คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม

Image
พี่มาร์ค มิเนอร์วินี กล่าวว่า “หากคุณต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเรียนรู้วิธีการเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม” การเป็นนักเทรดที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอไม่ได้หมายถึงการชนะทุกครั้งที่คุณเข้าเทรด แต่หมายถึงการมีวิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างชาญฉลาดเพื่อให้คุณสามารถปกป้องทุนของคุณและเพิ่มโอกาสในการเติบโตของพอร์ตการลงทุนในระยะยาว  นี่คือการขยายความแนวคิดที่ว่า "การเป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ยอดเยี่ยม" สำคัญอย่างไร: eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://t.co/YaO0CIQq8J 1. ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ในตลาดการเงิน ไม่มีใครสามารถควบคุมผลลัพธ์ของแต่ละการเทรดได้ การเคลื่อนไหวของตลาดขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจ หรือพฤติกรรมของผู้เล่นในตลาด ซึ่งมักเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความสำเร็จจึงไม่ได้มาจากการ "เดาถูก" แต่เป็นการรู้วิธีจัดการความเสี่ยงเมื่อคุณ "เดาผิด" ตัวอย่าง:   สมมติว่าคุณมีเงินทุน 100,000 บาท หากคุณใช้เงินทั้งหมดในการเ

Manas Arora : ผมรวยเพราะเทรดสไตล์ Mark Minervini


เป็นบทความแปลที่ผมอยากให้ท่านอ่านกันครับ
โดยเฉพาะคนที่เป็นติ่งของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี
คุณมนัส คนนี้ คือตัวอย่างของการเอาเทคนิคการเทรดของไอดอลมาใช้ประโยชน์ได้จริง
และที่สำคัญคือเขาลงรายละเอียดได้ดีมาก ลึกกว่าที่หนังสือบอกไว้เสียอีก

ใครอ่านหนังสือแล้วไม่เคลียร์เรื่องภาคปฎิบัติ แนะนำให้อ่านเลยครับ
บอกคำเดียวว่า ลงลึกไปแบบก้าวต่อก้าวเลยทีเดียว


นี่เป็นการเดินทางของพนักงานคอลเซ็นเตอร์ไปสู่นักเทรดที่ประสบความสำเร็จ
มนัส, นักเทรดผู้ยืมเงินมาเทรดจนหมดตัว แต่ในที่สุดก็กลับมาชนะ

การเทรดและการลงทุนเป็นอาชีพที่สันโดษ นักเทรด/ลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ล้วนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการค้นคว้า, อ่าน, หรือเกาะติดโซเชียล รวมถึง Manas Arora คนนี้ด้วย

เขาทำอาชีพหลายอย่าง เปิดร้านอาหารหุ้นกับน้อง, ที่ซ้อมมวย, เป็นนักมวย และ ศิลปะการต่อสู้หลายแขนง ทำให้ต้องเดินทางรอบโลกทุกๆ 3 เดือน แต่ก็ยังมีเวลาโพสต์ทุกอย่างบนโซเชี่ยล

จากการเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์จนถึงผู้ค้าที่ประสบความสำเร็จมนัสเดินทางไปในเส้นทางเดียวกันกับที่เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จทุกคนทำ แต่ในกรณีของเขามันดูทรุดโทรมขึ้นเล็กน้อยเมื่อเงินที่ใช้เทรดเป็นเงินที่ยืมคนอื่นมา มันเป็นต้นตอนที่ทำให้เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง

สเน่ห์ของการเทรดคือคุณสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้มนัสติดการเทรด ตอนนี้เขาฝันถึงการเดินทางรอบโลกและเทรดไปด้วย

นี่เป็นการให้สัมภาษณ์กับ Moneycontrol
มนัสพูดเกี่ยวกับการผจญภัยในการเป็นเทรดเดอร์ รวมถึงกลยุทธ์การเทรดของเขาทั้งหมด




ช่วยเล่าการเดินทางของคุณในการเป็นนักเทรด?
- จบจากมหาวิทยาลัยเดลลี ทำงานกะกลางคืนเป็นปี แต่ไม่ชอบจึงไปทำงานเป็น sub-broking ก็รู้สึกชอบการเคลื่อนไหวของราคา และเห็นโอกาสในการทำเงินจากมัน จึงเริ่มต้นอ่านหนังสือ เพื่อหาสาเหตุว่าอะไรทำให้ราคาเคลื่อนไหว และจะทำเงินจากมันได้ยังไง ซึ่งชักนำให้เขาอ่านหนังสือประเภทเทคนิคคอล อนาไลซิส และเริ่มฝึก

ขณเดียวกันก็ร้อนวิชา ไปโพสต์คำแนะนำการเทรดที่ Orkut ผ่านไปไม่กี่เดือน มีคนตามเป็นพัน มีคนโทรมาปรึกษาด้วย จึงเริ่มคิดเงินจากการโทรศัพท์นั้น แต่ด้วยความที่การเทรดมันยาก เพราะหุ้นที่ให้ลูกค้ามันก็ไม่แม่น จึงตัดสินใจเมรดเองดีกว่า

แผนก็คือ จะเอาเงินคนอื่นมาเทรด โดยอ้างว่าช่วยให้พวกเขาทำเงิน จึงยืมเงินคนอื่นและเงินเก็บตนเองไปเทรดแบบเต็มเวลา เริ่มจากเงิน 5 ล้านรูปี สิ้นปี เหลือ 2.2 ล้าน


บริหารจัดการมันยังไงตอนนั้น?
- ตอนนั้นเทรดฟิวเจอร์สอย่างเดียว เทรดทุุกอย่างที่คิดว่ามันเป็นโอกาส ทุกสัญญาณซื้อ อย่าให้มีเงินสดเหลือ ซื้อแหลก ทำแบบเดียวกับมือใหม่ร้อนวิชาเขาทำกัน  ถ้ากลยุทธ์นี้ไม่เวิร์คก็เปลี่ยนไปใช้อันใหม่ไปเรื่อย แทบทุกการเทรดจบลงด้วยการขาดทุน ตอนนั้นเสพติดการเทรดมากเพราะมันตื่นเต้นดี

เรื่อง การจัดการความเสี่ยง ไม่มีหรอก มีการตั้ง stop loss แต่ไม่เคารพมัน จุดเข้าซื้อเป็นสัญญาณจากเทคนิคอล อนาไลซิส ไม่มีการแบ่งเงินเข้าซื้อ ไม่มีแผนธุรกิจใดๆทั้งสิ้น ทุกอย่างมั่ว

แม้จะขาดทุนยับ แต่ก็ยังไม่คิดล้มเลิก หางานอื่นทำ เพราะอยากเอาคืน


แล้วสามารถเทิร์นอะราวด์กลับมาได้ไง?
- หลังจากที่เห็นยอดเงินที่หายไปเป็นจำนวนมาก จึงกลับมานั่งทบทวนตนเอง และกลับไปอ่านหนังสืออีกรอบ และเข้าเน็ท เพื่อหาคำตอบ และตอนนั้นเองที่ไปสะดุดกับงานของ Mark Minervini ที่เขียนหนังสือชื่อ "เทรดแบบเซียนหุ้น ให้ได้กำไรขั้นเทพ" มันเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตการเทรดของผมเลย

ผมเห็นหัวใจของการเทรด นั่นคือการบริหารความเสี่ยง
ผมต้องทำให้การขาดทุนเสียหายน้อยที่สุด
ผมย้ายจากตลาดฟิวเจอร์มาเทรดตลาดเงินสด และควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในลิมิต
ผมเลี่ยงการเทรด frontline stocks (หุ้นเสี่ยงสูง) โดยเฉพาะไปไล่ราคาในตอนที่มันสูงมากเกินไป

พอทำแบบนี้ไปพักหนึ่ง พอร์ตฟื้นตัวเร็วมาก ผมทำกำไรได้ 120% ใน11 เดือน และยังเทรดด้วยกลยุทธ์นี้และการบริหารความเสี่ยง โดยตั้งเป้าว่าจะทำเงินให้ได้ถึง 8 หลัก


คุณมีวิธีการเทรดยังไง?
- ผมทำการบ้านหลังปิดตลาดอย่างต่อเนื่อง และยังเพิ่มการทำการบ้านในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์อีกด้วย
ก่อนเปิดตลาด ผมจะใช้เวลา 10-15 นาทีสแกนดูหุ้นที่เก็บไว้ในลิสต์
ถ้ามีสัญญาณเข้าซื้อ ผมจะตั้งซื้อในตอนเช้า แล้วไปทำงาน
ในระหว่างวันผมไม่ดูราคาหุ้นเลย เพราะผมต้องดูแลร้านอาหารตลอดทั้งวัน

ดังนั้น สิ่งที่ผมทำก็คือทำลิสต์หุ้นที่อยู่ในโซน 20% จากระดับ 52 week high ของมัน
แล้วทุกวันก็ทำการบ้านดูว่ามันมีพฤติกรรมยังไง โดยพยายามมองหาการหดตัวของราคาที่ผันผวนน้อยลง (VCP สูตรพี่มาร์ค) หรือการบีบตัวแบบสปริง (สูตรพี่แดน)





ทรง VCP อธิบายได้ง่ายๆคือ ถ้าหุ้นมันวิ่งไปถึง 100 แล้วย่อลงมาที่ 80 จากนั้นมันเด้งไปที่ 90 ย่อลงไป 85 หลังจากนั้นก็เด้งไป 87 นี่แหละทรงที่ผมจะเก็บเข้าลิสต์ ที่ผมเรียกมันว่า "หุ้นพร้อมลงมือ" หลังจากที่ราคาหุ้นแกว่งแคบขึ้นไปสามครั้ง ผมจะรอเข้าตอนที่มัน breakout

ผมมี มาตรฐานการ stop loss ที่ ลบ 7% จากทุนเข้าซื้อ ซึ่งระดับพวกนี้มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผมเอง สังเกตพบว่าหุ้นที่แข็งแรงมักจะย่อไม่เกิน 7% จากระดับ breakout

ผมจะมองหาปริษัทที่มี float ต่ำๆ (จำนวนรายย่อยถือน้อย) ที่มันทำแนวโน้มวิ่งขึ้นอย่างชัด
บริษัทที่เทริร์นอะราวด์ ที่เริ่มมีกำไรที่ดีขึ้น หรือพวกที่มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และมีกำไรโต ผมจะทำการบ้านและเก็บเข้าลิสต์ทั้งหมด ผมไม่ได้ดูเรื่องพื้นฐานอย่างจริงจัง แต่ก็คิดว่าตัวเลขเหล่านี้น่าจะเติมเต็มที่จะทำให้มีกำไรได้

ปกติผมจะเสี่ยงแค่ 1% ของเงินทุนในการเทรดแต่ละตัว ยกเว้นว่าตัวที่ผมเห็นว่าทันมีพื้นฐานแข็งแกร่ง ก็จะเพิ่มเป็น 1.5%
อย่างไรก็ตาม ผมจะถือหุ้นแต่ละครั้งไม่เกิน 5 ตัวเท่านั้น ถ้ามีเงินเหลือ ผมเลือกที่จะซื้อหุ้นที่มีอยู่แล้ว ไม่เล่นตัวใหม่เพิ่ม


คุณมีกลยุทธ์การซื้อเพิ่มมั้ย, จุดเข้าของคุณอยู่ตรงไหน?
- การซื้อเพิ่มของผม จะเกิดขึ้นเมื่อราคาหุ้นบวกไปแล้ว 10% จากต้นทุนผม
มันมี ๒ อย่างที่เกิดขึ้น คือ
อันดับแรกคือ ผมเลื่อน stop loss ขึ้นมาอยู่ที่ต้นทุน ซึ่งมันทำให้ผมไม่มีความเสี่ยงกับหุ้นตัวนี้อีกต่อไป
อันดับต่อมาคือ ผมติดตามหุ้นอย่างไกล้ชิด ถ้ามันพักตัวหลังจากวิ่งขึ้นไป 10% จากทุนผม และพัก 5-10 วัน ผมจะเข้าซื้อเพิ่มตอนที่มัน breakout
สำคัญที่สุดคือ การพักตัวไม่ควรเกิน 7 วัน เพราะมันเป็นสัญญาณที่จำเป็นในการบอกว่า smart money ต้องการหุ้นเพิ่ม จึงซื้อดันราคาขึ้น
ถ้าราคาหุ้นพักตัวนานกว่านั้น เช่นเป็นเดือน ผมไม่สนใจซื้อเพิ่ม

ถ้าราคาหุ้นวิ่งบวกแรงและเร็ว เช่น 59% ในเวลา 3-4 วัน ผมจะขาย
แต่ถ้ามันเคลื่อนช้ากว่านั้น ผมจะหาจังหวะซื้อเพิ่ม
โดยปกติแล้วผมจะมีโอกาสซื้อเพิ่ม 3-4 ครั้ง ในหุ้นที่มีแนวโน้มสวยๆ ถ้าเป็นหุ้นชั้นยอด ผมสามารถซื้อเพิ่มได้ถึง 6 ครั้งด้วยกัน

ผมชอบเทรดแบบมุ่งเน้น โดยไม่แคร์ว่าหุ้นที่ถืออยู่นั้นมาจากอุตสาหกรรมเดียวกัน




คุณจะเริ่มตัดขาดทุนเมื่อไหร่, 
แล้วจะกลับซื้อคืนมั้ย ถ้าหากมันฟื้นกลับมาเข้าสูตรสแกนได้อีกครั้ง?
- โดยทางเทคนิค ผมจะวาง stop loss อยู่ใต้ ระดับสองเท่าของ 20-period ATR (average true range) ซึ่งมักจะอยู่ใต้จุดต่ำสุดที่มันเคยทำไว้ 7-8 วันก่อน

หลักจากที่ผมขาดทุนหนักในครั้งแรก ผมก็จริงจังกับการ stop loss มาก ถึงขนาดที่ในออฟฟิสผม จะติดป้ายเอาไว้ว่า "อย่าได้เชื่อมั่นในหุ้นของแก แต่จงเชื่อในอำนาจการ stop loss"

องค์ประกอบสำคัญในการบริหารความเสี่ยงก็คือ ระดับ breakout ของหุ้นจะถูกจับตาจากนักเทรดส่วนใหญ่ เมื่อทุกคนต่างเทรดแบบนี้กัน การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นตัวแยกแยะว่าใครจะเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง

ส่วนประเด็นการซื้อหุ้นคืน ก็พบว่ามีบางส่วนที่ฟื้นกลับมาได้ ซึ่งผมไม่มีปัญหาหารซื้อหุ้นตัวเดิม ถ้าสัญญาณซื้อมันได้ ปีที่แล้วผมต้อง stop ออกไปสามครั้งในหุ้นตัวเดียวกัน แต่มันก็ยังโชว์ในผลสแกนของผม ซึ่งผมก็เข้าทุกครั้งที่มันส่งสัญญาณ และมันก็เป็นหนึ่งในตัวที่ทำเงินให้ผมมากที่สุดในปีที่แล้ว


Win-loss และ Risk reward ของคุณเป็นยังไง?
- จากหุ้นที่ผมซื้อ 10 ตัว จะมีแค่ 3-4 ตัวเท่านั้นที่เป็นหุ้นผู้ชนะสำหรับผม
แต่ค่าเฉลี่ยของหุ้นกำไรกับขาดทุนของผมคือ 3 :1
โดยปกติแล้วผมต้องการหุ้นผู้ชนะไม่เยอะ
เพราะความจริงก็คือ ถ้าคุณได้หุ้นที่กำไรคำใหญ่ตัวเดียว ก็สามารถครอบคลุมตัวที่ขาดทุนได้หมด นั่นหมายความว่าผลรวมการเทรดของผมยังมีกำไรอย่างน่าพอใจ


เทรด 10 ชนะแค่ 3-4 ตัว? แล้วคุณจัดการกับตัวที่ขาดทุนยังไง?
- ก็ซื้อให้น้อยสิครับ ถ้าผมเสี่ยงแค่ 1% ของเงินทั้งพอร์ต ก็ามารถจัดการส่วนขาดทุนได้ เพราะยอดของมันไม่ได้ทำให้ผมหวั่นไหวอะไรนัก
ผมบอกเลยว่า ถ้าเดือนไหนพอร์ตผมติดลบไป 5% ผมจะงดเทรดไปเลยในเดือนนั้น ไม่ว่ามันจะเกิดตั้งแต่ 10 วันแรกก็ตาม ผมจะหยุดทั้งเดือนไปเลย เพราะการขาดทุน มันเป็นสัญญานบอกว่าวิธีการของผมกับการเคลื่อนไหวของตลาดมันไม่สอดคล้องกัน

เมื่อเดือนต่อไป ผมกลับมาเทรดใหม่ ใจผมก็กลับไปเย็นตามเดิมแล้ว และสิ่งที่ผมต้องทำก็คือเทรดแบบระมัดระวังเพื่อให้ได้กำไรกลับคืนทุน

ตั้งแต่มาเป็น full time trader ผมสามารถทำเงินกลับคืนจากการขาดทุนหนัก 12-15% ภายในเวลา 2-3 เดือนเท่านั้น


มีอะไรอยากฝากนักเทรดคนอื่นบ้างมั้ย?
- ผมเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถเป็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าพวกเขาแยกส่วนที่เป็นอารมณ์ออกจากสมการ(การเทรด) และมันจะเป็นไปได้ยิ่งขึ้นถ้าคุณดูแลผลประโยชน์ของตัวเองให้ดี และคาดหวังในสิ่งที่เป็นไปได้เท่านั้น




(((โฆษณา ผลงานของ เซียวจับอิดนึ้ง)))

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

สรุปหนังสือ Trade Like a Casino