นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่!

Image
นักเทรดคิดว่างานของพวกเขาคือการทำเงิน แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่! แปลและขยายความจาก  https://x.com/markminervini/status/1850913591630680378 นักเทรดหลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่า “งาน” หรือสิ่งที่พวกเขาต้องทำคือการทำกำไรให้ได้มากที่สุด ในความจริงแล้ว เป้าหมายของการเทรดคือการทำเงิน แต่งานจริง ๆ ของนักเทรดนั้นคือการปฏิบัติตามและดำเนินกลยุทธ์ที่ได้วางแผนไว้อย่างมีวินัยโดยไม่หลุดออกจากกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าคุณสามารถยึดมั่นในกฎการเทรดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ตามมาคือกำไรและความสำเร็จจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป้าหมาย vs งานจริงของนักเทรด - เป้าหมาย  คือการทำเงินและสร้างผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้ แต่สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้โดยตรง - งานจริง  ของนักเทรดคือการใช้กลยุทธ์ที่มีโอกาสชนะให้ได้อย่างสม่ำเสมอและมีวินัย ยึดมั่นในแผนการเทรดที่ตั้งไว้ การทำตามกฎของตัวเองอย่างเคร่งครัดจะช่วยให้คุณจัดการกับความเสี่ยงและลดโอกาสขาดทุนได้ ทำไมวินัยจึงสำคัญในงานของนักเทรด การมีวินัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเทรดมีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น การไม่มีวินัยในการเทรดจะทำให้นักเทรดเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด

บทสัมภาษณ์ Mark Minervini : วิธีหาหุ้น Superperformance


แปลจากบทความชื่อ A Guide to Superperformance from a Stock Market Wizard
Ben Hobson

เขาบอกว่า โดยพื้นฐานแล้ว มาร์ค มิเนอร์วินี เป็น Growth investor ที่สร้างชื่อจากการเทรดหุ้นที่เคลื่อนที่เร็ว(หุ้นซิ่ง-โมเมนตัม) ด้วกลยุทธ์ที่ผสมผสานพื้นฐาน กับเทคนิคอล และการบริหารความเสี่ยงที่เข้มงวด โดยทั้งหมดถูกเขียนลงไปในหนังสือเล่มแรก

แต่ในครั้งนี้ที่สัมภาษณ์ จะสอบถามถึงเรื่องกลยุทธ์ที่แม่นยำที่เป็นการตัดสินใจส่วนตัวอย่างมาก
โดยสิ่งสำคัญกว่านั้นคือความเชื่อและ mindset ที่เขายึดมั่นกับมัน รวมถึงวินัยที่มั่นคงเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนครั้งใหญ่ด้วย


ช่วยบอกหน่อยว่าคุณได้ปฏิวัติและพัฒนากลยุทธ์ของคุณยังไงบ้าง?
- กลยุทธ์พัฒนาของผมค่อนข้างเรียบง่าย เพราะผมมีเงินทุนน้อย และผมต้องการปั้นพอร์ตให้โตเป็นเงินก้อนใหญ่ ผมจึงต้องหาหนทางเทรดที่จะทำให้เงินทบต้นเติบโตไวที่สุด

ในช่วงเริ่มต้น ผมไม่ได้เล่นสั้น หรือ สวิงเทรดแบบปัจจุบันหรอกนะ
ก่อนหน้านั้นค่าคอมมิชชั่นมากกว่า $175 ต่อการเทรดหนึ่งครั้ง
ซึ่งในช่วงต้นของปี 1980 ผมมีเงินแค่หมื่นเหรียญ จึงไม่สามารถจ่ายค่าคอมมิชชั่นได้แน่ คุณต้องโทรศัพท์หาโบรกเกอร์ และเขาก็ตะโทรหาอีกคน หาอีกคน จนสิ้นสุดที่ floor (ห้องเทรด) มันมีกระบวนการที่เยอะมาก

แต่ปัจจุบันนี้ เราซื้อขายได้ง่ายมาก เรามามารถเทรดจากการแกว่งระหว่างวันได้ ซึ่งผมก็มีการปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมขึ้นเรื่อยๆ การเทรดมันเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ แต่คุณต้องพยายามมองให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อให้คาดเดาได้มากที่สุด




กลยุทธ์ของคุณเน้นโฟกัสเฉพาะบริษัทที่เติบโต แล้วคุณดูรายละเอียดอะไรเกี่ยวกับมันบ้าง?
- หนังสือผมอธิบายได้ดีว่าที่ผมจะพูดต่อไปนี้เยอะนะ(ฉะนั้นไปซื้อมาอ่านดีกว่า) แต่จากมุมจองพื้นฐานแล้ว ถ้าคุณลงทุนในหุ้นเติบโต คุณต้องมองหาสัญญาณของการเติบโต มันไม่ได้หมายความแค่ว่ามันโชว์ผลกำไรที่ผ่านมาดีหรอกนะ เช่น ไตรมาสที่ผ่านๆมากำไร 30% มันน่าดึงดูด แต่จะมีประโยชน์มากกว่าถ้ามันสามารถทำได้ดีกว่านี้ในอนาคตอันไกล้

ในขณะเดียวกัน ถ้าคุณมีหุ้นบริษัทที่มีการเติบโต 30% ต่อไป แต่ก่อนหน้านี้มันโต 80% หรือ 90% มันย่อมไม่ดีแน่ เพราะการเติบโตถดถอย ซึ่งเป็นลักษณะที่ Dell เคยเป็นในช่วงปี 1990 เมื่อการเติบโตลดลง ราคาหุ้นก็ยืนไม่อยู่ ร่วงแรงเลยจากนั้น

เรื่องแบบนี้ก็เข้าใจยากพอสมควรนะสำหรับคนทั่วไป แต่คุณต้องมีการเปรียบเทียบถึงจะเห็นชัดว่ามันจะเติบโตหรือถดถอย Wall Street (หรือตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงบ้านเรา) ชอบอะไรที่มันเหนือความคาดหมาย และเมื่อบริษัทใดประกาศงบออกมาว่ามีการเติบโตเร็วกว่า พวกเขาก็จะเข้าไปลงทุน

ทั้งนี้, ผมจะเน้นไปดูการเติบโตของกำไรรายไตรมาส แต่บางครั้งคุณจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานก่อนที่กำไรจริงจะโชว์ก็ได้ เช่นบริษัทยาที่ได้รับการอนุมัติยาใหม่ซึ่งมันการันตีได้ก่อนค่อนข้างแน่ว่าจะมีกำไรโตเร็วในอนาคตอันไกล้แน่ แต่ถึงกระนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับว่าสถานะและประเภทของบริษัทนั้นด้วย

ผมจะให้น้ำหนักแต่ละอุตสาหกรรมและแต่ละบริษัทแตกต่างกันไป
นี่คือเหตุผลที่ผมแตกออกเป็น 4 หรือ 5 ประเภท คือ
- ผู้นำตลาด
- ผู้นำในการแข่งขัน
- ขวัญใจสถาบัน
- กำลังเทิร์นอะราวด์
นี่คือสี่ประเภทที่ผมใช้คัดแยกตลอด
อีกประเภทคือ หุ้นวัฏจักร ที่ผมพยายามหลีกเลี่ยง และอะไรก็ตามที่ส่อให้เกิดการควบควม ผมก็จะไม่ยุ่ง


คุณมีคำแนะนำสำหรับนักลงทุนอย่างไร ในการสร้างเสริมกลยุทธ์และพัฒนารูปแบบการเทรด?
- หนึ่งในปัญหาสำหรับนักลลงทุนทั่วไปคือ พวกเขายังเป็นมือใหม่ จึงรู้สึกว่ามันมีข้อมูลอยู่มหาศาลทุกที่ ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ซึ่งในตอนแรกผมก็เป็นแบบนี้ คุณต้องใช้เวลาและมีการโฟกัส หลายปีเลยกว่าที่ผมจะทำได้ดีแบบนี้

คุณสามารถเทรดด้วยการดูมูลค่าที่เหมาะสม(PEต่ำ) แต่ผมชอบซื้อหุ้นเติบโตที่ PE สูงกว่า(ที่วีไอคิดว่าแพงแล้ว) แต่ทุกวิธีมันใช้ได้หมดแหละครับ เพราะกุญแจสำคัญคือคุณต้องรู้จักกลยุทธ์ของตัวเอง

แต่คุณต้องมีการจำกัดวงให้แคบลง และคัดเอาเฉพาะบางสิ่งที่คุณเข้าใจมันอย่างดีและทำจริงจัง คุณไม่ควรเก่งทุกกลยุทธ์ เลือกเอาสักอย่างแล้วใช้เวลาเรียนรู้กับมันให้ถ่องแท้ คุณต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่รู้ทุกเรื่อง
(ขอเสริม ถ้าพยายามรู้ทุกเรื่อง อย่าเอาไปเทรดครับ เน้นเปิดคอร์สสอน หรือไปเป็นกูรู นั่นเหมาะกับคุณ)

ถ้าคุณเป็นนักเดย์เทรด มันก็เป็นคนละเรื่องกับการลงทุนเลย คุณต้องมีกฎที่แตกต่างเพื่อทำตาม แต่ที่สำคัญสุดก็คือทุกกลยุทธ์ต้องมีกฎและกระบวนการ (ซึ่งคุณต้อง ใช้เวลาเรียนรู้ให้ถ่องแท้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญไง)

กว่าผมจะประสบความสำเร็จ ผมใช้เวลาเป็นสิบๆปี ความสำเร็จไม่ได้เกิดชั่วข้ามคืน 6 ปีแรก ผมทำผลงานไม่ดีเลย(หมดตัวสองครั้ง) แต่เมื่อผมให้เวาลาในการเรียนรู้และลงมือทำมาต่อเนื่อง จนถึงวันหนึ่มันก็คลิก
ในปัจจุบัน คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลมากมายอันจะทำให้คุณย่นเวลาในการเรียนรู้ได้สั้นลง สมัยผมต้องเข้าห้องสมุด อ่านหนังสือเก่า ล้าสมัย และมันไม่ได้เข้าถึงง่ายแบบปัจจุบัน




ในเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปมากถ้าเทียบกับตอนที่คุณเริ่มเทรดใหม่ๆ คุณยังคิดว่านักเทรดรายย่อยยังจะได้เปรียบในยุคสมัยที่มีการใช้ algorithm และ high speed trading อย่างปัจจุบัน?
- แน่นอน! รายย่อยยังได้เปรียบเสมอ เพราะพวกเขาพอร์ตเล็ก เคลื่อนไหวได้ไว อีกอย่างยุคนี้คุฯสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เท่าๆมืออาชีพ  มันเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเทรด
แต่ผมบอกเลยว่ารายใหญ่ต้องเหนื่อยมากขึ้น



แนวทางการเทรดของคุณมีจุดเด่นคล้ายกับตำนานอย่าง Jesse Livermore และ Stan Weinstein ใครเป็นแรงบันดาลใจให้คุณมากที่สุด และคุณเรียนรู้อะไรจากพวกเขาบ้าง?
- ผมเคยเจอ Stan Weinstein ตอนปี 1990 เขาเป็นคนที่มีสีสันมาก สนุกสนาน และสร้างความประทับใจแก่ผมในเรื่องของ passion ในการเทรด หลังจากที่พบกัน ทำให้ผมตกผลึกในเรื่องของการเทรด

ผู้ส่งอิทธิพลอีกคนคือ Richard Love เขาเขียนหนังสือชื่อ Superperformance Stocks เขากับ William Jiler เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของด้านและพื้นฐานเทคนิคอล

Jesse Livermore ก็มีอิทธิพลไม่แพ้กัน

ผมบอกได้เลยว่า ตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่นั้นประกอบด้วยส่วนดีของไอดอลสี่คนนี้รวมกัน

Paul Tudor Jones เป็นอีกคนที่ผมพยายามเลียบแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง
เมื่อค่าคอมมิชชั่นถูกลง ทำให้ผมผมเทรดเร็วขึ้นด้วยทุนที่น้อยลง  ผมได้เริ่มประยุกต์ใช้รูปแบบของกฎที่นักเทรดฟิวเจอร์สได้ใช้กัน นั่นหมายความว่ามันทำให้ผมเทรดหุ้นแบบดุดันมากขึ้น และยังใช้การคำนวนมากขึ้นเพื่อสามารถลดความเสี่ยงได้เร็วแบบนักเทรดฟิวเจอร์ส


การบริหารความเสี่ยงคือหัวใจหลักในการเทรดของคุณ และการตัดขาดทุนที่รวดเร็ว มีตรงไหนบ้างที่นักเทรดทั่วไปทำพลาดเกี่ยวกับสิ่งนี้, ทำไม?
- ที่พวกเขาพลาดเพราะไม่มีกลยุทธ์ที่ดี
พวกเขามักให้อีโก้มีอำนาจเหนือความต้องการทำเงิน และที่สำคัญก็คือพวกเขาแยกแยะไม่ออกว่าสองสิ่งนี้มันต่างกันตรงไหน
เมื่อราคาหุ้นร่วง เขาไม่อยากกลายเป็นคนผิด จึงรอให้ราคากลับมาคืนทุน ซึ่งการขาดทุนมักจะเลวร้ายกว่าที่คิดไว้เสมอ เมื่อยอดขาดทุนเป็นก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดทนไม่ไหว ความมั่นใจหายไปสิ้น จึงคิดได้ว่าควรขายออก ซึ่งความเสียหายก็เลวร้ายขั้นสุดไปแล้ว

บางทีพวกเขาอาจเคยเจอประสบการณ์ตัดขาดทุนแล้วเด้ง จึงเกิดความไม่แน่ใจในเรื่องของการ stop loss อีกต่อไป

แต่เชื่อเถอะ ว่าคุณจะไม่โชคดีแบบนั้นทุกครั้ง ความจริงก็คือตลอดการเทรดคุณมีโอกาสถูกแค่ 50% ดังนั้นคุณต้องมีการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมันสำคัญที่สุด
มันมีความเสี่ยงมากมายในการเทรดหุ้น หุ้นทุกตัวล้วนมีความเสี่ยง ซึ่งคุณต้องมีการบริหารมัน
เป้าหมายของการเทรดก็คือ รันกำไรในหุ้นที่เป็นผู้ชนะให้ได้มากกว่าตัวที่ขาดทุน
คุณไม่สามารถเทรดชนะทุกครั้งหรอก ผมบอกเลย
ดังนั้นคุณต้องเปลี่ยนมุมอง ด้วยการโฟกัสในการตัดขาดทุนไม่ให้เสียหายเยอะไว้ก่อน


การขายหุ้นตั้งแต่ยังขาดทุนน้อยๆ เป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่การรู้ว่าเมื่อไหร่ควรขายเพื่อเก็บกำไรก็เป็นเรื่องที่ยากไม่แพ้กัน คุณมีคำแนะนำเกี่ยวกับการรันกำไรและจุดสังเกตมั้ยว่าเมื่อไหร่ที่ได้เวลาขายออกแล้ว?
- ในหนังสือเล่มใหม่ของผม (Think and trade like champion) ผมได้ลงรายละเอียดไว้ทั้งหมดแล้ว ตั้งแต่กฎการขาย และรายละเอียดย่อยที่คุณควรดูเมื่อต้องการตัดสินใจขาย ไม่ว่าคุณต้องการถือหุ้นยาวขึ้นในการวิ่งรอบใหญ่
นอกจากนี้ผมยังบอกเรื่องของการขายออกก่อนที่มันจะถึง stop loss ด้วย
ผมมีบทเกี่ยวกับการขายหุ้นและบทที่เรียกว่า "การละเมิด" ด้วย

สิ่งสำคัญคือ "คุณต้องมีกฎ" ถ้าไม่มีกฎแล้วคุณจะเทรดด้วยอารมณ์ ซึ่งผลการเทรดจะไม่มีทางออกมาดีได้เลย
กฎของคุณ ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่เกิดจากการทุ่มเท
เช่นถ้าคุณเป็นนักสวิงเทรด ซื้อหุ้นที่ 20 และมันวิ่งขึ้นไปที่ 30 แล้วคุณขายมันออก แล้วจากนั้นหุ้นวิ่งขึ้นไปอีกสามเท่าตัว คุณต้องไม่เจ็บใจที่ขายหมู เพราะว่าราคามันวิ่งถึงเป้าขายของคุณแล้ว

สมมุติว่าคุณเล่นเดย์เทรด คุณต้องไว เทรดเพื่อสร้างกระแสเงินสด ซึ่งคุณขอกำไรแค่ไม่กี่ช่องเท่านั้น แต่เมื่อขายไปแล้วมันวิ่งต่อ ก็อย่าได้ปวดใจเพราะมันไม่ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจคุณ

เช่นกันกับนักลงทุนระยะยาว เมื่อคุณซื้อหุ้นที่ 20 จากนั้นมันไป 25 แต่คุณมองระยะยาว แม้จากนั้นมันลงมาที่ 18 หรือ 19 ก็ต้องยอมทนดูไปก่อน
พูดง่ายๆ คือ ถ้าคุณคิดจะเทรดระยะยาว ก็ต้องยอมทนการกับการแกว่งระยะสั้น ถ้าริจะเล่นสั้นก็ต้องยอมรับได้ถ้าขายหมู

คุณต้องระบุสไตล์การเทรดให้ได้ก่อน
คุณต้องเรียนรู้ที่จะเสียสละและโฟกัสเฉพาะสไตล์นั้น ซึ่งมันต้องอยู่บนฐานของบุคลิก สิ่งแวดล้อมและนิสัยของคุณ
คุณต้องพยายามมองการเทรดให้เป็นวิทยาศาสตร์ โดยการตัดตัวแปรในเรื่องของอารมณ์และโชคออกไป

นอกจากนี้ คุณต้องฝึกเรื่องของ "การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด" เช่น
- จะซื้ออะไร?
- จะซื้อเมื่อไหร่?
- ต้องซื้อเท่าไหร่?
- ต้องขายเมื่อไหร่?
คุณต้องตัดสินใจไว้ก่อน วางแผนไว้ก่อน
ซึ่งเรื่องพวกนี้มันก็ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์เพียวๆหรอก มันก็เป็นศิลปะอยู่พอสมควร
แต่ความงดงามของมันคือ ถ้ามันเป็นวิทยาศาสตร์ คุณก็แค่เอาตัวเลขไปวางใน excel แล้วคำนวน ซึ่งมันไม่ต้องใช้สมองคนก็ได้
แต่การเทรดมันเป็นศิลปะอยู่ไม่น้อย มันจึงมีส่วนของความท้าทายอยู่ ซึ่งมันก็มีรางวัลอยู่ในนั้น
(ผมแปลแบบมั่วๆนะ ต้นฉบับเขาว่าอย่างนี้
There are still going to be intuitive decisions to be made: What to buy? When to buy? How much to buy? When to sell? There are always decisions to be made and you’re never going to be truly scientific, it’s still going to be an art. But that’s the beauty of it. If it was purely scientific then you’d be able to put it into an Excel spreadsheet or computer program and let it run, and humans wouldn’t be needed and the edge would be gone. But that’s the beauty about trading, there’s an art to it. That’s the challenging part but it’s also what makes it so rewarding.)

ที่สำคัญก็มีเท่านี้ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Setup เงินล้านของ Kristjan Kullamägi

จิตวิทยา การวิเคราะห์และใช้งาน แท่งเทียน Doji

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่