แนะนำอีบุ๊ก "คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน"

Image
eBook "คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน" ลดราคาพิเศษ 20% ตั้งแต่ 15-17 มกราคม นี้ เท่านั้น ที่  https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 คำนำ ”การเทรดที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องของการชนะทุกครั้ง แต่มันคือการเรียนรู้ที่จะจัดการความผิดพลาดและสร้างผลกำไรในช่วงเวลาที่เหมาะสม” หากคุณเป็นนักเทรดที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจ เทคนิคที่ทรงพลัง และแนวคิดที่ชัดเจนจากหนึ่งในนักเทรดที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลก ”คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน” คือคู่มือที่คุณไม่ควรพลาด   ในอีบุ๊กเล่มนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุด “เคล็ดลึกสวิงเทรด” ที่ผมได้รวบรวมหลักการและบทเรียนสำคัญจากเส้นทางการเทรดของ พี่แดน หรือ Dan Zanger ชายผู้เปลี่ยนเงินทุนเพียง $10,775 ให้กลายเป็น $18 ล้านภายใน 18 เดือน ความสำเร็จของเขาไม่ได้มาจากโชค แต่เกิดจากการวินัย ความเข้าใจในพฤติกรรมตลาด และการเรียนรู้จากความผิดพลาดอย่างลึกซึ้ง   สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้: 1. แนวคิดที่ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง:    - ...

พื้นฐาน 15 ข้อ เพื่อการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น (Moving Averages)

นักเทรดมือเก๋าบางส่วนชอบเทรดด้วยการดูกราฟเปล่า แต่ถ้าท่านยังไม่เทพขนาดนั้น การเอาเส้นค่าเฉลี่ยมาใช้ประกอบการพิจารณาจะช่วยให้ชีวิตท่านดีขึ้นมาก เพราะแค่เอาเส้นค่าเฉลี่ยไปแทรกในกราฟแท่งเทียนแค่เส้นเดียว มันจะช่วยให้คุณแปลความหมายของตลาดได้ง่ายขึ้น
พูดง่ายๆคือ เส้นค่าเฉลี่ยเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีค่าสุดสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค



แน่นอนว่า คุณสามารถเทรดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเส้นค่าเฉลี่ย
แต่ถ้ามีมัน ก็อาจจะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงได้มากขึ้น
เพราะเส้นค่าเฉลี่ยคือเส้นค่ากลางที่เฉลี่ยความเห็นของตลาด
ว่าที่ผ่านมาพวกเขามีความเห็นยังไง มองบวกหรือมองลบ



ต่อไปนี้คือหลักการ 15 ข้อ ในการใช้ประโยชน์จากเส้นค่าเฉี่ยให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น
(แปลจากบทความ ชื่อ Principles of trading based on Moving Averages)

1. เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วันแสดงแนวโน้มของตลาดระยะสั้น
โดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันจะแสดงถึงแนวโน้มของตลาดในระยะกลาง
และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันจะแสดงถึงแนวโน้มของตลาดในระยะยาว


2. เส้นค่าเฉลี่ยสามเส้นตามข้อแรกนั้น สามารถใช้เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อหรือขายได้ โดย......
๑) มันจะเป็นตัวกำหนดระดับราครที่เราควรขายทำกำไร หรือขายตัดขาดทุน หลังจากที่ราคามีการย่อหลังจากเคลื่อนไหวอย่างแข็งแกร่งมาก่อน
๒) เป็นเหมือนร่องรอยของตัวนักเทรดเอง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวเตือนใจให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ของตัวเอง เมื่อราคาเข้ามาไกล้เส้นค่าเฉลี่ยนั้น



3. การเคลื่อนไหวของเส้นค่าเฉลี่ยมักจะให้สัญญาณผิดพลาดในตอนที่ราคาไม่มีแนวโน้ม เนื่องจากมันเป็นตัวชี้วัดที่ใช้ดีเมื่อมีมีแนวโน้ม เพราะมันวิ่งตามแนวโน้ม ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ยิ่งแนวโน้มแข็งแกร่งก็ยิ่งเห็นความชัดเจน
โดยมันจะใช้ไม่ได้ผลในช่วงที่การเคลื่อนไหวของราคาอ่อนแอหรือไร้แนวโน้ม


4. เมื่อค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เปลี่ยนองศาในการวิ่งไปเป็นราบและกลับทิศ มันหมายถึงราคาเริ่มมีการสูญเสียโมเมนตัม ซึ่งต่อจากนี้โอกาสที่ราคาจะหลุดทะลุค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้ค่อนข้างง่าย
เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาแตกต่างกันวิ่งในแนวนอน และวิ่งมากระจุกใกล้กัน แสดงว่าช่วงนั้นราคาเริ่มทำตัวไร้แนวโน้ม เสียโมเมนตัม


5. เส้นค่าเฉลี่ยเกิดจากการเคลื่อนไหวของราคา
เป็นการเอาราคาปิดของแต่ละวัน หรือช่วงเวลาที่ต้องการ มาคำนวนตามสูตรต่างๆ จนได้ค่าออกมา
ซึ่งนอกจากจะเป็นค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่ต้องการแล้ว มันยังถูกใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้ด้วย




6. นักเทรดส่วนใหญ่ชอบใช้เส้น EMA สำหรับการเทรดระยะยาว(เส้นระยะยาว)
เส้น  SMA สำหรับรูปแบบการเทรดเวลาที่สั้นกว่า
โดย EMA ใจะเป็นเส้นที่มีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุดได้ดีกว่า SMA
เนื่องจาก SMA จะเป็นการเฉลี่ยแบบบเท่าเทียม


7. เส้น SMA ระยะสั้นช่วยให้นักเทรดเข้าใจว่านักเทรดคนอื่นๆมีความเห็นอย่างไร
สัญญาณการเทรดระหว่างวันที่ดี-จะเกิดจากความเห็นของคนในตลาด มากกว่าปัจจัยด้านเทคนิค


8. ให้ใช้เส้น SMA 5, 8 และ 13 ในกราฟรายวันเพื่อวัดความแรงของแนวโน้มระยะสั้น
การเคลื่อนที่ที่แข็งแกร่งดูได้จากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นและชี้ไปในทิศทางเดียวกัน




9. เส้นค่าเฉลี่ย200 วัน เป็นตัวกำหนดจิตวิทยาของนักลงทุนระยะยาว
โดยเขาเชื่อว่าถ้าราคาเหนือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันแสดงว่านักลงทุนมองราคาหุ้นในมุมบวก
ตรงข้า เมื่อราคาอยู่ด้านล่างเส้น 200 วัน จะสื่อว่านักลงทุนมองหุ้นตัวนี้ในทางลบ
ผู้ขายจะชักนำให้หุ้นลงไปวิ่งใต้เส้น แต่ผู้ซื้อจะเป็นผู้ผลักดันให้ราคาไปวิ่งอยู่ด้านบนเหนือเส้น 200 วัน


10. เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จะเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ซื้อและผู้ขาย
เมื่อเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันขึ้นตัดขึ้นไปวิ่งเหนือเส้น 200 วัน คือ Golden Cross
ในทางตรงกันข้าม หากเส้น 50 ตัดเส้น 200 ลง เรียกว่า Death Cross



11. เป็นเรื่องยากมากที่ราคาจะวิ่งอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยที่เฉียงลงเช่นเดียวกัน
การที่ราคาวิ่งอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยที่เฉียงขึ้น ก็ยากเช่นกัน

12. เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาต่างกัน จะแสดงความเร็วของแนวโน้มผ่านความสัมพันธ์กับตัวอื่น ๆ ซึ่งสามารถวัดได้จากค่า MACD แบบคลาสสิก หรือโดยการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลาย ๆ เส้นแล้วเช็คความสอดคล้องหรือขัดแย้ง(converge หรือ diverge) ในช่วงเวลาที่กำหนด

13. ท่านสามารถสร้างค่าเฉลี่ย 60 วันของวอลุ่ม เพื่อตรวจสอบความสนใจของนักลงทุนต่อหุ้นตัวนั้นได้ ถ้าวอลุ่มสูงกว่าเส้นนนี้ถือว่านักเทรดสนใจ แต่ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าพวกเขาไม่สนใจ
อีกทั้งความลาดชันของเส้น ยังช่วยให้ท่านเห็นความกดดันที่เกิดจากจากผู้ซื้อและผู้ขายได้อีกด้วย



14. อย่าใช้เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวเพื่อคาดการณ์ระยะสั้น เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้จะไม่เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบัน แนวโน้มอาจจบไปแล้วก่อนที่เส้นค่าเฉลี่ยจะส่งสัญญาณไปซื้อหรือขาย

15. ระดับของแนวรับและแนวต้าน สามารถดูได้จากเส้นค่าเฉลี่ย
เมื่อมันมาบรรจบกันหรือแยกออกจากกัน ให้ติดตามเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนตัวฉีกถ่างออกจากกัน มากกว่าสนใจการตัดกัน เพื่อยืนยันการสนับสนุนหรือความต้านทาน
เมื่อเวลาผ่านไปแล้วระดับนี้จะกลายเป็นแนวรับหรือแนวต้านต่อการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต

ที่มา Principles of trading based on Moving Averages

 (เพิ่มเติม) คลิปแนะนำการใช้งานเส้นค่าเฉลี่ยยเบื้องต้น








บทความอ่านเพิ่มเติม

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com