การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย เป็นยังไง? ดี หรือ ไม่ดี?


คำว่า "หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย" น่าจะเป็นหนึ่งในประโยคทองของเสี่ยยักษ์ ที่นักเทรดจำกันได้มากที่สุด จากหนังสือ "กูรูหุ้นพันล้าน" ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ผมเอง

ตอนนั้นผมมองว่านี่คือหนึ่งในเคล็ดวิชา ที่ไอดอลของผมได้แอบบหยอดเบาะแสเอาไว้ ว่าถ้าอยากได้หุ้นที่วิ่งแรงๆ ตอนเป็นขาขึ้น วอลุ่มต้องหาย



โดยแกให้รายละเอียดไว้ดังนี้...
ผมจะบอกสูตรสุดยอดของหุ้นให้ฟังนะ ถ้าเราอ่านว่าหุ้นตัวนี้กำลังเป็น
“ขาขึ้น” แต่วอลุ่มมัน “หาย” (วอลุ่มหรือปริมาณซื้อขายเทรดลดลง) หมายความว่า รายใหญ่กำลัง “เก็บของ” ไม่ปล่อยหุ้นออกมา
หมุนเวียนในตลาด สภาพคล่องของหุ้นตัวนั้นจะค่อยๆ ลดลง”

ลองคิดต่อให้เป็นหลักการวิทยาศาสตร์ ถ้าคน “ดูดหุ้น” 
เข้าไปในกระเป๋าหมด นักเก็งกำไรไม่ได้เข้ามาเล่น (รอบ) 
ไม่ได้เอาหุ้นมาหมุนวนในตลาด ทุกคนดูดเก็บ!! ทุกคนดูดเก็บ!! 
ปริมาณหุ้นในตลาดก็จะหายไป

เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปเจอ “หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย” นี่คือ สุดยอดหุ้น 
ใครหาพบคนนั้นรวย”
เร้าใจมั้ยครับ?
โค-ตะ-ระ เร้าใจ ให้เราฮึกเหิม อยากได้อยากเจอหุ้นประเภทนี้

ซึ่งประเด็นนี้เองที่เป็นตัวจุดประกายให้ผมอยากเรียนรู้เรื่องวอลุ่มอย่างจริงจัง
ต้องขอบคุณนักเขียนและพี่เสี่ยยักษ์มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ทีนี้ หลังจากที่ผมเทรดด้วยวอลุ่มมาพักหนึ่ง
ก็เห็นสาระหลายๆอย่างเกี่ยวกับมัน ก็เลยอยากเอาประเด็นนี้มาขยายความให้อ่านกันสักนิด



เริ่มต้นที่สิ่งแวดล้อมของประโยคนี้ก่อนนะครับ
แกระบุว่ามันคือแนวโน้มขาขึ้น
โดยลักษณะของวอลุ่มในแนวโน้มขาขึ้นจะเป็นดังนี้
๑) ราคายกไฮยกโลว์
๒) ช่วงที่ราคายกไฮ หรือ breakout นั้น วอลุ่มต้องเพิ่ม
๓) ช่วงที่ราคาย่อ วอลุ่มต้องลดลง
นี่คือลักษณะเฉพาะของแนวโน้มขาขึ้นครับ


แล้วที่ว่า "หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย" นั้นมันมีลักษณะอย่างไร?
ก่อนเข้าไปดูเคสที่ผมพอจะหาเจอ เรามาดูความปกติของแนวโน้มกันก่อน

รายละเอียดของแนวโน้มขาขึ้นกับวอลุ่มนั้น โดยปกติจะเป็นแบบนี้
๑) วอลุ่มจะมหาศาลตอนที่ราคาเปลี่ยนเทรนด์เท่านั้นครับ
คือต้นเทรนด์ วอลุ่มต้องออกมาเยอะ เพราะว่าตอนนี้เป็นช่วงของการสะสมหุ้นของเจ้ามือ
ที่ต้องขนเงินมาเก็บหุ้นจากคนที่ยังมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งมีจำนวนมาก
ยิ่งเป็นตอนที่ราคาขึ้นไปถึงกรอบการสะสมด้วย วอลุ่มยิ่งออกมาสูง เพราะคนที่เล่นรอบ และคนติดหุ้นที่ยังไม่มั่นใจในอนาคตร่วมใจกันขนหุ้นมาขายออกเพื่อทำกำไร และขอชีวิตคืน


ช่วงนี้เหมือน จรวดพยายามยกตัวเองให้หลุดจากฐานครับ
ต้องมีการเตรียมตัว และใช้เชื้อเพลิง พลังงานมหาศาล เพราะต้องสู้กับแรงโน้มถ่วง




๒) จากนั้นในช่วงที่ราคาหุ้นกำลังวิ่งขึ้น ในตอนต้นของขาขึ้นวอลุ่มก็ออกมาเยอะเช่นกัน
เพราะว่าคนในตลาดก็ไม่แน่ใจ งงกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น จึงได้คิดขายมากกว่าซื้อ
วอลุ่มก็ออกมาเยอะมากเช่นกัน



๓) จนมาถึงช่วงกลางของการขึ้น
ตอนนี้แหละครับ วอลุ่มเริ่มหาย เพราะว่ามันติกลมบนแล้ว
คนอยากขายต่อต้านไม่มี เพราะแนวโน้มเกิดขึ้นมาแล้ว
ช่วงนี้ท่านจะเห็นว่าวอลุ่มน้อยกว่าช่วงแรก อย่างชัดเจน
แต่ไม่ได้แห้งสนิทเลย
ตอนที่ราคาดีดขึ้นไปทำนิวไฮ วอลุ่มต้องเพิ่มสูงกว่าช่วงปกติที่ไม่ใช่จุดได้เสีย
ปและตอนที่ราคาย่อ วอลุ่มก็หดแห้ง น้อยกว่าช่วง breakout
นี่คือบุคลิกพิเศษของมัน



๔) ช่วงท้ายของขาขึ้น หรือจุดกลับตัว
ช่วงนี้วอลุ่มจะแสดงออกสวนทางกับขาขึ้นแล้ว
ซึ่งท่านต้องเอาทรงของราคามาดู
คือทรงราคามันไม่สามารถยกไฮยกโลว์ได้อีก มันออกข้าง
พอราคาวิ่งขึ้นไปถึงไฮเดิม ก็มักจะเกิด false breakout โดนกดขายด้วยวอลุ่มสูงกว่าเดิม
แสดงออกว่า supply ถูกปล่อยออกมาขัดขวางการขึ้น

พูดง่ายๆว่า แท่งเขียววอลุ่มไม่ค่อยสูง
แต่ตอนแท่งแดง หรือโดจิ วอลุ่มสูงกว่า

๕) ช่วงที่ราคายืนยันขาลง
วอลุ่มจะออกมาสูงในช่วงแรกเท่านั้น
แต่ถ้าเทียบกับช่วงเวลาทั้งหมด มันไม่ได้สูงเท่าตอนที่เริ่มเป็นขาขึ้นนะครับ
มันน้อยกว่ามาก ดังนั้น ถ้าท่านเอาความเชื่อว่าวอลุ่มเข้าเท่าไหร่ต้องออกไปเท่านั้น ถือว่าผิด เพราะเจ้ามือเขาไม่ได้รอขายที่จุดสูงสุดหรอ เขาทยอยขายตามรายทางไปเรื่อย
เพราะเขารู้ดีว่าถ้ารอขายครั้งเดียวที่ยอด ต้องได้ติดหุ้นแน่
แทนที่จะคิดแบบเม่า เขาก็ทยอยลดความเสี่ยงตลอดทาง
ดังนั้นวอลุ่มในช่วงแจกจ่าย หรือขาลงจึงไม่เยอะไงครับ

ถ้ายังนึกภาพรวมไม่ออก ลองดูคลิปนี้


การขึ้นของหุ้นก็คล้ายจรวดอวกาศ ช่วงแรกที่เริ่มขึ้นต้องใช้วอลุ่มเยอะเพราะต้องเอาชนะแรงโน้มถ่วง
พอหลุดวงโคจรไปแล้ว ก็ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง แค่ดันออกเพื่อดำรงทิศทางตามที่ต้องการเท่านั้น
เมื่อจบภารกิจ อยากจะลง ก็ไม่ต้องใช้เชื่อเพลิง แค่พาตัวให้เข้าสู่โซนแรงโน้มถ่วง ก็สามารถร่วงลงมายังโลกได้แบบไม่ต้องพยายยามอะไรเลย


ดูตัวอย่างจริงกัน จะได้เห็นภาพ


นี่เป็นของจริงครับ เคส EMC หุ้นต่ำบาท
๑) ช่วงที่ราคาเริ่มต้นเป็นขาขึ้น วอลุ่มสูงสุดครับ ถือเป็นธรรมชาติของการเริ่มต้น คุณคต้องตอ่สู้กับแรงต้านมหาศาล ราคาหุ้นก็ไม่ต่างกัน เหมือนจรวด ตอนดีดจากฐานต้องใช้พลังงานมาก ช่วงนี้วอลุ่มจึงออกสูงมากกว่าช่วงอื่นแบบคนละเรื่องเลย
๒) จากนั้น ถ้าราคาขึ้นแบบไม่มีแนวโน้ม หรืออ่อนแอ วอลุ่มมักจะออกมาน้อย
๓) ตัวนี้ช่วงที่ราคาทำจุดสูงสุด วอลุ่มพีค ที่ว่าพีคไม่ได้หมายความว่าวอลุ่มสูงสุดนะครับ แต่ต้องสูงกว่าช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจนและโดดเด่น
๔) ซึ่งเราไม่รู้หรอว่ามันเป็นจุดสูงสุด จนกว่าราคาจะกลับตัว ดังนั้นคุณต้องดูการเคลื่อนไหวของราคาประกอบกับวอลุ่ม โดยยึดการเคลื่อนไหวราคาเป็นหลัก ใช้วอลุ่มดูเสริมแค่นั้นครับ


เคสของ AKR ตอนที่ราคาดีดเขียวขึ้นไป วอลุ่มมักจะกระเพื่อมขึ้นตั้งแต่ (1) - (4) ถือว่าเป็นไปตามทฤษฎี เพราะราคาวิ่ง(เขียว)วอลุ่มเพิ่ม แต่พอราคาย่อ(แดง)วอลุ่มลดแบบ vdu (อ่านความหมายของมันจากบทความ หุ้นย่อวอลุ่มหาย กันเองนะครับ)

ในจังหวะที่ราคาหุ้นขึ้นไปทำจุดสูงสุดนั้น วอลุ่มหายครับ
เข้าสูตร "หุ้นขึ้นวอลุ่มหาย" เลยนะครับ
แต่ตัวนี้เจ้าไม่ได้เก็บหุ้นหรอก แต่มันสื่อว่า ความสนใจของคนในตลาดลดน้อยลง
อาจเป็นเพราะว่าต่างคนเริ่มระวังตัวมากขึ้น เพราะราคาวิ่งขึ้นมาไกลแล้ว
หรืออาจจะรอจังหวะยืนยัน

และเมื่อราคาเกิดแท่งแดงยาว นั่นแหละครับ วอลุ่มออกเลย สููงปรี๊ด
และยังสูงต่อเนื่องไปอีกสองสามวัน เพราะวันที่ราคาแท่งแดงยาว ขายไม่ทัน
หรือบางทีก็เพิ่งรู้ข่าวร้ายจากสื่อนั่นเอง


ดูหุ้น STA ขวัญใจมหาชน เพราะโบรกเกอร์ชอบเชียร์ให้เล่นกัน
ท่านดูตามตัวเลขที่ผมชี้นะครับ ตั้งแต่ (1) - (5) หุ้นขึ้นวอลุ่มเพิ่มตาม คือราคายิ่งสูงวอลุ่มยิ่งออก
จนกระทั่ง (6) นี่แหละ หุ้นขึ้น ราคาวิ่งแรง วอลุ่มน้อยกว่าเดิม
และเมื่อราคาหุ้นหลุดเทรนด์ หุ้นลงต่อเนื่องวอลุ่มน้อยลง นี่อาจจะหมายความว่า เจ้ามือได้ทยอยขายหุ้นออกตั้งแต่ราคาวิ่งขึ้นตลอดทางแล้วก็ได้ ช่วงที่ราคาลงคนที่ขายออกน่าจะเป็นรายย่อย
ซึ่งเคสนี้ ก็สนับสนุนไอเดียที่ว่า เมื่อราคาวิ่งแรงทำนิวไฮ แต่วอลุ่มน้อยกว่าเดิม ต้องระวัง ไม่ควรซื้อเพิ่ม แต่ต้องขายออกเพื่อลดความเสี่ยง



ส่วนประเด็น "หุ้นลง วอลุ่มหาย" นั้น มันไม่ใช่สัญญาณดีอะไร
คือตอนราคาร่วง ท่านไม่ควรเอาวอลุ่มมาหลอกตัวเอง
ถ้าราคาหลุดระดับล็อกกำไร ท่านต้องขาย เพราะมันจะลงแรงมาก


เคสของ GCAP ช่วงที่ราคาเริ่มต้นขาขึ้นนั้น วอลุ่มกระโดด สูงกว่าช่วงก่อนหน้าชัดเจนเลย
 จากนั้นราคาก็ค่อยๆยกไฮยกโลว์ขึ้น แต่เป็นแบบสะสมยกกรอบขึ้นไปทีละนิด ช่วงที่ราคาออกข้างสร้สงฐาน หาหไม่ยกไฮยกโลว์วอลุ่มก็เหือดแห้ง แต่พอราคาดีดขึ้นไปทำนิวไฮ วอลุ่มก็พุ่งสูง (2), (3), (4), (5)

พอแท่ง (6) ที่เป็นแท่งแดงยาว วอลุ่มก็ออกมหาศาลเลยครับ ก็สื่อชัดว่ามืออาชีพขายแน่
เมื่อราคาลงแรง ก็ต้องออกข้างเพื่อซับแรงขาย เมื่อราคาไม่ยอมไปไหน ไร้แนวโน้ม วอลุ่มก็ลดลง
จากเคสนี้บอกว่า ถ้าราคาออกข้างนาน ยิ่งนาน เวิลาราคาดีดกลับขึ้นไปทำนิวไฮได้ แรงต้านยิ่งรุนแรง และถ้าวอลุ่มของแท่งที่ดีดไปทำนิวไฮน้อยกว่าเดิมด้วยล่ะก็ ท่านต้องหาทางขายออกนะครับ เพราะมันเป็นทรงของเวฟ 5 ยิ่งหากมันกลับตัวร่วงหลุดระดับ breakout ด้วยก็ต้องขายแบบชัดเจน

ตัวนี้ก็ยืนยันว่า การเป็นขาลงวอลุ่มหาย ถือเป็นเรื่องปกติครับ เพราะเหลือแต่เม่าเล่นกัน


ESSO น่าจะเป็นอีกตัวที่พอเข้าเค้า
ช่วงต้นเทรนด์วอลุ่มสูงที่สุดชัดเจนครับ
ต่อมาช่วงปลายแนวโน้ม ราคาขึ้น วอลุ่มหดตัวลงไปเรื่อยๆครับ
จากนั้นก็ค้อยยๆโรยตัวลง วอลุ่มแทบแห้งเลย
แล้วก็โดนฉุดกระชากให้ร่วงแรง จบรอบแบบโหดสลัด




สรุปจากมุมมองผมนะ
"หุ้นขึ้น วอลุ่มหาย" น่ะ ไม่ใช่สาระสำคัญ มีทั้งจริงและไม่จริง
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมมองในแง่น่ากลัว มากกว่าควรกล้า

ดังนั้นท่านต้องดูการเคลื่อนไหวของราคาประกอบครับ
เอาการเคลื่อนไหวของราคาเป็นหลัก ถ้ามันยังยกไฮยกโลว์ขึ้น ก็ถือไป เพราะอาจเข้าสูตรรายใหญ่เก็บหุ้นใส่ปี๊บ ไม่ยอมขาย หรือไม่ก็มันยังมีแรงเฉื่อย ซึ่งจะไปไกลแค่ไหนก็ไม่รู้ได้ เราแค่ปล่อยให้มันวิ่งไปตามกระแสแรงเฉื่อยนั้น
แต่แนะนำว่าอย่าได้ซื้อสะสม แต่ให้เฝ้าระวัง เพื่อเตรียมขายครับ
เพราะมันสื่อว่า demand เข้ามาน้อยลง อ่อนแรง โอกาสที่ supply ตีโต้ หรือสวนแรงๆ ให้ราคาหุ้นร่วงหนักแท่งเดียวกำไรหายเกลี้ยงก็เป็นได้ครับ

ส่วน "หุ้นลง วอลุ่มหาย" นั้น มันเป็นธรรมชาติ เราดูกรอบการล็อกกำไรของเราไว้
ถ้าหลุด ก็ขายออก อย่าไปยื้อซื้อเวลา เพราะถ้าทรงราคาไม่ได้แล้ว ไม่มี demand เข้ามารับซื้อหรือดันขึ้น มันก็สามารถลงไปได้อีกแน่นอนนครับ




(แนะนำเพิ่มเติม ความรู้การเทรดหุ้นของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
เรียนเล่นหุ้น เรียนเทรด forex จิตวิทยาการเทรด มือใหม่เล่นหุ้น
คลิกลิ้งนี้ครับ https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บ zyo71.com นี้แหละครับ


ส่วนนี่เป็น ช่องยูทูป ของผมเอง ดูฟรีเช่นกันครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้ www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos


และนี่เป็นหนังสือเล่มของผมเองครับ


www.facebook.com/zyobooks


และ eBook มีขายที่เว็บ https://www.mebmarket.com/index.php?action=search_book&type=author_name&search=เซียว%20จับอิดนึ้ง&exact_keyword=1&page_no=1
แยกส่วนกันนะครับ ขายคนละเจ้า
ebook หนังสือสอนเล่นหุ้น

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ