอามาวิเคราะห์


วิเคราะห์เพื่ออะไร?
เพื่อหา "ร่องรอย" การดำรงอยู่ของ smart money ไง
ดำรงอยู่ยังไง? ใช้คำยากอีกแล้วนะ
ก็คือว่า smart money คือตัวแทนของใครก็ตามที่สามารถทำราคาหุ้นได้ พวกเขามีความฉลาด มีข้อมูลเชิงลึก มีความเก๋าเกมส์ เข้าใจจิตวิทยามวลชน และที่สำคัญคือมีเงิน!!

ดังนั้น "ร่องรอย" ที่เขาทิ้งเบอะแสไว้ก็คือ "ปริมาณการซื้อขาย หรือ volume" ยังไงล่ะ

คือเขามีความเชื่อว่า ถ้า smart money เข้าเล่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งแล้วจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงของราคา พร้อมกับวอลุ่มที่เพิ่มขึ้น

นึกภาพออกมั้ย?

ถ้า smart money ซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่อง มันก็จะกลายเป็นขาขึ้น
ในทางกลับกัน ถ้ามีการขายล่ะก็ ราคาจะร่วงแรง กลายเป็นขาลงไปเลย

ดังนั้น เราต้องดูทั้งการเคลื่อนไหวของราคา กับ วอลุ่ม ประกอบกันไง
คือการเคลื่อนไหวของราคาต้องสัมพันธ์กับวอลุ่ม
หากมีความขัดแย้ง ก็ต้องตีความหมายว่ามันสื่อในเชิงบวกหรือลบให้ออก

พูดง่ายๆ คือดูให้รู้ว่า ตอนนี้ smart money "ยังถือหุ้นอยู่" หรือ "ขายหุ้นแล้ว" นั่นเอง


ใครเป็นคนคิด VSA
ต้นตำหรับก็คือ ๓ คนนี้
- Jesse Livermore
- Richard Wyckoff
- Tom Williams

Livermore พูดถึงทฤษฎีการทำราคา ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง แต่ก็ไม่ได้เขียนออกมาเป็นหลักการอะไรหรอกนะ งานเขียนก็ไม่ได้เอ่ยถึง

เท่าที่เห็นคร่าวๆก็คือแกวาดไว้แบบนี้
ชื่อ Jesse Livermore's Speculative Chart  หรือ Accumulation Cylinder

ก็มีคนเอาไปตีความต่อเป็นแบบนี้


โดยเป็น Wyckoff ผู้เป็นนักข่าวหุ้น ได้เอาแนวคิดของ Livermore มาทำการบันทึกและต่อยอด นอกจากนี้ก็ยังไปสัมภาษณ์นักเทรดรุ่นนั้นและรุ่นหลัง จนได้งานที่ชื่อว่า "Composit Trader" อันเป็นการอธิบายขั้นตอนการทำราคา ตั้งแต่สะสม - ไล่ราคา - แจกจ่าย - ทุบ เป็นที่มาของ Wyckoff Logic นั่นเองครับ




จากนั้น Tom Williams ก็เอางานของ Wyckoff มาเขียนเป็นหนังสือและทำเป็น software และให้กำเนิดชื่อ "Volume Spread Analysis" ขึ้นมา


ออกตัวอีกครั้งว่า ผมไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้เลย และไม่เคยใช้ software ตัวนี้เลย อย่าได้ถามเชียว กรูไม่รู้

วิธีใช้ประโยชน์จาก VSA
บอกตรงๆว่า ผมเองก็ไม่ได้ใช้งานอย่างจริงจังอะไร
จากบล็อกต่างประเทศก็บอกในทำนองเดียวกันว่า "แตกออกไปหลายแขนงมาก" มันมีการตีความแตกหน่อกันวุ่นวายกันไปหมด อย่างไรก็ตาม มีหัวใจที่เป็นจุดสังเกตพื้นฐานอยู่ ๒ เรื่อง คือ
• No Demand
• No Selling Pressure

ผมไม่แนะนำให้ดูเดี่ยวๆ เพราะ คุณจะแค่รู้ แต่ไม่ได้ประโยชน์ในทางการเทรด
เอาไปสอนเก็บตังค์ได้อย่างเดียว ซึ่งคนเรียนก็จะได้ความมึนกลับไป

เทพสายนี้ และบล็อกอ้างอิง
http://www.volumespreadanalysis.com ต้นตำหรับ
- บ้านเรา อาจารย์รี สึนามิ เก่งมากๆ ตามท่านได้
vsathai.wordpress.com เสียดายที่ตอนนี้เลิกทำไปแล้ว
sgwiseinvestors.blogspot.com ภาษาอังกฤษนะ ผมเอามาจากนี่ส่วนใหญ่

(ปิดท้ายด้วย โฆษณา)


Market Cycle วัฏจักรตลาด






















(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)




Accumulation ระยะสะสม
























หุ้นซิ่ง

หุ้นซิ่ง
















double bottom

double bottom




































(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)



Mark Up ระยะขาขึ้น





































































































(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)



Re-Accumulation ระยะสะสมในขาขึ้น
























































































(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)




Distribution ระยะแจกจ่าย











































































Markdown ระยะขาลง













































(ปิดท้ายด้วยโฆษณาหนังสือครับ)


(แถม) คำแนะนำ และ ขั้นตอนการทำราคาของเจ้ามือ

4 ขั้นตอนในการพิจารณาเข้าเทรด ตามแบบ Wyckoff

1. ต้องระบุแนวโน้มตลาดให้ออกเสียก่อน
ตอนนั้นตลาดเป็นช่วงไร้แนวโน้ม หรือมีแนวโน้มชัดเจนแล้ว?
โดยท่านต้องดูประกอบทั้ง index (ดัชนี) และ ตัวหุ้นด้วย
นอกจากนี้ต้องดูรูปแบบราคาว่ามันมีความน่าจะเป็นว่าควรทำอะไรต่อ เพื่อหาจังหวะเข้า

2. เลือกหุ้นที่เคลื่อนที่สอดคล้องกับแนวโน้ม
เปรียบแนวโน้มเหมือนการไหลของสายน้ำ
การพายเรือตามน้ำใช้แรงน้อยกว่าสวนกระแสแน่นอน
เทรดตามแนวโน้ม โอกาสได้กำไรง่ายกว่า 
ในช่วงที่ดัชนีเป็นขาขึ้น ให้เลือกหุ้นที่แข็งกว่าดัชนี
ในช่วงที่ดัชนีเป็นขาลง ให้เลือกหุ้นที่อ่อนแอกว่าดัชนี


3. เลือกหุ้นที่กำลังจะทะลุฐานราคา
ฐานราคา = เหตุ = การสะสม
การวิ่งไปตามแนวโน้ม = ผล = วิ่งสอดคล้องกับแนวโน้ม

4. หุ้น 3 ใน 4 ของทั้งตลาด จะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับดัชนี
นี่คือเหตุผลว่าทำไมคุณต้องดูดัชนีก่อนเลือกหุ้นเทรด


ขั้นตอนการทำราคาของ Market Maker

1) เลือกเป้าหมาย
- ทำการทดสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าตอบสนองต่อความกลัวหรือความกล้า
- ถ้าต้องการทำให้ตลาดวิ่งขึ้น, เขาจะทดสอบหุ้นนำตลาดที่มีความต้านทานน้อยสุด
- ที่ต้องเลือกตัวที่มีความต้านทานน้อยสุด เพราะไม่อยากเจอหุ้นจำนวนมากขวางทาง
- จึงต้องเลือกหุ้นที่สามารถไล่ราคาขึ้นไปด้วยการใช้เงินจำนวนน้อยๆ

2) ตามติด
- หลังจากลองซื้อด้วยเงินน้อยๆแล้วราคาวิ่ง, เขาก็จะเริ่มทดสอบด้วยการเสนอราคาที่แพงขึ้นด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้น ทำให้ราคาวิ่งแรง (หรือที่เราเรียกกันว่า "จุดพลุ") เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเทรดเดอร์ทั่วไปให้เข้ามาร่วมวงช่วยซื้อ
- ราคาวิ่งขึ้นบวกแรงพร้อมกับวอลุ่มที่สูงขึ้น และมีการแกว่งตัวในรูปแบบขาขึ้น(คือยกไฮยกโลว์)

3) สร้างการสนับสนุน
- Composite Operator (ที่ประกอบด้วย นายธนาคาร, การรวบรวมเงินเพื่อลงทุน, รายใหญ่, เทรดเดอร์มืออาชีพ) เริ่มมั่นใจว่าตลาดเป็นขาขึ้นแน่แล้ว จึงเข้ามาร่วมวง
- ถ้าเห็นว่าหุ้นบางตัวหรือบางกลุ่มไม่ยอมวิ่ง(หรือที่เรียกว่า laggard) เขาจะส่งให้โบรคเกอร์เข้าไปช่วยไล่ราคา
- หากพวกหุ้นที่อ่อนแอได้วิ่ง breakout ขึ้นไป,ตลาดก็มีบรรยากาศของขาขึ้นแล้ว

4) แจกจ่ายขายหุ้นเมื่อเห็นว่า demand อ่อนแอ
- เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปต่อเนื่อง,เขาพบว่าแรงซื้อเริ่มอ่อนแอและเหนื่อย
- ก็เริ่มปล่อยหุ้นออกเท่าที่จะทำได้ที่จุดสูงสุดของการแกว่ง และตลอดทางลง



5) ซื้ออย่างเงียบๆหลังจากที่ราคาย่อลงไปลึก 60% จากยอด
- ถ้าราคาบวกขึ้นไปสิบจุด, เขาจะขายจนราคาลงไปถึง 6 จุดจากยอด แล้วจึงค่อยๆแอบซื้อหุ้นที่ขายออกกลับคืน ไม่ได้ตั้ง bid แต่รับที่ offer
- จาก 1000 หุ้นที่ตั้ง offer ที่ราคาหนึ่งๆ เขาอาจจะซื้อ 600 หรือ 700 หุ้น เหลือเอาไว้ 300 หุ้น แบบนี้การสะสมของเขาจะไม่เป็นที่รู้เห็น

6) ขึ้นแบบเขย่า (Engineering shakeouts) เพื่อเก็บหุ้นที่เหลือ ในระดับ 50% retracement
- หลังจากที่เขาดูดหุ้นที่กระจัดกระจายในตลาดไปไว้ ในช่วงที่กลางทางของการย่อจากจุดสูงสุด
- แรงขายเริ่มอ่อนแอและเหือดแห้ง, เขาเริ่มซื้อหุ้นได้น้อยลง จึงต้องขายหุ้นหลายตัวเพื่อกดให้ตลาดอ่อนแอย่อลงไปอีกครั้ง คนก็จะตกใจขายหุ้นเป้าหมายออก จนเขาได้หุ้นครบจำนวน
- เมื่อหุ้นเหล่านั้นอ่อนแอ, หุ้นตัวอื่นก็วิ่งขึ้นน้อยเพราะการซื้อที่จำกัด ดัชนีจึงเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
- คนที่กลัวหุ้นลงต่อก็พากันขายหุ้นออก ทำให้ดัชนีย่อลงไปอีก จึงเข้าทางเหล่า C.O. ให้ซื้อเพิ่มกันใหญ่

7) ตลาดกลับตัว และเริ่มวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆพร้อมกับสะสม
- เมื่อไม่มีหุ้นออกมาวางขายมากๆอีกแล้ว ตลาดก็หยุดลง
- หุ้นที่ถูกขายตั้งแต่จุดสูงสุดลงมาก็ถูกดูดเก็บไปจนหมด
- พอตลาดหยุดลง ราคาก็เริ่มกลับตัวขึ้นไป โดยเริ่มหยุดตั้งแต่ระดับ 60% เพราะคนทำราคาแอบซื้อ และจะดันขึ้นแบบเขย่าให้ราคาขึ้นไปถึงระดับ 50% นี่คือการกลับตัวแบบงงๆ เนื่องจากคนทำราคาสะสมไปเขย่าไปตลอกทางของการกลับตัว


8) เริ่มมีการเสนอซื้อ (bid up) เมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับ 30% retracement
- เมื่อราคาดีดกลับขึ้นไปถึงระดับ 3 ใน 5 จุด จากการย่อได้ เขาจะเริ่มไล่ราคาโดยการงับที่ offer
- พอราคาวิ่งไปถึงระดับสูงสุดก่อนหน้า(ไฮเดิม) จะมีการขายครั้งใหญ่เกิดขึ้น เพราะคนที่ติดดอยก็รอปล่อยของเพื่อเอาทุนคืน รวมถึงคนที่แอบเก็บมาตั้งแต่ก้นของการย่อก็ตั้งขายที่ไฮนี้เพราะราคาถึงเป้าหมายที่ต้องการแล้ว
- ราคาจึงแกว่งตัวแคบๆ ไม่ไปต่อ ท่านจึงเห็นรูปแบบราคาประเภท double top ซึ่งเหมาะต่อการชอร์ต
- แต่เหล่า C.O. มองว่าการขายที่บริเวณจุดสูงสุดครั้งนี้ มันไม่มากพอที่จะหยุดพลังของความอยากขึ้นได้ มันยังมีกำลังซื้อแฝงอยู่เพื่อดันให้ราคาวิ่งขึ้นต่อไปได้อีก
- เขาจึงตัดสินใจ ไล่ซื้อหุ้นที่วางขายที่แนวต้านทั้งหมด เพื่อให้ราคาทะลุขึ้นไปทำนิวไฮ เพื่อสร้างกำลังใจ,ความฮึกเหิมให้กับกำลังซื้อแฝงจากภายนอกนั้น(คนที่พร้อม follow buy เมื่อราคา breakout ได้นั่นเอง)

9) กำลังซื้อแฝงจากภายนอกเอาชนะแรงขายได้อย่างเด็ดขาด คนขายหมูรู้ตัวว่าคิดผิด
- แท่งราคาเขียวยาวทะลุระดับจุดสูงสุดเดิมขึ้นไปได้อย่างเด็ดขาด
- คนขายหมูรู้ตัวว่าคิดผิด กลับไปช่วยซื้อหุ้นคืนเพื่อทำกำไรต่อ
- ความคึกคักของขาขึ้นควบคุมสถานการณ์ได้หมดจด ราคาจึงบวก และบวกขึ้นไปได้เรื่อยๆ

10) มีการแอบปล่อยหุ้นตลอดระยะทางขาขึ้นครั้งใหม่
- ในระหว่างขาขึ้นรอบใหม่นี้, นอกจาก C.O. จะช่วยซื้อเพื่อดันราคาขึ้นในช่วงต้น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้พลพรรคนักซื้อแล้ว เขาก็ยังได้ปล่อยหุ้นไปให้กับความต้องการซื้อขนาดใหญ่นี้ด้วย
- เขายังขายไปเรื่อยๆ จนกว่าความต้องการซื้อจะพอใจ
- และแล้วราคาหุ้นก็ถึงจุดอิ่มตัว ความต้องการซื้อมีไม่มากพอที่จะดันราคาขึ้นได้อีก เนื่องจากมีหุ้นวางขายจำนวนมากเกินกว่าที่แรงซื้อระลอกใหม่จะรับได้หมด

11) เกิดการขายอย่างรุนแรง
- เมื่อแรงซื้ออ่อนแอ สู้แรงขายไม่ได้, C.O. ก็รู้ว่าถึงเวลาปล่อยของที่เหลือจำนวนมากแล้ว
- เขาตัดสินใจช่วยไล่ราคาขึ้นไปให้ทำนิวไฮอีกครั้ง เพื่อทำให้คนในตลาดยังเชื่อว่าราคาจะโอกาสไปต่อได้อีก พวกเขาจึงซื้อเพิ่มกันใหญ่
- ทว่า, ความต้องการขายจำนวนมหาศาลถูกวางขวางไว้ไม่ให้ราคาขึ้นไปต่อได้อีกแล้ว เขาก็เริ่มขาย ขาย และขาย
- จากการขายแบบไม่หยุดนี้เอง ทำให้ราคาลงหนัก จนคนทั่วไปรู้สึกระมัดระวัง และในที่สุดก็กลัว
- นั่นคือพวกเขากลัวว่าตลาดจะลงจบรอบไปเลย แต่ก็ยังแอบหวังว่ามันจะฟื้นตัว(กลัวโดนหลอก) จึงมีความขัดแย้งทางอารมณ์ จะขายก็กลัวโดนหลอก จึงกลายเป็นไม่กล้าขายในที่สุด

12) ตลาดร่วงรุนแรง
- ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ เนื่องจากความต้องการซื้อเข้ามารับหุ้นน้อยมาก
- ราคาลงได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ supply ยังคงมีมากกว่า demand
- เล่า C.O. ยังคงขายช็อร์ตเพื่อทำกำไร ตราบใดที่พวกเขายังปลอดภัย และเตรียมเงินกำไรที่ได้ ไปรอรับซื้อในระดับราคาต่ำๆต่อไป

จากข้อ 5-12 พอจะอนุมาณการเคลื่อนไหวได้ดังรูปล่าง ก็อาจจะไม่เป๊ะๆ นะ เพราะผมก็ไม่ใช่เจ้ามือ แต่ก็พอจินตนาการออกมาได้ว่า มันน่าจะออกมาในรูปแบบนี้




(แนะนำหนังสือของ Zyo)
หนังสือเล่มมีขายที่เพจ www.facebook.com/zyobooks ที่เดียวครับ






และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน