ผมคิดว่า "
ความเสี่ยง" มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพการเทรดของเรามหาศาลเลยนะครับ
เพราะว่า
การเทรดก็คือความเสี่ยง
ถ้าเราสามารถหาวิธีทำความเข้าใจความเสี่ยงและอยู่ร่วมกับมันได้
ก็น่าจะทำให้เราเป็นนักเทรดที่ดีได้เช่นกัน
ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้เริ่มตั้งแต่ปกที่เขาโปรยว่า
"ทำไมคนที่ตัดสินใจทันทีจึงประสบความสำเร็จ?"
ทำให้อยากรู้ตะหงิดๆ อดพลิกเข้าไปดูไม่ได้
พอได้พลิกเข้าไป ก็โดนจนได้
.....จ่ายเงินซื้อสิครับ
ตั้งแต่คำนำก็มีบางประโยคน่าสนใจ...
"...ที่จริงแล้วปัญหาอุปสรรคความไม่ราบรื่นจากต่างที่พบเจอมักจะตามมาหลัง "
ความพะวักพะวงในการตัดสินใจ"... จึงเกิดความกังวลสุดท้ายสิ่งนั้นก็กลายเป็นปัญหา
สิ่งสำคัญสำหรับการตัดสินใจไม่ใช่ความถูกต้องแม่นยำแต่เป็นความรวดเร็ว
ทำยังไงให้รวดเร็วและแม่นยำต้องใช้ 4 วิธีคือ
1. Trade off
2. แผนภูมิต้นไม้
3. การคัดกรอง
และ 4. ทฤษฎีเกม
ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
คนที่มีความสามารถในการตัดสินใจชั้นเยี่ยมติดตัวจะดำเนินการโดยไม่กลัวความผิดพลาด แต่คนที่ไม่มีสิ่งนี้จะดำเนินการเพื่อไม่ให้พลาด
โดยทั่วไปแล้วการประเมินตัวเองจะเป็นการประเมินที่มากกว่าความสามารถที่แท้จริงอยู่ 25% ส่วนการประเมินใดคนอื่นนั้นจะเป็นการประเมินที่ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงอยู่ 25%
ประสบการณ์ คือ การสั่งสม "การตัดสินใจ"
"การตัดสินใจ" ก็คือการเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกหลายๆตัวเลือก เพื่อที่จะทำสิ่งที่ตั้งใจมุ่งหวังเอาไว้ให้สำเร็จ
2 ปัจจัย ที่เป็นสาเหตุให้การตัดสินใจยากมากขึ้น
1. สภาพสังคมที่มีตัวเลือกมากขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปัจจัยภายนอก)
2. ความรู้สึกวิตกกังวลต่อความผิดพลาดที่เพิ่มขึ้น (ปัจจัยภายใน)
ความเสี่ยงมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- ความเสี่ยงที่ควรเสี่ยง
และ ความเสี่ยงที่ควรทิ้งไป
แท้จริงแล้วความเสี่ยงคืออะไร?
ถ้าแปลตรงตัวก็คือ "อันตราย"
ความเสี่ยงมีอยู่ 2 ชนิดคือ ความเสี่ยงที่จะทำ" และ "ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ"
ความเสี่ยงที่จะทำ = ความเสี่ยงที่จะทิ้งตัวเรื่องอื่นไปโดยไม่ตรวจสอบ
ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ = ความเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสที่อยู่ข้างหน้า
โดยผู้เขียนบอกว่า "ความเสี่ยงที่จะไม่ทำ"
นั้นเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่กว่า "ความเสี่ยงที่จะทำ"
เนื่องจากคนที่มี "ความเสี่ยงที่จะทำ" เร็วกว่าใครนั้นมีข้อดีคือ
๑. สามารถได้รับกำไรของผู้มาก่อนที่ผู้ลงมาก่อนเท่านั้นจะได้รับ
๒. แม้จะผิดพลาดแต่ก็ยังมีเวลาเหลือจึงสามารถที่จะแก้ไขปรับปรุงได้
๓. ด้วยการสั่งสมการตัดสินใจข้อมูลที่มีน้อยทำให้เกิดความสามารถในการตัดสินใจและความสามารถในการลงมือทำติดตัว
ยิ่งคนที่กลัวความเสี่ยง ก็จะยิ่งตกอยู่ในสภาพที่เสี่ยงที่สุด ที่ไม่มีทั้งผลงานและไม่ถูกประเมิน
แต่คนที่ลองเสี่ยงจะทำให้ความเสี่ยงนั้นกลายเป็นความเสี่ยงที่เล็กที่สุด
แม้ว่า การตัดสินใจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ถ้าท่านลองแบ่งมันออกแล้วหาวิธีการที่เหมาะสม มันจะทำให้การตัดสินใจง่ายขึ้น
โดยเริ่มต้นจากพื้นฐานการตัดสินใจ
ที่มีเพียง ๒ อย่าง คือดูว่า...
๑) หนึ่งความยิ่งใหญ่ของผลลัพธ์มีมากน้อยแค่ไหน?
- ความมากน้อยของผลกำไร
- ความมากน้อยของสิ่งตอบแทนที่จะกลับมาสู่ตัวเอง
- ความมากน้อยของความประทับใจ
ก็ถือเป็นผลลัพธ์ได้เช่นกัน
๒) มีองค์ประกอบในการต่อรองหรือไม่ (ความมากน้อยของความเสี่ยง)
พูดง่ายๆก็คือมีคู่แข่งอยู่หรือไม่นั่นเอง
เพราะการมีคู่แข่ง หรือความเห็นที่ต่างกันก็ทำให้การตัดสินใจยากขึ้นทันที
๔ พื้นฐานในการเปรียบเทียบที่ควรมีติดตัว
วิธีคิดที่เป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับการตัดสินใจก็คือ "การเปรียบเทียบ"
สิ่งที่ควรนำมาเปรียบเทียบนั้นมีเพียง ๔ อย่างคือ
๑. ลำดับเวลา
๒.มาตรฐาน
๓. คนอื่น(บริษัทอื่น)
๔. ความแตกต่างกับอุดมคติ
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดถ้าใช้มาตรฐานนี้ก็จะได้คำตอบ
หลักการของทั้ง ๔ อย่างในการเปรียบเทียบคือ การเปรียบเทียบแบบไหนที่จะ "ทำให้เห็นถึงจุดประสงค์ในการตัดสินใจได้อย่างชัดเจนและไม่เข้าข้างตัวเอง"
การเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นข้อเท็จจริงภายนอก เป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดสินใจที่ดีและรวดเร็วขึ้น
การตัดสินใจแบบ Trade off
เป็นการตัดสินใจแบบเลือกอย่างหนึ่ง แล้วต้องสูญเสียอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงแล้วเลือก "ความเสี่ยงที่ควรเลือก" เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง
ทิ้งความแน่นอน(ความระมัดระวัง)ที่เป็นการเหลือตัวเลือก แล้วตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ให้ความสำคัญกับ "เวลา" จะช่วยเพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจได้
สิ่งสำคัญของการตัดสินใจแบบนี้ คือการรู้ว่า "ควรจะทิ้งอะไร"
การคิดว่าจะทิ้งอะไรคือแก่นแท้ของการเลือกหนึ่งในสองตัวเลือก
อย่าคิดว่าจะต้องเหลืออะไร แต่จงคิดว่า "ควรจะทิ้งอะไร"
การเลือกสิ่งที่จะทิ้งไปมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสิ่งที่คงเหลือไว้มากเท่านั้น
การตัดสินใจด้วยแผนภูมิต้นไม้
ใช้เมื่อมีตัวเลือกมากกว่าสอง โดยให้ท่านตั้งปรากฏการณ์หรือปัญหาเป็นแกนหลัก
และค่อยๆเจาะลึกลงไปในปัญหานั้น เพื่อขยายกิ่งก้านลงมาข้างล่าง เป็นวิธีการตัดสินใจโดยการนำเอาภาพต้นไม้เข้ามาใช้
การแผ่กิ่งก้านลงมา ทำให้มองเห็นตัวเลือกได้ชัดเจนขึ้น โดยมุ่งไปยังจุดประสงค์หรือวิธีการแก้ปัญหา
มันจะทำให้เราขุดค้นหาความเป็นไปได้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ จึงเป็นวิธีที่สะดวกในการค้นหาหัวข้อที่จำเป็นโดยไม่เกิดการซ้ำซ้อนกัน
คนที่มีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว จะทำการตัดสินใจในครั้งต่อไปและทำการแก้ไขได้ง่าย
ฉะนั้น,แม้จะเป็นการตัดสินใจในแบบเดียวกัน แต่ความยิ่งใหญ่ของผลตอบแทนนั้นจะแตกต่างกันไป
ดังนั้นการเพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจด้วยการสะสม
ความรู้ความสามารถในการเลือก "ความเสี่ยงที่ควรเลือกเสี่ยง = กำหนดสิ่งที่จะทิ้งไป" จึงเป็นสิ่งสำคัญ
สุดท้าย, มันมีบท "
คนเก่งจะให้ความสำคัญกับกำไรในระดับหนึ่งมากกว่ากำไรมากที่สุด"
ที่ผมเห็นว่ามันเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ และทำให้อยากซื้อ
เลยพยายามหารายละเอียดจากมัน
พบว่าไม่มีอะไรเลย
คือเขาเอาไปเปรียบกับ
ทฤษฎีเกมว่า ถ้าเรามุ่งเน้นไปที่เค้กให้กำไรมากสุดก็จะมีการแข่งขันมากตาม ซึ่งโอกาสที่จะได้เป็นผู้ชนะก็ยาก จึงแนะว่า "ไม่สร้างการต่อสู้อย่างดุเดือดกับคู่แข่งและครอบครองเพียงผลตอบแทนในระดับหนึ่งเป็นมุมมองที่นักธุรกิจแนวหน้าส่วนใหญ่มีติดตัว"
พูดง่ายๆคือ ไม่แข่งขันในตลาดที่แข่งขันรุนแรง ยอมฮั้วกันดีกว่า อะไรประมาณนี้
ประเด็นที่น่าสนใจในหนังสือก็มีเท่านี้นะ
ความจริงยังมีรายละเอียดมีอีกเยอะ แต่เป็นเคสที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจในภาพใหญ่ และความสำเร็จของคนญี่ปุ่นซึ่งมันก็ไม่ค่อยตรงกับสายงานของเรานัก ผมเลยข้ามไป
ใครสนใจก็หาซื้อในร้านซีเอ็ดได้ครับ ร้านนายอินทร์ก็น่าจะมีนะ