โค้ชหรือพี่เลี้ยงมีหน้าที่แนะนำหรือวางแนวให้คุณเดินในเส้นทางทางที่ถูกต้อง, ชี้จุดบกพร่อง, คอยจดจำในสิ่งที่คุณทำได้ดี ควบคุมให้ตัวคุณอยู่ในระเบียบวินัยและรักษาประสิทธิผลของการเทรด
แต่การจะจ้างโค้ชสักคนให้มาดูแลได้ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักหนาสำหรับมือใหม่ส่วนใหญ่ ดังนั้นการเขียนบันทึกการเทรดจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสุดในการเป็นโค้ชให้กับตัวเอง เพราะเอาจริงๆแล้วไม่มีใครเข้าใจเราได้ลึกซึ้งเท่าตัวเราเอง เรานี่แหละคือครูที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราเอง
ยิ่งถ้าคุณเป็นคนที่มีวินัยต่อตัวเองอยู่แล้ว แค่การบันทึกการเทรดและหาความรู้ด้วยตัวเองจากสื่อออนไลน์ก็เพียงพอที่จะอยู่รอดในตลาดได้โดยที่ไม่ต้องไปสัมนาหรือจ้างคนอื่นให้มาควบคุมให้เปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์เลย
การลงรายละเอียดในบันทึกกการเทรดอย่างสุจริตและละเอียดยิบทุกจุดอย่างมีที่มาที่ไป ถือเป็นกระบวนการโค้ชตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และตรวจสอบตัวเองไปในตัว
จึงไม่แปลกที่นักลงทุนระดับโลกอย่าง Gerald Loeb บอกว่า "ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์เป็นหนึ่งในนิสัยที่แยก นักเก็งกำไรประสบความสำเร็จ ออกจากคนทั่วไป"
ประสบการณ์ที่ว่านั้นก็เกิดจากการจดจำและจะจำได้ดีก็ต้องมีการบันทึกเอาไว้นั่นเอง
จริงอยู่ที่การเขียนบันทึกการเทรดทุกวันออกจะเป็นเรื่องน่าเบื่ออยู่เหมือนกัน(สำหรับคนที่ไม่มีความรู้สึกหลงไหลในการลงทุน) แต่สิ่งที่คุณได้บันทึกนี้แหละจะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถรีวิวการเทรดย้อนหลัง
ซึ่งบางทีมันอาจจะมีประโยชน์มากกว่าการอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งการเข้าสัมนาด้วยซ้ำ
เมื่อคุณเขียนบันทึกการเทรดต่อเนื่อง เป็นเดือน เป็นปี สิ่งที่คุณเขียน, ประสบการณ์และความรู้มันจะโตไปกับคุณ และถ้าคุณลงรายละเอียดทุกสิ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นจิตวิทยามวลชน, ตลาด, การปรับแต่งระบบการเทรด ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้คุณได้บทเรียนและจดจำได้ว่า
- ข่าวแบบไหนที่คุณควรไม่ให้ความสนใจ
- ความเสี่ยงแค่ไหนที่คุณยอมรับได้ต่อการเทรกแต่ละครั้ง
- จังหวะไหนที่ควรเทรด ช่วงไหนที่อยู่เฉยๆ
ดังนั้นการจะดูว่าใครมีวินัยก็ดูได้จากความสม่ำเสมอในการบันทึกการเทรดอนี่แหละ และมันอาจจะเป็นส่วนทำนายว่าอนาคตสดใสได้หรือไม่
คลิปแนวทางการทำ บันทึกการเทรด
บันทึกการเทรดถือเป็นตัววัดความรู้สึกหลงไหลต่อการลงทุนหุ้นได้ดีเลยว่าคุณมี passion กับมันมากแค่ไหน
มันก็คล้ายกับคุณเขียนไดอารี่หรือสะสมเกี่ยวกับคนที่คุณหลงรักตอนวัยรุ่นนั่นแหละ ยิ่งปลื้มมากก็เขียนมากบันทึกมาก กับการลงทุนก็ไม่ต่างกัน
บันทึกการเทรด
ในบันทึกการเทรดจะต้องเขียนทุกอย่างที่คุณรู้สึกและสิ่งที่ควรทำก่อนเทรด, ระหว่างการเทรด, หลังจากการเทรดเสร็จสิ้นแล้ว
การเทรดถือเป็นทักษะการทำงานโดยขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดหรือวิธีการ
ผลของการบันทึกจะช่วยตรวจสอบความสามารถในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตลาด, ความสามารถในการสร้างแผนเทรดหรือวิธีการเทรด, รวมถึงวินัยของการทำตามแผนนั้น และโชค
ในการเทรดนั้น มีหลายร้อยพันวิธีที่จะทำให้คุณได้ชัย
ดังนั้นคุณต้องเขียนทุกอย่างลงไปเพื่อแจกแจงจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ เช่น
- แจงว่าคุณเป็นใครและอะไรที่เป้นแรงบันดาลใจให้คุณเข้ามาเทรด เพื่อหาวิธีการเทรดที่เหมาะกับตัวคุณ, คุณต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร, ไลฟ์สไตล์ และทำไมคุณต้องทำในสิ่งนั้น
- มุมมองและปรัชญาตลาด สภาวะแบบไหนที่คุณเข้าใจและโฟกัส และการตัดสินใจเพื่อจัดการกับความเสี่ยง
- สังเกตุความเคลื่อนไหวของตลาด ตลาดนั้นมีความเป็นพิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในแต่ะวัน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะใช้ประโยชน์จาก แนวโน้ม หรือ พฤติกรรม เหล่านั้นได้ทุกช็อต แต่จากการสังเกตุอย่างระมัดระวังจะช่วยให้คุณค้นพบแนวโน้มหรือพฤติกรรมแบบไหนที่เข้าทางกับสไตล์หรือแนวทางที่คุณถนัด
-
ความผิดพลาดจากการเทรดและโอกาสที่เราพลาด ทั้งสองสิ่งนี้ถือเป็นตัวสร้างความเครียดให้กับเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก การเขียนบันทึกจะช่วยให้คุณจดจำได้ว่าควรเลี่ยงหรือควรเข้า
- นิยามความเป็นตัวคุณเองและสถานการณ์ปัจจุบัน
- ติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายตามที่ได้ตั้งเอาไว้ในแผนการเทรด
- แจกแจงรายละเอียดของจุดอ่อนและจุดแข็งในความสามารถในการดำเนินงานและการจัดการกับความกดดัน
- ปูเส้นทางในการเป็นโค้ชให้ตัวเองเพือพัฒนาตนเอง
โค้ชหรือพี่เลี้ยงมีหน้าที่แนะนำหรือวางให้คุณเดินในเส้นทางทางที่ถูกต้อง, ชี้จุดบกพร่อง, จดจำในสิ่งที่คุณทำได้ดี ควบคุมให้ตัวคุณอยู่ในระเบียบวินัยและรักษาประสิทธิผล
แต่การจะจ้างโค้ชสักคนให้มาดูแลได้ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ส่วนใหญ่ ดังนั้นการเขียนบันทึกการเทรดจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีสุดในการเป็นโค้ชให้กับตัวเอง เพราะเอาจริงๆแล้วไม่มีใครเข้าใจเราได้ลึกซึ้งเท่าตัวเราเอง
การลงรายละเอียดในบันทุกกการเทรดอย่างสุจริตถือเป็นการโคช้ตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
การเขียนบันทึกการเทรดทุกวันออกจะเป็นเรื่องน่าเบื่ออยู่เหมือนกัน(ถ้าคุณไม่มีความรู้สึกหลงไหลในการลงทุน) แต่จากการบันทึกนี้จะช่วยให้คุณสามารถรีวิวการเทรดย้อนหลัง ซึ่งบางทีมันอาจจะมีประโยชน์มากกว่าการอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งการเข้าสัมนาด้วยซ้ำ
เมื่อคุณเขียนบันทึกการเทรดต่อเนื่องเป็นปี
สิ่งที่คุณเขียน, ประสบการณ์และความรู้มันจะโตไปกับคุณ และถ้าคุณลงรายละเอียดทุกสิ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นจิตวิทยามวลชน, ตลาด, การปรับแต่งระบบการเทรด ฯลฯ เหล่านี้จะช่วยให้คุณได้บทเรียนและจดจำได้ว่า
- ข่าวแบบไหนที่คุณควรไม่ให้ความสนใจ
- ความเสี่ยงแค่ไหนที่คุณยอมรับได้ต่อการเทรกแต่ละครั้ง
- จังหวะไหนที่ควรเทรด ช่วงไหนที่อยู่เฉยๆ
ดังนั้นการจะดูว่าใครมีวินัยก็ดูได้จากความสม่ำเสมอในการบันทึกการเทรดอนี่แหละ และมันอาจจะเป็นส่วนทำนายว่าอนาคตสดใสได้หรือไม่
สิ่งที่ต้องมีในบันทึกการเทรด
1. พื้นที่การเทรดแบบไหนที่มีโอกาสชนะ
2. จุดเข้าทำที่ใช่
3. จำนวนเงินที่เหทาะสมสำหรับเข้าเทรดในแต่ละครั้ง
4. กฎการจัดการการเทรด
5. ตรวจสอบการเทรดย้อนหลัง