กว่าจะสำเร็จ นักเทรดต้องเจออะไรบ้าง?

Image
Trader’s Journey: กว่าจะสำเร็จ...นักเทรดต้องเจออะไรบ้าง? มีจำหน่ายเป็นอีบุ๊กที่  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=270047 ความสำเร็จในโลกของการเทรด   มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่คุณต้องเผชิญกับ:   1. การขาดทุนหลายปี (Years of loss)      ในการเริ่มต้นเทรด คุณจะต้องเผชิญกับการขาดทุน เพราะการเทรดไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนที่บางคนโฆษณาไว้ คุณต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด ทำความเข้าใจกับตลาด และฝึกฝนกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนา. 2. ความสงสัยในตัวเองอย่างหนักหน่วง (Crippling self-doubt)       การขาดทุนบ่อยครั้งหรือการตัดสินใจผิดพลาด อาจทำให้คุณเริ่มสงสัยในความสามารถของตัวเอง แต่นี่เป็นกระบวนการสำคัญที่จะผลักดันให้คุณพัฒนาตัวเองและสร้างความมั่นใจขึ้นมาใหม่. 3. นิสัยการเทรดที่ไม่ดี (Destructive trading habits)       คุณอาจเผชิญกับนิสัยที่ทำลายตัวเอง เช่น เทรดเกินความเสี่ยง, ใช้เงินเกินตัว, หรือเทรดโดยไม่มีแผน สิ่งเหล่านี้เป็นบทเรียนที่คุณต้องแก้ไขเพื่อเติบโต. 4. กลยุทธ์ที่ล้มเหลว (Failed strategies)       ไม่มีกลยุทธ์ใดที่สมบูรณ์แบบ 100% คุณจะต้องลองผิดลองถูก บางครั้งคุณอาจพบกลยุทธ์ที

จิตวิทยาเบื้องหลังการเคลื่อนไหวราคาและ Price Pattern



แปลจาก Market Price Movements - Psychology and Price Patterns
http://www.daytradingcoach.com/free-education-market-trend-psychology.html

จิตวิทยาของคนสามกลุ่มที่มองตลาดแตกต่างกัน จึงมีส่วนผลักดันให้ราคาขึ้นหรือลง และเกิดเป็น Price Pattern
(สารภาพก่อนเลยว่าแปลออกมามั่วมากๆ แถมเลือกเอาช่วงตัวเองที่พอเข้าใจและอยากรู้ จึงได้มาเท่านี้แหละ)
.
การขึ้นลงของราคาเป็นผลมาจากการตัดสินใจของฝ่ายซื้อกับฝ่ายขาย คนที่ซื้อเพราะเชื่อว่าราคาจะไปได้สูงขึ้นได้อีก ฝ่ายที่ขายเพราะรู้สึกว่าราคามันจะลงอีกในไม่ช้า ผลของการตัดสินใจคือแท่งราคาที่สรุปในแต่ละช่วงเวลานั่นเอง
.
มีเทรดเดอร์ 3 กลุ่ม ในตลาด
1) คนที่ long หรือ ซื้อสะสมหุ้น
2) คนที่ short หรือ ต้องการขายหุ้น
3) คนกำลังดูเกมส์อยู่วงนอก และจะเข้าตลาดในเร็วๆนี้
คนกลุ่มที่สามจะมีมุมมองเกี่ยวกับทิศทางที่น่าจะเป็นของตลาดแตกต่างกัน บ้างมองว่าจะขึ้นต่อ บ้างก็มองลง แต่เขาไม่มีแรงจูงใจทางบวกมากพอเลยออกมาอยู่ข้างสนาม เพราะพวกเขาไม่มีความมั่นใจในทิศทางของตลาด
ดังนั้นพวกเขาไม่มีส่วนได้เสียในทิศทางของตลาด
(edit cr. sam vesteras)
.
ราคาในอนาคตเป็นผลกระทบบจากธรรมชาติของมนุษย์ จึงส่งผลให้เกิดเป็นวัฏจักรของตลาดจากจุดต่ำสุดไปสู่จุดต่ำสุด
.
Classic price pattern
A- B
สมมติว่าราคาการเทรดในช่วงการซื้อขายที่ค่อนข้างแคบ (ระหว่างจุด A และ B ในชาร์ต) ตระหนักถึงการเคลื่อนไหวของราคา sideway

คนกลุ่มแรกคือ
"ฝ่าย long " อาจจะซื้อสัญญาเพิ่มเติมหากราคาขึ้นไปสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาของการซื้อขาย และอาจจะหยุดคำสั่งซื้อที่จุด B แต่ก็อาจจะซื้อเพิ่มหากเห็นสัญญาณแนวโน้มราคาของจะสูงขึ้นไปอีก ...
... แต่ในทำนองเดียวกัน เขาก็จะตระหนักถึงทิศทางราคาอาจลดลงไปด้านล่างจoต่ำกว่าช่วงการซื้อขายที่ผ่านมา(A-B) พวกเขายังอาจป้อนคำสั่ง stop loss ด้านล่างของตลาดเพื่อที่จะ จำกัดการสูญเสียของพวกเขา

คนกลุ่มที่สองคือ ฝ่ายชอร์ต
จะมีปฏิกิริยาตรงข้ามกับตลาด หากราคาวิ่งขึ้นสูงกว่าช่วงการซื้อขายที่ผ่านมาหลายคนอาจป้อนคำสั่งหยุดการสูญเสียที่ระดับสูงกว่าจุด B เพื่อ จำกัด การสูญเสีย และพวกเขาอาจเพิ่มตำแหน่งของพวกเขาถ้าราคาจะลดลงต่ำกว่าจุด A .


คนกลุ่มที่สาม คือ คนที่ยังไม่มีหุ้น
กำลังจ้องหาจังหวะจะ long หรือ short แล้วแต่ว่าราคาจะทะลุขึ้นหรือลง

ช่วง C -D
มาดู ตอนที่ราคาดีดขึ้นมาหยุดที่จุด C กัน
ถ้าช่วงราคาเทรดระหว่าง A-B แคบมากๆและ sideway เป็นระยะเวลานาน-จะมองว่าเป็นช่วงสะสม เมื่อราคาสามารถเบรคทะลุจุด B ขึ้นไปได้ คนที่ไม่มีหุ้นเมื่อเห็นก็จะเข้ามาร่วมวงกันซื้อมากมาย-และคนที่เอาหุ้นมาตั้งขายก็คือกลุ่มที่ long หรือซื้อสะสมเอาไว้มาก่อนหน้านี้
คนที่เคยซื้อกลับกลายเป็นคนเทขาย ทำให้ราคาหุ้นลดลงจากจุด C ลงมาที่ จุด D
ตรงนี้เองที่จิตวิทยา(ความเห็น)ของเทรดเดอร์เริ่มแตกต่างกันอีกแล้ว
.
กลุ่มแรกที่ long ไว้ในช่วงราคา A-B เขาจะไม่ซื้อช่วงที่ราคาวิ่งทะลุขึ้นไปถึงจุด C พอราคาลงมาถึง D เขาเหล่านี้ยินดีที่จะซื้อเพิ่ม (buy on a dip) เข้าพอร์ตอีก ดังนั้นแรงซื้อจากกลุ่มนี้เองที่หยุดการลงของหุ้น
.
ส่วนฝ่ายชอร์ตที่ยึดช่วงราคา A-B ไว้เป็นหลัก เมื่อเห็นราคาขึ้นไปยังจุด C จากนั้นก็เห็นราคาร่วงลงไปสู่จุดเดิมที่เคยขายออก ถ้าเขาไม่ได้ cover short position โดยการ buy stop เหนือจุด B พวกเขาก็อาจจะ cover ที่จุด D เพื่อลดการสูญเสีย - นี่ก็เป็นอีกกลุ่มที่ช่วยหยุดที่ จุด D ไม่ให้ราคาลงต่อ
.
อีกกลุ่มที่จ้องจะเข้าตลาด ก็จะใช้โอกาสเข้าร่วมซื้อเมื่อเห็นราคาไม่ลงต่อ เข้าสูตรที่เรียกว่า “getting in on a dip”
.
ผลของการวิ่งของราคาจาก A ถึง C ทำให้มุมมองทั้งสามกลุ่มของเทรดเดอร์เปลี่ยนเลยทีเดียว ผลที่ว่านั้นก็คือเสียงแตก คนที่ซื้อตรงแนวรับนั้นมาจากทั้งสามกลุ่ม แนวรับถูกทำให้แข็งแกร่งด้วยแรงซื้อที่มากมายสวนการลง-ส่งผลให้ราคาดีดขึ้นกลับไปหาจุด C อีกครั้ง แถมยังมีโมเมนตัมมากพอที่จะดันราคาขึ้นไปสูงกว่า C จนไปถึงจุด E และแล้วจิตวิทยา(มุมมอง)ของคนทั้งสามกลุ่มก็เปลี่ยนอีกรอบที่จุดนี้
.
บางคนในฝ่ายที่ long มาแต่ต้นหรือซื้อที่แนวรับ ก็จะถือโอกาสขายทำกำไร นอกจากนี้, เมื่อตลาดเป็นขาขึ้น ฝ่ายนี้ก็เกิดความกระตือรือล้น-ก็เลยตั้งเป้าราคาใหม่ให้สูงกว่าเดิม เพราะเขาเชื่อว่าตลาดจะขึ้นต่อไปได้สูงกว่านี้อีก
.
กลุ่มเดิมที่ขาย short ระหว่างจุด A-B แต่ยังไม่ได้ cover loss ที่นับวันยิ่งเพิ่ม มุมมองเขาตรงจุด E จะเป็นลบมากเพราะขาดทุนเยอะแถมเสียความมั่นใจอีกต่างหาก จึงสกัดการขึ้นของตลาดด้วยการ short เพื่อหวังจะเอาทุนคืน
.
กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าตลาด อาจเป็นเพราะพวกเขาเคยตั้งซื้อแต่ยังไม่ได้ของ เขากลัวว่าตลาดจะไปสูงกว่าเดิมอีก จึงซื้อหุ้นที่ราคาตลาด
จำไว้ว่า กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าตลาดเพราะลังเล จริงๆแล้วมุมมองของเขายังคง bullish บางคนถึงกับโทษตัวเองที่ซื้อไม่เข้าเร็วกว่านี้ กระทั่งคนที่เคนขายหุ้นไปแล้วก่อนหน้านี้เมื่อเห็นราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม-มุมมองก็ยังชอบอยู่ฝั่ง long
กลุ่มคนพวกนี้แหละที่จะเข้ามาซื้อเมื่อราคาพักตัวลงในครั้งถัดๆมา
.
การตกจะหยุดเมื่อเจอการตั้งรับ(แนวรับ) ดังนี้
1) เทรดเดอร์ที่ยังถือ long อยู่ ซื้อเพิ่ม
2) เทรดเดอร์ที่ถือชอร์ต ต้องการซื้อชอร์ตคืน เมื่อตลาดพักตัวลง
และ 3) เทรดเดอร์ที่ยังไม่มีของ เข้ามาร่วมซื้อเพราะอยากเกาะตลาดขาขึ้น
.
จึงเป็นผลให้ราคายกระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ไฮยก โลว์ก็ยกสูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ทำทรงขาขึ้นที่สวยงาม
.
แต่แล้วพอราคาขึ้นมาถึงจุดหนึ่ง จิตวิทยาก็มีการเปลี่ยนอย่างเนียนอีกครั้ง กลุ่มที่ long มาตั้งแต่ต้นเทรนด์เห็นว่าพอร์ตกำไรมากจนอ้วนพี เริ่มมองหาจุดขายทำกำไร
กลุ่มที่สองเป็นพวกที่ "ถูกกระทำ" ที่ชอร์ตทิ้งไว้และปฏิเสธที่จะ cover short positions เขารอที่จะซื้อคืนเมื่อตลาดพักฐานลงมา
กลุ่มที่สาม คือพวกที่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นสักที พวกนี้เริ่มองุ่นเปรี้ยว เพราะความที่ตกรถ จึงไม่อยากซื้อหุ้นแล้ว ตั้งหน้าตั้งตารอชอร์ต
.
เมื่อตลาดขึ้นมาจนถึงจุดที่ไม่มีสัญญาณสนับสนุนในจุดที่ราคาตก (noticeable lack of support on a dip) คือว่ามัน "มาไกลจนหมดแรงจะไปต่อได้อีกแล้ว" มันคือจุดเริ่มต้นของสัญญาณกลับตัวของจิตวิทยา การร่วงจากจุด I ถึง J เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคของการดิ่งลง การลดลงครั้งนี้ถือเป็นโทนใหม่ของตลาด การสนับสนุนในการลดลงกลายเป็นความต้านทานในการวิ่ง และ a more two-sided market action develops (แปลไม่ออก)
.
ส่วนต่อไปจะเป็นภาคของขาลง ผมไม่แปลนะ เพราะไม่สนใจ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo