มีโอกาสอ่านหนังสือ 7 Chart Patterns That Consistently Make Money คร่าวๆ
เห็นว่าเขาให้ข้อมูลที่น่าสนใจก็เลยสรุปข้อมูลมาให้อ่านกัน
VIDEO
7 Chart Patterns That Consistently Make Money ถ้าจะแปลเป็นไทยก็น่าจะได้ใจความว่า ๗ รูปแบบราคาที่ทำเงินได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเขาให้คำมั่นสัญญาแบบนี้ ก็ต้องลองศึกษาแล้วเอาไปลองปรับใช้กันดูแล้วล่ะ ว่ามั้ย?
ผู้เขียน คือ ED DOWNS เป็น CEO & Founder, Nirvana Systems Inc.
เผื่อคนไม่มีเวลา รูปแบบราคาที่เขาว่า มีดังนี้..
แบบที่ 1: Support and Resistance หรือ แนวรับ-แนวต้าน
แบบที่ 2: Trendline Break and Reversal หรือ การทะลุหรือกลับตัวจาก trendline
แบบที่ 3: Saucer Formations หรือ การสร้างฐานทรงจาน
แบบที่ 4: Fibonacci Retracements หรือ การเด้งตามระดับ Fibonacci
แบบที่ 5: Gaps (Breakaway, Measured, Exhaustion) หรือการเปิดกระโดด
แบบที่ 6: Volume Climax, Volume Trend หรือ วอลุ่มพีค, แนวโน้มของวอลุ่ม
แบบที่ 7: Consolidations (Flags and Triangles) หรือการบีบตัว แบบ flag , สามเหลี่ยม
เนื้อหาที่น่าสนใจ มีดังนี้
สูตรเพื่อการเทรดที่ประสบความสำเร็จ
๑) หาสไตล์การเทรดที่เหมาะสมกับบุคลิกของตัวท่านเอง
๒) พัฒนาระบบให้เหมาะสมกับตัวตนของท่าน
๓) ยึดตามระบบอย่างเคร่งครัด ด้วยการมีวินัย
แบบที่ 1: Support and Resistance หรือ แนวรับ-แนวต้าน
ระดับแนวรับ คือ ระดับจุดต่ำสุดเก่า
ระดับแนวต้าน คือ ระดับจุดสูงสุดเก่า
ยกตัวอย่างกราฟหุ้นบ้านเรานะ HUMAN
การดูแนวรับ ก็ให้ใช้จุดต่ำสุดเก่าเป็นระดับอ้างอิงครับ (1)
ลากเส้นพาดเอาไว้เลย ถ้าราคาหลุด (2) ก็สื่อชัดเจนว่า ราคาอยากลงมากกว่าขึ้น
จากนั้น ถ้าราคาเด้งกลับขึ้นไป ระดับที่เคยเป็นแนวรับ ก็จะเปลี่ยนมาเป็นแนวต้าน (3)
ถ้าราคาขึ้นไปชนแล้วไม่ผ่าน มันก็จะโดนตบให้กลับลงต่อ (4)
จนกระมั่งมันข้ามไปได้นั่นแหละ ระดับแนวต้านนี้จะถูกเคลียร์
และด่านต่อไป ก็คือจุดสูงสุดก่อนหน้านี้ (5)
ประโยชน์ของแนวรับ
บางคนใช้เป็นจุดซื้อ ถ้าราคาหุ้นลงไปเด้งกลับจากระดับนั้น
แต่บางคนก็ใช้เป็นจุดขายหุ้นออก ถ้าราคาทะลุลงไป
ประโยชน์ของแนวต้าน
บางคนใช้เป็นจุดซื้อ ถ้าราคาทะลุระดับนั้นขึ้นไปได้
แต่บางคนก็ใช้เป็นจุดขายหุ้นออก ถ้าราคาขึ้นไปถึง หรือชนแล้วไม่ผ่าน หรือยืนไม่อยู่
ถ้าเอามาใช้ร่วมกันก็จะได้ว่า "ซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน" นั่นเอง
แบบที่ 2: Trendline Break and Reversal หรือ การทะลุหรือกลับตัวจาก trendline
Trendline หรือเส้นแนวโน้ม ที่ลากพาดจุดสูงสุด หรือต่ำสุด
เราจะลากพาดจุดสูงสุด อย่างน้อย 2 จุด สำหรับราคาหุ้นที่ทำขาลง เพื่อหาโอกาสที่มันทะลุ trendline ขึ้น จะได้เป็นสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อจะได้ซื้อหุ้นที่ต้นเทรนด์
และเราจะลากพาดจุดต่ำสุด อย่างน้อย 2 จุด สำหรับหุ้นที่ทำขาขึ้น เพื่อหาโอกาสที่มันทะลุ trendline ลง จะได้เป็นสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อจะได้ขายหุ้นออก
ตัวอย่างบ้านเรา
แบบที่ 3: Saucer Formations หรือ การสร้างฐานทรงจาน
ในความเห็นของผมนั้น มันก็คือ rounding bottom นั่นแหละ
เคยทำไว้แล้วในบทความ
Rounding Bottom ต้นเทรนด์ของหุ้นขาขึ้น
แบบที่ 4: Fibonacci Retracements หรือ การเด้งตามระดับ Fibonacci
เคยได้ยินคนที่ศรัทธา fibonacci บอกว่า มันคือ "ตัวเลขของจักรวาล"
อารมรณ์คล้าย holy grail ที่ถูกจริตของนักเทรดหน้าใหม่กันเลยนะครับ ก็ว่ากันไป
ส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้ใช้ จึงขออ้างตามหนังสือนะ
ผู้เขียนเขาบอกว่า ให้จับตาดู 50% Fibonacci Retracements ให้ดี เพราะเป็นที่นิยมมาก
แบบที่ 5: Gaps (Breakaway, Measured, Exhaustion) หรือการเปิดกระโดด
gap หรือ การเปิดกระโดด เป็นสัญญาณที่ผมชอบมากครับ
โดยเฉพาะ breakaway gap นั้น ถือเป็นสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์เลยครับ
หนังสือไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาก
ผมเลยเอางานตัวเองมาเสริมให้หน่อยก็แล้วกัน
Common gap ในเวฟสอง(sideway)เป็นสัญญาณการเก็บหุ้นของเจ้ามือที่หวงของ เพราะเขาจะตบขึ้น/ลงเพื่อให้เม่าคายหุ้นคืน ยิ่งมีเยอะยิ่งน่าสนใจ gap ประเภทนี้มักจะมีการลงมาปิดในเวลาอีกไม่นาน เพราะราคายังอยู่ในกรอบ sideway เพื่อเก็บหุ้น โดยจะถูกกระชากขึ้นและตบลง เป็นรูปแบบเวฟ complex ประเภท double three
Breakaway gap เป็นการกระโดดข้ามเวฟสองเพื่อเริ่มเวฟสามที่แข็งแรง ซึ่งจะมีวอลุ่มจำนวนมาก ที่สำคัญถ้าจะไปต่อ ต้องไม่ลงมาปิด gap
Runaway/Measuring gap วัดเป้าได้เลยจากฐานถึง gap ขึ้นมาเท่าไร ราคาเป้าก็จะได้เท่านั้น วอลุ่มไม่ต้องมากก็ได้ จึงเป็นระยะกลางของเวฟ
Exshaustion gap เกิดในช่วงปลายของเวฟห้า จะมี bearish divergence จากนั้นจะเป็นช่วงรินของออก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
รวมบทความที่เกี่ยวกับ Gap
แบบที่ 6: Volume Climax, Volume Trend หรือ วอลุ่มพีค, แนวโน้มของวอลุ่ม
เขาไฮไลท์ไว้เลยว่า Volume climax หรือวอลุ่มพีค คือรูปแบบที่มีความแม่นยำสูงถึง 90% ว่าวันต่อไปราคาหุ้นกลับตัวแน่
ส่วน Volume trend เป็นข้อยกเว้นของ volume climax ครับ
หุ้นบางตัวน่ะ วอลุ่มพีคแล้ว แต่มันก็ไม่กลับตัว แถมยังลงต่อได้อีก
ดังนั้น จึงอย่าไปรีบรับมีดเลย มันไม่มีอะไรแน่นอนในตลาดหุ้น โดยเฉพาะวอลุ่ม
แบบที่ 7: Consolidations (Flags and Triangles) หรือการบีบตัว แบบ flag , สามเหลี่ยม
นี่เป็นทรงที่ผมคิดว่าน่าเชื่อถือกว่า แต่คุณต้องขยันทำการบ้าน เพราะสแกนไม่เจอ
เคสบ้านเรา
อ่านบทความเพิ่มเติม
Bullish Flag : Price pattern เงินล้านของพี่ Dan Zanger
ก็เป็นหนังสือเล่มบางๆครับ เนื้อหาที่พอจับใจความได้ก็มีเท่านี้ครับ
ลองเอาไปทำการบ้านและทดลองใช้กันต่อเองครับ
ผมว่าถ้ากระจ่างแค่ไม่กี่รูปแบบ ก็เอาตัวรอดได้แล้วล่ะ