การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

หุ้นที่ให้บทเรียนผมมากที่สุดในปี 2017

หุ้นที่ให้บทเรียนเรามากที่สุดในปี 2559
เป็นเคสของสองปัที่แล้วนะครับ บังเอิญผมทำเก็บไว้ดูคนเดียว
เห็น facebook โผล่มาให้ดูก็เลยเอามาลงบล็อก zyo71 เผื่อจะได้เป็นไอเดียสำหรับคนที่สนใจ


SIMAT ในมุมลบเลย ได้แง่คิดในเรื่องของการถัวเฉลี่ยหุ้นขาลง โดยการลงเพราะพื้นฐานห่วย ถูกยกเลิกสัญญาจากลูกค้ารายใหญ่ ทำบรอดแบนด์ก็โดนรายใหญ่เล่นสงครามราคา ก็สู้ไม่ได้ เมื่อลงทุนไปยังไม่ถึงจุดคุ้ม ก็ส่งผลให้ขาดทุนสิ เมื่อขาดทุน+ไม่มีจุดแข็งพอที่จะสู้ใครได้ ราคาก็อ่อนแอสิ
ต่อไป ต้องไม่เล่นหุ้นขาลง โดยเฉพาะตอนที่มันหลุดแนวรับลงไปข้างล่าง เพราะมันจะมีโมเมนตัมแรงมาก
ต้องไม่ถัวเฉลี่ยขาลงเด็ดขาด
ต้องเล่นหุ้นขาขึ้นเท่านั้น


MALEE เราไม่เคยให้ความสำคัญเลย กระทั่งมันวิ่งมาถึง 80 กว่าบาท อันเป็นเวลาที่สายไปแล้ว เสียดายมากๆ
ที่เราได้เรียนรู้
ถ้าเห็นหุ้นราคาเบรค 200 วัน ต้องไปดูพื้นฐาน
- ว่ามันมีแบรนด์มั้ย
- งบกำไรขาดทุนเป็นยังไง
- มันมีโครงการในอนาคตยังไงบ้าง
- ผู้บริหารมีความ aggressive สำหรับเป้าหมายในอนาคตยังไง
- ที่ตั้งเป้าไว้ ตอนนี้ทำได้บ้างแล้วมั้ย
- มีการทำตลาดใหม่มั้ย
- ตอนราคาเบรค 200 วัน วอลุ่มเข้าสูงอย่างมีนัยยะมั้ย
ถ้าเรารู้จักวิธีกรองแบบนี้ตั้งแต่ตอนนั้นล่ะก็ คงมีโอกาสทำกำไรจากตัวนี้ได้อย่างมหาศาลแน่นอน

TNP, KOOL, BIG, HTECH หุ้นขาขึ้นที่เราทนรวยไม่ไหว
ข้อคิดคือ


TNP ถ้ามันเป็นขาขึ้น หากมันไม่ลงลึก แต่วิ่งในกรอบสะสม หลังจาก all time high ไปแล้ว ก็ต้องทนดูมัน หากพื้นฐานการทำกำไรดีขึ้นอย่างต่อเนื่องต้องทนกับมัน เพราะถ้ามันเบรคกรอบสะสมไปได้ ก็จะวิ่งเร็งและแรงมากภายในเวลาไม่กี่เดือน


KOOL เราขายไวไป ทั้งที่มันย่อเพราะติดแคชบาลานซ์ ทำให้ได้กำไรแค่ 150% ถ้าทนถือต่อไปจะได้กำไรถึง 200% และถ้ายังถือมาจนถึงวันนี้ เรามีโอกาสกำไรมากกว่านี้อีก หากกำไรยังโตได้อีก
BIG ได้ราคาที่ก้นแล้วนะ แต่ดันไปขายที่ก้นของการย่อขาขึ้น
ตัวนี้ถ้าเราทนไปหน่อยก็จะได้อย่างน้อยๆ 2 เด้ง ยิ่งถ้าไปดูงบก็จะช่วยให้มั่นใจในการถือมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ดูไง ตอนนั้นอาจจะขายไปถัว SIMAT ด้วยมั้งน่ะ
ดังนั้นต่อไป อย่ามีหุ้นขาลงในพอร์ตเด็ดขาด เพราะมันจะไประราน ป่วนให้เราต้องขายหุ้นขาขึ้นชั้นดีออกไปถัวหุ้นขาลงชั้นเลว


HTECH เราตามตัวนี้มาพอสมควร ด้วยความที่ตอนแรกเห็นพี่โจถือ พอไปดูกราฟภาพใหญ่ก็เห็นว่ามันทำ 1-2 1-2 1-2 ด้วย ก็ยิ่งน่าสนใจ แต่เพราะราคามันแกว่งแบบไม่น่าเชื่อถือ เลยเข้าๆออกๆ หลายครั้ง แต่กระนั้นก็ได้จังหวะที่ดีมากตอนที่มันเปิด gap จึงเข้าไป 6 หมื่นกว่า แต่เพราะราคามันไม่ยอมไปต่อทันที (ย่อแค่ 5 วันเอง เสือกทนไม่ได้) พอขายออกไปครึ่งก็ซิ่งต่อเลย


TSF เป็นหุ้นที่เราเล็งหาจังหวะซื้อมานานมาก เมื่อเห็นมันลงมา sideway ที่ก้น ราคา 0.14 -0.15 ก็เข้าซื้อ แต่จากนั้น SET panic ทำให้ราคาลงไปที่ 0.12 เราก็ขายออกไปก่อน (เพื่อเอาเงินไปซื้อตัวอื่น) วันต่อมาราคาก็ลงต่อไปถึง 0.09-0.10 ก็ไม่ได้ใส่ใจเพราะโฟกัสตัวอื่นอยู่
และวันถัดมาราคาก็ดีดแรงไปยืนกรอบราคาเดิมภายใน 4 วัน และก็ sideway ไปอีก 17 วัน แต่จากนั้นสิมันพุ่งโหด 2 วันพร้อมกับวอลุ่มสูงสุดในรอบ 200 วัน แต่เราก็ไม่กล้าซื้อ แต่ไปกล้าในอีกวัน ได้ทุน 0.23 บาท จากนั้นมันก็บวกต่อแบบอ่อนแอ  พอเจอ cash balance ก็ร่วงหนัก เราก็เลยได้ขายออกที่ 0.29 ซึ่งก็ได้กำไรพอสมคว แต่ว่ามันกลายเป็นการคิดผิดสิ มันลงแค่ 0.22 และดีดขึ้นเลย ใช่...มันเด้งที่ EMA20 เท่านั้นเอง และก็ดีดีขึ้นไปทำนิวไฮ 0.40 ในวันนี้ นับว่าเป็นความผิดหวังอย่างแรง
สำหรับตัวนี้นะ ถ้าเราชอบมัน ก็น่าจะหนอดเอาไว้ไม่เกิน 5 หมืนสำหรับหุ้นต่ำกว่า 20 สตางค์ โดยไม่เพิ่มมากกว่าเพื่อป้องกันเวลาขาดทุนหนักๆ ถ้าเจอตัวที่เจ๋งๆแบบนี้ เราก็เหมือนได้ jackpot เลย คิดดูสิ ถ้าเราได้ทุนที่ 0.14 สักห้าหมื่นบาท ตอนนี้เรามีเงินถึงแสนห้าเลยทีเดียว


TNH เราชอบตัวนี้ในความที่มันมีสภาพคล่องน้อย และหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลก็ขึ้นกันหมด เราได้เข้าในช่วงที่มันเบรค 200 วัน แต่จากนั้นมันก็เขย่าแรงจนลงลึกเกินรับได้ เราก็เลยขายออก แต่จากนั้นมันก็ดีดกลับทันที และมีย่อแต่ตื้นกว่าเดิม หากรายังตามมันต่อและกัดฟันซื้ออีกครั้งก็น่าจะได้กำไรเกินเด้งแน่นอน

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ