การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

ปัญหาของการรันเทรนด์ในช่วงตลาดผันผวน : RPH, COMAN & ITEL


ขอเอาความผิดพลาดของตัวเองมาเผยแพร่ให้อ่านกันครับ คราวนี้เป็นเรื่องของการพยายามรันเทรนด์ในช่วงตลาดผันผวน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และแทบจะเสียเวลาเปล่า

ตอนแรกผมก็ไม่คิดอยากจะเอามาเขียนให้อ่านหรอกครับ เพราะอาย เดี๋ยวกลัวท่านจะเสื่อมศรัทธา แต่พอมาคิดดูอีกที สิ่งที่ผมทำพลาดไป ถ้าเอามาให้สาธารณะได้อ่าน ก็น่าจะเป็นผลดี เพราะท่านจะได้รู้ว่าสิ่งที่ผมได้ทำลงไปมันไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง

ขออุปมาเหมือนเราไกล้ตายเพราะเป็นมะเร็ง แทนที่จะให้ข้อมูลด้านสวยงามแก่ชาวบ้านดั่งเทพยดา ไม่เคยทำอะไรผิด ก็ให้สตอรี่ที่มาว่าทำไมเราถึงเป็นมะเร็ง ซึ่งมันจะเป็นความรู้และเป็นอุทาหรณ์แก่คนรุ่นหลังจะได้ระมัดระวังอย่าให้เป็นแบบเราแทน

พูดง่ายๆว่าลดอีโก้ตัวเองเพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์จากความผิดพลาด
เขาจะได้ไม่เป็นแบบเรา เราก็จะอาจจะได้บุญมากกว่าด้วยซ้ำไป


ปัญหาของการรันเทรนด์ มันมีมารผจญอยู่มากมาย ทำให้ท่านต้องขายหุ้นออกในจังหวะที่ไม่ควรขาย เพราะสภาพตลาด และทรงของหุ้น ที่ทำให้เราได้กำไรน้อยกว่าความตั้งใจ

คือถ้าสภาพดัชนี หรือ SET มันเอาแน่เอานอนไม่ได้ ข่าวร้ายจากต่างประเทศรุมเร้า ออกข่าวใหม่ได้ไม่ซ้ำ ยิ่งดัชนีดาวโจนส์ร่วงแรงด้วยล่ะก็ ตลาดหุ้นทั้งโลกล้วนดูไม่จืดตาม

ซึ่งช่วงนี้มันทำให้การรันเทรนด์ยากขึ้นอีกหลายเท่าตัว

แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ของการรันเทรนด์ เราล้วนอยากได้กำไรยอะๆ งามๆ
ได้กำไรเป็นเด้ง 100% คือเป้าหมายในฝันของเรา ใช่มั้ยครับ?
เราอยากได้หุ้นพลิกชีวิต หุ้นพลิกพอร์ตกัน
ก็เลยมุ่งเน้น ค้นหาหุ้นที่ทำท่า มีทรงที่น่าเชื่อว่าน่าจะวิ่งเป็นเด้งให้เราได้


แต่เราก็อย่าลืมว่า หน้าที่ของตลาด คือทำให้เราเสียเงิน ขัดขวางไม่ให้เราได้กำไรดังใจหวัง
ด้วยการสร้างความผันผวนให้ราคาหุ้น
- แกว่งแรง ร่วงแรง ให้ตกใจ
- หรือออกข้าง แช่ ไม่ไปไหน ให้เราอึดอัด
ทั้งหมดล้วนทำให้เราเข้าใจผิด และตัดสินใจผิด ขายหุ้นออกก่อนเวลาอันควร

ปีก่อนๆ ผมได้หุ้นเด้งแบบง่ายๆ ก็คาดหวังว่าปีนี้ อยากได้อีกสักตัว จึงพยายามหาหุ้นที่น่าสนใจ มีแววเป็นดาวรุ่งมารันเทรนด์ เพื่อให้ได้กำไรก้อนงามๆ เพิ่มเงินในพอร์ตให้โตขึ้นอย่างน่าพอใจ

แต่ด้วยความที่ปีนี้ ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรงมาก รันเทรนด์ยากเหลือเกิน แต่ตัวเองก็ไม่ยอมแพ้ อยากให้ได้สักตัว และความอยากที่รุนแรงแบบนี้ก็พาให้ผมไปเจอหุ้นที่สร้างผลกระทบอย่างโดดเด่น จนเปลี่ยนมุมมองของตัวเองให้เห็นอะไรมากขึ้นครับ


เริ่มต้นด้วยหุ้น RPH
ตัวนี้ผมเคยอวดว่าซื้อตอนที่ราคาเปิด gap ครับ
ขอไม่เขียนถึงพื้นฐานนะครับ หาเอาเอง เดี๋ยวมี bias

พอซื้อไปแล้วราคาก็ยกกรอบขึ้นไป แล้วก็ย่อลงมาทดสอบต้นทุน
แต่ด้วยความที่ผมชอบพ้นฐานของมัน เลยสู้ครับ ซื้อถัวที่ต่ำกว่าทุน
ซึ่งมันก็ต่ำกว่าทุนประมาณ 2-3 ช่อง เลยไม่เสียหายเยอะ
จากนั้นมันก็ฟื้นตัวขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่

แถมยังวิ่งแรงบวกแรงด้วยนะ ทำกำไรให้เกือบ 20% เลย
แต่ผมไม่ขายครับ เพราะยังฟิน
ตอนนั้นฝันแล้วว่า นี่แหละหุ้นเด้งของผม
จึงทนรวยครับ

ทว่า หลังจากนั้นมันก็ไม่สามารถขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก
แกว่งในกรอบทำให้กำไรสวิงตาม เดี๋ยวบวกแรงเดี๋ยวย่อแรง
ซึ่งผมก็ยังอึด เพราะยังฝันหวานถึงกำไรเป็นเด้ง

จากนั้น SET ก็เกิดอาเพท ร่วงแรงอย่างที่เรารู้กันครับ
หุ้นตัวนี้ก็ร่วงตาม ผมก็ยังมองในแง่ดีนะ เพราะมันเป็นหุ้นแข็งแกร่ง
เราต้องทนถือ เพราะมันมีโอกาสเป็นหุ้นเด้ง ผมเพ้อถึงขนาดนั้นเลย

จนกระทั่งมันร่วงจนถึงจุดได้เสีย คือหลุด neckline ของ triple top
วันแรงมันโดนเขย่าให้แอบหลุด ผมก็ยังไม่ขายนะ เพราะคิดว่าเอาอยู่
แต่พอวันต่อมาราคาปิดต่ำ ก็หมดศรัทธา ขายออก
อีกทั้งตอนนั้น ข่าวตลาดหุ้นบ้านเราและต่างประเทศมันเห็นตรงกันว่าน่ากลัวมาก
ผมเลยจิตตก ขายหุ้นออกเพื่อลดความเสี่ยง
กำไรประมาณ 8% ครับ

ซึ่งตรงนี้เองที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่า
"ราคาเป็นตัวกำหนดการตีความ" คือ
- ตอนที่ราคาวิ่งบวกแรง มันทำให้เราฝันหวาน อยากได้อีก (โลภ) ตอนนั้นนักข่าวก็พยายามหาข่าวดีมาสนับสนุนการขึ้น ทุกอย่างจึงดูสวยหรูไปหมด
- ครั้นเมื่อราคาร่วง มันทำให้เรากลัว คิดว่ามันลงต่อ นักข่าวก้หาข่าวร้ายมาสนับสุนสาเหตุที่หุ้นร่วง เรื่องอยากได้เด้งมลายหายไปหมด เปลี่ยนเป็นกลัว กลัวขาดทุน ทำให้ตัดใจขายออก

หลังจากที่ผมขายออก ราคาก็ลงต่อไปอีกช่องสองช่อง แล้วฟื้นกลับมา
ก็รู้สึกว่าตัวเองโง่พอสมควร เขางอกเลย
"รู้งี้" น่าจะขายตอนที่ราคาวิ่งแรงๆ ถ้าขายตอนบวกเกิน 10% เงินในพอร์ตผมคงโตขึ้นพอสมควร
เคสนี้ทำให้ผมเห็นค่าของการ selling into strength หรือขายล็อกกำไรทันทีเลย
ว่่าเออ มันก็ช่วยให้เรารักษากำไรที่อุตส่าห์ทนถือและเลือกหุ้นถูกตัวเหมือนกันนะ
แทนที่จะอยู่กับฝันหวาน(กำไรเป็นเด้ง)ก็อยู่กับความจริง(ล็อกกำไร) ผมก็กำไรไปแล้ว

ต่อมาครับ COMAN

ตัวนี้ผมได้ทุนค่อนข้างดี
เพราะตัวเองชอบพื้นฐานแบบคนมีอคติน่ะครับ
พอเห็นราคายืนยันการกลับตัวก็เข้า
เป็นตอนที่ราคาเปิด gap พอดี ที่ผมชี้ entry นั่นแหละ
จากนั้นราคาก็ย่อครับ แต่ไม่ลึก โซนต้นทุนนั่นแหละ
ซึ่งเมื่อมันไม่เกิน limit loss 5% ผมก็เลยอดทนกล้ำกลืนฝืนถือ และแอบซื้อตอดอีกเล็กน้อย

ซึ่งมันก็ไม่ลงต่อนะ ออกข้างแท่งสั้นไม่มีวอลุ่ม จนมีวันหนึ่งก็ไล่ราคาแรง
ตัวนี้แปลก ชอบเล่นวันเดียวเลิก วันต่อไปก็ให้เม่าซื้อขายกันเอง
พอวันดีคืนดี แกก็ไล่ราคาขึ้นไปอีก
จากนั้นก็เลิกเล่น ทำแบบนี้หลายครั้ง ผมเหมือนคนโดนจับขึ้นไปเล่นรถไฟเหาะ
แต่ก็ยังทนครับ ผมตั้งใจว่าต้องได้เด้งแน่ๆ (เรื่องฝันกลางวัน ถนัดนัก)

เมื่อคนทำราคาปล่อยให้เม่าเล่นกันเอง ราคาก็ไหลกลับไปกองที่ก้นเหมือนเคย
ผมก็ยังไม่ขายนะ ทนถือ แถมแอบถัวด้วย

ซึ่งกลายเป็นโชคดี เพราะมันไม่ลงต่ำไปกว่านั้น
จากนั้นจู่ๆ เขาก็ไล่ราคาขึ้นไปอีก
แต่คราวนี้เปลี่ยนพฤติกรรมครับ ไล่ต่อเนื่อง ผมก็ฟินสินี่แหละหุ้นเด้งตัวที่สอง
ปีนี้ผมจะรวยเละ ตอนนั้นผมฝันเฟื่องถึงขนาดนั้นเลยครับ

และราคาก็วิ่งขึ้นไปเรื่อยๆครับ จนไปเขี่ย 4.90
ซึ่งถ้าได้ไล่ราคา เขาจะอัดซื้อเร็วและแรง ให้คนอื่นซื้อตามไม่ทัน
พอถึงโซนยอดก็จะโดนสวนไม้ใหญ่ แล้วร่วงแรงแบบขายตามไม่ทัน
ก็ไม่รู้ว่าเขาเล่นอะไรกัน บ้านไม่มีเพื่อเล่นหรือยังไงไม่ทราบ
ตอนนั้นผมเองก็ฟินตามราคาที่บวกได้ทุกวัน จนกำไรบวกไปถึง 36%
แต่ผมไม่ขายครับ เพราะอยากได้เด้ง

แล้วจากนั้น เมื่อผมไม่ขาย คนทำราคาก็เอาอีก คือปล่อยให้เม่าเล่นกันเอง
ราคาก็ร่วงสาละวันเตี้ยลง เตี้ยลง แต่ผมก็ไม่ยอมขาย
เพราะมองว่ามันเป็นหุ้นแข็งแกร่ง คงย่อไม่ลึก

แต่ที่ไหนได้ เมื่อไม่มีคนคุม ราคาก็ร่วงตามสภาพตลาดสิครับ
ตอนนั้น SET ก็ดิ่งนรกด้วย ราคาหุ้น COMAN ก็ดิ่งตาม
ตอนแรกๆ ผมยังมองในแง่ดีอยู่นะ พอราคาย่อก็ทยอยซื้อ
โดยคิดว่าไม่น่าหลุด 4 บาทหรอก ถ้าหลุดจริงค่อยคิดใหม่ ตอนนี้ขอซื้อเพิ่ม

แต่เมื่อ SET ร่วงแรง เม่าในนั้นก็กลัวตามสิครับ
พากันขายให้หลุด 4 บาทจนได้ ซึ่งผมคิดว่าท่าจะไม่ดีเสียแล้ว
หุ้นตัวนี้ไม่ได้แข็งแรงอย่างที่เราคิด จึงตัดสินใจขายออก

และมันก็เป็นโซนก้นของการลงพอดีเลย จากกำไร 36% เหลือแค่ 8% เท่านั้น
ให้มันได้อย่างนี้สิ

กลับมาคิดดู สิ่งที่ผมทำมันเข้าสูตรนี้เป๊ะเลยครับ



ตัวสุดท้าย ITEL

ตัวนี้ผมได้จากคลิป Oppday เห็นว่ามีสตอรี่น่าสนใจ
ซึ่งตอนนั้ SET ลงแรง และหุ้นตัวนี้ก็ร่วงตาม จึงรอจังหวะที่มันฟื้นและยืนยันขาขึ้น
พอมัน breakout ก็เข้าตามทันทีครับ (ตรงที่ชี้ว่า Entry)
จากนั้นไม่กี่วันก็โดนไล่ราคาให้ซิ่งแรงทันทีครับ
แต่ตัวนี้สภาพคล่องน้อยมาก คนตั้ง bid offer บาง
การไล่ราคาขึ้นไปจึงเป็นแบบคนไม่อยากให้คนเล่นด้วยน่ะ
อารมณ์เหมือน COMAN เด๊ะ
ผมก็ได้แต่ดูและฟินตามกำไรที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งหลังจากไล่ราคา ก็โดนขายสวนให้ย่อซะทิ้งไส้ยาว

จากนั้นคนทำราคาก็ปล่อยให้เม่าเล่นกันเองครับ
ราคาก็แกว่งขึ้นลง แบบยกไฮยกโลว์
ผมก็ฟินสิ ฝันหวาน นี่แหละหุ้นเด้งตัวที่สาม ปีนี้พอร์ตผมโต 100% แน่นอน
จุดสูงสุดของกำไรที่ผมจำได้คือ 32%

แต่อย่างที่เรารู้กันว่าตลาดไม่ยอมให้เราได้เงินง่ายๆหรอก
ช่วงนั้น SET เกิดอาการท้องร่วงอย่างแรง ราคาหุ้น ITEL ก็ดิ่งตามสิ
ผมก็ลากเส้น trendline ดักไว้
ลุ้นว่าอย่าหลุดนะมึง ไม่อยากขาย อยากได้เด้ง

แต่เมื่อไม่มีคนทำราคาดูแล เม่าก็ตกใจขายตาม SET
พอเห็นราคาหลุด trendline ผมก็ทยอยขายสิครับ
คือไม่อยากขายจริงๆ แต่ก็กลัวลงแรง จึงทยอยขายทีละนิด
แท่งแดงแรกที่หลุด trendline นั้น สารภาพตรงๆว่าขายน้อยมาก
เพราะยังมีหวัง ลุ้นให้เด้ง

แต่พอแท่งแดงที่สองเท่านั้นแหละ ผมตัดใจขายแล้วครับ
กำไรเหลือแค่ 8% เท่านั้นเองครับ
น่าเขกกระโหลกมั้ยอ่ะ?

เพราะจากนั้นมันก็หยุดลงและออกข้างไปซะอย่างนั้น


ปัญหาของการพยายามรันเทรนด์
๑) เมื่อภาพตลาดมีคความผันผวนรุนแรง การรันเทรนด์ยาก
ทั้งสามตัว แม้ผมจะได้กำไร...
แต่เมื่อเทียบกับเปอร์เซ็นต์สูงสุดของมันแล้ว
บอกเลยว่า "เสียหายหนัก" "ขายในเวลาที่ไม่ควรขาย"
ถือเป็นข้อด้อย หรือจุดบกพร่องของการรันเทรนด์ครับ
คือตอนที่ราคาวิ่งแรงๆ กำไรดีๆ เราไม่ยอมขาย เพราะคิดว่ามันจะไปต่อ (โลภ)
แต่พอราคาร่วงแรงจนหลุดระดับที่เราทำดักเอาไว้ กลับไม่ยอมขาย เพราะคิดว่ามันน่าจะกลับตัวได้ (ยังโลภ และกลัวโดนหลอก)
จนกระทั่งตลาดเกิดข่าวร้าย จนสร้างความกลัวให้กับเราเองนั่นแหละ จึงได้ตัดใจขาย
ซึ่งมันก็เป็นจุดต่ำสุดพอดีเลยน่ะสิ

เมื่อผมประสบเหตุที่่ว่านี้ จึงได้รู้จักตัวเองมากขึ้น
ว่าเราคงไม่เหมาะสำหรับการรันเทรนด์ระยะยาวเสียแล้วกระมัง
ถ้าเจอแบบนี้เสียเปรียบตายเลย เสียดายเวลาที่อุตส่าห์ทนถือ

๒) ต้องสวิงเทรดระยะสั้น กินคำเล็กไปก่อน
เคสความเจจ็บปวดสามตัวนี้ ทำให้ผมได้คิด
ต่อไปควร selling into strength ไปบ้าง
ค่อยๆแบ่งขาย ตอนที่ราคาบวกดีๆ
สมมุติ 20% ก็ต้องทยอยแบ่งขายไปทีละนิด
ขายแบบนี้เราได้เปรียบ
แทนที่จะไปขายในตอนที่ถูกบังคับ คือราคาร่วงแรงจนหลุดแนวรับ
กำไรหายไปเพียบเลย

เลิกฝันหวานถึงกำไรเป็นเด้ง เพราะเราบังคับมันไม่ได้
ทำให้นึกถึงนิทนเรื่อง "หมากับเงา"
"กำไรเป็นเด้ง" เหมือน "เงาเนื้อในน้ำ" ซึ่งมันไม่มีจริง เป็นภาพลวงตา
แต่กำไรที่เราได้ระดับ 20% นั้นเป็นเหมือน "เนื้อในปาก"
ทำไมเราต้องคายเนื้อในปาก เพื่อไปงับเอาสิ่งที่เป็นภาพลวงตาล่ะ?
20-30% ไม่พอกินเหรอ?

นี่เป็นการตั้งคำถามกับตัวเองนะครับ
มันจึงเป็นจุดเปลี่ยนให้กับตัวผมเอง ให้ตั้งกฎและเปลี่ยนวิธีคิดใหม่
ผมจะสวิงเทรดแบบ aggressive มากขึ้น คือไม่ทนถือเพื่อรอเด้งอีกต่อไป
ขอเอาเท่าที่ได้ ล็อกเอาไว้ก่อนส่วนหนึ่ง
ที่เหลือมันจะไปไกลแค่ไหน ค่อยว่ากัน

เดี๋ยวผมจะลองใช้สูตรนี้ดูนะ
หากได้ผลยังไง จะเอามาแชร์ให้ท่านอ่านกันอีกทีครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)