บทความนี้แปลจาก http://www.marketgauge.com/mmma-special/dl/Swing_Trade_For_Profit_Report-By_MarketGauge.pdf นะครับ ใครเก่งอังกฤษสามารถไปอ่านต้นฉบับได้นะ เพราะผมจะแปลเอาเฉพาะที่ตัวเองพอเข้าใจเท่านั้น
สวิงเทรด คืออะไร?
เป็นการเทรดตามการเคลื่อนไหวของราคาในเวลาไม่กี่วัน จนถึงหลายเดือน ไม่ซื้อแล้วถือตลอดกาลแบบนักลงทุนระยะยาว
ตลาดมีการเคลื่อนไหวทั้งขึ้นและลง เมื่อมันมีการยืนยันแนวโน้ม-นักสวิงเทรดจะดข้าไปร่วมวงเอาตอนนั้น โดยทั่วไป,พวกนัก swing trade จะเข้าเมื่อมีสัญญาณยืนยันแนวโน้ม แต่จะรีบออกก่อนที่ราคากลับตัว
(หนังสือบ้านเรา ก็มีที่ผมเขียนอยู่เล่มหนึ่งนะ
ชื่อ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" ลองหาอ่านกันดูได้ครับ)
ความท้าทายและโอกาสของการ swing trade
๑) ช่วงที่ตลาดอยู่ในระดับ 1600 จุด ไม่เหมาะสำหรับการซื้อแล้วถือแน่นอน มันเหมาะสำหรับการ swing trade มากกว่า
๒) สามารถเลี่ยงการขาดทุนหนักๆได้
๓) เงินน้อยนี่แหละเหมาะกับสไตล์นี้มาก
๔) ไม่จำเป็นต้อง full time เป็นพนักงานเงินเดือนก็ยิ่งเหมาะ เพราะไม่จำเป็นต้องเฝ้าจอตลอดเวลา
กฎการ swing trade
กฎข้อ ๑) เทรดตามแนวโน้มเท่านั้น
ให้แนวโน้มเป็นผู้สนับสนุนเบื้องหลังของคุณ เข้าเทรดเมื่อตลาดนำเสนอโอกาส รีบออกเมื่อเห็นว่ามีความเสี่ยง
ดังนั้น คุณต้องรู้จักแนวโน้มของตลาดก่อนว่า มี 6 ระยะ
ตัวช่วยคัดแยกคือ EMA50 กับ EMA200
1) ขาขึ้น : ราคาวิ่งอยู่เหนือ EMA50 โดย EMA50 อยู่เหนือ EMA200 โดยราคาสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือน - 1 ปี และยกไฮยกโลว์ได้อย่างต่อเนื่อง
2) เตือน : ราคาหลุด EMA50 โดย EMA50 อยู่เหนือ EMA200
3) แจกจ่าย : ราคาหลุดไปอยู่ EMA200 โดย EMA50 อยู่เหนือ EMA200
4) ขาลง : ราคาหลุดไปอยู่ใต้ EMA200 โดย EMA50 อยู่ใต้ EMA200
5) ฟื้นฟู : ราคาวิ่งอยู่เหนือ EMA50 โดย EMA50 อยู่ใต้ EMA200
6) สะสม : ราคาวิ่งอยู่เหนือ EMA50 โดย EMA50 ยังพัวพันกับ EMA200 และราคายังไม่มีการยกกรอบขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือน - 1 ปี ได้
กฎข้อ ๒) จุดเข้าซื้อที่ใช่
หลังจากที่มันยืนยันแนวโน้มแล้ว
- มันต้องสังเกตเห็นง่าย เห็นบ่อย
- ใช้ทำเงินซ้ำได้
- ถ้าต้อง stop loss ต้องเสียหายน้อยที่สุด
ที่เขาแนะนำคือ
- ดูการสร้างฐานราคา
- ดูการย่อแล้วเด้งที่เส้นค่าเฉลี่ย
กฎข้อ ๓) หาจุดขายเก็บกำไร เพื่อปั้นพอร์ต
ลักษณะการขายหุ้นสามารถใช้เป็นตัวแบ่งว่าใครจะอยู่รอดหรือคนขาดทุนซ้ำซากได้
ถ้าคุณยังมีปัญหาเรื่องการขายเพื่อเก็บกำไร คุณต้องกลับไปพัฒนากลยุทธ์การขายให้ดีขึ้น ซึ่งมันจะต้องครอบคลุมทั้งขายเก็บกำไรและป้องกันพอร์ตเสียหายด้วย
การขายที่มีคุณภาพเป็นยังไง?
- ต้องเห็นชัด เข้าใจง่าย ลงมือทำได้ง่าย
- ทำซ้ำได้
- ต้องปรับให้เหมาะกับนิสัยของนักเทรดคนนั้น
- ต้องปรับให้เหมาะกับสภาพตลาดในช่วงนั้น
ถ้าอยากให้มันสมบูรณ์แบบ คุณต้องระบุเพิ่มขึ้นอีก ดังนี้
- ระบุวัตถุประสงค์การเทรดของคุณ
ก่อนจะขายให้ถูกต้อง ท่านควรกลับไปตรวจสอบตัวเอง ว่าเทรดทำไม เป้าหมายของการเทรด เพื่อ? แผนการทำเงินของคุณคืออะไรกันแน่ ถ้ายังไม่รู้อีก ก็ให้ถามตัวเองว่าคุณเหมาะกับแบบไหนกันแน่
1) Trend following เทรดตามแนวโน้ม
ถ้าจะเล่นตามแนวนี้ จุดขายของคุณคือตอนที่ราคากลับตัว ยืนยันว่าจบแนวโน้มอย่างแน่ชัด
แนวทางนี้ ถ้าเจอหุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ก็จะได้กินกำไรคำใหญ่มาก
อย่างไรก็ตาม, แนวทางนี้ท่านจะไม่ได้ขายที่ราคาสูงสุด ต้องให้ราคาย่อแล้วหลุดกรอบขาขึ้นแล้วจึงได้ขายออก
ท้ายที่สุด, ประสิทธิภาพในการทำกำไรของคุณ ขึ้นอยู่กับว่า คุณสามารถทำกำไรต่อรอบได้มากแค่ไหน และทำได้บ่อยแค่ไหน ด้วยครับ
2) ระบุราคาเป้าหมายในการขายทำกำไรเบื้องต้น
ท่านสามารถหามันได้โดย
- ดูว่ามันมีแนวรับแนวต้านใหญ่อยู่ตรงไหน
- ระยะของการเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้ (ถารู้จัก price pattern)
- ระดับกำไรขั้นต่ำ
ต้องบอกกันก่อนว่า ทั้งการใช้ราคาเป้าหมาย กับการตามแนวโน้ม ใช่ว่าจะการันตีว่าได้กำไรทุกครั้ง เพราะมันก็มีทั้งตัวที่ล้มเหลว(ซึ่งเยอะกว่า) แต่ถ้ามันทำกำไร วิ่งรอบใหญ่ให้ ก็จะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
ข้อดีของการมีราคาเป้าหมาย คือมันช่วยให้คุณทำตามกฎ ตามวินัยได้ง่ายกว่า
ก็วินัยนี่แหละที่เป็นสาเหตุหลักสำหรับการสร้างกำไรที่สม่ำเสมอ โดยศัตรูของมันก็คืออารมณ์ของท่านเองที่ชอบชักใบให้เรือเสีย ไม่ยอมทำตามวินัย
สำหรับการสวิงเทรดแบบเฮ็ดจ์ฟันด์ เขาจะเอาสองอย่างมาผสมกัน คือการขายหุ้นเก็บกำไรก้อนแรกตอนที่ราคาวิ่งถึงเป้าหมาย และเก็บอีกส่วนวิ่งไปตามแนวโน้มแล้วขายเมื่อราคาจบแนวโน้ม โดยมันจะช่วยให้
- ท่านได้กำไรที่สม่ำเสมอ
- ลดความตึงเครียด ต่อการคาดหวังต่อผลตอบแทน
- เพิ่มความเชื่อมั่นในการเทรดตามแนวโน้มรอบใหญ่ได้ดีขึ้น
- ช่วยให้บริหารการเทรดได้ง่ายขึ้น
การขายหุ้นออกเพื่อป้องกันเงินทุน (stop loss)
การขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดที่เลี่ยงไม่ได้ หากเทรดเดอร์คนไหนยอมรับข้อนี้ได้ไว เขาจะมีผลงานการเทรดที่ได้กำไรยั่งยืนกว่าคนทั่วไปที่เอาแต่ได้อย่างเดียว
การ stop loss คือการนึกถึงความเสี่ยงตั้งแต่เริ่ม มันทำให้ท่านสามารถบริหารจัดการเงินทุนในการเข้าซื้อ และการขายทำกำไรไม้แรกได้
แล้วเราควรเสี่ยงได้มากแค่ไหน?
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และจุดเข้าซื้อของแต่ละคน เช่น
- ถ้าท่านซื้อตอนที่ราคาเด้งไปจากแนวรับ จุดหนีของคุณก็ควรเป็นตอนที่ราคาหลุดแนวรับ
อย่างไรก็ตาม, ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ควรล้อไปกับเป้าหมายการขายทำกำไรของคุณ
ท่านคงเคยได้ยินเรื่องของ risk reward ratio มาบ้าง
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะมีความสัมพันธ์กับการเริ่มขายทำกำไร หรือล็อกกำไร
โดยปกติแล้วระดับขายล็อกกำไรควรเป็น 2 เท่าของความเสี่ยงที่ยอมรับได้
สมมุติว่าท่านมีระดับตัดขาดทุนที่ 5% ถ้าราคาวิ่งบวกถึง 10% ให้ท่านยกระดับตัดขาดทุนไปไว้ที่ราคาต้นทุน หากราคาไม่ยอมไปต่อ แล้วร่วงแรงจนลงมาถึงจุดตัดขาดทุนใหม่ก็ให้ขายออกไป และถ้าราคาบวกขึ้นไปมากกว่านั้นก็ให้ท่านยกระดับตัดขาดทุนตามขึ้นไป
ด้วยการใช้สูตรนี้ มันจะช่วยให้ท่านมีกำไรติดมือมาโดยตลอด สามารถปั้นพอร์ตให้เติบโตได้
Stop Loss ด้วย ATR (Average True Range)
เขาบอกว่ามันทรงประสิทธิภาพมาก แต่ผมเองก็ไม่เคยใช้นะ
เลยเอางานของลุงโฉลก และเซียนๆมาช่วยอธิบายก็แล้วกัน
VIDEO
VIDEO
ลองเอาไปใช้ดูครับ