เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

Image
Leoš Mikulka กับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและการจดบันทึกการเทรด   การแสวงหาการวัดผลเป็นตัวเลข: วิธีบริหารอารมณ์ขณะเทรด แปลจาก https://tradingresourcehub.substack.com/p/leos-mikulka-practical-risk-management-journaling อินโทรเวิร์ท เทรดเดอร์: สร้างเงินล้านด้วยธุรกิจตัวคนเดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1NjkwMjt9 PART 1: เส้นทางการเทรดของฉัน    ตลอดอาชีพการเทรดของฉัน ฉันได้ผ่านช่วงเวลาหวือหวาขึ้นลงมากมาย (ช่วง ‘รุ่งเรืองและล่มสลาย’ – Boom and Bust)   ฉันเกือบล้างพอร์ตครั้งแรกในปีที่สามของการเทรด   หลังจากทำกำไรได้ 40–50% ในปีที่สอง ฉันก็ตกหลุมพรางยอดฮิตของนักเทรดมือใหม่ที่ได้แรงหนุนจากตลาดที่ดี แม้ว่าจะตัดสินใจผิดพลาดก็ตาม:   ฉายภาพกำไรเหล่านั้นไปสู่จินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นมหาเศรษฐี   โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การกำหนดขนาดสถานะ (Position Sizing) ฉันจึงไม่พ...

หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด ที่อยากแนะนำจริงๆ

หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด

ในมุมมองของผมนะ หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด เป็นอะไรที่นักเทรดควรอ่านมากที่สุด
คือควรอ่านก่อนหนังสือเทคนิคการเทรดด้วยซ้ำไป

แต่ในโลกความจริง มันเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะอ่าน หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด ก่อน
เพราะอะไร?
เพราะว่ามันเข้าใจยากไงครับ

หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด เป็นเหมือนอะไรที่ "ปรัชญาน่าดู" เกินไป
ต้องปีนกระไดอ่าน แปลไทยเป็นไทยหลายตลบ ถึงจะเข้าใจ



ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยตั้งใจอ่านหนังสือประเภทนี้มาหลายรอบ
ปรากฎว่าล่มกลางทางโดยตลอด
อ่านได้ไม่กี่หน้าก็พับ เอาไปเก็บไว้ในชั้น ทิ้งไว้อย่างนั้น
เพราะมันทำความเข้าใจยาก

ทำไมเข้าใจยาก?
ผมว่านะ มันเป็นตัวหนังสือเสียส่วนใหญ่ไง
อีกอย่างประเด็นของมัน เป็นอะไรที่ "วิทยานิพนธ์" เอามากๆ
นึกออกมั้ย? ใช้ภาษาระดับสูง ไทยคำอังกฤษคำ
ถ้าแปลมาจากภาษาอังกฤษ ก็เชื่อได้เลยว่า แปลแบบคำต่อคำ



เคารพต้นฉบับมาก
แต่ไม่เป็นมิตรต่อผู้อ่านน่ะสิ

คนอ่านไม่รู้เรื่อง
แม้แต่ผมเองที่อ่านหนังสือ แทบจะกินหนังสือแทนข้าว
ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด พยายามจะสื่อเลย

ทำไมผมไม่เข้าใจ?
ผมว่านะ หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด ทั่วไป มักจะยกตัวอย่างที่ไกลตัว
โดยเฉพาะเรื่องของจิตวิทยาที่มาจากห้องแลป
สุ่มคนจำนวนหนึ่งไปทดสอบ แล้วเอาผลมาเขียน

แบบนี้มันไม่เข้าถึงคนอ่านหรอก ท่านว่ามั้ย
มันไกลตัวเกินไป ทำให้อินยากมาก



ยกตัวอย่างหนังสือ "Trading in the zone"
ชาวโลกว่าดีนักดีหนา แต่พอแปลมาเป็นไทย
นักอ่านส่วนใหญ่บ่นกันพึม ว่าอ่านยาก แปลเป็นไทยหลายรอบ กว่าจะเข้าใจ
บางคนถึงกับบ่นคนแปล
ซึ่งผมเข้าใจนะ ว่าเขาคงอึดอัดใจเหมือนกันแหละ
เพราะต้นฉบับก็ ปรัชญาน่าดู ไม่น้อยเลย

อีกเล่ม The Daily Trading Coach : ปรับความคิดสู่เทรดเดอร์มืออาชีพ
นี่ก็หนาจัด ผมพยายามหยิบมาอ่านหลายรอบแล้วครับ
ถือได้ไม่เกิน 10 นาทีหรอก ต้องวาง
เพราะท้อใจครับ อ่านแล้วไม่ไปไหน

หนังสือ จิตวิทยาการลงทุน ก็ไม่ต่างกันครับ
นี่เป็นการเอาประเด็นที่เกิดจากการทดลองมาเขียน
เอาแนวคิด ทฤษฎี เชิงจิตวิทยามาเขียนครับ
ซึ่งผมยอมรับว่าอ่านไม่จบเช่นกัน
เพราะไม่รู้จะเอาไปใช้ยังไง ไกลตัวเกินไป



อย่ากระนั้นเลย
ผมเอง ที่เป็นนักเขียน และนักเทรด จึงอยากเอาบ้าง
อยากทลายกำแพงความยากของ หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด
ด้วยการเขียนมันออกมาให้ท่านอ่านสักชุด

โดยสไตล์การเขียนของผมนั้น เป็นแบบ "เม่าเขียนให้เม่าอ่าน" ครับ
ก็เอาประสบการณ์จริงของตัวเองมาเขียนนี่แหละ
ซึ่งมันเป็นประสบการณ์ที่นักเทรดส่วนใหญ่เจอ
รับรองว่าท่านอ่านแล้วต้องอุทานว่า "เหมือนกูเลย"
"เอาเรื่องของกูไปเขียนหรือเปล่า" แบบนี้เลยครับ

รับรองว่า หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด ของผม ทำมาให้ท่านอ่าน
ไม่ได้เอาไปวางไว้บนหิ้งแน่นอนครับ



ตอนนี้มีออกมา ๑ เล่มแล้วครับ
ว่าด้วยการขาดทุน
ชื่อ "ความรู้หุ้น มูลค่า 1 ล้านบาท"
หน้าตาแบบนี้ครับ



รับรองว่านี่เป็น หนังสือ จิตวิทยา การ เทรด ที่อ่านง่ายที่สุดเท่าที่คุณเคยอ่านทีเดียว

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่