การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

แนวทาง Swing Trade แบบ Buy on Dip สไตล์ GreedyGoblin

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

ไปเจอพรีเซนต์เกี่ยวกับการสวิงเทรด โดยเข้าตอนย่อ ที่ทำได้น่าสนใจ มีเหตุผลอธิบาย จึงอยากแปลเอามาแชร์ให้อ่านเสริมจากหนังสือ "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" กันครับ



ผู้ทำเอกสาร คือ เว็บ greedygoblintrader.com นะครับ ผมไปเจอเขาทำไว้ในเว็บ slideshare
https://www.slideshare.net/mobile/GreedyGoblin/how-to-swing-trade-my-system-the-pattern-part-1-103922358
เขาทำไว้ 8 ตอน แต่ผมขอมัดรวมไว้ให้อ่านโพสต์เดียวไปเลย


ตอนที่ 1 ราคามีการแกว่ง ขึ้น กับ ลง
โดยสายย่อนั้น จะไม่สนใจการไล่ราคา แต่จะรอตอนที่ราคาร่วงแรง (ลูกศรแดงชี้ลง)
หรือบางคนก็ซื้อไม่ทันตอนที่ราคาวิ่งแรง จึงได้แต่รอโอกาสเข้า ในจังหวะที่ดีที่สุดจากนั้น
และเมื่อมีคนแข้ามารับซื้อมากขึ้น ก็จะทำให้ราคาหยุดลง แล้วก็ดีดกลับขึ้นไป


แต่การเข้าไปซื้อตอนย่อแบบทะเล่อทะล่านั้น แทนที่จะเป็นโอกาส ก็อาจเป็นหายนะได้
ดังนั้น เราต้องหาเคล็ดลับเพิ่มเติม เพื่อคัดกรอง เอาตัวที่มีศักยภาพเท่านั้น






ตอนที่ 2 ดูเส้นค่าเฉลี่ย
กฎเพื่อการคัดหุ้นของเขา มี ๓ ข้อ
๑) ราคาต้องปิดหรือวิ่งอยู่ใต้เส้น EMA10 (รายวัน)
เพราะเขาต้องการหุ้นทุนต่ำกว่าคนส่วนใหญ่ จึงต้องรอย่อ การที่ราคาวิ่งใต้เส้น EMA10 แสดงว่ามีการพักฐานแน่นอน นี่แหละโอกาสในการซื้อของถูกตามแบบเขา

๒) เส้น EMA50 ต้องอยู่เหนือ EMA200
การที่ EMA50 อยู่เหนือ EMA200 หมายความว่า ราคาหุ้นยังคงรักษาความเป็นแนวโน้มขาขึ้น(ระยะยาว)ได้อยู่ เพราะเขาต้องการหุ้นที่ยังมีการซื้อสนับสนุนอย่างแข็งแกร่ง(คือมันรักษาทรงความเป็นขาขึ้นอยู่ได้ไง)
โดยเขาเชื่อว่า การที่ราคาหลุดไปอยู่ใต้ EMA10 ขณะที่ EMA50 อยู่เหนือ EMA200 มันเป็นการพักฐานชั่วคราวเท่านั้น(ย่อเพื่อรอไปต่อ) คนที่ตกรถเห็นว่านี่เป็นจังหวะราคาถูกจึงเข้าซื้อ และคนนอกก็เข้ามาผสมโรงด้วย เพราะเห็นว่าราคาได้เปรียบและเชื่อว่ามันต้องเด้งไปต่อได้อีกแน่

แต่ถ้าราคาร่วงลงไปหลุดต่ำกว่า EMA50 ก็เริ่มดูไม่ดีสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นจึงต้องดูข้อต่อไป

๓) เส้น EMA200 ต้องยกเฉียงชันขึ้น
การที่ EMA200 ยังเฉียงขึ้น แสดงว่าแนวโน้มขาขึ้นยังคงมีโมเมนตัมอยู่นั่นเอง



ตอนที่ 3 Trendline และแนวรับ
๑) มันจะน่าเชื่อถือมาก ถ้าราคาลงไปเด้งที่โซนแนวรับและ trendline
๒) พยายามซูมดูหลายๆ time frame ทั้ง สั้น - กลาง - ยาว
๓) หากเห็นว่าราคาลงไปเด้งที่ระดับดังกล่าว พักตัวที่โซนนั้น ก็ยิ่งน่าเชื่อถือ
๔) แต่อย่าได้ บังคับให้ราคาเด้งที่แนวรับ หรือ trendline นะ คืออย่าไปรีบเข้าไปรับซื้อ ก่อนที่มันจะแสดงออกว่าหยุดลง ให้รอดูก่อน ถ้าเอาอยู่ ค่อยเข้าเทรด



(เสริม) ดูการกลับตัวที่เส้นค่าเฉลี่ย ที่มีนัยยะให้ดีครับ EMA200, EMA100 และ EMA50)



ตอนที่ 4 ดูแท่งเทียนกลับตัว
แท่งเทียนกลับตัว มีอยู่ ๒ แบบ คือ
๑) กลับตัววันเดียว (one day reversal)
๒) ทำรูปแบบกลับตัว ก่อตัวหลายวัน
- แท่งเทียนเป็นข้อมูลที่ตลาดบอกว่าใครเป็นผู้ชนะ/ใครแข็งแรงกว่าในแต่ละวัน
- อย่าไปเสียเวลาจำชื่อให้มาก ดูทรงให้เข้าใจดีกว่า
- เน้นดูโซนที่แท่งเทียนทำรูปแบบกลับตัว โดยเฉพาะโซนแนวรับ



ตอนที่ 5 ดูอินดิเคเตอร์ประกอบ
ให้ใช้หลายๆตัวยืนยันกัน แต่ต้องยอมรับว่า มันไม่เป๊ะ แม่นแบบจับวางหรอก
ท่านต้องดูหลายๆตัว ประกอบกับการกลับตัวของแท่งเทียน
เช่น Bollinger bands + แท่งเทียนกลับตัว
ที่ผมชอบคือ เส้นค่าเฉลี่ย + แท่งเทียนกลับตัว

ตอนที่ 6 ต้องมีวินัย
วินัยคือกุญแจสำคัญของการเทรดที่ประสบความสำเร็จ
เขาเองเคยประสบกับความเจ็บปวดจากการขาดทุนอย่างแสนสาหัสเนื่องจากการขาดทุน เพราะไร้วินัย
เคยทำเงินจากหลักพัน ให้เป็นหลักแสน แต่จากนั้นก็ขาดทุนยับเยินเพราะขาดวินัย

จึงได้สำรวจตัวเอง จนพบว่า
- แนวทางการเทรด ไม่ได้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง
- ไม่มีแผนการเทรด
- ไม่มีแผนบริหารความเสี่ยง

ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าเทรด เขาต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า
- ราคาสามารถแกว่งขึ้นได้มากแค่ไหน
- ราคาสามารถแกว่งลงได้มากแค่ไหน
จากนั้นจึงคิดต่อแบบไม่เข้าข้างตัวเองว่า เราน่าจะได้กำไรเท่าไหร่จากการเทรดครั้งนั้น
และต้องมีการตั้ง stop loss เอาไว้ ถ้าราคาไม่ทำกำไร แล้วมันร่วงลงไปหลุดระดับนั้น แสดงว่าเขาได้คิดผิดเสียแล้ว ต้องขายออกไปจากการเทรดครั้งนั้นเสีย ยอมเสียหน้าดีกว่าเสียเงิน

แนวทางการตั้งระดับ stop loss
- ตั้งจุดตัดขาดทุนต่ำกว่าระดับแนวรับ อย่าได้ตั้งที่ระดับราคาแนวรับเป๊ะๆ เพราะมันเป็นระดับที่มักจะมีการต่อสู้และกดหลอกให้ขาย การตั้งต่ำกว่านั้น จะทำให้คุณมีความชัดเจนขึ้น แต่ก็อย่าห่างมากเกินกว่า limit loss นะ รักษาเงินต้นของตัวเองไว้ก่อน อย่ากลัวโดนหลอก แต่จังกลัวขาดทุนหนักจนพอร์ตพัง

- ถามตัวเองให้แน่ใจว่าได้ตั้งเป้าหมายกำไรที่สมจริง
เมื่อราคาขึ้นไปถึงเป้าหมายต้องขายอออกตามวินัย การโลภละเลยวินัย อาจทำให้กำไรหายได้

- เมื่อได้ตั้งระดับ stop loss และ take profit แล้ว อย่าได้เลื่อนโดยเด็ดขาด
โดยเฉพาะ stop loss อย่าริอ่านเผลอเลื่อน เพราะนั่นคือการเริ่มต้นของหายนะ


การบริหารความเสี่ยงต่อการเทรด
ควรเสี่งไม่เกิน 2% ของเงินทั้งพอร์ต



สรุป
๑) วินัย สำคัญที่สุด
- คุณต้องมีแผนการเทรด และทำตามมันอย่างเคร่งครัด
- คุณต้องละเอียดและรอบคอบในการเข้าเทรดแต่ละครั้ง ต้องเป็นตัวที่ดีที่สุดเท่านั้น ถึงยอมเสียเงินซื้อ
- มีการบริหารความเสี่ยง คือ มี stop loss และมีแผนการออกไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน ล่วงหน้า

๒) เป้าหมายของคุณ ไม่ใช่ทำเงิน แต่ต้องรักษาเงินทุน
เพราะถ้าเงินทุนโดนทำงายจากการขาดทุนหนักจนหมด ก็ไม่สามารถเก็งกำไรได้
ดังนั้น ให้ความสำคัญกับการขาดทุนไว้ก่อนอื่น อย่าให้มันเสียหายมาก


7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)