การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

สรุปหนังสือ The (almost) Complete Guide to Trading


ช่วงนี้เกิดความคึก ไล่อ่านหนังสือของฝรั่งที่เขาแชร์ออนไลน์ เพื่อหาไอเดียมาส่งต่อให้ท่านได้เอาไปปรับใช้กัน เห็นว่าชอบ methods กันมากกว่า ก็เลยเน้นทางด้านนี้

ไปเห็น หนังสือ The (almost) Complete Guide to Trading มีเนื้อหาบางส่วนน่าสนใจ
เลยไล่อ่านและสรุปใจรายละเอียดที่ชอบมาแปะในบล็อกครับ

เนื้อหาโดยสรุปมี 7 บท
บทที่ 1 : อคติในการเทรด
บทที่ 2 การก่อเกิดแนวโน้ม
บทที่ 3 แนวรับ - แนวต้าน
บทที่ 4 Pivot Points
บทที่ 5 ทำความเข้าใจการย่อ
บทที่ 6 การทะลุหลอก
บทที่ 7 รูปแบบของแท่งเทียนกลับตัว และ chart pattern


บทที่ 1 : Trading bias อคติในการเทรด
อคติคือศัตรูตัวร้ายที่สุดสำหรับนักเทรด โดยเฉพาะการเอาไปใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนให้ขาย หรือ ซื้อ
สมมุติว่าเรามีความรู้เรื่องเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ว่า
- ถ้าราคาร่วงลงไปอยู่ใต้ หรือวิ่งอยู่ใต้เส้น 200 วัน ให้ขาย หรือชอร์ต
- ถ้าราคาทะลุขึ้นไปวิ่งเหนือเส้น หรือวิ่งอยู่เหนือเส้น 200 วัน ให้ซื้อ หรือ long

ปัญหาคือ พวกเขาจำได้แค่นี้ แล้วหลับหูหลับตาซื้อ หรือขาย โดยไม่ได้ดูสิ่งแวดล้อมเลย ผลก็คือ พังพินาศ ขาดทุนเละ


จากตัวอย่างนี้
ตอนที่ราคาร่วงลงไปหาเส้น 200 วัน แล้วหยุดย่ำ บางคนเห็นเป็นโอกาสสำหรับเข้าซื้อ จึงรีบเข้าด้วยความมั่นใจเพราะเชื่อทฤษฎี แต่ที่ไหนได้ หลังจากที่มันย่ำไปไม่กี่วัน ก็ร่วงแรง กลายเป็นจังหวะขายไปเสียนี่ เหตุผลที่มันลงต่อก็เนื่องจากก่อนหน้านี้ แนวโน้มาลงมันได้ก่อตัวเหนือเส้น 200 วันมานานแล้ว

ดังนั้น เชื่อแค่นี้ไม่พอ ต้องมีความรู้อื่นเพิ่มอีก


บทที่ 2 ESTABLISHING THE TREND การก่อเกิดแนวโน้ม
บทก่อนนหน้านี้เป็นเรื่องของการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน เป็นตัวแบ่งโซน ซื้อ หรือขาย ซึ่งยังไม่พอต่อการระบุจุดซื้อและขายที่ได้เปรียบ
บทนี้จึงนำเสนอแนวทางการระบุแนวโน้มที่เจาะลึกขึ้น เพราะถ้าเรารู้จักแนวโน้มมากขึ้น การลงทุนรันกำไรก็ง่ายขึ้น การไม่รู้จักแนวโน้ม เข้ามั่วตามใจ กลายเป็นเล่นสวนแนวโน้ม ก็มีแต่ความเสียหายมากกว่าได้ดี

โดยผู้เขียนให้หาหลักฐานเพิ่มขึ้น คือ
๑) ดูกราฟวีคเสริม เพื่อ ดูว่า
- ราคาอยู่ใต้ เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ เป็นขาลง
- ราคาอยู่เหนือ เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์ เป็นขาขึ้น

๒) ระบุจุดต่ำสุด หรือสูงสุดในรอบปีก่อนหน้านี้ เพื่อข้อมูลที่ว่า
- ราคาอยู่เหนือระดับจุดสูงสุดของปีที่แล้ว เป็นขาขึ้น
- ราคาอยู่ใต้ระดับจุดต่ำสุดของปีที่แล้ว เป็นขาลง



บทที่ 3 – SUPPORT & RESISTANCE (แนวรับ - แนวต้าน)
เราต้องมองหาการแสดงออกของราคาที่เกิดในโซนแนวรับกับแนวต้าน เพื่อคาดเดาว่าราคาควรจะขึ้นต่อ ลงต่อ หรือออกข้าง

ตัวช่วยที่เขาใช้ คือ
- เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน
- ระดับจุดสูงสุด หรือ ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์
- ตัวเลขกลมๆ
- trendline

อย่าลืมจากข้อที่แล้ว
- เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน
- เส้นค่าเฉลี่ย 200 สัปดาห์
- ระดับจุดสูงสุด หรือ ต่ำสุดของปีที่แล้ว
- pivot point (เดี๋ยวจะขยายความในบทที่ 4)

เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน มันมีหน้าที่ดังนี้
- ควรทำตัวเป็นแนวรับ (ในขาขึ้น) เป็นแนวต้าน(ในขาลง)
- ช่วงเวลาที่ราคาหยุดในโซนเส้น 50 วัน ควรไม่เกิน 2 วัน


ปล. เดี๋ยวบทที่ 7 จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับแท่งเทียนกลับตัวให้ดูนะ


จุดสูงสุด/ต่ำสุด ในรอบ 52 สัปดาห์
ถ้าใช้กราฟวีคดูจะเห็นระดับนี้ง่ายขึ้น
นัยยะของระดับนี้ก็คือ มันเป็นแนวต้าน (จุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์) และเป็นแนวรับ(จุดต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์)
ถ้าคุณเปิดกราฟดูย้อนหลัง ก็จะเห็นการหยุดที่ระดับนี้เสมอ นี่คือนัยยะ
- ถ้าระดับจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ อยู่เหนือราคาปัจจุบัน มันคือแนวต้าน
- ถ้าจุดต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ อยู่ใต้ราคาปัจจุบัน มันคือ แนวรับ

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้
- ถ้าราคาวิ่งอยู่เหนือจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ให้หาจังหวะซื้อ(ที่ได้เปรียบ)
- ถ้าราคาวิ่งอยู่ใต้จุดต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ ให้หาจังหวะขาย หรือชอร์ต(ที่ได้เปรียบ)



ตัวเลขกลมๆ
ส่วนใหญ่แล้ว มันคือตัวเลขที่หาร 10 ลงตัว อาทิ 19, 20, 50, 100 เป็นต้น หรือไม่ก็จุดทศนิยมหารสิบลงตัว 1.00 , 2.40 เป็นต้น

การเอาข้อมูลนี้ไปใช้งาน
- สำหรับหุ้นที่ราคาเทรดต่ำกว่า 100 ระดับที่หาร 10 ลงตัว จะมีนัยยะ
- สำหรับหุ้นที่ราคาเทรดสูงกว่า 100 ระดับที่ลงท้ายด้วย 50 จะมีนัยยะ เช่น 550 จะมีนัยยะกว่า 530
- สำหรับค่าเงิน ตัวเลข 1.0000, 2.0000 หรือ 100.00, 200.00 จะมีนัยยะ
- ตัวเลขครึ่ง (เช่น 1.5000 และ 150) จะมีนัยยะกว่า ตัวเลขที่เต็มสิบอื่นๆ (เช่น 1.8000 หรือ 180.00)

เมื่อราคาวิ่งขึ้น หรือลงไปถึงระดับตัวเลขนี้ มันมักจะหยุด แล้วย่อ(หรือเด้ง) เพื่อเลือกทาง ว่าจะไปตามแนวโน้มเดิม หรือกลับตัวเปลี่ยนเทรนด์

ตัวเลขกลมๆจะมีนัยยะมากขึ้น ถ้ามันเป็นโซนจุดสูงสุดหรือต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ด้วย (ซึ่งมักจะบังเอิญเป็นตัวเลขนี้เสมอ)


Trendlines
เส้นนี้เป็นแนวรับ/แนวต้านที่แข็งแรงไม่น้อย
มันลากยากมาก บางคนถึงกับบอกว่ามันจะแม่นก็ต่อเมื่อลากย้อนหลังเท่านั้น พอจะเอาหน้างานจริงๆ มักจะไม่เวิร์ค

แนวทางการลาก
- สำหรับแนวโน้มขาขึ้น ให้ลากผ่านจุดต่ำสุดที่ยกตัวสูงขึ้นอย่างน้อย 2 จุด
- สำหรับแนวโน้มขาลง ให้ลากผ่านจุดสูงสุดที่ยกต่ำลงอย่างน้อย 2 จุด
- เส้น trendline ต้องไม่ตัดผ่านแท่งราคา

การใช้ประโยชน์จาก trendline
- ถ้ามันถูกละเมิด แท่งราคาทะลุขึ้น หรือลง เป็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม


สรุป แนวรับ แนวต้าน
- ใช้การละเมิดเส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน และ trendline เป็นสัญญาณเตือน ว่าราคามีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้ม
- ให้ใช้ระดับตัวเลขกลมๆ และระดับจุดสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ เป็นแนวรับ/แนวต้าน
- ให้มองแนวรับ/แนวต้านเป็นโซน เผื่อเขย่าด้วย


บทที่ 4 Pivot Points
Pivot Points (เหมือนกับ จุดสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์, จุดสูงสุดในรอบปี, และตัวเลขกลมๆ) คือระดับแนวรับ/แนวต้านระนาบ ซึ่งมีความแข็งแกร่งกว่าแบบที่ว่ามาในบทที่แล้ว เพราะ
- ระดับจุดสูงสุด/ต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ และสูงสุด/ต่ำสุดในรอบปี มันไม่ได้มีนัยยะกับทุกตัว บางตัวก็ข้ามได้ง่ายๆ
- ตัวเลขกลมๆ เป็นโซนแนวรับ/ต้านทางจิตวิทยา มันจะมีนัยยะก็ต่อเมื่อนักลงทุนให้ค่ากับมัน จึงใช้ไม่ได้กับทุกตัว
- เส้นค่าเฉลี่ย เป็นอินดิเคเตอร์ที่วิ่งช้ากว่าราคา บางทีเราต้องรอให้มันวิ่งมาทันเพื่อยืนยัน ซึ่งบ่อยครั้งก็ช้าไป เพราะราคาวิ่งไปไกลแล้ว
- trendline ยิ่งแล้วใหญ่ ดูย้อนหลังแม่น แต่หน้างานมักจะมั่วเสมอ อีกอย่างคือราคามันสวิงไร้ทิศทางมาก เส้นเดิมเคยใช้ได้ ต่อมาอีกไม่นาน มันก็ถูกละเมิดได้ง่ายๆ

Pivot Points เป็นระดับราคาที่นักเทรด "ฝังใจ" เช่น ระดับราคา all time high ก่อนที่ราคาจะกลับตัวร่วงแรง เปลี่ยนแนวโน้ม อีกอย่างมันเป็นระดับที่โดดเด่นจริงๆ เป็นระดับราคาอ้างอิงสำหรับการขายหุ้นทำกำไรของนักเทรดส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นราคาเป้าหมายขายทำกำไร

ซึ่ง Pivot Points มีอยู่ ๒ ประเภท คือ Major pivot  กับ Minor pivot
๑) Major Pivot point
สามารถระบุได้จาก
- แท่งราคาที่อยู่ใต้ pivot high ลงไป 10 แท่งหรือมากกว่า
- แท่งราคาที่อยู่เหนือ pivot low ขึ้นไป 10 แท่งหรือมากกว่า

การประยุกต์ใช้
เราจะใช้มันเป็นตัวบอกว่าราคาไม่ควรทะลุราคาสูงสุด (หรือต่ำสุด) อย่างน้อยแท่งที่ 11 ก่อนและหลัง pivot
ถ้าราคามันลงต่อ(หรือขึ้นต่อ) แสดงว่าโอกาสกลับมาอยู่ในแนวโน้มเดิมยากมาก

เมื่อ Major Pivot point ถูกทำลาย มันจะเปลี่ยนสถานะ จากแนวรับเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านเป็นแนวรับไปโดยปริยาย เมื่อราคากลับตัวขึ้น/หรือลงไปหาระดับทะลุนั้นได้ มักจะโดนต่อต้านเสมอ

๒) Minor Pivot points
มันไม่ได้เป็นแนวรับแนวต้านที่มีนัยยะ เพราะมันมีการกลับตัวก่อนถึง 10 แท่ง เป็นการดูเพื่อยืนยันการ breakout แต่จะไม่ได้ใช้เป็นแนวรับแนวต้านกัน

ลักษณะของ Pivot points

การที่ราคาย่อติดต่อกัน เกิน 10 แท่ง Major Pivot สื่อว่าเป็นการพักฐานระยะกลาง
แต่ถ้าราคาย่อติดต่อกันไม่เกิน 10 แท่ง สื่อว่าเป็นแค่การพักตัวชั่วคราว


บทที่ 5 Recognizing Consolidation ทำความเข้าใจการย่อ
การย่อ มี ๒ ประเภท คือ pullback กับ consolidation
โดยมีวิธีการแยกแยะด้วยการดูองค์ประกอบ ๓ ส่วน
- คาบการแกว่ง (range)
- ความลึก (depth)
- เวลา (duration)

ผมอ่านแล้วทำความเข้าใจยากมาก เลยขอเอารูปมาให้ดูประกอบก่อนก็แล้วกันนะ

อธิบายตามความเข้าใจคือ
Pullback นั้น ราคาสวิงสวนเทรนด์ครั้งเดียว จากนั้นก็กลับมาตามเทรนด์
แต่ Consolidation นั้น ราคาสวิงหลายรอบ ในกรอบ ไม่มีนิวไฮ /ไม่มีเทรนด์ เป็น sideway


บทที่ 6 Fake Breakout การทะลุหลอก
ในการเทรดแบบ breakout เราไม่สามารถเลี่ยงการเกิด fake breakout หรือเบรกหลอกไม่ได้เลย เพราะตลาดหุ้นมันเป้นเกมส์ลับลวงพราง การทำความเข้าใจและรับมือกับการหลอกลวงจึงเป็นสิ่งที่นักเทรดที่มุ่งมั่นควรให้ความสำคัญมากกว่า



กฎการเทรดเพื่อเลี่ยง fakeouts
- รอให้เนื้อแท่งราคาปิดเหนือแนวรับ/แนวต้านให้ได้ก่อน
- พิจารณาทรงของแท่ง ถ้ามีเนื้อเยอะไส้สั้นมาก หรือไม่มีไส้เลย ถือว่าน่าเชื่อถือว่าจะไปต่อ
- ถ้าเนื้อแท่งเทียน สั้นมาก ก็ให้รอดูแท่งของวันถัดไป ถ้ายังสั้นอีก ก็ให้ระวังว่ามีโอกาส fakeout
- ถ้าราคายังอยู่ในช่วง consolidation หรือ pullback ลึกมาก ให้รอการขึ้นหรือลงไปทดสอบแนวรับ/แนวต้านก่อนว่าจะเอาอยู่มั้ย


บทที่ 7 รูปแบบของแท่งเทียนกลับตัว และ chart pattern
แท่งเทียนที่น่าสนใจ
- โดจิ เป็นลักษณะของการ "ตัดสินใจไม่ได้"
- spinning top ก็เป็นอีกแบบของโดจิ

- hanging man  กับ shooting star เป็นตัวส่งสัญญาณว่าราคามีโอกาสกลับตัวจากการขึ้น
- hammer กับ inverted hammer เป็นตัวส่งสัญญาณว่าราคามีโอกาสกลับตัวจากการลง

ถ้าจะให้การกลับตัวน่าเชื่อถือ ต้องดูความยาวของไส้
- ไส้ต้องยาวมากกว่าเนื้อ อย่างน้อย ๒ เท่า
- ต้องรอแท่งเทียนยืนยันทุกครั้ง

- แท่งเทียนกลืนกิน Engulfing candles
มีทั้งกลืนกินเพื่อขึ้น และกลืนกินเพื่อลง
มันเป็นการยืนยันการเลือกทาง ถ้าเกิดหลังจากที่ราคาทำแท่งสั้นๆ หรือโดจิ ติดต่อกันหลายแท่ง จะยิ่งน่าเชื่อถือ

ถ้าอยากอ่านของบ้านเรา หนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ที่ผมเขียนก็ได้ให้รายละเอียดไว้เยอะเลยครับ

Chart patterns
๑) flags เป็นการย่อสวนเทรนด์ เพื่อพักเหนื่อยชั่วคราว
กฎสำหรับทรงนี้คือ
- ราคาควรพักตั้งแต่ 2-11 แท่ง
- ต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่งของ flag ที่ไปละเมิด pivot
- การยืนยัน flag ก็ต่อเมื่อแท่งราคาทะลุ pivot ขึ้นไปได้
๒) Double tops และ Double bottoms
๓) Head and shoulders
๔) Cup and handle




เท่าที่คิดว่าสนใจก็มีแค่นี้ครับ
หาซื้อได้ที่ amazon.com นะครับ เพราะที่ผมเอามาให้ดูมันเล็กมากๆ
ทางที่ดีซื้อหนังสือเขามาอ่านดีกว่านะ หาซื้อได้ที่ amazon.com นะครับ



(ขอแปะโฆษณา)
ส่วนเล่มนี้ม่ขายในบ้านเราครับ ของผมเอง

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)