การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

Momentum Master (CANSLIM) มีสไตล์การเทรดแบบไหน?


Momentum Master มีสไตล์การเทรดแบบไหน?
วานก่อนมี FC ที่เคารพท่านหนึ่ง ได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาแลกเปลี่ยนกัน
ผมเห็นว่าน่าสนใจ จึงเอามาเขียนแชร์มุมมองให้อ่านกัน

ผมบอกว่า ตอนแรก ตั้งแต่อ่านงานเล่มส้มของปู่โอนีล กับเล่มขาวของพี่มาร์ค
ก็มองว่าพวกเขาน่าจะมีสไตล์การเทรดเป็นนักรันเทรนด์กินกำไรรอบใหญ่กันอย่างเดียว
ไม่น่าเล่นสั้น

เพราะดูจากเคสที่เขายกมาใส่ในหนังสือแล้ว
รูปแบบฐานราคา cup with handle หรือ vcp ที่เขานำเสนอ
แต่ละตัว มันกำไรเป็นเด้งๆ
จึงทำให้เราคิดว่าการเทรดแบบเขา ต้องทนรวยให้นานๆ

ผมเข้าใจผิดไปแบบนั้น ไปนาน

แต่พอตลาดไม่ค่อยดี ผันผวน ทำกำไรไม่ค่อยได้
ผมไปสะดุด คำเตือนของแอดมินเพจ "ห้องหาปลา"
ประมาณว่านัก CANSLIM เขาไม่ได้เอากำไรเยอะทุกตัวหรอก
20% ก็ขายแล้ว

ตอนแรกก็รู้สึกขัดใจ ว่าทำไมมักน้อยจัง
แต่พอไปหยิบหนังสือเล่มส้มมาพลิกอ่านไปเรื่อยๆ
ก็พบประโยคนี้จริงๆ
ในบทที่ปู่โอนีล ปรับปรุงแนวทางการขาย
ให้เริ่มที่ 20% เพราะหุ้นส่วนใหญ่มักจะวิ่งมาได้ไกลแค่นี้
หลังจากที่ทะลุฐานราคาขึ้นมาได้
พวก cup with handle, double bottom, อะไรพวกนี้ที่แกเอามาแชร์



คนอื่นพูดไม่เท่าไหร่
พอได้รับการยืนยันจากไอดอล เริ่มต้องฟังไว้บ้าง

จากงานของพี่มาร์ค เช่นกัน
ตอนที่อ่านเล่มขาวแรกๆนะ
ผมก็คิดว่าแกต้องเล่นเอากำไรคำใหญ่คำโต
เพราะ template ที่แกใช้คัดกรองหุ้น นั้นไม่แพ้ปู่โอนีลเลย
แถมเคสที่ยกมาให้ดู ก็กำไรเป็นเด้ง

ผมก็ปักใจเชื่อว่าแกมีสไตล์การเทรดแบบรันเทรนด์แน่

แต่พอได้อ่านบทสัมภาษณ์
และอ่านหนังสือ Momentum Master
ก็ยิ่งมั่นใจว่า
พวกเขาไม่ได้เป็น Trend follower หรอก
แต่โดยพื้นฐานแล้ว พวกเขาเป็น "นักสวิงเทรด" ครับ

ที่ผมเชื่อแบบนี้เพราะการไปดามอ่านบทสัมภาษณ์
ที่พี่มาร์ค เล่าประสบการณ์การเทรดจริง

สะดุดที่แกบอกว่า "It is much easier to find 4 or 5 names that go up 20% than it is to find a stock that doubles. In order to achieve a big performance number, I go for rapid compounding of relatively smaller gains." ..แปลเป็นไทยแบลูกทุ่งก็จะได้ว่า...
"เล่นหุ้นให้ได้กำไร 20% นั้นง่ายและไวกว่ารอให้ถึงเด้งเป็นไหนๆ
เมื่อเอามาทบต้นมันอย่างรวดเร็ว พอร์ตก็สามารถโตได้อย่างงดงามเช่นกัน"

แกหมายความว่า...
๑) มันมีหุ้นที่วิ่ง 20% ให้อย่างน้อยๆ 4-5 ตัว ให้เห็นบ่อย
๒) หุ้นที่วิ่งเป็นเด้ง นั้นหายาก
ดังนั้น "เล่นรอบ" ดีกว่า มุ่งมั่นจะเอากำไรเป็นเด้ง

ซึ่งมันก็เป็นประเด็นเดียวกันกับปู่โอนีลเลย
ที่แกปรับสูตรการขายหุ้นออกที่ 20% ไว้ก่อน

เมื่อขายที่ 20% ก็ชัดเจนแล้วครับ
ว่า เป็น "นักสวิงเทรด" แน่นอน
และยิ่งได้อ่านหนังสือ Momentum Master ก็จะมีคำนี้หลุดจากปากพวกเขาด้วย
โดยเฉพาะ บทที่แชร์เคสกำไร กับขาดทุน ล่าสุด

ซึ่ง ปู่โอนีล เป็นอาจารย์ของพี่เดวิด ไรอัน
เดวิด ไรอัน เป็นอาจารย์ของพี่มาร์ค มิเนอร์วินี

เมื่อรู้แบบนี้ ผมอยากบอกท่านเลยว่า
การรู้ว่าไอดอลของเรามีไสตล์ "สวิงเทรด"
มันทำให้มุมมองผมเปลี่ยนไปเลยครับ
ชัดเจนที่สุดคือ มันทำให้ผมสนใจการสวิงเทรดมากขึ้น

และนั่นก็เป็นต้นกำเนิดการเขียนหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ไงครับ

มุมมองที่เปลี่ยนไปที่ว่า คือ
ผมไม่ได้กะเก็ง หรือ บังคับตัวเองให้ต้อง ตะบี้ตะบัน รันเทรนด์เอากำไรเป็นเด้งอีก
ผมเริ่มพอใจกับกำไรระดับ 10-20% ได้มากขึ้น

นี่คือคุณูปการของไอดอล กับการบูชาต้นแบบ
ก็ยอมรับตรงๆว่าผมศรัทธาแนวทาง CANSLIM มาก
หนังสือก็แกะอ่านแทบทุกประเด็น
เพื่อพยายามเลียนแบบลอกแบบการเทรดออกมาให้ได้
นั่นก็เป็นที่มาของหนังสือ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่"
ถือว่าเป็นการอ่านงานของปู่โอนีล และ พี่มาร์ค แล้วกลั่นออกมา


(ปล. แม้งานผมจะมีแรงบันดาลใจจากทั้งสองเล่ม
แต่คุณค่า ถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับต้นตำหรับครับ แทบไม่ถึงเสี้ยวด้วยซ้ำ
เพราะผมเองก็เป็นแค่นักเลียน เท่านั้น)


แต่ครั้นเมื่อได้รู้ว่าไอดอลของเรา "สวิงเทรด"
มันทำให้เราหมุนกลับไปอีกทิศทางหนึ่งตามทันทีครับ
ผมค้นเรื่องราว ไอเดียเกี่ยวกับมันมากขึ้น

ยิ่งค้นก็ยิ่งเห็นจุดร่วม ที่ตรงกับสิ่งที่ไอดอลทำมากขึ้น
ว่าใช่ๆจริงๆ พวกเขา มีแนวทาง สวิงเทรด ยืนพื้น
แต่ถ้าเจอหุ้นพื้นฐานดีๆ มีสตอรี่เติบโตสวยๆ เข้าสูตร CANSLIM ที่แท้จริง จึงรันเทรนด์

นี่คือเหตุผลที่ทำไมพี่มาร์ค ถือหุ้นโดยเฉลี่ยคือ 20 วัน
แต่ถ้าเป็นตัวที่ถือยาวคือ 2-3 ไตรมาส แท่านั้น

ถ้านับเป็นช่วงเวลา แล้วเอาไปคัดแยกเป็นสไตล์
พวกเขาก็คือนักสวิงเทรด ดีๆนี่เอง

สวิงเทรด? ไม่ดีเท่า trend follower น่ะสิ ท่านอาจคาใจ
ความจริงแนวทางการสวิงเทรด มีหลากหลายแนวทางมากครับ
ที่ผมเอามานำเสนอให้ท่านอ่านในบทความ "สวิงเทรด คืออะไร?" ก็แตกไปหลายแนว

แต่ที่ผมสังเกตเห็นจุดร่วมคือ
พวกเขาเทรดแบบเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก
สวิงเทรดจะโฟกัสที่จุดถอย หรือความเสี่ยงไว้ก่อน
ถ้าราคาทำให้ขาดทุน ตัดขาดทุนไว
แต่ถ้าหากราคาวิ่ง ก็จะไม่เอาเยอะ เอาเท่าที่ราคาจะมีแรงไปได้
ถ้าเห็นหมดแรง หรือวิ่งแรงเกิน ก็ขายออก

เพียงแต่ความต่าง ที่ชัดเจนของการสวิงเทรด
ก็คือการระบุจุดซื้อ ซึ่ง มีหลายแบบ
- บางคนใช้การดูเส้นค่าเฉลี่ยตัดกัน (สไตล์ระบบ)
- บางคนดู price pattern
- บางคนดูอินดิเคเตอร์
ผมได้รวบรวมไว้ใน แจก หนังสือ หุ้น pdf : eBook "รวมเทคนิคสวิงเทรด" (ebook หุ้น pdf)

ในส่วนของสำนักปู่โอนีล และ Momentum Master
สไตล์การเทรด ที่ใช้ Price Pattern เป็นหลักครับ
Cup with handle, Double bottom, high tight flag, VCP, Bullish flag ฯลฯ
แล้วนอกจากนี้ เขาก็มีตัวคัดกรอง เรื่องของ Trend template
และ SEPA หรือ C-A-N ใน CANSLIM ในเรื่องของพื้นฐาน

ที่สำนักปู่ เขามีตัวคัดกรองเยอะ
ก็เพราะว่าพวกเขา "ต้องการความผิดพลาดน้อยที่สุด"
คือทุกๆวัน มันมีหุ้นวิ่งดีๆ แรงๆ มากมาย
แต่ปัญหาคือ เรามักจะไม่ทัน เห็นวิ่งเมื่อสายไปแล้ว

ดังนั้น ถ้าอยากเจอหุ้นดี ก่อนชาวบ้าน
เราต้องมีกระบวนการ "หาหุ้นเก็บไว้ก่อน" หรือ "ทำการบ้าน"
ก็ดูจาก price pattern, พื้นฐานการทำกำไร และ สตอรี่
เมื่อหาเจอหุ้นที่ "น่าจะวิ่ง" เพราะพื้นฐานดี มีสตอรี่ ก็เก็บเข้าลิสต์เอาไว้

พูดง่ายๆว่า มีสไตล์การเทรดแบบ CANSLIM คือ
๑) ทำการบ้านหาหุ้นที่มีโอกาสวิ่งแรง ด้วย พื้นฐานที่มีสตอรี่ กำไรจะโตโหด
๒) รอดูการสร้างฐานของราคาที่น่าเชื่อถือ
๓) รอตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น
๔) เทรดสิครับ จัดเต็มข้อ

หลักการเหล่านี้เองที่ผมเอาส่วนของ เทคนิคอล
มาเขียนเป็น "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด"


(ปล. แม้หุ้นซิ่งฯจะมีแรงบันดาลใจจากทั้งสามเล่ม
แต่คุณค่า ถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับต้นตำหรับครับ ไม่ถึงเสี้ยวด้วยซ้ำ
เพราะผมเองก็เป็นแค่นักเลียนเท่านั้น)

เหมือนกระบวนการของพี่โจ ลูกอีสาน
ที่ทำน่านน้ำให้แคบลง จะได้จับปลาสะดวก
มีสไตล์การเทรดแบบ CANSLIM ก็คิดแบบเดียวกัน

ดังนั้น แนวทางสวิงเทรด ไม่ได้หมายความเฉพาะการเทรดสะเปะสะปะแบบผม
ซึ่งมันดูไม่น่าเชื่อถือ และเทรดมั่ว
แต่มันสามารถมีหลักการแบบ CANSLIM ได้เช่นกันครับ

ทำไมพวกเขาต้องยืนพื้นที่สวิงเทรด?
ก็เพราะตลาดไม่แน่นอนไงครับ
หุ้นที่ทำทรงสวยๆ ใช่ว่าจะวิ่งรอบใหญ่
มันอาจจะดีดไปแค่ไม่กี่สิบเปอร์เซ็นต์ แล้วร่วงก็ได้
การที่เราคิดว่าทุกตัวต้องรันเทรนด์กินคำใหญ่เท่านั้น
ถือว่าเป็นการทำร้ายตัวเองครับ

ผมนี่แหละที่เจอกับตัว
เคยเขียนเคสกำไรหดจากการพยายามรันเทรนด์หุ้น
ปัญหาของการรันเทรนด์ในช่วงตลาดผันผวน : RPH, COMAN & ITEL
ลองอ่านดูครับ ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน

พอเจ็บมากก็คิดได้ครับ
และเชื่อมั่นในแนวทางการสวิงเทรดมากขึ้น
ว่าการขายล็อกกำไรตั้งแต่ระดับ 10%++ เป็นสิ่งที่ควรทำ
อย่าได้ปล่อยให้ราคาบวกไป 20-30% แล้วไม่ขาย
ไปรอขายหนีตายที่ 5-7% เด็ดขาด

การรู้จักล็อกกำไรในระดับที่สมควรขาย นี่แหละครับ คือพื้นฐานของ Momentum Master
ซึ่งมันเป็นหลักการสวิงเทรดนั่นเอง

ยึดสวิงเทรดไว้ก่อน เพราะหุ้นส่วนใหญ่ไม่วิ่งไกลหรอก 20% ก็หรูแล้ว
แต่ถ้าเจอหุ้นตัวดีๆ วิ่งแรงๆ ก็ค่อย พิจารณาทนถือตามกฎ 8 สัปดาห์
หรือถ้ามีสตอรี่ดีสนับสนุน ก็ทนถือไปหลายเดือน เพื่อกินคำใหญ่

เชื่อมั้ยครับ
พอผมตกผลึกแนวคิดแบบนี้ได้
มันโล่งเลย

เออ...ว่ะ
เราไม่ต้องไปเค้นกำไรจากหุ้นเลยนี่หว่า
เอาเท่าที่ได้ ถ้าขาดทุน แสดงว่าเราคิดผิด ก็รีบขาย ให้เสียหายน้อย
แต่ถ้ากำไรก็ทนจนถึงเป้าในใจอย่างน้อย 10% หรือเห็นทรงอ่อนแอ ก็ตัดใจขายได้เลย
มันทำให้ผลประกอบการ กลับมาเป็นบวกแบบง่ายๆ
และทำให้เรามีความสุขกับการทำการบ้านและวางแผนมากขึ้น

ทุกอย่างเริ่มมาจากการทำความเข้าใจไอดอล
และเรียนรู้แนวทางการเทรดของพวกเขานี่เองครับ
เฉลยนะครับ ผมคิดว่าพวกเขามีสไตล์การเทรดแบบ "นักสวิงเทรด" ครับ


(โฆษณา)

หนังสือเล่ม มีขายที่เพจ Zyo Books นะครับ ที่เดียว

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)