หุ้น turnaround หรือ หุ้นเทิร์นอะราวด์ หรือ หุ้นพลิกฟื้น มีหลายชื่อเรียกมาก นักลงทุนจะทำกำไรได้มากหากซื้อหุ้นช่วงบริษัทกำลังฟื้นตัว
หลักการพิจารณาหุ้นประเภทนี้จึงอยู่ที่การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ และแนวโน้มพื้นฐานโดยรวม ซึ่งแนวคิดการพลิกฟื้นกิจการมักต้องอาศัยการพยุงระบบภายในให้เกิดความสมดุลเพียงพอที่กิจการจะดำเนินไปได้ พร้อมกันนั้นผู้บริหารต้องสามารถแก้ปัญหาของสิ่งรบกวนจากภายนอก หรือปรับตัวกิจการให้เข้ากับสิ่งรบกวนภายนอกนั้นให้ได้
สาเหตุที่บริษัทล้มเหลว มาจาก
สาเหตุภายนอก ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยน ภัยพิบัติ การเมือง
สาเหตุภายใน หลงทางออกนอกธุรกิจหลัก ขาดกลยุทธที่ชัดเจนและผิดพลาด ขยายธุรกิจใหม่มากเกินไป ระบบควบคุมคุณภาพล้มเหลว การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพและการไร้ภาวะความเป็นผู้นำ
ลักษณะหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง 10 ประการ
- มีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย ดูจาก ยอดขาดทุนสะสมมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น
- ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ยอมซื้อหุ้นเพิ่มทุนฃ
- ไม่มีสินค้าหรือบริการที่เด่นเหนือคู่แข่ง
- ขาดทรัพยากรที่ช่วยให้พลิกฟื้น
- มีประวัติที่เต็มไปด้วยเหตุร้ายที่คาดไม่ถึง
- เทคโนโลยีล้าสมัยหรือไร้ประสิทธิภาพ
- ขาดเจ้าภาพ(ผู้บริหาร)ที่มือถึง
- อุตสาหกรรมไร้อนาคต
- ประธานบริหารไม่ชอบออกสื่อ เอาแต่หลบหน้า
- ประธานบริหารของบริษัทไร้ฝีมือ
การพลิกฟื้นกิจการ
แก้ตามความรุนแรงของปัญหา
- ไม่รุนแรง ลดทอนค่าใช้จ่ายก็เพียงพอ
- หนักหนา ตัดขายทรัพย์สินหรือธุรกิจที่ไม่จำเป็นออก
- รุนแรงสุดๆ ยกเครื่อง(เปลี่ยน)โมเดลธุรกิจและกลยุทธ
การพลิกฟื้นที่ได้ผลนั้น มักต้องเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและบุคลกร จึงต้องดูให้ออกว่าสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนนั้นมันเป็นการแก้ถูกจุดหรือเปล่า
จะฟื้นได้มั้ย? ให้เช็คปัจจัยดังนี้
- ดูความเป็นไปได้ของโมเดลธุรกิจ
- ศักยภาพของทรัพยากร ดูวิสัยทัศน์ของ CEO มุมมองธุรกิจที่ไม่ยึดกรอบเดิม
- ต้นทุนของเงินทุน เพิ่มทุนง่ายมั้ย ผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่หนี ต้นทุนเงินกู้ไม่สูง
- แผนการบริหารทรัพย์สินเพื่อให้บริษัทสามารถกลับมาแข่งขันและทำกำไรได้อีกครั้งหนึ่ง
นักลงทุนหุ้นควรลงรายละเอียดให้ได้ว่า
บริษัทที่ประกาศว่าจะพลิกฟื้นนั้น มีแผนธุรกิจที่ทำให้สามารถลดการลงทุนในส่วนของสินทรัพย์และยอดหนี้สิน เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้หรือไม่ โดยทำได้จากการเปรียบเทียบข้อมูลในเรื่องของ
- สัดส่วนตัวเลขทรัพย์สินถาวรต่อทรัพย์สินทั้งหมด
- อัตราการหมุนเวียนทรัพย์สิน
- และอัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน
กลยุทธ์การฟื้นฟูกิจการ
ดูว่าเขาแก้ตรงจุดมั้ย? ปัญหาเกิดจากกลยุทธ์ธุรกิจ หรือปฎิบัติการ ต้องแก้ตามเหตุ
- การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำองค์กรถือเป็นเงื่อนไขแรกที่ต้องทำในการฟื้นฟูกิจการ
- ต่อมาคือฟื้นฟูฐานะทางการเงิน คือการพยายามให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายอยู่ในระดับต่ำที่สุด และมีเงื่อนไขผูกพันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
จากนั้นถ้าพยายามเสริมความได้เปรียบเชิงแข่งขันได้จะถือว่ามีอนาคตที่น่าสนใจมาก