เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

Image
Leoš Mikulka กับการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและการจดบันทึกการเทรด   การแสวงหาการวัดผลเป็นตัวเลข: วิธีบริหารอารมณ์ขณะเทรด แปลจาก https://tradingresourcehub.substack.com/p/leos-mikulka-practical-risk-management-journaling อินโทรเวิร์ท เทรดเดอร์: สร้างเงินล้านด้วยธุรกิจตัวคนเดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM1NjkwMjt9 PART 1: เส้นทางการเทรดของฉัน    ตลอดอาชีพการเทรดของฉัน ฉันได้ผ่านช่วงเวลาหวือหวาขึ้นลงมากมาย (ช่วง ‘รุ่งเรืองและล่มสลาย’ – Boom and Bust)   ฉันเกือบล้างพอร์ตครั้งแรกในปีที่สามของการเทรด   หลังจากทำกำไรได้ 40–50% ในปีที่สอง ฉันก็ตกหลุมพรางยอดฮิตของนักเทรดมือใหม่ที่ได้แรงหนุนจากตลาดที่ดี แม้ว่าจะตัดสินใจผิดพลาดก็ตาม:   ฉายภาพกำไรเหล่านั้นไปสู่จินตนาการว่าอีกไม่กี่ปีจะกลายเป็นมหาเศรษฐี   โดยไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) หรือ การกำหนดขนาดสถานะ (Position Sizing) ฉันจึงไม่พ...

Voodoo - ทรงหุ้นซิ่ง ราคาย่อ วอลุ่มหาย

Voodoo (Volume-Dry Up or VDU) Pullbacks เป็นเหมือนลายเซ็นของน้า Gil Morales ศิษย์เอกของปู่โอนีล คู่หูของแกคือ Dr.K ทั้งคู่เขียนหนังสือร่วมกันคือ Trade Like an O'Neil Disciple นั่นเองครับ



Voodoo คือ อะไร?
เป็นสแลงมาจากคำว่า Volume-Dry Up ซึ่งย่อเป็น VDU แล้วน้าเค้าเรียกให้ติดหูด้วยคำว่า voodoo
มันเป็นการพักตัวของราคาหุ้นนำตลาดที่
- ย่อลงมายังโซนแนวรับ
- หรือเส้นค่าเฉลี่ยที่มีนัยยะ อย่าง 10, 20 หรือ 50 วัน
- หรือโซนยอดของจุดสูงสุดของฐานราคาก่อนหน้านี้
โดยลักษณะจำเพาะของ voodoo คือ "วอลุ่มที่ลดลงมากกว่า 35% จากค่าเฉลี่ย"
ซึ่ง..ยิ่งลดลงมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
บ้านเราน่าจะเรียกกันว่า "หุ้นลง วอลุ่มหาย" "ราคาย่อ วอลุ่มแห้ง" อะไรประมาณนี้

แล้วค่าเฉลี่ยของวอลุ่มกี่วัน?
เขาใช้ "ค่าเฉลี่ย 50 วัน" ครับ


ทำไมต้อง voodoo?
มันไม่ได้เกี่ยวกับไสยเวทย์มนตร์ดำแอฟริกาอะไรหรอกนะ Voodoo เป็นเหมือนคำอ่านของ VDU ที่ย่อมาจากคำว่า Volume-Dry Up คือ ราคาย่อ+วอลุ่มหด หมายความว่าคนไม่สนใจในตัวหุ้นนั้นอีกแล้ว
พูดง่ายๆคือ คนไม่อยากขาย หรือได้ขายจนหุ้นหมดมือไปแล้วไง
การเกิด VDU ก็คือแทบจะไม่มีคนขายหุ้นอีกต่อไป
ยิ่งถ้ามันเกิดในโซนแนวรับที่มีนัยยะด้วยล่ะก็ โอกาสกลับตัวจากนั้นมีสูง

มันเป็นกระบวนการทดสอบ supply ในช่วงพักตัวนั่นเองครับ
คือช่วงที่ราคาพักตัวนั้น เป็นช่วงที่คนทำราคาปล่อยให้คนที่ได้กำไรขายหุ้นออกไปให้มากที่สุด
การขายหุ้น ก็คือ มี supply ออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมากนั่นเอง
ถ้าคนทำราคาเค้ายังอยู่และอยากดันให้ราคาไปต่อ เขาต้องรับ supply นั้นออกมาให้หมด

แล้วใครขาย?
ก็ต้องเป็นรายย่อย คนเล่นรอบสั้นๆ ที่พอใจกำไร หรือคิดว่าราคาไม่น่าจะไปต่อได้อีก
ดังนั้นปริมาณของ supply จึงไม่เยอะมาก คนทำราคาสามารถรับได้สบายๆ
เขาก็เลยปล่อยให้พวกขายจนหนำใจ อขากขายก็ปล่อยมา ฉันขอรับไว้เอง
ซึ่งตามธรรมชาติ ช่วงแรงคนก็กระตือรือล้นอยากขายกันมากมาย วอลุ่มเยอะ
แต่พอเวลาผ่านไป วัน สองวัน สามวัน สี่วัน คนเริ่มขายกันน้อยลง ขายจนเบื่อ
supply ก็เริ่มอ่อนแรง จนแทบจะแห้งไปจากตลาด เมื่อเวลาผ่านไปเนิ่มนานเข้า

เมื่อ supply แทบจะหมดไปจากตลาด ก็เป็นโอกาสของ demand ในการโต้กลับ ซื้อดันราคาขึ้นไปใหม่
เมื่อราคากลับตัว มันก็ทำได้ง่ายขึ้น เพราะแรงต้านเหลือน้อย ซิ่งแหลก
จึงเข้าสูตร the line of least resistance นั่นเองครับ



พอ voodoo แล้วไงต่อ?
ก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า pocket pivot buy point น่ะสิ
แล้วมันคืออะไร?
ผมเคยเขียนสรุปไว้เล้วนะ ที่

ตัวอย่าง





เคสหุ้นไทย
ก่อนจะเข้าไปดูผมมีข้อสังเกตแบบนี้
๑) ช่วงหุ้นย่อวอลุ่มแห้งนั้น จะศักดิ์สสิทธิ์มาก "ถ้าดูย้อนหลัง"
นึกภาพออกมั้ยครับ?
คือมันเกิดมาแล้ว ชี้ยังไงก็ถูก
ปัญหาก็อยู่ที่หน้างานจริงว่าเราจะดูวอลุ่มยังไง ว่าเข้าข่าย?
ตัวช่วยคือ ดูแท่งราคากับวอลุ่มครับ
ให้มันมีความสัมพันธ์กัน คือตอนย่อวอลุ่มแห้งนั้น แท่งราคาควรสั้นมาก ถึงขั้นโดจิยิ่งดี
ต่อมาคือวอลุ่มของแท่งไปต่อ หากวันที่ย่อมันแห้งจริง ท่านจะดูง่าย เพราะแค่ครึ่งชั่วโมงแรกก็ชัดเจนแล้ว ทำให้ท่านตัดสินใจได้ง่าย
สรุปคือเน้นหุ้นที่ย่อวอลุ่มแห้งสุดๆไว้ก่อน จะได้สังเกตง่าย ไใ่ต้องตีความเยอะ

๒) ระยะเวลาในการย่อ หรือจำนวนแท่ง ต้องไม่มาก
จะดีมากถ้าย่อไม่กี่แท่ง วอลุ่มแห้ง แล้วจากนั้นก็ดีดแรงไปต่อ
ยิ่งย่อวอลุ่มแห้ง แช่นานๆ ไม่ไหวครับ เพราะมันสร้างความอึดอัดให้กับคนถือ ดีไม่ดี มีอึดอัดเทขายให้ราคาร่วง แทนที่จะวิ่งขึ้นก็เห็นบ่อยครับ



๓) แท่งไปต่อ ถ้ามัน breakout ด้วย จะน่าเชื่อถือมาก
ใครที่เชื่อว่าหุ้นวอลุ่มเข้าแล้วต้องวิ่ง บอกเลยว่าคุณคิดผิด
ไม่เสมอไปนะครับ บางครั้งมันเป็นแค่การโยนหุ้นเล่นๆของคนว่างงานเท่านั้น
เมื่อมันไม่เป๊ะแบบนี้ ท่านควรดูการเคลื่อนไหวของราคาประกอบครับ
ว่ามันต้องวิ่งขึ้น โดยพื้นนฐานคือการ breakout ถึงจจะน่าเชื่อถือ

๔) price pattern ของการย่อ
ดีที่สุดคือ high tight flag ทรงนี้พักตัวสั้นและดีดแรง
รองลงมาคือ bullish flag ย่อลึกกว่า แต่ก็ดีดดีเช่นกัน
VCP เล่นยากกว่า เพราะมันใช้เวลานาน จึงมีโอกาสล้มเหลว ต้องเป็นช่วงตลาดกระทิงถึงจะเวิร์ค

๕) แน่นอนว่า มันต้องเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งด้วย
สื่อว่า demand แข็งแกร่งกว่า supply อย่างคนละชั้น
ตอนแท่งเขียววิ่งขึ้นวอลุ่มสูง พอแท่งแดงหรือโดจิ(ย่อกับหยุด)วอลุ่มแห้ง






ลองเอาไปทำการบ้านต่อกันเองครับ



(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ



www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

เส้นทางการเทรดและวิธีเทรดปั้นพอร์ต 100% ++ ของ Leoš Mikulka

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP หรือ Volatility Contraction Pattern

วิธีการอ่านสัญญาณแท่งเทียน (Candlesticks Reading) สำหรับมือใหม่