การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

รีวิวการเก็งกำไร ปี 2018 ของ Zyo


ปีนี้ผลประกอบการของผมย่ำแย่มาก
ต้นปีทำเงินได้เยอะมาก แต่พอตลาด choppy ก็คืนกำไรให้หมดเกลี้ยง แถมทบดอกอีกต่างหาก
เมื่อเทียบกับเงินที่ทำได้ในช่วงต้นปี กับวันสุดท้ายของปี 2018
ผมขาดทุนไปกลับร่วมๆ 30% เลยทีเดียว


เดี๋ยวจะลองไล่ให้ดูเป็นรายเดือนไปเลย
ผมเอามาจาก iTracker ที่โบรคบัวหลวงเขาทำประวัติให้
และก็เอามาจากบันทึก + ความจำของตัวเอง
จะได้เป็นเคสให้ท่านเห็นจุดซื้อ ขาย และจุดผิดพลาดของผมไปทั่วกัน

นี่คือเมนู iTracker ที่ผมเอ่ยถึง เผื่อใครไม่รู้



เดือน 1 มกราคม JAN
Take profit หุ้น M ไป ได้กำไรประมาณ 16%
จำได้ว่าภาพใหญ่มันเป็น cup with handle จึงตามเมื่อมันทะลุ 69 บาท ขายออกที่ 80 บาท

JKN กำไร 19% พอราคาเบรคสามเหลี่ยมก็ซัดเลยตัวนี้


HUMAN กำไร 21% ได้ตอนขาขึ้นช่วงแรก

EA ก็ได้ตังค์มาแบบฟลุคๆ เพราะซื้อก่อนเปิด gap เห็นมันเด้งที่ EMA10 
วันต่อมาโบรคเชียร์ เปิดกระโดดเลย ฟลุคมาก 
กำไรแค่ 14% เพราะรีบขายตั้งแต่แท่งเปิดกระโดดแท่งแรกเลย 61 บาท

BGRIM  กำไร 24% ซื้อตอนเปิด gap 23 ขาย 28

อู้ฟู่เลยตอนนั้น พอร์ตโตขึ้น 30%

แต่จากนั้นก็ขาดทุน PSTC โดนแท่งแดงยาว ไหลลงเร็วมาก คัทไม่ทัน
ขนาดซื้อแค่ 5% ของพอร์ตเท่านั้นนะ ถ้าอัดเยอะ คงดูไม่จืดแน่

ยังดีที่ได้กำไรหุ้น THG เท่าๆกับที่เสีย PSTC

FLOYD กำไร 9% ซื้อตอนที่ราคา 2.6 ระดับ breakout ขายที่ 2.9 ราคา ceiling

ADB กำไร 21% ซื้อ 1.28 ขายที่ 1.56

เดือนมกราคม ผลประกอบการของผมเทพมาก กำไรเน้นๆเลย
ก็ซื้อไม่เยอะหรอกครับ ตัวนึงประมาณ 20% ของพอร์ตเท่านั้น เป็นกฎ
มาดูสภาพ SET ตอนนั้นนะ ก็ไม่แปลกนะครับ มันขึ้นแรงต่อเนื่อง ซื้อยังไงก็กำไร


แต่พอเดือน2 กุมภาพันธ์ FEB สิครับ เละเทะเลย
คือไม่มีขาดทุนหนักนะ แต่มันหลายตัวมาก 30 ตัว เฉลี่ยตัวละพัน รวมกันก็ร่วมๆ 3 หมื่นบาท
ไฮไลท์ กำไรมีไม่กี่ตัว
KTC กำไร 8% ซื้อ 267 ขาย 288 (ตอนนั้นยังไม่แตกพาร์) แท่งเขียวยาวที่สุดในเดือนนั้น

WICE +11% ซื้อที่ 6.8 หลังจากราคาพักตัวแท่งแดง ขายออกที่ 7.6 แท่งทิ้งไส้

สรุปเดือนนี้ คืนกำไรไปให้ตลาด -10% 
เมื่อดูกราฟ SET พบว่าเดือน Feb มันร่วงแรง แถมสวิงแรงด้วย 
สภาพตลาดแบบนี้แหละครับ ทำร้ายนักเทรด จำไว้เลย อย่าเล่นเยอะ
ผมน่ะ ตอนนั้นไม่สนตลาดไง เล่นเต็มพอร์ตตลอด เลยโดนซะ

เดือน 3 มีนาคม MAR
ก็โดนอีกครับ ดูกราฟ SET นะ มันเริ่มหักหัวลง
ไฮไลท์หนักๆคือ JKN ขาดทุน 11.77% เป็นอาการ "เสือหวน" คือกลับไปซื้อหุ้นที่เคยกำไร
ผลก็ออกมาขาดทุนเละเทะสิ
 ที่ซื้อเพราะเห็นมันบีบตัวดีไง เป็นสามเหลี่ยม ซื้อดักที่ 16 บาท ขายออกที่แท่งแดง 14 บาท
เหตุผลของการเป็นเสือหวน คือ เริ่มเอาพื้นฐานมาใช้ตัดสินใจ
ไปหลงดูคลิปสัมภาษณ์ผู้บริหาร น่าเชื่อถือมาก เลยแอบหยอด
พอหยอดแล้วหลุด ขาดทุน แทนที่จะขาย กลับถัว
ดีที่มีลิมิตว่าถัวจนยอดรวมไม่เกิน 20% ของพอร์ต เลยไม่เสียหายเยอะ
ที่สำคัญคือความกล้า stop loss ที่เอาจริงเอาจังมากขึ้น

HUMAN อีกตัว เสือหวน ขาดทุน 14%
ซื้อดักที่ 12.7 ขายที่ 10 บาท
ตัวนี้ก็ติดใจพื้นฐานเหมือนกัน ไม่รู้ไปฟังอีท่าไหน คงประทับใจในโมเดล

NETBAY ขาดทุน 5% ซื้อ 37 ขาย 35
ตัวนี้ปีที่แล้วเคยกำไรไง เป็นเสือหวน เพราะชอบพื้นฐานการทำธุรกิจมาก
แต่รู้เลยว่า ช่วงที่สวยงามที่สุดของหุ้น มันเกิดไปแล้ว เกิดครั้งเดียวจบ
อย่าเข้าใหม่ เพราะตลาดจะเอาคืน 


แม้จะมีกำไรจาก TWPC ก็แค่ 6% เอง
ซื้อที่ 10.8 เป็นราคา breakout กรอบการสะสม ขายออกที่ 11.5

เดือนนี้เล่นไป 40 กว่าตัวครับ เข้าๆออกๆ overtrade สุดๆแล้ว
ส่วนใหญ่ขาดทุน เฉลี่ยตัวละพัน ก็หายไปสี่หมื่น รวมตัวหนักๆ ก็ร่วมแสนเลย
ถือเป็นความผิดพลาดที่ไม่ดูตลาด

ส่วนใหญ่เป็นเสือหวน ซื้อหุ้นที่เคยกำไร โดยกะจะเข้าที่แนวรับ
แต่ด้วยความที่ตลาดไม่ดี มีแต่คนอยากขาย จึงเสียหายหนัก

ดูกราฟ SET อีกที มีนาคมมันลงแรง ทำนิวโลว์ได้แล้ว แต่ผมไม่รู้กาละเทศะไง
ยังอัดเต็มพอร์ต พอตลาดร่วงแรง หุ้นที่ผมซื้อแบบดัก ก็ไม่รอด แท่งแดงยาว panic ตามตลาด พังสิ
จำไว้เลยว่า ถ้าตลาดนิวโลว์ เก็บเงินสดไว้เยอะๆ
แม้แต่มัน choppy ก็ตาม อย่าได้เสี่ยง
ผมน่าจะรู้ตัวแล้วว่า ถ้าเข้าเป็นสิบ แล้วเกี่ยวไม่ติดเลย ต้องถอยออกมาได้แล้ว
จำใส่กระโหลกไว้เลย อย่าแหยมกับตลาด choopy เด็ดขาด มันค่อยๆกัดกินเนื้อจริงๆ
เหมือนกบต้ม เห็นอุ่นๆ นึกว่าไม่มีอะไร โดนปรับความร้อนเข้าไป สุกตายคาหม้อ

เดือน 4 เมษายน (APR) 
ไม่มีขาดทุนหนักมากนัก
ไฮไลท์คือ
TOA -4% เป็นตอน false breakout พอดี ซื้อ 38 ขาย 36.8 แท่งเดียวเลย ขาดทุนวันเดียว จบ
ความจริงก็เป็นจังหวะที่ไม่สวยนัก เพราะราคาไม่ได้ทะลุฐาน เป็นแค่การไปต่อ

AYUD -7% ซื้อ false breakout แล้วราคาไม่ไป สุดท้ายเปิด gap ลง

เดือน 4 นี้เล่น 20 ตัว ขาดทุนเกือบทั้งหมด กำไรแทบไม่มี
ขาดทุนแต่ดีหน่อยที่ตัดขาดทุนไว ไม่เกิน 7% เลย

SET ทำ lower high , lower low


เดือน 5 MAY

XO -5% เข้าผิดจังหวะ เป็นตอน false breakout พอดี ซื้อ 6.2 ขาย 5.8 ช่วงเขย่าพอดี

BDMS -4% ซื้อ 23.4 ขาย 22.4

TSE -5% เข้าตอนเปิด gap แล้วยืนไม่อยู่ ก็ต้องหนีตายสิครับ

เดือน 5 เล่นน้อยลง เหลือ 11 ตัว แต่ก็ขาดทุนแทบทุกตัว
stop loss ดี ไม่เกิน 5%

เดือน 6 JUNE
HTECH -5.6% ซื้อ 7.2 ขาย 6.8

เดือน 6 เล่นแค่ 3 ตัว ก็ยังโดนอีก ดีที่ขาดทุนไม่มาก

เดือน 7 เล่นตัวเดียว คือ HTECH ยังขาดทุนอีก 1%

เดือน 8 ไม่มีนัยยะอะไร

เดือน 9 ขาดทุนหนักอีก
HUMAN -10% ซื้อตั้งแต่เดือน 5 ราคา 12.67  ขาย 11.4 ที่เดือนนี้
ซื้อดัก แล้วไปขายออกเพราะหมดใจ
สาเหตุที่เข้าตัวนี้ซ้ำเพราะไปดูคลิป oppday เห็นผู้บริหารเล่าสตอรี่น่าสนใจ
คิดว่าอนาคตดีแน่ จึงเข้าซื้อดัก ก็เละตามระเบียบครับ ผมซื้อดักไม่ได้จริงๆ โดนเจ็บๆตลอด

WPH -7.22%
ซื้อตอนฟื้นตัวหลังจากเปิด gap กำไรแล้วด้วย แต่ดันไม่ยอมขาย เพราะได้น้อย
ปล่อยไปปล่อยมา ต่อราคาสิ กลายเป็นขาดทุนไปซะงั้น โง่จริงๆ

เดือน 10 ได้กำไรแบบจำเป็นต้องขาย
ITEL +6.78% ซื้อ 3.0 ตอนที่ราคาฟื้นตัวจากร่วงแรง ขาย 3.2 ตอนราคาหลุด trend line
เคยกำไรกว่า 30% ก็ไม่ยอมขายนะ มารอขายตอน 7% เสียหายร้ายแรงมาก

RPH +4.73% ซื้อตั้งแต่เปิด  gap เดือน 5 ราคา 4.8 ขายออกที่ 5.05 เพราะมัวแต่ต่อราคา
กำไรสูงสุดของตัวนี่ที่ 14% แต่ไม่ได้ขาย เพราะอยากได้มากกว่านี้

เดือน 11 กลับมาเทรดถี่อีกครั้ง 35 ตัว
แต่คราวนี้ ใช้เงินน้อยลง เล่นแบบตอด กำไรก็ได้แบบจุ๋มจิ๋ม
STA +7.38 ซื้อ 17 ตอนราคาดีดจากโดจิไส้ล่างยาว ขาย 18.3 เพราะเห็นว่ามันข้าม 19 ไม่ได้

CHO +9.64 ซื้อ 1.36 ตอนที่ราคาฟื้นตัวหลังจากพักตัวหลัง gap ขาย 1.50 เป็นค่าเฉลี่ย

เดือนนี้ มีกำไรสุทธิ นิดหน่อย เพราะตัดขาดทุนไวมาก ที่สำคัญคือซื้อน้อย ไม่ถึง 5% ของพอร์ต
พยายามเก็บเงินสดเอาไว้ให้มากที่สุด เพราะตลาดก็น่ากลัว
เวลาคันไม้คันมือ ก็ขอแค่หยอดก็พอ ลองวิชาไป

เดือน 12 เล่นน้อยลง 17 ตัว
แต่ก็ขาดทุนไปพอสมควร หลักพัน เพราะเล่นแบบแหย่เช่นกัน
ไฮไลท์ 
SEAFCO -5% ซื้อ 9.2 false breakout ขาย 8.8 ตอนเขย่าแรง ไม่กี่วันมานี้เอง

NPPG -3.54% ซื้อ 1.38 ขาย 1.33

โดยสรุป ปี 2018 ถือว่าผมแพ้ตลาดครับ
เพราะความไร้เดียงสา ไม่รู้กาละเทศะของตัวเอง

แต่แม้จะขาดทุน ก็ได้ความรู้มากเช่นกัน คือ
- ได้รู้จักความโหดของสภาวะตลาดแบบ choppy (ผันผวนหนัก) มากขึ้น ว่าอย่าไปแหยมกับมัน
- มีวินัยในการ stop loss มากขึ้น 
- ไม่มีการซื้อถัวเฉลี่ยขาดทุนแบบในอดีต โดยยึดการลดความเสี่ยงเป็นสำคัญ
- ไม่มีการซื้อหุ้นเยอะเกินลิมิตแบบในอดีต เพราะเจ็บปวดหนักมาก จึงไม่อยากเป็นอีก
- การเลือกซื้อหุ้นสะเปะสะปะพอสมควร เห็นอะไรเป็นโอกาสไปหมด ซึ่งไม่ดี ไม่ละเอียด
ออกไปทางสำส่อน ไม่เลือก จึงโดนลงโทษซะ 
- จุดซื้อผมใช้หลายแนวเกินไป ที่ใช้ดีเสมอคือ gap และ breakout 
- แต่ที่ต้องปรับปรุงคือ อย่าไปซื้อดักตอนที่ราคาอยู่ในฐาน
- เจอ false breakout อย่ามีความหวัง เพราะคนในตลาดสรุปให้แล้วว่า "ไม่อยากไปต่อ"
- และดูสภาพตลาดด้วยว่าเหมาะกับสไตล์ของตนหรือเปล่า โง่ๆอย่างผม เลือกเล่นเฉพาะช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้นสวยๆก็พอ ได้เงินง่าย และทุกปีจะมีอย่างน้อย ๑ ช่วง จากนั้นถ้าตลาดเล่นยาก ดูง่ายๆจากกำไรที่ได้ หากซื้อ ๕ ตัวพลาดไป ๔ ต้องมีสมองคิดได้แล้วว่ามันผิดปกติ ต้องชักเงินสดออกมาเก็บไว้เยอะๆ
- ต้องเปลี่ยนแนวทางการเล่นให้เหมาะกับสภาพตลาด อย่าบุกทุกสภาพตลาด ไม่มีใครชนะตลาดได้ตลอด ด้วยวิธีการเดิม พักบ้างเพื่อเก็บกำไรที่ได้มาอย่างยากเย็น เพราะกำไรได้ยากกว่าขาดทุนเสมอ
- ต่อไปต้องมีการวางแผนเรื่องการแบ่งไม้เข้าซื้อให้ละเอียดขึ้น โดยเฉพาะการซื้อแบบถัวเฉลี่ยขาขึ้น
- จุดขายก็ยังมีปัญหา แต่พอเห็นชัดขึ้นว่าการ selling into strength ขายตอนที่ราคาวิ่งดๆ บวกแรงๆ ทยอยตัดขายไปเรื่อยๆ เหมาะกับผมมาก
- อย่างไรก็ตาม, มีการให้ความสำคัญกับเงินสดได้ดีมากขึ้น ในแบบที่ไม่เคยนึกเรื่องนี้มาก่อน
สรุปคือ มีพัฒนาการขึ้นนิดนึง ส่วนเรื่องปรับปรุงยังมีอีกมากมายเลยครับ

แม้จะแพ้ แต่ก็พอใจในความสามารถในการเรียนรู้ครับ
ไม่มีอะไรเรียนรู้ได้ดีและมีประโยชน์จากความผิดพลาดอีกแล้ว
ดีใจที่กล้ากลับไปเปิดแผลตัวเองดู ไม่งั้นคงผิดซ้ำเดิมอีก
ดีใจที่ชอบเขียนเพราะมันช่วยเชื่อมจุดหลายๆอย่างให้เห็นภาพบางอย่างชัดขึ้น เห็นประเด็นสำคัญดีขึ้น

ปีหน้าผมต้องดีกว่าเดิมให้ได้ โดยเฉพาะ
- กาละเทศะ
- การรักษาความได้เปรียบ  รักษากำไรที่ได้มา ไม่คืนกลับไปให้ตลาด
- การเลือกจังหวะเข้าที่เสี่ยงต่ำเท่านั้น
- การแบ่งไม้ซื้อแบบที่หากพลาดแล้วเสียหายน้อย

เดี๋ยวปีหน้า ผมจะสรุปให้อ่านกันอีกครับ


บทความอ่านเพิ่มเติม (รายละเอียดของจุดซื้อขายที่เจาะจงกว่า)
Breakaway Gap Winning & Losing Trade : RPH vs WPH
Swing Trading Success Case : CHO
Day Trading Case : TPLAS, SIAM, EE, LDC, BEC
Swing Trading Success Case : STA
Swing Trade Success Case : UREKA
Success Case : EMA10 กับหุ้นซิ่ง IPO : DDD
ปัญหาของการรันเทรนด์ในช่วงตลาดผันผวน : RPH, COMAN & ITEL


แนะนำงานเขียนเล่มใหม่ครับ


มีขายเป็น eBook แล้วที่ mebmarket.com
ดูรายละเอียดที่ bit.ly/zyoebook3 

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ