การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

ความผิดพลาดหุ้นต่ำบาท TH, SMART & TRITN


วานก่อนผมเกริ่นว่าจะแชร์เคสที่ผิดพลาด ซึ่งมีเยอะมาก แต่จะขอคัดเอาที่มันน่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้ระวังหุ้น และระวังตัวผู้เขียนให้ดี ว่าอย่าเชื่อกันมาก ไม่งั้นท่านจะผิดหวังกันอย่างรุนแรง
โดยหุ้นที่ผมประสบเหตุขาดทุนคือหุ้นต่ำบาทสองตัว

เอาสาเหตุก่อน ว่าทำไมจู่ๆผมจึงลงไปเล่นหุ้นต่ำบาทอีกครั้ง
นั่นเป็นเพราะว่า ในช่วงที่ SET ร่วงแรง ผมก็เริ่มทำการบ้าน ไล่ดูหุ้นแข็งกว่าตลาด ก็พบหุ้นต่ำบาทหลายตัววิ่งดี บวกแรง ท้าทายอำนาจตลาดอย่างน่าชื่นชม

EMC บวกไป 300%

UREKA ก็บวกไป 300%

จึงคิดว่า หรือตลาดจะลงไปขุดหุ้นต่ำบาทมาเก็งกำไรกันอีกรอบ?
ผมก็เลยเข้าไปค้นหุ้นต่ำบาททรงสวยๆมาดักสะสมไว้

เดี๋ยวจะไล่เรียงให้ท่านดูตั้งแต่แรกเข้า ตามบันทึกการเทรดของผมเองนะครับ

เริ่มจาก TH
ผมเห็นว่ามี demand สวย และตลาดร่วงมันก็ยังยืนแข็งโป๊กเลย น่าสนใจมาก


ด้วยความชะล่าใจ จึงรีบเข้า "ซื้อดัก" ที่ราคา 0.90 โดยให้ระดับ 0.88 เป็นด่านสุดท้ายเพื่อหนี

ปิดตลาดมันไม่ยอมวิ่งครับ แถมปิดต่ำกว่าทุนหนึ่งช่อง ลบไป 1.28% เยอะเลย แค่ช่องเดียว
แต่เมื่อยังไม่หลุด ผมก็ทนต่อ

วันต่อมามันก็ยังยืนได้ ทำโดจิ วอลุ่มหด ดูดี ก็คิดว่า voodoo แน่ เดี๋ยวมีดีดแรง

พออีกวัน แทนที่จะดีดขึ้นตามใจเรา
มันกลับร่วงแรง แถมหลุด 0.88 ผมก็เลยต้องทยอยขายออกไปครึ่ง
ที่ไม่กล้าตัดใจขายหมดเพราะเปอร์เซ็นต์มันเยอะ 2.39% ทำใจยาก เลยเฉือนดีกว่า
สาเหตุหลักคือก่อนหน้านี้ ผมขายหุ้นขาดทุนกำไรไปด้วยใง จิตตก (เดี๋ยวจะมีอีกบทความที่ว่าด้วยเรื่องนี้)
ทำให้การตัดสินใจขายขาดทุน ยากกว่าเดิม
แต่ด้วยความที่เราต้องทำอะไรสักอย่างตามระบบ จึงต้องขายเพื่อลดความเสี่ยง


วันต่อมา เปิด gap ลง ผมคิดว่าทุกอย่างจบแล้วครับ ขายออกทั้งหมด

ขาดทุนไป 5.7% ซึ่งเกินกว่าความตั้งใจว่าไม่ให้เกิน 3% ไปเท่าตัวเลย
ถือว่าสุดวิสัย เราไม่คิดว่ามันจะเปิด gap ลงอย่างนี้

แต่พอวันต่อมา มันมีการซื้อกลับขึ้นไปเฉยเลย
แต่ผมก็ไม่รู้สึกเสียดายอะไร เพราะเราทำตามระบบ ทำดีที่สุดแล้ว
คือตอนนี้เราไม่เถียงตลาด ไม่สู้ตลาด แต่มุ่งเน้นบริหารจัดการตัวเองให้ทำตามระบบมากที่สุด
ถ้าตลาดมันจะหลอกก็ให้หลอกไป เราดูแลตัวเองไว้ก่อนเป็นดี
ซึ่งต้อตอความผิดพลาดคือเราเอง ที่ดันมาเลือกเล่นหุ้นต่ำบาท ที่เสี่ยงเกินระบบ


ถือเป็นการให้ประสบการณ์ที่ดีสำหรับผมว่า หุ้นต่ำบาทชักจะไม่เหมาะกับตัวเองเสียแล้ว


ตัวต่อมาคือ SMART
ผมเห็นว่ามันฟื้นตัวได้ดี แถม breakout ได้ ก็เลยเข้า ที่ราคา 1.03
ให้จุดหนีคือ 1 บาท เพราะคิดว่า มันเป็นระดับราคาที่มีนัยยะ น่าจะมีคนเข้ามารับไว้เยอะ


วันต่อมามันไม่ไปต่อครับ พักตัว ปิด 1.01 ขาดทุนเพิ่มเป็น 2.21% เริ่มกังวล

วันต่อมา สวิงแรงขึ้น แต่เป็นในทางลงมากกว่าขึ้น ก็เริ่มหวาดเสียว

อีกวัน โดนขายอีกครับ มีกดหลุด 1 บาท ที่ผมคิดว่าแข็งแรงได้ ผมก็เลยเริ่มไม่แน่ใจถึงพลังของ demand จึงปลอยออกไป 70% เพื่อลดความเสี่ยง

อีกวันราคาร่วงต่อ ผมก็ปล่อยออกหมด ถือว่าเราเดาผิด

สรุปคือ ผิดพลาดติดๆกันกับ TH เลยครับ
แต่ก็เสียหายไม่มาก เพราะขี้กลัว จึงรีบออก


ตัวสุดท้ายคือ TRITN
ผมเห็น ว่ามี demand แข็งแรงดี แต่ตอนพักตัว supply สั้นกว่า จึงคิดว่าน่าสนใจ


จึงวางแผนไว้ว่า ถ้าราคาข้าม 0.44 ได้เมื่อไหร่จะตาม เพราะมันข้ามเส้นกด
วิธีสังเกตคือดูวอลุ่มที่เพิ่มขึ้นเป็น pivot point และราคาทะลุขึ้นไปทำนิวไฮ


แล้วในระหว่างวันมันก็ส่งสัญญาณด้วยการเกิดแท่งเขียวงอกขึ้นไป
ผมก็เฝ้าจออยู่ด้วย เห็นมีการงับซื้อทีเป็นแสนเป็นล้านหุ้น คิดว่าเอาแล้ว ไล่ราคาแน่


แถมวอลุ่มก็มาด้วยครับ ผมเลยคิดไปเองว่า pocket pivot แน่ๆ เรารีบเข้าตั้งแต่ตอนนี้ก่อนดีกว่า ไม่ต้องรอให้ราคา breakout หรอก จึงระดมเข้าไปที่ 0.45 บาท
ที่ว่าระดมก็เพราะมีการไล่ราคารุนแรงมาก งับสู้กันสนุก
ผมเองเห็นแล้วก็ทนไม่ไหว กลัวไม่ทัน จึงเข้าไปผสมโรงซื้อกับเขา
ตอนนั้นระดับราคาที่ซื้อขายกันคือ 0.45 บาท ผมก็เข้าไปไม่ถึง 10% ของพอร์ต
ไม่กล้าซื้อมากกว่านี้เพราะเป็นหุ้นต่ำบาท


แต่ปิดตลาด มันไม่ยอมไปครับ กลับมาปิด 0.43 ซึ่งต่ำกว่า 0.45 อันเป็นทุนของผม
ผมขาดทุนไปทันที 4.60% ขนาดลดช่องช่องเองนะครับ ความเสียหาย 4% ไปแล้ว
ซึ่งมันเกิน limit loss ของผมไปแล้ว จึงต้องทยอยขายเพื่อลดความเสี่ยง
คือตอนแรกเราคาดหวังว่ามันจะไปต่อไงครับ แต่กลายเป็นว่ามันหลอกเรา แม้วอลุ่มจะเข้าแต่เมื่อราคาไม่ยอมไปต่อ ผมก็เลยตีความว่า เป็นการแจกหุ้น หรือโยนหุ้นกันเองหรือเปล่า เริ่มไม่น่าเชื่อถือ โดยสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกไม่มั่นคงก็คือ การขาดทุนระดับ 4.6% นี่แหละ หวั่นไหวมาก

ดังนั้น ผมเลยยอมทยอยขายออกจนให้หุ้นเหลือน้อยที่สุดจนเราคิดว่าเสี่ยงน้อย

และวันต่อมามันก็ไม่ยอมไปอีก ผมก็ทยอยขายอีก
แม้ทรงจะไม่เสียนะ แต่ผมเอาตัวเองเป็นหลักก่อน เพราะทุนสูง จึงไม่อยากเอาพอร์ตไปเสี่ยงกับมันมาก เนื่องจากตอนที่เราซื้อก็คาดหวังจะให้มันวิ่งขึ้นทันที นึกออกมั้ยครับ? เมื่อมันไม่ยอมวิ่ง แถมดิ่งสวนทางให้ขาดทุน ผมขอตำหนิตัวเองว่าคิดผิด ด้วยการตัดขายหุ้นออก


สรุปบทเรียนจากการขาดทุนหุ้นต่ำบาทของผม
- ทั้งสามตัว ถือเป็น "ครู" ที่ให้บทเรียนแสนคุ้มค่ากับผมครับ ความผิดพลาดมันทำให้รู้ว่าสิ่งไหนไม่ควรทำอีก สิ่งไหนที่ไม่เหมาะกับตัวเรา ไม่ควรไปยุ่ง เพื่อที่จะย้ายตัวเองไปหาสิ่งที่ใช่จริงๆเท่านั้น

- ผมเข้าแบบ "ซื้อดัก" เพราะเห็นมีการไล่ซื้อกันรุนแรง จึงคิดว่ามันมีโอกาสไปต่อ แทนที่จะรอให้มัน breakout ขึ้นไปยืนได้อย่างชัดเจน เราอยากได้ทุนต่ำ แต่แทนที่จะได้เปรียบ กลับเป็นฝ่านเพลี่ยงพล้ำเนื่องจากหุ้นไม่ยอมไปต่อ แถมปิดต่ำกว่าทุน ทำให้เสียหาย เกิดความเสี่ยง

- ช่องห่างแต่ละช่องของหุ้นต่ำบาทมันมีความห่างเปอร์เซ็นต์สูงมาก คิดดู 2 ช่อง ขาดทุนไป 4.60% ผมว่ามันสูงเกินกว่าที่ผมจะยอมรับได้

- ซึ่งการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เหมือนกันนะครับ แต่ก่อนที่ผมเป็นนักเทรดหน้าใหม่ ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย เห็นแต่โอกาส แต่ไม่เคยให้ความสำคัญกับความเสี่ยง จึงมักจะขาดทุนหนักจากหุ้นต่ำบาทเสมอ พอเราสนใจความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างจริงจัง จึงเริ่มได้คิดว่าการเล่นหุ้นต่ำบาทไม่เหมาะสำหรับตัวเองเสียแล้วครับ ผมต้อง "โฟกัสสนามที่เหมาะตัวเอง" คือขอเล่นหุ้นที่ราคาสูงกว่านี้หน่อย ให้มีช่องว่างระหว่างกันน้อยกว่านี้ พอที่จะยอมรับความเสี่ยงได้แบบสบายใจ จึงพยายามเน้นไปที่หุ้นหลักสิบ หรือเกิน 1 บาทเพื่อที่จะให้ตัวเองมีโอกาสตั้งหลักในช่วงที่ราคามันไม่ไปต่อ

- คือเราต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถบังคับตลาด หรือราคาหุ้นให้วิ่งตามใจเราได้ บ่อยครั้งเราจึงต้องเจอสถานการณ์ที่ซื้อแล้วราคาไม่ไป แถมยังแช่ให้เราอึดอัด และถ้าเรายังขาดทุนอยู่ด้วย ความเครียดขึ้สมองนะครับ ดังนั้นถ้าจะให้เครียดกับการนั่งรอให้หุ้นวิ่ง ผมขออยู่กับหุ้นที่ติดลบน้อยๆหน่อย ไม่เกิน 3% ได้จะดีมาก ซึ่งหุ้นที่เหมาะสมกับความอดทนของผมคือ หลักสิบขึ้นไปครับ

- ผมคิดว่าเรา "ต้องหาเกมของตัวเองให้เจอ" หา "ตำแหน่งที่ใช่" ให้เจอ แล้วเล่นโซนนั้นก็พอครับ ผมว่าแบบนี้คุณจะ happy กับมันมากกว่า "เก่งทุกตำแหน่ง" เป็นผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แถมน่าจะเครียดเอาเรื่องไม่น้อย

- แต่ก็สูตรใครสูตรมันนะครับ ผมมาทางสายเอาชนะตัวเองมากกว่าที่จะไปสร้างปมปัญหาแล้วไล่แก้พอร์ตให้วุ่นวาย คือเรารู้ว่าเราไม่ได้เก่งไปกว่าตลาด ดังนั้นแทนที่จะไปมุ่งมั่นฟาดฟันกับตลาด ตลาดผิดแต่ฉันไม่ผิด ก็ขอมาบริหารจัดการตัวเองให้เรียบร้อยก่อนดีกว่า ทำตัวให้ดี ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูต้อง ถ้าเราเริ่มกลัดกระดุมถูกเม็ด ต่อไปก็ไม่ยุ่งเหยิงครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)