บทความนี้จุดประกายจากโพสต์ที่ผมเขียนไว้ตอนปี 2015 นะครับ ตอนนั้นเห็นหุ้น TASCO วิ่งดีมาก บวกกับไปเจอคลิปสัมภาษณ์สุดยอดนักลงทุนวีไอ ซึ่งมีพี่โจ และคุณทิวาอยู่ในนั้น
เมื่อวาน facebook มันโชว์โพสต์ของปีที่แล้วให้ดู ตอนแรกผมคิดแค่ว่าจะคัดลอกเนื้อหาในเฟสไปใส่ในบล็อก (เพราะ google มันไม่ index content ของเฟสส่วนบุคคลแล้ว) แต่ด้วยคามที่รลาดหุ้นมันไม่น่าเล่น ผมก็เลยลองดูคลิปที่คุณทิวาแกให้ข้อมูล ก็พบว่า "โคตรดี และมีประโยชน์" จึงดูอย่างจริงจัง ดูไปจดบันทึกตามไป เพราะแกพูดได้น่าสนใจยิ่ง
ผมพบว่าผู้ชายคนนี้มีความพิเศษมากๆ
โดยเฉพาะทัศนคติที่เหมาะสมกับการเป็นมหาเศรษฐีอย่างแท้จริง
๑) ใฝ่รู้ จริงจังจะเป็นเลิศให้ได้ และมีความสุขกับมัน
๒) จริงจังกับการวิจัยกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์
๓) แต่ก็ยืดหยุ่นกับผลลัพธ์
๔) ยอมรับว่าตัวเองขาดทุนได้ ทำผิดได้
๕) มีการควบคุมความเสี่ยง และ stop loss
๖) พยายามพัฒนาตัวเองเพื่อปิดจุดอ่อน
๗) มีทัศนคติที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับเงิน
๘) ให้ความสำคัญกับความพยายาม
๙) มีการตรวจสอบตัวเองและสินทรัพย์อยู่ตลอด
ถ้าคุณเคยอ่านบทความหรือเว็บเกี่ยวกับวีไอ น่าจะรู้จักคุณทิวา ชินธาดาพงศ์ เป็นอย่างดี
ผมขอข้ามเรื่องการเป็นมอเตอร์ไซค์รับจ้างนะ เพราะคิดว่าเป็นแค่ "เปลือก" เท่านั้น
เรียนน้อยไม่ใช่ปัญหา
สิ่งที่ผมประทับใจเกี่ยวับเขาคือ "ความตั้งใจ" ที่มีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์
"ความตั้งใจ" ที่เทียบกับ "ระดับการศึกษา" ที่เรียบจบแค่ ม.3
คนส่วนมากชอบยกข้ออ้างที่ตัวเอง "ไม่ประสบความสำเร็จ" เพราะ "เรียนน้อย" แต่ประโยคนี้ไม่เคยอยู่ในหัวของ ทิวา ชินธาดาพงศ์
ด้วยพื้นฐานของครอบครัวที่รักการค้าขาย คุณมี่ ทิวา จึงเลือกทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย ตั้งแต่ขับวินมอเตอร์ไซค์ ขายคอมพิวเตอร์ มือถือ และในปัจจจุบัน ขายหมูยอ
เข้าตลาดหุ้น
แรงบันดาลใจที่ทำให้ ทิวา เข้ามาลงทุนหุ้นคือมีโอกาสได้ฟังอาจารย์นิเวศน์พูด จึงไปค้นคว้าอ่านหนังสือตีแตก เพื่อหาแนวคิด จนได้ไอเดียในการลงทุน โดยดูว่าบริษัททำธุรกิจอะไร ดู ROE กับ PE มาเป็นปัจจัยในการเลือกหุ้น
เช่น หุ้นผ้าอ้อม PE 5 เท่า , ROE 20 ผู้บริหารบอกว่าจะโตปีละ 10% กดเครื่องคิดเลขดู ก็ซื้อเลย พอลงทุนไปปีกว่าก็พบว่างบการเงินของหลายๆบริษัทออกมาไม่เป็นไปตามที่คาด
การเลื่อกหุ้นโดยใช้ ROE กับ PE ชักเริ่มไม่พอ ในช่วงระหว่างทางที่ลงทุนมักจะอ่านหนังสือลงทุน ก็สะดุดกับประโยค "ให้ซื้อหุ้นเหมือนซื้อธุรกิจ"
Demand คือโอกาส
จึงมาตีความหมายที่แท้จริง จึงย้อนไปนึกถึงตอนที่ตัวเองทำธุรกิจ
เขาเริ่มต้นคิดจาก "ดีมานด์" รู้ว่ามีความต้องการซื้ออะไรบางอย่างเกิดขึ้นแล้ว และธุรกิจนั้นมีใครที่ได้ประโยชน์บ้าง ลงรายละเอียดลึกเข้าไปอีกว่าในการแข่งขันนั้นเขาพอจะไหวมั้ย จะรักษาการเติบโตได้มั้ย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวก็ยังสามารถที่จะรักษากำไรได้หรือเปล่า
พี่เลี้ยงดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
อีกจุดเปลี่ยนคือการได้เข้าไปรู้จักนักลงทุนสายวีไอสายละเอียด อย่างคุณ "โยโย่" "บลู บลัด" ฯลฯ เพราะความที่ตัวเองรู้น้อย ศัพท์ภาษาอังกฤษทางการลงทุนที่ยากๆก็พยายามจดจำ ความตั้งใจในการหาความรู้แม้ต้องทำงานประจำด้วยก็ตาม ส่วนนี้ส่งผลให้พัฒนาตัวเองให้มีทักษะในการหามูลค่าหุ้นระดับสูงที่คนเรียนจบสูงกว่ายังทำไม่ได้
จุดเปลี่ยนการลงทุนของทิวา ชินธาดาพงษ์
- อาม่า ส่งเสริมทัศนคติเรื่องความร่ำรวย ทำให้มีความมุ่งมั่นจะเป็นคนรวยให้ได้
- ขับวินมอเตอร์ไซค์ได้เงิน จึงรู้ว่าเงินหาไม่ยาก
- เป็นพนักงานขาย ทำได้ดี แต่คิดว่ารวยยาก จึงลาออกไปทำธุรกิจเอง
- ลองทำหลายอย่าง จนสร้างเงินล้านได้จากธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ท ร้านเกม ได้สิบล้านบาท
- ตอนมีเงินสิบล้าน คิดว่าตัวเองรวยแล้ว แต่พอเจอดร.นิเวศน์ รวยกว่า จึงสนใจอยากรวยเหมือน
- ได้ไอเดียจากดร.นิเวศน์ เรื่องการตั้งเป้าหมาย
วิธีเอาชนะตลาดหุ้นของเซียนมี่
๑) พยายามหาหุ้นที่มีโอกาสชนะตลาด และทำกำไรให้เหมาะสมในจังหวะที่ถูกต้อง
๒) จำกัดการขาดทุนในการตัดสินใจที่ผิด 10% stop loss
๓) ทำซ้ำอย่งสม่ำเสมอ
๔) หมั่นถามตัวเองทุกครั้งว่าหุ้นที่เราถือมันยังดีอยู่ คุณสมบัติที่จะชนะตลาดยังครบถ้วนมั้ย
"
เส้นแบ่งระหว่างการไม่ยอมแพ้กับการดันทุรัง มีอยู่นิดเดียว
คือการเห็นโอกาสอยู่ในนั้นหรือเปล่า"
- ต๊อบ เฒ่าแก่น้อย
"
ความแตกต่างระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว
คือวิธีตอบสนองต่อการขาดทุน
อย่าปล่อยให้ความผิดพลาด กลายเป็นอีโก้ มาทำลายประสบการณ์จนพังยับเยิน
การผิดพลาดไม่ใช่ปัญหา การทำผิดไม่ใช่ปัญหา
ปัญหาคือ การไม่ยอมรับความผิดพลาด
และ ยังทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก"
- แดน ซัลลิเวน
เคส TASCO
ปลายปีที่แล้ว(2014) น้ำมันราคาลดลงอย่างมาก ได้หุ้นจากเพื่อนและนักวิเคราะห์ได้อ่านบทวิเคราะห์ โบรคเกอร์ แนะหุ้นสายการบิน เดินเรือ และยางมะตอย
วิธีดูคือความสามารถกับความต้องการของตลาดมีเท่าไหร่
คอนเทนเนอร์ก็โตปีละ 2-3% แต่คนที่ใช้งานน้อยลงทุกปี แต่น่าจะได้ประโยชน์ระยะสั้น
สายการบิน ดีมานด์เติบโตดี แต่กำไรไม่ดี เพราะแข่งขันสูง กำไรไม่ยั่งยืนน
คุณมี่ก็เอามาเปรียบเทียบว่าตัวไหนได้ประโยชน์มากที่สุด โดยเริ่มแยกว่าต้นทุนของกิจการมีส่วนที่ใช้น้ำมันกี่เปอร์เซ็นต์
ส่วนยางมะตอย ไปดูวอลุ่มที่ขาย โตทุกปี ปีละ 10% ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่กำไรแกว่ง เพราะ 70% ของต้นทุนคือน้ำมัน
หลักคิดว่า มันจะดีหรือเปล่า มีสตอรี่อะไรมาสนับสนุน มีดีมานด์จริงๆมากน้อยแค่ไหน จะเพิ่มขึ้นใน 2-3 ปี ข้างหน้ามากว่าที่ผ่านมาหรือเปล่า พบว่าเมกกะโปรเจกท์ของอินโดก็ 12 ล้านล้าน มาเลเซียก็มี เวียดนามด้วย สรุปคือมีดีมานด์ที่ต้องใช้ยางมะตอยค่อนข้างเยอะ
ต่อมาก็ดูว่ากำไรจะเป็นเท่าไหร่ กำไรจะอ้างอิงกับอะไร ขายปีละล้านตัน ต้นทุน ราคาขายเท่าไหร่ หาเป็นเฉลี่ยต่อเดือนได้มั้ย โครงสร้างต้นทุนเป็นน้ำมัน ไปเจาะว่าเวลากลั่นได้น้ำมันใส 30% จะป้องกันความเสี่ยงจากจำนวน ที่เหลือเป็นยางมะตอยป้องกันความเสี่ยงอีกครึ่งหนึ่ง ก็จะเคาะออกมาเป็นงบอีกคร่าวๆ
คำนวนให้เหลือความเสี่ยงน้อยที่สุด
หาความเสี่ยงที่ทำให้เราคิดผิดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะเคยเสียหายมาก่อน ทุกครั้งก็จดเตือนใจว่าจะไม่ผิดซ้ำ จะต้องมองให้ครบ คำนวนกำไรออกมาให้ได้คร่าวๆก่อน ซึ่งข้อมูลที่ว่ามาก่อนหน้านี้มาจากสื่อสาธารณะและโทรถาม IR พอได้ข้อมูลมาก็ทำงบคร่าวๆ ไปเทียบกับในอดีตว่าไกล้เคียงหรือเปล่า ถ้าไกล้ก็มั่นใจ จึงได้มูลค่าที่แท้จริง จากนั้นถึงขั้นตอนการซื้อก็ไปดูราคาว่าแพงไปหรือซื้อได้แล้ว
สไตล์การเทรดของทิวา ชินธาดาพงศ์
สไตล์คือ "เล่นรอบ"
โดยแกให้ความเห็นว่า การคาดการณ์ผลประกอบการในระยะ 5-10 ปีเป็นเรื่องยาก ซึ่งไม่ตรงกับจริตของตัวเอง ที่ชอบและมีความสามารถในการคาด 1-2 ปีเท่านั้น
หาจังหวะและรอบที่ดีของมัน ว่า 1-2 ปี มันวิ่งแน่
ปัจจัยคัดกรอง
ชอบอ่านข้อมูลหุ้นสะสมไว้
ตามเหตุการณ์ว่ามันมีผลต่อธุรกิจไหนบ้าง
คัดธุรกิจที่น่าจะ turnaround ที่มีโอกาสฟื้นได้ เพราะก่อนหน้านี้สะดุด แล้วตลาดลงโทษ
ตั้งสมมุติฐาน ว่าใครจะได้ประโยชน์มากที่สุด คาดการณ์กำไรที่น่าจะได้
อ่านข้อมูลจากไหน
รายงานประจำปี เอาที่อยู่ใรโฟกัส
ดูคลิป oppday คาดสถานการณ์ข้างหน้าว่าจะดีหรือไม่
พิจารณาจนมั่นใจว่ามันดีแน่ จึงเข้าซื้อ
ดูพื้นฐานว่าใช่ จะเติบโต ผู้บริหารเข้าใจได้
ดูกราฟว่ามันลง หรือขึ้น ถ้าขึ้นเอยะก็คิดว่ามันมารองรับพอแล้ว ต้องมี upside
พื้นฐานดีแบบไหนถึงจะใช่
มีช่องในการเติบโตได้อีกมากแค่ไหน เทียบกับต่างประเทศดู
ความสามารถในการแข่งขัน จะแย่งหรือขยายฐานได้มั้ย จุดแข็งที่แตกต่าง
ผู้บริหารมี passion อยากจะรวยกว่านี้มั้ย ต้องการสู้ มุ่งมั่น มีหุ้นเยอะมั้ย เราไปทำงานผ่านเค้า
ดูกราฟช่วยตัดสินใจ
ซื้อ - ถ้าราคาหุ้นไม่หวือหวา ยังนอนก้น ลงมาเยยอะ หรือถ้าขึ้นก็ไม่มาก ค่อยๆทยอยซื้อ
หาข้อมูลเพิ่มไปด้วย ถ้ามั่นใจก็ซื้อเพิ่ม
ขาย - ดู PE, ข่าวดีมีการเขียนเชียร์ตรงกับที่คิดไว้หรือเปล่า
ไม่กังวลการขายหมู เพียงแต่ว่าอย่าขายตัวใหญ่ไป
ถ้าเลือกหุ้นผิด
เพราะเลือกไม่ไดี คาดผิด เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝัน ตัดราคาแต่กำไรลด คำนวนงบผิด
รู้ให้เร็ว ต้อง cut loss ให้ไว
นักลงทุนที่ดีมีคุณสมบัติเหมือนนักเรียนที่ดี
อ่าน จดบันทึก เชื่อมโยง รู้ลึกขึ้น จะลงทุนได้เก่งขึ้น ตัดสินใจได้เอง พิจารณาสิ่งแวดล้อมได้ เอามาใช้ประโยชน์ต่อตัวเองเป็น โดยที่ไม่ต้องไปฟังคนอื่น
ให้เวลา 3 ปี ต้องรู้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เฝ้าจอ
ทำอย่างจริงๆจังๆ 3 ปี ถ้าเป้าหมายชัด จริงจัง ลงมือทำ ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ
เสริมจากคลิป
เคล็ดการลงทุนจากพี่โจ
ถ้าเรารู้ว่าศักยภาพของธุรกิจในอนาคตจะไปได้ไกล การเข้าซื้อตั้งแต่แรกๆจะได้กำไรมากกว่า
โอกาสในอนาคตมีสูง แต่ราคาไม่ไป น่าสนใจ ไม่มีความเสี่ยง
การลงทุนให้ได้กำไรเยอะๆ ต้องจินตนาการ สตอรี่ในอนาคตให้ออก ว่ามีโอกาสเติบโต เปิดกว้าง
ระดับราคา
โอกาส ที่เกิดจากแวลูเอชั่นปัจจุบัน
ระดับสอง แผนการที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ
ระดับสาม โอกาสในอนาคต ที่ศักยภาพของบริษัทจะไป
บริษัทที่จะเติบโตไปได้มาก นักลงทุนที่จะได้กำไรมาก ต้องประเมินโอกาสในอนาคตให้ออก
ความยากคือการคัดให้ออกว่า บริษัทไหนมีโอกาสประสบความสำเร็จ คือทำให้โครงการในอนาคตเกิดได้
การลอกหุ้น
ถ้าได้ฟังหรืออ่านมาจากสื่อ ต้องกลับไปทำการบ้านต่อ จากนั้นถ้าเราเชื่อก็ซื้อตาม แต่ถ้าไม่เชื่อก็ไม่ซื้อ
หุ้นเติบโต กำไรต่อหุ้นเติบโต กำไรต่อหุ้นคือเจ้ามือตัวจริง
หุ้นกำไรเติบโตทุกปี ปีละ 10% 20% แล้วเราเข้าซื้อหุ้นตัวนั้นในราคาที่ไม่แพงเกินไป ถ้าเจอหุ้นที่กำไรเติบโตทุกปี แต่ราคาไม่วิ่งเลย ให้โทรมาบอกผม
หุ้นตัวไหนที่ PE 10 เท่าในปีแรก จากนั้นใน 5 ปี กำไรโตทุกปี ปีละ 10% 20% แต่ราคาหุ้นไม่ขยับจากปีแรกเลย ให้โทรบอกพี่โจ จะได้เงิน 1 ล้านบาท แต่กำไรนั้นต้องมาจากการดำเนินงานเท่านั้น ไม่นับกำไรพิเศษ
ตอนซื้อราคาต้องไม่แพง จึงต้องคำนวนมูลค่าให้ได้ แล้วให้ดักรอซื้อตอนตลาดตกใจ Set ลงแรงๆ นักลงทุนขายหนีตาย
ตลาดหุ้นไทยไม่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง จึงมีโอกาสให้วีไอไทย ทำกำไรได้เยอะ
คนทั่วไป ยิ่งราคาหุ้นลงเท่าไหร่ ยิ่งกลัว แต่สำหรับวีไอ ราคายิ่งลงความเสี่ยงยิ่งน้อย เปรียบเหมือนในห้าง ถ้านักช็อปเห็นของลดราคาก็ต้องวิ่งเข้าใส่ แต่ในตลาดหุ้นถ้าราคาร่วงนักลงทุนวิ่งหนี
แนวทางค้นหาหุ้นหลายเด้ง
คลิปนี้แนะให้ดูครับ ดีมาก
ความได้เปรียบเรื่องต้นทุน
- ขนาด marketshare
- มี economy of scale ได้เปรียบต้นทุน
- มี econmy of speed ทำเร็วกว่า
- มีวัฒนธรรมองค์กร ประหยัด
แบรนด์ที่แข็งแกร่ง
- แบรนด์แข็งแกร่ง ลูกค้าไม่ยอมจ่ายแพงกว่า
- แบรนด์แข็งแกร่ง ลูกค้ายอมจ่ายแพงกว่า แบบนี้ดี
Network effect
- ธุรกิจ ecommerce หรือ online ต่างๆ ยิ่งมีลูกค้าเยอะ ก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น สร้างวงจรแห่งความรุ่งเรือง
ความสามารถในการบริหาร
- โลกเปลี่ยนแปลงไว ความสามารถผู้บริหารในการปรับเปลี่ยนองค์กร สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
- ความรู้ความชำนาญในอุตสาหกรรม ดูจากสิ่งที่เขาทำในอดีต
- มีแรงจูงใจ ให้กิจการเติบโต
- เก่งการเงิน มักจะได้เปรียบในเรื่องธุรกิจ บางคนไม่รู้ value ของกิจการ ปลดล็อกไม่เป็น เช่น TFG คนใหม่เข้ามารู้เรื่องการเงินก็สามารถปลดล็อกได้
Moat & Pricing Power
- คิดง่ายๆว่าถ้าเราอยากทำธุรกิจนี้ มันยากแค่ไหน
- เทียบดูว่าคนเรายอมจ่ายแพง จ่ายถูกกับสินค้านี้มากขึ้นหรือน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต?
การเติบโต 4 ระดับ
๑) รายได้
- ขายสินค้าเดิมให้ลูกค้าเดิมได้มากขึ้น หรือเจาะกลุ่มใหม่ได้
- ขยายสู่่ตลาดใหม่ ต้องดูว่ามีช่องให้โตได้ใหญ่แค่ไหน
- ขึ้นราคาหรือบริการได้หรือเปล่า
- ลดราคาเพื่อเพิ่มอุปสงค์ เช่น มือถือ
เคส SIRI
เป็นเบอร์สามของตลาด
จุดตัดสินใจ ผู้บริหารกู้เงินมาซื้อหุ้น
มีการปรับ net margin เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขายของแพง แบรนด์ดี
- เมื่อยอด pesale เริ่มลดลงให้เริ่มขาย แต่ตอนนั้นเขาติดกับดักรู้สึกดีกับการขึ้นที่ยาวนานของราคาหุ้น จึงมี bias ขอรอดูอีกนิด แต่ราคาหุ้นเริ่มลงแรงแล้ว แสดงว่าคนอื่นเด็ดขาดกว่า และจากนั้นราคาก็ลงเละ
- การที่ราคาร่วงแรงพร้อมวอลุ่ม อาจหมายความว่าพื้นฐานเปลี่ยน ไม่ใช่จุดซื้อที่ดี อย่าเพิ่งไปรับมีด
เคส JAS
เคยขาดทุนวอร์แรนต์ 30-40 ล้าน เพราะซื้อถัวเฉลี่ยขาดทุน (ตอนประมูล)
แต่ได้คืนตอนราคาฟื้นตัวไปใหม่
เคส THCOM
- ซื้อเพราะเห็นรุ่นพี่กำไร
- พอเห็นราคาร่วงหนัก ก็ซื้อ
- เอาเหตุผลในอดีต(ตอนรุ่งๆที่รุ่นพี่ซื้อกำไรมหาศาล)มาหลอกตัวเองให้ซื้อ(จับแพะชนแกะ)
- ตอนนั้นเอางบในอดีตก็ดีมาก มีการเติบโต ทุกอย่างดีหมด เห็นราคาลงจึงเห็นเป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยม ยิ่งดูยิ่งใช่
- ทุกครั้งที่เราซื้อหุ้นสักตัว ทุกสตอรี่มันน่าเชื่อถือหมด ขนาดวีไอที่ละเอียดยังซื้อ ดังนั้นทุกอย่างมันไม่เปีะจริงๆ
- เวลาจะซื้อต้องเอา valuation ของแต่ละโบรกมาดูด้วย ว่าเราซื้อจากพื้นฐานไหน เรามีส่วนต่างมากแค่ไหน
- ข่าวร้ายที่เข้ามาก็มี bias คิดว่าเป็นเรื่องชั่วคราว
แต่กลายเป็นทุกอย่างไม่เป็นไปตามที่คาด
เพราะเริ่มเห็นสัญญาณ CTH ซึ่งเป็นรายใหญ่ เจ๊ง
รู้ชะตากรรม โทรเช็ค IR แล้วพบว่าไม่มั่นใจ จึงเทขายตัดขาดทุน เนื่องจากตัวเองมีหุ้นเยอะ ราคาร่วงแรงเลย
การรีบตัดขาดทันไว ทำให้คล่องตัว เปลี่ยนตัวไปทำเงินได้
แต่ถ้าขาดทุน 30-30% เริ่มหลอกตัวเองว่ายังมีปันผลด้วยนะ ต้องกล้ำกลืนฝืนทน
จุดเปลี่ยนสำคัญคือ โลกไม่ต้องการสัญญาณดาวเทียมแล้ว เพราะมี facebook live
เกิดการ disrupt ของเทคโนโลยีนั่นเอง
มืออาชีพ อยากคัท ก็คัททันที ไม่มีเยื่อใย
วิธีหาหุ้นที่ไม่ซับซ้อน
- หาจากนักวิเคราะห์ ถ้าเห็นว่าน่าสนใจก็เอามาทำการบ้านต่อ
- หาจากสิ่งรอบตัว เช่น MONO เห็นคนดูเยอะ
- ชอบคนเชียร์หุ้น เพราะมีคนเล่าประเด็นหลักๆ เนื้อๆให้เราแล้ว จะได้ไปหาข้อมูลเพิ่มตรงจุด แล้วตัดสินใจเอง
"ลงทุนหุ้นต้องตัดสินใจกันเอง การจะรวยด้วยคนอื่นมันเป็นไปไม่ได้ เราต้องรวยด้วยตัวเอง"
การซื้อหุ้น
- ไม่รีบรับหุ้น หากเห็นราคาร่วงแรง วอลุ่มเยอะ ไม่รีบไปขวาง ปล่อยให้เขาขายหุ้นออกไปจนหมด
- แล้วจากนั้นราคาจะออกข้าง วอลุ่มไม่มี ตอนนั้นค่อยเก็บ
- ซื้อแบบมีลิมิต คือไม่เกิน 25% แต่ขายสาดลูกเดียว
เคส STA
Goodyear รายงานว่าต่อไปคนจะใช้ยางมากขึ้น เปลี่ยนยางมากขึ้น
อาจมีรอบใหญ่ เพราะ demand เพิ่ม แต่ supply ลด เพราะบ้านเราโค่นยางกันมากมาย
จึงน่าจะมีช่วงหนึ่งที่ยางจะขาดตลาดอย่างจริงจังๆ และ STA น่าจะได้ประโยชน์
ประโยคที่น่าสนใจอื่นๆ
- ถ้าคุณซื้อที่ระดับต่ำ หากแพ้จะไม่ขาดทุนเยอะ เราไม่ได้พูดถึงเกมชนะนะ
คนส่วนใหญ่คิดแค่ว่าชนะหรือแพ้
แต่ผมบอกเลยว่าเกมหุ้นนั้นไม่สำคัญว่าชนะหรือแพ้ มันสำคัญว่าถ้ามันชนะคุณจะทำยังไง และถ้ามันไม่เป็นอย่างที่คิด คุณจะทำยังไง
นี่แหละคือสิ่งตัดสินคนแพ้คนชนะ
เพราะผมคิดผิดทุกวัน แต่เมื่อผิด ผม stop loss ผมยอมปิดมันแล้วไปเอาตัวอื่น
แต่ถ้าคุณคิดว่าตอนได้ขอเอานิดหน่อย แต่ตอนเสียขอถือยาวๆ แบบนี้เจ๊งแน่นอน
- เทรดแบบเซียนมี่ ซื้อ 10 ชนะ 7 แพ้ 3 แต่เมื่อแพ้ก็รีบตัดขาดทุน ซึ่งมีแนวคิดคล้ายเทคนิคอล ผิดพยายามตัดขาดทุน 10% แต่ถ้ากำไรขอให้ได้ 50%
- ซื้อแล้วกำไรไม่รู้จะขายตรงไหน ไม่มีเป้าขาย แต่พอจะขายก็ตัดสินใจขายตอนกลัว ซื้อตอนโลภขายตอนกลัว ยังไงก็ไม่ได้กำไร มันผิดตั้งแต่ตอนคิด
- อย่ากลัวขายหมู ต้องหมูแน่นอน
- วินัยเป็นเรื่องสำคัญ ตัดขาดทุนสำคัญ
ถ้าผิดยอมขาดทุนแค่ 10% แต่หากกำไร ขายที่ 30% แค่นี้ก็รวยแล้ว
- การเรียนรู้ คือการทำให้เราเทรดพลาดน้อยลง มี win/loss ratio มากขึ้น จาก ซื้อ 10 ชนะแค่ 4 ก็สามารถปรับให้เรา ชนะ 5-6-7-8 ได้ จะทำให้เราประสบความสำเร็จไวขึ้น ผิดหวังน้อยลง
- อย่าหวังว่าจะถูกทุกครั้ง มันเป็นไปไม่ได้
- ธุรกิจที่ดีกับหุ้นที่ดีมันเป็นคนละตัวกัน ธุรกิจที่ดีถ้ามันแพงแล้ว ทุกคนรู้ว่าดีแล้ว คุณลงทุนไปก็ไม่ได้อะไร แต่หุ้นที่มันเลวๆชั่วๆเละๆ แต่ถ้ามันกำลังจะดี ลงทุนก็ได้เงินเยอะนะ
- ถ้าน้ำมันราคาขึ้น ใครซวยสุด?
การบินไทยอันดับแรก
แอร์เอเชีย กระทบน้อยสุด
- การลงทุนไม่มีอะไรซับซ้อน
อ่านให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ ใช้ google แล้วจะเข้าใจ
เข้าใจแล้วก็ซื้อหุ้น ซื้อหุ้นเสร็จ รอ แล้วรวย
แค่นี้ การลงทุนไม่ซับซ้อน
แต่ความจริงคือเราไม่ทำไง
- คุณซื้อหุ้นตามข่าวลือ พอราคาขึ้น คุณจะไม่อ่านอะไร
พอราคาลง คุณถึงไปอ่านข้อมูล
อ่านรายงานประจำปี อ่านบทวิเคราะห์ แล้วก็ตัดสินใจไม่ได้
จากนั้นราคาหุ้นก็ลงต่อ คุณเครียด
โทรไปปรึกษาใครสักคนว่าควรทำยังไงดี? หุ้นตัวนี้ดีมั้ย?
ไม่ว่าเขาจะแนำนำอะไรคุณก็ไม่เชื่อ เพราะคุณแค่อยากหาคนคุยด้วยเท่านั้น
อยากหาใครสักคนมาเข้าใจว่าติดดอยอยู่
- วงจรการลงทุนที่ได้ตังค์คือ
อ่านข้อมูลก่อน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูล แล้วคาดการณ์อย่างที่ควรจะเป็น แล้วสอบถามคนที่เก่งๆว่ามุมมองเราถูกมั้ย เล่าให้เขาฟัง แล้วเขาจะแนะนำ จากนั้นให้ลองทำเอง ถูกบ้างผิดบ้าง ผมไม่รู้ว่าผลตอบแทนจะดีแค่ไหน แต่นับวันคุณจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ แล้วความเก่งจะนำพาความร่ำรวยมาหาคุณ
- อย่าเพิ่งคิดว่าเราจะทำเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน
ให้ถามตัวเองว่าเรามีความสามารถที่จะมีเงินเป็นรอยล้าน พันล้านได้จริงหรือเปล่า หรือเราไม่คู่ควร
- ทำตัวให้เก่งเหมือนคนมีหมื่นล้าน แม้ไม่อยากมีเงินหมื่นล้าน มันก็จะหาทางเข้ามาหาคุณเอง
- เงินมันมีสเป็คเหมือนผู้หญิง มันชอบคนไฝ่เรียนรู้ มันชอบคนทำงาน มันชอบคนมุ่งมั่น มันชอบคนไม่ยอมแพ้ ถ้าคุณเป็นคนอย่างนั้นแล้ว แม้คุณจะรู้สึกไม่ชอบเงินเลย มันก็จะหาทางมาหาคุณอยู่ดี เพราะมันชอบคุณ
แต่ถ้าคุณทำตัวตรงกันข้าม แม้ว่าพ่อคุณจะให้มรดก มันก็จะไปจากคุณอยู่ดี
ที่มาเรื่องประวัติ
จาก"วินมอเตอร์ไซค์"สู่เซียนหุ้น VI'ทิวา ชินธาดาพงศ์'
pantip.com/topic/30153139
(แนะนำเพิ่มเติม ของฟรี)
หากต้องการศึกษาวิธีเล่นหุ้น แนะนำให้ไปอ่านบทความฟรี คลิปฟรีที่นี่ก่อนก็ได้
คลิกลิ้งนี้ครับ
https://www.zyo71.com/p/index.html เป็นสารบัญเว็บนี้ครับ
เข้าไปชม คลิกที่ลิ้งนี้
https://www.youtube.com/channel/UCTDoP5zRI4hRETT_2SSlPag/videos