"
แค่เปลี่ยนเรื่องนี้ ความผิดพลาดก็ลดลงอย่างเหลือเชื่อ" เป็นหนังสือที่ผมแนะนำให้ซื้อ เล่มที่สองของปีนี้ครับ
เล่มแรกคือ "
ความรู้มูลค่า 1 ล้านบาท" ของผมเอง (ดูรายละเอียดของมันที่
bit.ly/zyoebook3 )
ที่แนะนำ เพราะพวกเราเป็นนักเทรดไงครับ
เราต้องดีลกับความผิดพลาดทุกวัน
ดังนั้น ถ้าเรารู้วิธีการป้องกัน และเรียนรู้จากความผิดพลาด
ก็ไม่ต้องขาดทุนหุ้นเป็นล้านแบบผมไง
แนะนำให้อ่านคู่กัน จะยอดมาก (งานขายแบบดื้อๆก็มาครับ ช่วงนี้ อิอิอิ)
หนังสือ "แค่เปลี่ยนเรื่องนี้ ความผิดพลาดก็ลดลงอย่างเหลือเชื่อ"
มีขายที่ร้านซีเอ็ด นายอินทร์ B2S และร้านหนังสือนะครับ ไปหาดูได้
ผมอ่านแล้วชอบมาก จึงไล่สรุปที่สนใจเอาไว้ส่วนหนึ่ง
มันใช้ได้ทั้งส่วนบุคคลและองค์กร
โดยบทความสรุปนี้ ผมจะเน้นส่วนบุคคลเท่านั้นนะ
ศาสตร์แห่งความผิดพลาด
1) เข้าใจประเภทของความผิดพลาด
2) เข้าใจวิธีคิดของคนที่ไม่ทำผิดพลาด
3) หรือจะเปลี่ยนให้ตรงจุดเพื่อลดความผิดพลาด
4) รู้วิธีระงับความเสียหายของความผิดพลาด
และ 5) รู้จักวางแผนที่ช่วยให้ข้ามผ่านความผิดพลาดมากมายที่เคยเกิดขึ้นในโลกใบนี้
ในการทำงานเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหนึ่งอย่าง มักทำให้เกิดการติดขัดต่อไปเรื่อยๆ
เช่นทำให้เราไม่มีสมาธิ หรือบางครั้งอาจส่งผลทำให้ผิดพลาดซ้ำซ้อนไปอีก
นอกจากนี้
เมื่อมีข้อผิดพลาดก็ทำให้ต้องทำงานเยอะขึ้น
เมื่อความผิดพลาดหนึ่งส่งผลให้เกิดความผิดพลาดต่อไปได้
คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าไม่อยากทำพลาด
และสงสัยว่าไม่มีวิธีไหนที่จะช่วยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดได้เลยหรือ?
บทนำ
ความผิดพลาดทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนมีรูปแบบของมัน
แทบไม่มีความผิดพลาดใหม่ที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นเลยเรากำลังทำพลาดซ้ำเหมือนในอดีต
ความผิดพลาดคือสิ่งที่ติดตัวมนุษย์เรา
ถ้ารู้รูปแบบของความผิดพลาดเราก็หาวิธีป้องกันได้
การขาดความรู้และความประมาทก่อให้เกิดความผิดพลาด
ความผิดพลาดมีสาเหตุเสมอ
การวิเคราะห์สาเหตุจะทำให้เรารู้ว่าทำไมถึงทำพลาด
ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่พลาดซ้ำ
สาเหตุความผิดพลาดระดับบุคคล มีดังนี้
1 ความผิดพลาดจากการขาดความรู้
2 ความผิดพลาดจากความประมาท
3 ความผิดพลาดจากการไม่ทำตามขั้นตอน
4 ความผิดพลาดจากการตัดสินใจที่ผิด
5 ความผิดพลาดจากการตรวจสอบหรือพิจารณาไม่มากพอ
ความผิดพลาดระดับองค์กร มีดังนี้
1 ความผิดพลาดจากแผนงานที่ไม่ดี
2 ความผิดพลาดจากการให้ความสำคัญผิดที่
3 ความผิดพลาดจากการบริหารที่ไม่ดี
ความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องผิด
แต่ต้องเป็นความผิดพลาดที่มีความหมาย
คนที่ผิดพลาดน้อยใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป
สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ทำพลาดซ้ำๆ การทำพลาดเหมือนเดิมซ้ำสองครั้งยังไม่เท่าไหร่
แต่หากพลาดครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 นั่นแหละแสดงว่าเราไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด
ความผิดพลาดมีทั้งความผิดพลาดที่เป็นประโยชน์ในอนาคต
และความผิดพลาดที่ไม่เป็นประโยชน์
บทที่ 1 พูดถึงลักษณะเฉพาะในวิธีการคิดของคนที่ทำผิดพลาดน้อย
เพื่อให้รู้ว่าต้องคิดอย่างไรถึงจะไม่ทำพลาด
อย่ามองว่าสมบูรณ์แบบแล้วหยุดคิด
ความคิดที่หยุดอยู่กับที่จะนำไปสู่ความผิดพลาด
คนที่ทำพลาดบ่อยคือพวกมือใหม่กับคนมีอายุ
คนที่ทำพลาดบ่อยๆมักเป็นพนักงานใหม่หรือคนหนุ่มสาวที่ยังขาดประสบการณ์
เมื่อทำงานได้สักระยะหรือทำจนเป็นมืออาชีพความผิดพลาดก็จะลดลง
แต่พออยู่ในระดับอาวุโส ความสามารถในการจดจำหรือตัดสินใจ จะถดถอยลง
ทำให้ความผิดพลาดกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
(เหมือนตลาดหุ้นเลย)
สรุปคือความผิดพลาดของมือใหม่ส่วนใหญ่ จะมาจากการขาดความรู้และการขาดประสบการณ์
ส่วนความผิดพลาดเมื่อเกิดความเคยชิน จากการละเลย เช่นคิดว่าไม่มีเวลาทำก็เลยไม่ทำ
หรือการเชื่อมั่นมากเกินไป เช่น คิดว่าไม่น่าเป็นไรมั้ง
การจะป้องกันความผิดพลาดจากการละเลยหรือการเชื่อมั่นมากเกินไปนั้น สิ่งสำคัญคือต้องไม่คิดว่าเราคุ้นเคยดีแล้ว จึงใช้ทางลัดด้วยการลดขั้นตอน หรือตัดส่วนสำคัญใดๆออกไปโดยพลการ
วิธีคิดของคนที่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด
คือมองสิ่งต่างๆด้วยการคิดแบบต่อยอด
คนเรามีทั้งคนที่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต
และป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบเดิมซ้ำขึ้นอีก
ขณะเดียวกันก็มีคนที่ทำเช่นนั้นไม่ได้
สิ่งสำคัญที่จะทำให้เรารู้สึกตัวจากการทำผิดพลาดเช่นนี้ได้คือ
มองสิ่งต่างๆด้วยการคิดแบบต่อยอด
โดยการมองหาจุดร่วมของเหตุการณ์ที่ต่างกัน ให้เห็นว่าเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกัน
เช่นคิดว่า "เราเองก็ทำผิดพลาดเหมือนเขา"
หรือไม่ก็เป็นการนำความผิดพลาดของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ได้
(นี่แหละที่ผมคิดว่า
หนังสือ ความรู้หุ้นมูลค่า 1 ล้านบาท มีประโยชน์
เพราะถ้าหากท่านทำผิดพลาดแล้ว นึกได้ว่า มีคนผิดพลาดแบบนี้ด้วยนี่นา
ท่านจะระลึกได้ และจะระมัดระวัง ไม่ทำพลาดแบบเดียวกันนั้นอีก)
เวลาที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมา
เราไม่จำเป็นต้องจำขั้นตอนทุกอย่างโดยละเอียด
แค่คิดว่า "
สรุปแล้วความผิดพลาดนี้มีสาเหตุมาจากไหน?"
และเราเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาดนี้ได้บ้างแล้วสรุปเป็นประโยคสั้นๆก็พอ
เทคนิคการสรุปสิ่งที่เรียนรู้ได้จากความผิดพลาดให้เป็นประโยคสั้นๆ
คือการคิดจากคำว่า "
สรุปแล้ว...." หรือ "
สรุปก็คือ....."
เพื่อตัดรายละเอียดยิบย่อยไม่สำคัญออกไป
ทำให้เกิดปัญหาที่แท้จริงออกมาเป็นประโยคสั้นๆได้
การจัดระเบียบ หมายถึง
1 การจัดสภาพวุ่นวายให้เรียบร้อย
2 การทิ้งหรือกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็น
สิ่งสำคัญในการจัดระเบียบคือ วิธีคิดจาก "สรุปแล้ว..." หรือ "สรุปก็คือ...."
เรื่องที่ไม่เข้าใจห้ามปล่อยให้ค้างคา
ถ้าไม่เข้าใจเหตุผลก็แก้อะไรไม่ได้
การไม่เข้าใจว่าทำไมถึงทำแบบนี้ใช้เหตุผลว่า "เพราะคนอื่นก็ทำแบบนี้" หรือ "เพราะเราทำแบบนี้กันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" และปล่อยให้สถานการณ์นั้นดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง
(การเทรดที่ผิดพลาด มักจะมาจากการทำในสิ่งที่ตัวไม่เข้าใจเสมอ
ส่วนใหญ่เทรดแบบนกแก้วนกขุนทอง จำๆ เขามา จำสูตรในตำรา
แต่ไม่รู้ว่าทำไมฉันต้องตัดขาดทุน ทำไมฉันต้องบริหารความเสี่ยง
เมื่อคิดแค่เพียงว่าเขาให้ทำก็ทำตาม พวกเขาจึงทำแบบไร้มิติ
เมื่อไร้มิติ มันก็เละสิครับ)
หากเราไม่เข้าใจเหตุผล ความเสี่ยงจะเกิดความผิดพลาดจากวิธีการนั้นๆก็จะสูงขึ้น
และไม่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้
ส่งผลให้เราทำความผิดพลาดไปทั้งๆที่ยังไม่เข้าใจ
ดังนั้นการจะทำสิ่งใดก็ตามเราต้องคิดด้วยว่าทำไมถึงทำแบบนี้
บทที่ 2 เป็นการแนะนำเทคนิคอย่างเป็นรูปธรรมในการลดความผิดพลาด
ซึ่งนำไปใช้ได้จริงและสามารถทำได้ทันทีและได้ผลทันที
คนประเภทปล่อยไปตามบุญตามกรรมจะทำพลาดได้ง่าย
มีคนอยู่ 3 ประเภทที่จะทำพลาดบ่อย
ประเภทแรก คือ คนไม่จดโน้ต
ประเภทที่ 2 คือ คนที่ชอบคิดว่าปล่อยไปตามบุญตามกรรม
สุดท้าย คือ คนประเภทรู้แต่ไม่ทำ
(นี่ก็คล้ายคนในตลาดหุ้นเลยนะ)
บทที่ 3 พูดถึงวิธีการจัดการกับความผิดพลาด และป้องกันการลุกลามของปัญหา ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว
หากรู้สึกคาใจต้องไม่ปล่อยผ่าน
สิ่งสำคัญในการป้องกันความผิดพลาดที่ไม่คาดฝัน
ความผิดพลาดที่ไม่คาดฝัน เป็นหัวข้อยอดนิยมของศาสตร์แห่งความผิดพลาด
ความผิดพลาดมีทั้ง ความผิดพลาดจากการเผอเรอ และความผิดพลาดที่ไม่คาดฝัน
ความผิดพลาดจากการเผอเรอคือ ความผิดพลาดจากความไม่ระมัดระวัง
วิธีป้องกันก็คือการนำเรื่องแปลกๆเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อหาทางรับมือ
ความผิดพลาดที่ไม่คาดฝัน คือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน
เราป้องกันความผิดพลาดที่ไม่คาดฝันได้ยาก
เพราะเราคาดการณ์ไม่ได้ว่าสิ่งไม่คาดฝันนี้จะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่
สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรานึกถึงเรื่องไม่คาดฝันได้คือความรู้สึกค้างคาใจ
เตรียมแผนสำหรับแก้ปัญหาไว้เสมอ
แค่เตรียมพร้อมไว้ก็หมดปัญหา
คนเราเมื่อทำพลาดสักครั้งหนึ่ง จึงจะรู้สึกว่า
"ตอนนั้นถ้าเราวางแผนแก้ปัญหาไว้ก่อน คงช่วยลดความผิดพลาดให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดได้"
การรู้สึกตัวเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
คนที่เตรียมความพร้อมเป็น คือคนที่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดของผู้อื่นและนำมาใช้กับตัวเอง
การเรียนรู้จากความผิดพลาด คือ การรู้จักนำไปปรับใช้กับงานอื่นด้วย
เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น สิ่งสำคัญ คือ
เราต้องอธิบายรายละเอียดสาเหตุ และวิธีแก้ปัญหา
แล้วเก็บไว้เป็นข้อมูล
ถ้าให้พูดอย่างเป็นรูปธรรม คือ เราต้องอธิบายว่า
1 เป็นความผิดพลาดแบบไหน(อธิบายเนื้อหา)
2 เกิดขึ้นได้อย่างไร (อธิบายขั้นตอน)
3 อะไรคือสาเหตุของความผิดพลาด(อธิบายสาเหตุ)
4 เรารับมือกับความผิดพลาดนี้อย่างไร (อธิบายวิธีการรับมือ)
5 ความผิดพลาดนี้คืออะไร (อธิบายภาพรวม)
6 เราสามารถเรียนรู้ถึงอะไรเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้อีก (อธิบายเป็นความรู้และนำมาเรียนรู้)
บทที่ 4 เป็นการอธิบายการหา
หรือสร้างวิธีที่จะลดความผิดพลาดรวมถึงวิธีการนำไปใช้จริง
ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต คือ การยอมแพ้
เราต้องคิดว่า "แม้พลาดครั้งนี้ คราวหน้าต้องสำเร็จ หากคราวหน้าพลาดอีก ครั้งต่อไปก็ต้องสำเร็จ"
เวลาที่ถึงทางแยก หากเลือกทางที่ใกล้กับเป้าหมายมากที่สุด
สิบปีผ่านไปเราจะต้องทำได้สำเร็จ "
ความผิดพลาด เป็นขั้นตอนหนึ่งของความสำเร็จ" นั่นเอง