การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Day Trading Case : TPLAS, SIAM, EE, LDC, BEC


ช่วงนี้ผมผันตัวเองไปลองเทรดสั้นขยันซอยแบบ day trading ดู ก็มีทั้งโชคเข้าข้าง และต้องหนีตายป่าราบ ซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรอกครับ เอาเป็นค่าวิชา คือผมอยากฝึกการขายแบบ selling into strength แบบล็อกกำไรในตอนที่ราคาวิ่งแรงๆ จะได้จำความรู้สึกเอาไว้ เวลาเทรดด้วยเงินเยอะๆแบบจริงจังจะได้ทำแบบอัตโนมัติ

นี่เป็นมุมมองของผมเองนะ การเทรดมันต้องใช้ประสบการณ์ ถ้าเราไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยเจอ ท่านจะไม่กล้าทำเพราะไม่รู้ว่ามันจะดีหรือเปล่า

ดังนั้นถ้าท่านอยากได้ความรู้เรื่องไหนต้องลองทำจริงด้วยตัวเองเท่านั้น
แค่จำจากคนอื่นไม่พอ


มาดูเคสหุ้นที่ผมฟลุคได้กำไรก็แล้วกัน TPLAS


ตัวนี้ผมทำการบ้านเอาไว้ก่อน
ผมชอบทรงแบบนี้ คือ
๑) ย่อแรง
๒) ยกตัวขึ้นแล้วบีบตัวออกข้างในกรอบที่แคบๆ
แบบนี้เราสามารถลากเส้นดักรอไว้เลย ถ้าผ่านได้ ก็มีลุ้น


ซึ่งก็ฟลุคจริงๆ วันต่อมามันข้ามกรอบนั้นได้ นั่นคือ 1.67 บาท
ก็ต้องตามสิครับ แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจกับมันมากนัก
บอกตรงๆว่าช่วงนี้มันไม่น่าไว้ใจอะไรสักอย่าง เลยเข้าไปแค่ 5% ของพอร์ตเท่านั้นเอง
คือตั้งใจว่าถ้าราคาบวกเกิน 10% ได้ ผมต้องได้อย่างน้อย 10% ไม่ปล่อยให้หลุดมืออีกเด็ดขาด

พอราคาแตะ 1.67 ได้ ก็ตามเลยครับ ซึ่งฟลุคได้พอดี

และจากนั้นมันก็ฟลุควิ่งแรงทันทีเลย
ซึ่งมันก็เป็นเคล็ดหนึ่งที่สำคัญของหุ้นซิ่งนะครับ ท่านลองไปสังเกตดูได้ครับ
คือในช่วงเปิดตลาดเช้า มักจะไล่ราคาแรงไปทันที นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของมัน
ซึ่งถ้ามันแข็งแรงจริง คือคนทำราคาเขาเอาจริง จะยันราคาให้ยืนที่ยอด
แต่ถ้าเป็นการไล่ราคาของเม่ากันเอง คือไล่แรงแล้วทิ้งดิ่งไปเลย

โดย TPLAS มันสามารถยืนราคาได้ ผมก็เลยคาดหวังต่อไปว่า "หรือมันจะ ceiling?"
เลยรอดู โดยตั้งใจว่า ถ้ามันลิ่ง ฉันจะขายตอนนั้นแหละ ไม่โลภมากกว่านี้แล้ว



แต่พอราคาไกล้ถึง ceiling มันเกิดอาการอั้น คือไม่ไปต่อ
แถมโดนขายกดให้ย่อ
ผมเลยตัดสินใจทยอยขายออกไปดีกว่า
ตั้งแต่ 1.94, 1.92, 1.86 จนหมด
ซึ่งมันเป็นการขายที่ฟินมากครับ
คือเรามีความรู้สึกแบบเป็นผู้ชนะ เราเป็นต่อ
มันช่างแตกต่างจากการขายหุ้นออกเพราะหลุด trailing stop แบบจำใจ
เพราะเสียดายกำไรที่เคยได้สูงๆมา ผมรู้สึกว่าการขายแบบนั้นมันเป็นแบบคนแพ้
(นี่เป็นความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้นนะครับ)


ผมจำเปอร์เซ็นต์กำไรที่ชัดเจนไม่ได้ เพราะทยอยขายออก แต่ก็น่าจะ 15% บวกลบ

ซึ่งกลายเป็นว่าแท่งที่ผมเข้าไปเล่นมันเป็นแค่การสะดุ้งชั่วคราวเท่านั้นเอง
วันต่อไปมันร่วงลงไปอยู่โลว์เดิมซะงั้น
ถ้าผมทะลึ่งทนถือไปอีกวัน เพื่อรันเทรนด์ คงดูไม่จืดแน่นอน

สรุป TPLAS ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี ในการเรียนรู้วิธีการขายล็อกกำไร



SIAM : Losing Case
เพื่อความสมดุล ขอเอาเคสที่ผมพลาดมาให้ดูด้วย
SIAM ครับ
ตัวนี้ผมทำการบ้านเอาไว้แล้วว่า ทรงน่าสนใจ เป็นหุ้นจ่อเบรค

วันต่อมามันดีดแรงครับ
ผมไม่ทัน ก็เลยตั้งรอเตรียมรับ



จากนั้นมันก็ย่อลงมาหาระดับที่ผมตั้งรับ คือ 2.32 และ 2.30

แต่จากนั้นมันก็ร่วงหลุด 2.30
แถมไม่ยอมดีดกลับขึ้นไป และหลุดลงต่อไปได้อีก
จึงตัดใจขายออกที่ 2.28 เรื่อยมา
ปิดตลาด 2.20 ซึ่งเป็นการยืนยันว่าผมคิดผิด
และจากนั้นมันก็ร่วงกลับไปที่เดิม
สรุปคือขาดทุน ประมาณ 3%


EE : Losing Case
วันนี้คันมือ เอาเงินเข้าซื้อหุ้น EE พลาด เพราะเข้าตอน breakout แต่ราคาไม่ไปต่อ เจอขายให้ร่วง ตัดขาดทุน ขาดทุน 3% ดีที่ซื้อนิดเดียวไม่กี่พัน

EE สอนเราว่า หุ้นที่จะไปต่อ เปิดตลาดต้องวิ่งแรงไปเลย
คือข้ามแนวต้านได้ต้องซิ่งแรงต้อเนื่องแบบ TPALS

ถ้ายึกยัก มักจะซึม หรือไม่ก็ร่วงเลย ดังนั้น ถ้ากำไรก็ต้องขาย
หรือถ้าไม่กำไร ต้องขายเท่าทุน

เราสามารถดูกำลังของ demand กับ supply ได้
ถ้า demand แรง ต้องงับไม้ใหญ่ๆ
แต่ถ้าซื้อแบบตอดๆ ก็เป็นเม่าซื้อ โอกาสโดนทุบให้ร่วงสูงมาก


ล่าสุดครับ เละเทะ


LDC : Losing Case
เข้าเพราะเห็นราคาติด top gainer ซึ่งเห็นว่าราคาเพิ่งผ่านต้าน (1.12) ไปได้ จึงเข้าที่ 1.13 และ 1.14 และราคาก็ไม่ไปต่อ
รีๆรอๆจนบ่าย ราคาหลุด 1.12 จึงขายที่ 1.11 ขาดทุน 526 บาท



ล่าสุดครับ เละเทะ



BEC : Success Case
ได้กำไร 2% ไม่เยอะแต่พอรู้อะไรบางอย่าง
ช่วงบ่ายเห็นวิ่งแรงบวกแรง จึงเช็คข่าว พบว่ากำไรพลิก


เปิดกราฟดู เห็นว่าเปิด gap ขึ้นไป breakout กรอบขึ้นไปที่ 6.30
จึงตั้งรอที่ 6.35 และ 6.40 (ตอนนั้น 6.50) ซึ่งมันลงมาหาพอดี จากนั้นมันก็ดีดขึ้นไปอั้นที่ 6.70



 ซึ่งเราไม่ได้ดูว่าเป็น SMA50 เป็นแนวต้าน


เลยไม่ขาย ไปขายเอาเมื่อราคาลงไปหลุด 6.45

ล่าสุดครับ เละเทะ


ก็ถือว่าเป็นการเสียเงินเพื่อความรู้ครับ เลยเอาความรู้และข้อสังเกตมาแชร์ให้ท่านได้อ่านกัน
เผื่อจะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเทรดครั้งต่อไป

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ