การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

อาร์แซน เวนเกอร์ (พื้นฐาน) VS อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (เทคนิคอล)


ความต่างระหว่างการลงทุนแนว "พื้นฐาน" กับ "เทคนิคอล" จากวิธีคิดของอาร์แซน เวนเกอร์ กับ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

วิธีคิดในการทำทีมของสองกุนซือดังแห่งวงการฟุตบอลอังกฤษ สามารถเอามาเป็นตัวอย่างระหว่างสายเทคพื้นฐานกับเทคนิคิลได้อย่างดี
จึงขอแชร์เผื่อจะทำให้มือใหม่สายฟุตบอลเข้าใจมากขึ้น

เริ่มที่ "อาร์แซน เวนเกอร์" ผู้จัดการทีมของอาร์เซน่อล แฟนบอลทั่วโลกรู้กันว่าเป็นผู้จัดการทีมที่ "ขี้เหนียว" ที่สุด ทุกปีในช่วงตลาดนักเตะเปิด แฟนปืนใหญ่มักต้องลุ้นจนถึงวินาทีสุดท้าย เพราะแกพิถีพิถันในการซื้อตัวผู้เล่นมาก คือต้องได้ "คนที่ใช่ ในราคาที่เหมาะสม" ยิ่งฝีเท้าดี ราคาถูก ยิ่งชอบ
วิธีคิดแบบนี้มันช่างตรงกับแนวทางการลงทุนของวีไอ อย่างมาก คือ เน้น
- ของดีราคาถูก
- ตลาดไม่สนใจ หรือเรียกว่า โนเนม
- มีสตอรี่ในอนาคตอันไกล้
หน้าที่ของนักลงทุนสายพื้นฐานคือ "พลิกหินทีละก้อน" เพื่อหาของดี หรือเพชรในตม ให้เจอ และซื้อก่อนที่ตลาดจะเห็นคุณค่า

สอดคล้องกับสูตรสำเร็จในการหาผู้เล่นของทีมอาร์เซน่อล เพราะ นักเตะที่ "ใช่" สำหรับนายใหญ่แห่งซุ้มปืนโตคือ
- ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับฝีเท้า
- แน่นอนของถูก ต้องโนเนม เพราะไม่มีใครแย่งซื้อ ส่วนใหญ่จะหนักไปทางเยาวชน
- มีทักษะที่เข้ากับระบบของทีม
หน้าที่ของแมวมองคือส่งคนไปเสาะหา ตามศูนย์ฝึกเยาวชนทั่วมุมโลก เพื่อให้เจอ "เพชรที่รอการเจียระนัย" ก่อนใคร
ผลงานคือ เธียรี่ อองรี, นิโคลาส์ อเนลกา, แพทริค วิเอร่า, เชสฟาเบรกาส, โรบิน ฟาน เพอร์ซี่, เอ็มมานูเอล อเดบายอร์ ฯลฯ
ก่อนที่นักเตะเหล่านี้ จะเป็นผู้เล่นของทีมปืนใหญ่ ล้วนแต่เป็นพวก "โนเนม" มาก่อน
แม้ผลงานทางด้านถ้วยรางวัลจะไม่มากเท่าอีกคน แต่เรื่องของรายได้เข้าสโมสร ไม่มีใครเก่งเกินเวนเกอร์ เรียกว่าเน้น Capital gain ส่วนต่างราคา มากกว่าปันผล

หลักการจึงโคตรคล้าย แค่เปลี่ยนจาก "นักเตะ" เป็น "หุ้น" เท่านั้นเอง
ที่คล้ายอีกอย่างคือ วีไอ ชอบซื้อหุ้นชั้นดี แต่ราคาร่วง เพราะปัญหาชั่วคราว หากความสามารถในการทำกำไรยังดีอยู่ เดี๋ยวก็กลับมาได้เหมือนเดิม จังหวะที่ตลาดกังวลกับปัญหาชั่วคราวนี่แหละจึงเป็นโอกาสทองของนักลงทุนวีไอ
หันมามองที่อาร์เซน่อลกันบ้าง .... เอ็นวานโก้ คานู, อเล็กซิส ซานเชส, เมซุส โอซิล และล่าสุด ปีเตอร์ เช็ค ก็คือตัวอย่างที่ชัดเจน ว่าการได้ของดีในราคาถูก สามารถเป็นไปได้เมื่อการตัดสินใจอยู่ในมือของ อาร์แซน เวนเกอร์


มาดูอีกท่าน แม้จะวางมือไปแล้วก็ตาม แต่เชื่อว่าแฟนผีแดงทุกท่านโหยหาอยากให้กลับมาคุมทีมอีกครั้ง เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน คือที่สุดแห่งกุนซือที่ประสบความสำเร็จของวงการฟุตบอลอังกฤษ
มีวิธีคิดในการทำทีม จัดตัวผู้เล่น ได้ใจแฟนบอลมาก เน้นบุก เอาชนะคู่แข่ง แบบเอ็นเตอร์เทน คนดู นักเตะเก่ง กุนซือเทพ แก้เกมได้เฉียบขาด ทำให้ได้แชมป์ ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

ผมมองว่าวิธีคิดของท่านเซอร์ ออกไปทางเทคนิคอลนะ คือ ซื้อตัวดีๆ ที่ฟอร์มกำลังขึ้นมาเลย แพงเท่าไรก็จะเอามาให้ได้ และนักเตะใหม่ทุกตัวที่เขาซื้อมา มักจะทำผลงานได้ดี จนเป็นกุญแจนำทีมไปสู่แชมป์ ตัวอย่างคือ เวย์น รูนี่ย์, ริโอ เฟอร์ดินานด์, ดไวท์ ยอร์ค, คริสเตียโน่ โรนัลโด้ และคนสุดท้ายคือ โรบิน ฟาน เพอร์ซี่
ทุกครั้งที่ "ทุ่ม" ทีมจะได้ "แชมป์"
จึงคล้ายกับวิธีคิดของชาวเทคนิคอลคือ "ซื้อแพง ไปขายในราคาที่แพงกว่า" โดยที่นักลงทุนแนวนี้จะรอให้ราคาหุ้นมันพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่า เป็น "ขาขึ้น" ชัดเจนก่อนค่อยซื้อ ถ้าราคายังเป็นขาลง หรือไซด์เวย์ ก็ "ไม่ลงทุน"

นี่เป็นตัวอย่างเทียบเคียงอย่างง่ายๆเพื่อให้ท่านเข้าใจความต่างของ การลงทุนแนว "พื้นฐาน" กับ "เทคนิคอล" โดยเอาตัวอย่างมาจากสิ่งที่พวกเราคุ้นเคยมาอธิบาย




สนใจ เข้าไปซื้อได้ตามลิ้งค์นี้ครับ bit.ly/zyoebook3

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)