การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

วิธีเลือก, ดูแนวโน้ม, Volume และ Price Action ของหุ้น Growth Stocks ตามแนวคิด CANSLIM


บทความนี้ผมเอามาจากคลิปของช่อง Zazen Capital นะครับ พอดีค้นหาคลิปของ CANSLIM มาดูเพื่อเสริมความรู้ ก็ไปเจอมัน เห็นรายละเอียดที่น่าสนใจ น่าจดจำและนำไปใช้มาก
จึงขอขโมยมาทำเนื้อหาภาษาไทยให้อ่านกัน ที่สำคัญคือทำให้ตัวเองจำได้นั่นเอง

อ้อ... ผู้ผลิตคลิปนี้ก็คือสมาชิก meetup.com/TacomaIBD ที่ใช้แนวทางการเทรดตามหลักของปู่โอนีล เจ้าของแนวคิด CANSLIM นั่นเอง

นี่คือคลิปต้นฉบับนะ เผื่อใครต้องการแหล่งอ้างอิง หรือขี้เกียจอ่าน



มาดูรายละเอียดกันเลย

เขาเริ่มต้นจุดซื้อตามระบบของเขาคือ
- เขาจะซื้อเมื่อราคาทะลุจากฐานราคาที่น่าเชื่อถือ
- โดยฐานราคานั้นต้องอยู่ในขั้นที่ 1 หรือ 2 เท่านั้น
- ตอนที่ราคา breakout วอลุ่มต้องสูงกว่าช่วงที่ราคาสร้างฐาน 40% ขึ้นไป
-  สัดส่วนของการ take profit กับ stop loss คือ 3 ต่อ 1
- ในสภาวะตลาดเป็นขาขึ้น จะ take profit 20-25% และ stop loss 7-8%
- ในสภาวะตลาดเป็นขาลงหรือไร้ทิศทาง จะ take profit 10% และ stop loss 3%


อันดับแรกพวกเขาจะหาหุ้นเก็บเข้า watchlist ด้วยพื้นฐาน
๑) เลือกหุ้นที่สถาบัน(บ้านเราก็คือเจ้ามือ หรือ smart money) ชอบ
- ราคาวิ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
- ราคาอยู่ในฐานที่ 1 หรือ 2
- EPS และ ยอดขายโต 25%
- EPS และยอดขายในรอบ 3 ปีล่าสุด โต 25 - 50% หรือมากกว่านั้น
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรสามารถโตได้อีก
- ROE รายปีสูงตั้งแต่ 17% ขึ้นไป
- มีสินค้าใหม่ บริการใหม่ การบริหารจัดการใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
- วอลุ่มตอนที่ราคา breakout สูงกว่าช่วงพักตัวอย่างน้อย 40%
- เป็นหุ้นที่มีความสามารถทำกำไรอยู่ในอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม

คือแนวทาง CANSLIM ไม่ได้มีเจตนาซื้อหุ้นที่ราคาต่ำสุด ไปขายที่ราคาสูงสุดแบบวีไอ
แต่เราจะซื้อแพง เพื่อขายในราคาที่แพงกว่า
ดังนั้นเราจึงซื้อหุ้นที่เป็นขาขึ้นอยู่แล้ว แต่ว่าก่อนหน้านี้มันพักตัวเนื่องจากตลาดปรับฐาน

เมื่อ SET ปรับฐาน ทำให้หุ้นทุกตัวในตลาดปรับฐานตาม แต่ด้วยความที่หุ้นพื้นฐานดี ยังมีสถาบันหรือ smart money คอยดูแลอยู่ (บ้านเราก็เป็นสายวีไอนั่นแหละครับ) พวกเขารู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นดีอยู่แล้ว รู้ว่าหุ้นตัวไหนพื้นฐานดีแต่ร่วงเพราะตลาดเน่า ถ้าวีไอเปรียบเทียบว่าราคาปัจจุบันกับราคาในอนาคตมันมี upside มาก พวกเขาก็จะเข้ามาเก็บหุ้นจนทำให้ราคาหยุดลง และดันราคาให้ขึ้นไปใหม่

ซึ่งมันก็คือลักษณะของหุ้น Growth นั่นเองครับ
CANSLIM เขาชอบหุ้นเติบโตมาก และวีไอก็ชอบเหมือนกัน เพราะเล่นง่ายกำไรง่าย
เพียงแต่ว่าวีไอเขาซื้อเมื่อราคาลงหนักๆ เขาสนุกที่ได้ซื้อของดีราคาถูก
แต่ CANSLIM ซื้อเมื่อราคายืนยันขาขึ้น เราสนุกเมื่อได้ซื้อของดีทีราคาออกตัววิ่งขึ้นต่อ
ต่างก็ชอบหุ้น growth เหมือนกัน แต่จุดซื้อต่างกันครับ



ถึงกระนั้นช่วงเวลาที่พวกเขาชอบมากก็คล้ายกัน
นั่นคือ พวกเขาขอบตอนที่ดัชนีปรับฐาน ตลาดลงหนัก
เพราะพอตลาดลงหนัก หุ้นไม่ว่าจะพื้นฐานดีหรือเลว โดนขายเพราะคนกลัว
เมื่อมีความกลัวเข้ามาในตลาด ไม่ว่าหุ้นตัวนั้นจะมีพื้นฐานดีแค่ไหน ราคาก็ร่วงหนักครับ
ตรงนี้แหละที่นักลงทุนทั้งวีไอและ CANSLIM ให้ความสำคัญ
เพราะถ้ามันเป็นหุ้นดี มีแนวโน้มเติบโตได้อีก ราคาจะวิ่งกลับมาเร็วมาก
เมื่อราคาดีดเร็ว กำไรก็ได้ไวและงามสิครับ


ดังนั้นช่วงที่ SET ปรับฐาน หุ้นทั้งตลาดลงหนัก จะเป็นโอกาสที่ดีงามที่สุด
นักลงทุนวีไอ จะดีใจ ขยันทำงานหนัก เพื่อหาหุ้นดีราคาถูก และรีบซื้อจับจองไว้ก่อน
แต่ด้วยความที่ CANSLIM ไม่มีความรู้เรื่องมูลค่า เราจึงรอดูการกลับตัวของราคาแทน
เพราะเชือว่าถ้าหุ้นพื้นฐานดีมาก่อน หากมันยังไม่จบรอบ เดี๋ยววีไอก็ยันและไล่ราคากลับขึ้นมา
เราไม่ต้องไปซื้อของราคาถูกแย่งกับเขา แต่ดูทรงของราคาแทน ถ้ามันมีแนวโน้มว่าสามารถวิ่งขึ้นไปต่อได้อีกแน่ ด้วยการดูการ breakout ฐานราคา cup with handle, double bottom, vcp, high tight flag, bullish flag  ฯลฯ พร้อมวอลุ่ม ก็ตามไปได้เลย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็รู้ว่าหุ้นทุกตัวไม่ใช่ของจริงที่มันจะ growth ได้ต่อเนื่อง ดังนั้นการเริ่ม take profit ที่ 20% จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลมากกว่าดันทุรังจะเอาเด้งให้ได้  ให้วีไอเขาได้เด้งไปไป ส่วนเราเอาเท่าที่ทรงของราคาวิ่งแรงๆก็พอ เมื่อเห็นสัญญาณไม่สวยก็ขายออกไปก่อน



แบบไหนรวยกว่า?
ถ้าเทียบกันนะ ผมว่าแนวทางการลงทุนแบบวีไอ รวยกว่าแบบคนละชั้นเลย
เพราะวีไอเขามีความอดทนมากกว่า ลึกซึ้งกว่า ทำให้รู้มูลค่าที่แท้จริงของกิจการนั้น โดยการซื้อเมื่อราคาหุ้นร่วงหนักก็ยิ่งทำให้เขามีส่วนต่างมากขึ้น ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับความพยายามดีที่สุดแล้ว ใครพยายามกว่า กล้ากว่า ก็ได้ผลลตอบแทนสูงๆไป

แต่ท่านต้องเก่งจริงๆนะครับ ต้องรอบคอบ มีก๊วนช่วยหาข้อมูลมาแชร์กัน
เล่นแบบข้ามาคนเดียวไม่รอดครับ เพราะ bias ท่านจะสูงเกินไป ทำให้เข้าข้างหุ้นที่ตัวเองอยากซื้อ
ทำให้เข้าถัวหุ้นที่พื้นฐานไม่ดีแต่เราเชื่อว่ายังดี ยิ่งถัวยิ่งเสียหายหนัก
ถ้าอยากรวยแบบวีไอ ท่านต้องเอาให้สุด ต้องละเอียด มองรอบด้านจริงๆ
ไม่ใช่แค่วีไอเพราะถือยาว นั่นคือเม่าคิดครับ

ส่วน CANSLIM ด้วยการที่เราไม่ต้องการเสี่ยงรีบเข้าไปรับมีดตอนที่ราคาต่ำๆ แต่จะซื้อเมื่อราคายืนยันขาขึ้นแล้ว พร้อมวิ่งทำกำไรให้ทันที เราจึงได้ต้นทุนที่สูงกว่า แถมการขายหุ้นก็รีบขายก่อนเขาด้วย จึงได้กำไรน้อยกว่า
แต่มันก็เป็นสไตล์และจริตของใครของมันครับ

ประเด็นไม่ใช่ว่า "คุณอยากเป็นใคร" แต่การรู้ว่า "คุณเป็นใคร" ต่างหากที่สำคัญกว่า

ผมเองช่วงแรกก็เคยคิดจะเป็นวีไอ แต่สมองไปไม่ได้จริงๆ คำนวนมูลคค่าที่เหมาะสมก็ไม่เป็น แถมในหัวมีแต่อคติ จึงมักพลาดถัวเฉลี่ยขาลงบ่อยครั้ง พอขาดทุนจนหัวหงอกจึงเริ่มคิดได้
จึงลองย้ายฝั่งมาเทรดแบบเทคนิคอล แต่ในใจก็ยังศรัทธาในเรื่องของพื้นฐานอยู่ เลยเอามาผสมผสานกัน เพื่อให้ตัวเองได้มีที่ยืนในตลาด อันจะทำเงินกับเขาได้บ้าง ซึ่งแนวทางนี้ก็ไปสอดคล้องกับ CANSLIM ก็เลยพยายามเรียนรู้วิธีการของปู่โอนีลมาพัฒนาแนวทางการเทรดของตัวเองให้ดีขึ้น เลยกลายเป็นการส่งเสริมกัน ทำให้เราเห็นมุมมองและวิธีการทำเงินที่ดีกว่าและปลอดภัยขึ้น



จากนี้ไปก็คือ S-L-I-M อันเป็นเรื่องของเทคนิคอลล้วนๆ

๒) ดูแนวโน้ม ว่าเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง หรืออ่อนแอ หรือกำลังเปลี่ยน?
- ดูดัชนีก่อนเลยว่ามันเป็นขาขึ้นหรือขาลง?
ด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 200 วันเป็นตัวช่วยดู
ถ้าถ้าหุ้นส่วนใหญ่ในตลาด หรือดัชนียืนเหนือเส้นนี้ ก็ให้มองว่าขาขึ้นยังพอได้อยู่
- จากนั้นให้ดูจำนวนหุ้นที่ทำ 52 week high ถ้ามีเยอะแสดงว่าแข็งแรง แต่มีน้อย หรือไม่มีเลย แสดงว่าอ่อนแอ
ที่ต้องเช็คสภาพตลาดก่อนก็เพราะว่า การเทรดสวนเทรนด์นั้นได้เงินยากครับ เพราะคนส่วนใหญ่คิดสวนทางเรา เราซื้อแต่เขาขาย จะได้ตังค์ยังไง? แค่คิดก็ผิดแล้ว
- เช็คว่าอุตสาหกรรมไหนนำตลาด อยู่ ก็ดูพวกที่เป็นขาขึ้นนั่นแหละครับ กลุ่มไหนวิ่งดีกว่าชาวบ้าน
- เมื่อได้กลุ่ม ก็เจาะลงไปหาหุ้นนำตลาดในอุตสาหกรรมนั้นๆครับ
หุ้นนำตลาดก็คือหุ้นแข็งกว่าตลาด ยืนดีกว่าตลาด สูงกว่าตลาด พูดง่ายๆคือเป็นขาขึ้นนั่นแหละ
โดยหุ้นพวกนี้ต้องมีจำนวนมาก และต้องมีการ breakout จากฐานให้เห็นทุกวัน
โดยฐานราคาที่ว่านั้นต้องเป็นฐาน 1 กับ 2 (หรือต้นเทรนด์ ราคาเพิ่งฟื้นตัว) นะครับ
ไม่ใช่ฐานสุดท้ายรอกลับตัวเป็นขาลง


เมื่อเอาทั้งสามจุดมาใช้ร่วมก็จะเป็นแบบนี้ครับ คือ
๑) เริ่มจากดูดัชนีก่อน ว่าเป็นขาขึ้นมั้ย
๒) ถ้าดัชนีเป็นขาขึ้น ก็หากลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง นำตลาด
๓) จากนั้นก็หาหุ้นที่แกร่งสุดในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหุ้นนำตลาดนั่นเอง


ลักษณะของแนวโน้ม ดูง่ายๆแบบนี้แหละ

ราคาวิ่งเฉียงขึ้น = แนวโน้มขาขึ้น
ราคาวอ่งออกข้างในแนวรันาบ = ไร้แนวโน้ม หรือ sideway
ราคาวิ่งเฉียงลง ดิ่งลง = แนวโน้มขาลง
อย่าคิดเยอะ เอาแบบที่เห็นชัดเจน ถ้ายังคลุมเครือก็ทิ้งไปก่อน รอให้ชัดเจน

ดูความแข็งแกร่งของแนวโน้มด้วยจำนวนแท่งเทียนที่วิ่งขึ้นกับวิ่งลง


ให้สังเกตจำนวนหรือความยาวแท่งเทียนเขียว ถ้ามีมากกว่าแท่งแดง หรือดีดขึ้นแรงแต่ย่อตื้น ก็สื่อชัดว่าแนวโน้มขาขึ้นแกร่ง
แต่ถ้าเขียวน้อยลง แดงมากขึ้น ราคาทำนิวไฮอย่างยากลำบาก ก็สื่อว่าแนวโน้มอ่อนแอ ไกล้เปลี่ยน


อีกวิธีคือลากเส้น Channel line พาดจุดสูงสุดหรือต่ำสุด ถ้าชันมากก็แกร่งมาก
โดยการลากจากจุดต่ำสุด ช่วยระบุแนวรับของแนวโน้มได้ด้วย หากราคาทะลุลงก็สื่อว่าแนวโน้มเปลี่ยน


สำหรับสายอินดิเคเตอร์ เอา ADX มาช่วยได้
ADX > 30 กับ +DMI > -DMI
ก็ช่วยยืนยันได้เหมือนกัน


เปอร์เซ็นต์บวกของโดยรวมก็ช่วยได้เหมือนกันครับ (ผมขอปรับเป็นของไทยไปเลยก็แล้วกันนะ)
- ดัชนีบวก 7% ขึ้นไปในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ตลาด MAI บวก 10% ขึ้นไป
- หุ้นนำตลาดบวก 15-25%
- หุ้นที่คุณถืออยู่ มันบวกไปเป็นเด้ง (น่าอิจฉายิ่งนัก)


หากดูเส้นค่าเฉลี่ยก็จะเป็นแบบนี้
- ราคาวิ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ยสำคัญ เช่น 200 วัน
- หุ้นนำตลาด ราคาวิ่งเหนือเส้นค่าเฉลี่ยโมเมนตัมอย่าง EMA 9 ได้
- พอราคาน่อก็ลงไปเด้งที่เส้น EMA20 เท่านั้น
- หรือตัวตามพอย่อก็ไปเด้งที่เส้น SMA50, 100 หรือ 200 อันเป็นโซนขาขึ้นนั่นเอง

การย่อหรือพักตัว

การย่อและพักตัวของราคา
- การย่อของแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งนั้น เขาบอกว่าถ้าบวก 20 ควรย่อแค่ 2 เท่านั้น หรือ 10% retracement ของ fibonacci
- ระยะเวลาการย่อสำหรับหุ้นขาขึ้นแข็งแกร่งคือ 3-7 วัน หลังจากที่ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้
- ตอนย่อ วอลุ่มต้องลดลง น้อยจากตอน breakout ยิ่งมากยิ่งดี
- หลังจากพักตัว ราคาต้องดีดขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง และวอลุ่มต้องเพิ่มสูงกว่าตอนย่อ


Wide rage bar หรือ (WRB) แท่งเทียนขนาดยาวมากกว่าที่เคย
ตอนที่ราคา breakout ต้องเขียวยาวแบบกลืนกิน ขนาดยิ่งยาวกว่า 5 วันก่อนได้ ยิ่งสวย
ยาวไม่พอต้องปิดสวย คือปลายไส้บนต้องไม่มี หรือถ้ามีก็ควรจะสั้นมากๆ เพราะมันสื่อว่า demand หรือแรงซื้อแข็งแกร่ง
ทำให้เรารู้สึกว่าพลังในการขึ้นนั้นยังรุนแรงและแข็งแกร่ง มีโอกาสขึ้นต่อได้อีก

ในทางขาลง แท่งแดงยาวก็สื่อว่า supply แข็งแกร่ง แบบนี้มีโอกาสลงต่อได้อีก

วอลุ่มของแท่ง WRB ก็ต้องสูงด้วย
เขาบอกว่าการที่ราคาทำแท่งเขียวยาววอลุ่มสูง สื่อว่ามันเป็นแท่งสะสมหุ้น
ตรงข้าม ถ้าเป็นแท่งแดงก็สื่อว่าเป็นแท่งแจกจ่ายหุ้น


ระลอกการเคลื่อนที่ก็บอกแนวโน้มได้เช่นกัน
เขาเอาแนวคิดของอีเลียตเวฟมาใช้ คือ แนวโน้มที่โดดเด่นจะมีขยักการขึ้นอยู่ 3 ขยัก
ขาลงก็เช่นกัน มี 3 ขยัก ซึ่งมันเป็นการตั้งข้อสังเกตเท่านั้นนะ ต้องไปศึกษาเรื่อวการนับคลื่นกันเอง




Volume และ Price Action

มาต่อกันอีกคลิปนะครับ ซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว
ต้นฉบับคือคลิปนี้นะ


เริ่มต้นด้วยลักษณะของวอลุ่ม


ในช่วงขาขึ้นนั้น ทรงของวอลุ่มจะเป็นดังนี้
๑) แท่งวอลุ่มสูงโดดเด่นเห็นเป็นระยะ ภาษาเขาเรียกว่า skyscrapers หรือ ตึกระฟ้า คือมันแทงยอดสูงเด่นกว่าชาวบ้านชาวช่อง (ดูรูปเล็กซ้ายมือท่านนะ รูปล่าง) เขาบอกว่ามันเป็นสัญญาณการเข้าซื้อของสถาบัน(หรือเจ้ามือ) เพื่อสะสมหุ้น
๒) วันที่ราคาวิ่งขึ้น(เขียว) มีมากกว่าวันย่อ(แดง) โดยตอนที่ราคาวิ่งขึ้นวอลุ่มเพิ่มสูงกว่าตอนที่ราคาย่อ มันจึงออกไปในลักษณะ skyscrapers ไงครับ
๓) วอลุ่มเพิ่มขึ้นไปตามการวิ่งขึ้นของราคา


ช่วงที่ราคาพักตัวในขาขึ้นนั้น วอลุ่มในตอนราคาย่อจะน้อยลง
และจะสูงกว่าเดิมในตอนที่ราคาฟื้นตัวขึ้นไป โดยเฉพาะตอนที่ breakout แท่งราคาจะต้องเขียวยาวดูแข็งแกร่งและมาพร้อมกับวอลุ่มที่สูงแบบตึกระฟ้า หมายความว่าเจ้ามือต้องการสะสมหุ้น

แต่เมื่อแนวโน้มเริ่มอ่อนแรงลง การดีดขึ้นจากช่วงพักตัว วอลุ่มจะน้อยลงกว่าเดิม แสดงว่าเจ้ามือไม่ต้องการสะสมหุ้นอีก คิดแค่อยากสนุกรอบสุดท้ายไวๆเท่านั้น ราคาจึงมีโอกาสกลับตัว เปลี่ยนแนวโน้ม


วอลุ่มกับระยะการเคลื่อนที่ของราคา
ในช่วงราคาลงไปทำจุดต่ำสุด ไกล้กลับตัว วอลุ่มจะออกมาสูงกว่าที่เคย แต่ราคาไม่ยอมลงต่อ หรือเป็นแท่งสั้น แบบนี้สื่อว่าแนวโน้มถูกสกัดกั้น ไกล้ถึงจุดกลับตัว

ลักษณะเดียวกันกับช่วงสุดท้ายของขาขึ้น หากท่านเห็นวอลุ่มเพิ่มสูง แต่แท่งราคาสั้นลง หรือไปไม่ไกลเมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขาย แบบนี้ก็สื่อว่า ไปต่อไม่ได้ไกลแล้ว


ลักษณะของราคาปิด ก็สามารถบอกการสะสมได้เช่นกัน
- ราคาปิดไกล้ยอดมาเท่าไหร่ ก็สื่อว่าแนวโน้มยังแข็งแรง
- โดยราคาปิดของแท่งเทียนวันนี้ ต้องสูงกว่าวันก่อน
- จุดต่ำสุดของแท่งเทียนวันนี้ ต้องสูงกว่าวันก่อน
- ราคาปิดต้องสูงกว่าครึ่งของการแกว่งตัว(จุดสูงสุดต่ำสุดของแท่งนั้น) โดยถ้าปิดไกล้ยอด แค่ 25% หรือน้อยกว่านั้นได้ ก็ยิ่งดีใหญ่


Laps คือแท่งราคาเปิดซ้อนกันกับเนื้อหรือไส้ของวันก่อน
ถ้ามันเกิด ท่านจะห็นเป็นแพ็คของแท่งแบบนี้เลย ต่อเนื่องกันหลายวันติด
มันเป็นการบ่งบอกว่ามีความต้องการซื้อหุ้นที่แข็งแกร่งมาก
ทางขาลงก็เข่นกัน โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมา SET ลงต่อเนื่อง หุ้นเกือบทั้งตลาดทำท่าแบบนี้กันหมด


การทำจุดสูงสุดใหม่
- การที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ได้ มันเป็นสัญญาณของความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะวันต่อไปไปมันยังวิ่งต่อทำนิวไฮได้อีก นั่นคือความสุดยอด
- ถ้าราคาย่อหรือพักตัว แล้วต่อมามันพยายามดีดขึ้นไปเพื่อทำนิวไฮแต่ปรากฏว่ายืนไม่อยู่ แสดงว่าเกิดสัญญาณอ่อนแอให้เห็นแล้ว
- แม้บางตัวราคาสามารถดีดขึ้นไปทำนิวไฮได้ แต่จากนั้นมันยืนไม่อยู่ ราคาร่วงกลับมาวิ่งต่ำกว่าระดับ breakout แสดงว่าสัญญาณเริ่มไม่ดี คืออ่อนแอมาขึ้น
- ถ้าราคาพยายาม breakout เพื่อทำนิวไฮไปอย่างน้อย 3 ครั้งแล้ว แต่ก็ไม่เคยผ่านได้เสียที นั่นสื่อว่าสัญญาณอ่อนแอเอามากๆ เป็นสัญญาณขาย (เขาบอกว่าเจอบ่อย แต่ไม่ใช่ทุกตัว)


Wide Range Bar แท่งเทียนขนาดยาว (WRB)
- ถ้าแท่งเทียนเขียวยาวมากกว่า 5 วันก่อนหน้า หมายความว่า มี demand ที่แข็งแกร่ง
- ถ้าแท่งนั้นราคาปิดสวย (คือทิ้งไส้น้อย หรือปิดเต็มแท่ง) เป็นสัญญาณการสะสมหุ้น
- ถ้าปิดสวย แล้ววอลุ่มยังสูงด้วย มันเป็นสัญญาณการสะสมหุ้น

ตรงกันข้าม ถ้าเป็นแท่งแดงที่ยาวกว่า 5 วันที่ผ่านมา + วอลุ่มสูง = สัญญาณแจกจ่าย
แม้ว่าจากนั้นจะมีการไล่ซื้อให้ราคาเป็นแท่งเขียวยาวกลับไปยืนที่เดิมได้ แต่ให้ท่านคิดไว้ก่อนว่ามันเป็นสัญญาณการสะดุ้งเฮือกสุดท้ายก่อนกลับตัวแรง หรือเป็นเวฟ 5 นั่นเอง


การบีบตัว-ขยายตัวของราคา
- การบีบตัวของราคา หลังจากที่ย่อแรง ถือเป็นสัญญาณ demand แข็งแกร่ง
- แต่ถ้าราคาดีดแรงแท่งยาวหหลังจากที่มันเป็นขาขึ้นมาอยาวนาน เป็นสัญญาณจบรอบ (climax run)
- หากราคาร่วงแรงแท่งแดงยาวติดต่อกัน จากนั้นก็ดีดแรงแท่งเขียวยาวกลับไป (V cup)  แบบนี้ก็ถือว่าเป็นสัญญาณเตรียมตัวจบรอบเช่นกัน ยิ่งถ้าไม่สามารถทำนิวไฮได้ ยิ่งชัดเจน
ปล. ไม่ใช่ทุกตัว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้


Outside Day สัญญาณการไปต่อ(ไฟเขียว)
Outside Day คือลักษณะของแท่งเทียนของวันนี้ มีขนาดใหญ่กว่าแท่งของวันก่อน ในลักษณะของ
ลักษณะที่น่าเชื่อถือของ Outside day ที่บ่งบอกว่าราคากลับตัวแน่
๑) ราคาวิ่งไปปิดเหนือแท่งเทียนวันก่อนได้มิด หรือปิดได้สูงกว่า แสดงว่ามันพร้อมวิ่งไปตามแนวโน้มขาขึ้นเหมือนเดิมแล้ว
๒) ยิ่งราคาปิดสวย คือปิดแบบไม่ทิ้งไส้ หรือไส้สั้นมาก ยิ่งแข็งแกร่ง
๓) หากแท่งนี้เกิดหลังจากที่ราคาพักตัว แสดงว่าการพักตัวจบลงแล้ว

ดังนั้นแท่งนี้จึงสำคัญมากสำหรับคนที่ชอบซื้อหุ้นจ่อเบรค หลังจากที่มันพักตัว

Outside day ในทางลบก็คือ ราคาทิ้งไส้ยาว หรือ false breakout นั่นเอง
เจอแบบนี้ให้มองว่ามันลบมากกว่าบวก ให้ขายหุ้นออกไปก่อน


Inside day สัญญาณการพักตัว(ไฟแดง)
Inside day ก็ตรงข้ามกัน คือมันเป็นสัญญาณการหยุด
หลังจากที่ราคาทำแท่งเขียวยาวไปแล้ว ส่วนใหญ่มันจะต้องใช้เวลาพักตัว
ตอนนี้เองแหละที่ท่านจะเห็นลักษณะของ inside day
ซึ่งมันคือการพักตัว หยุดไปต่อ เพื่อรอการตัดสินใจอีกครั้ง โดยจากนั้นมันจะลงหรือขึ้นก็ได้นะ






เอาทุกอย่างมารวมกันก็จะออกมาในรูปแบบนี้ ท่านก็ลองละเลียดทำความเข้าใจอีกรอบกันเองนะ


ถ้าท่านอยากได้หนังสืออ้างอิงที่เป็นเคสไทยๆ ก็แนะนำงานของผม สองเล่มนี้
เพราะผมเองก็เป็นสาวกของแนวทางนี้ การเทรดของผมก็เลียนแบบเค้ามา
แต่ก็ไม่ได้ก็อปปี้แบบเป๊ะๆหรอกนะ มีปรับบ้างตามจริตของตัวเอง และสภาพตลาดบ้านเรา
สนใจก็ติดต่อไปที่เพจ Zyo Books :  facebook.com/zyobooks นะครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)