การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม

Image
การบริหารความเสี่ยง: ไม่ใช่แค่การตั้ง Stop Loss แบบเดาสุ่ม แปลจาก https://x.com/NickSchmidt_/status/1870997680513544635?t=v5ED4IJCHVAJTwaAGY3IqQ&s=19 หลายคนเข้าใจผิดว่า การตั้ง Stop Loss เป็นเพียงการกำหนดเปอร์เซ็นต์ขาดทุนแบบสุ่มเพื่อป้องกันความเสียหาย แต่ความจริงแล้ว การตั้ง Stop Loss ที่ถูกต้องต้องมีเหตุผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างและแผนการเทรดของคุณ eBook "Risk Management: การบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นสำหรับนักเทรด" มีจำหน่ายที่แอพ Meb เท่านั้น  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=332340 สิ่งที่นักเทรดมือใหม่ควรรู้เกี่ยวกับ Stop Loss 1. Stop Loss ควรมีเหตุผล ไม่ใช่แค่เปอร์เซ็นต ตัวอย่าง: คุณอาจใช้กฎ 7% เป็นขีดจำกัดการขาดทุน แต่ไม่ใช่ว่าแค่ซื้อหุ้นแล้วตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 7% โดยไม่มีการพิจารณาโครงสร้างของหุ้น นั่นไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงที่ดี 2. Stop Loss ต้องเข้ากับลักษณะของการเทรด หุ้นที่ยังแข็งแรง: บางครั้งหุ้นอาจปรับฐาน 10% แต่ยังคงแนวโน้มที่แข็งแรงและโครงสร้างไม่เสียหาย ถ้า Stop Loss ของคุณตั้งไว้ต่ำเกินไป เช่น 7% โดยไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ...

Pinocchio Bar = Follow buy ที่ปลายดอย?

โดย เซียว จับอิดนึ้ง : facebook.com/zyoit

เมื่อวาน SET มีการทำแท่งเทียนพิเศษ เพราะราคาวิ่งเข้าสู่โซนอันตรายแล้ว
ทรงของแท่งนี้ คล้ายกับชื่อที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Pinocchio Bar
ชื่อเหมือนตัวละครเด็กที่ชอบพูดโกหก
เลยอยากเอามาแชร์ให้อ่านกันขำๆ



ขออ้างอิงจากเว็บ tradingsetupsreview.com นะ เขาทำได้เข้าใจง่ายดี


หน้าตาก็เป็นแบบในรูปเลยครับ คือราคาถูกดันขึ้นไปถึงระดับจุดสูงสุดเดิม
และสามารถทะลุขึ้นไปได้
แต่ก็ยืนไม่อยู่ ถูกขายรูดให้ร่วงลงไปปิดต่ำกว่าระดับแนวต้าน
จากนั้นก็เป็นแท่งแดงร่วงลงต่อ



เป็นสัญญญาณไม่สวยเลยนะครับสำหรับคนที่ซื้อเพื่อให้ราคาวิ่งขึ้น
เพราะความกลัวสยายเข้ามาครอบคลุมตลาดแล้ว
คนส่วนใหญ่ต่างอยากขายหุ้นออกกันครับ



สาเหตุทาง demand supply
สิ่งที่ทำให้ราคารูดแรง จนทิ้งไส้ยาวนั้น ก็มาจาก supply ที่แข็งแกร่งนั่นเองครับ
เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งที่หุ้นเยอะมาก ขนหุ้นมาระดมขาย แจกจ่ายให้ demand จนหมดแม็กซ์
เรียกว่า มีหุ้นที่ต้องการขาย มากกว่าเงินที่อยากซื้อนั่นแหละครับ

และที่สำคัญคือ จากนั้น ราคาหุ้นก็ยังไม่หยุดลงนะครับ
เนื่องจากหุ้นที่อยากขายยังเหลือ
แถมคนที่ทุนสูง ซื้อตอน breakout ก็เริ่มรู้สึกถึงความเสี่ยงครับ
พวกเขาก็เริ่มเข้ามาสมทุบ เอาหุ้นมาร่วมขายด้วย เพื่อลดความเสี่ยง

ราคาก็เลยเกิดโมเมนตัมในทางลงน่ะสิ
หุ้นบางตัวก็จบรอบไปเลย
แต่ที่แน่นอนคือ มันเสียทรงไปแล้วครับ


เคสของ MALEE เป็นลลักษณะของท่าจบครับ
ถ้าดูให้ดีๆ มันก็คือทรง double top นั่นเองครับ
เมื่อราคาไม่สามารถยืนนิวไฮได้
แล้วเจอแท่งแดงยาวต่อเนื่อง ก็ถือว่าความพยายามขึ้น-พ่ายแพ้ไปแล้วครับ
จบรอบไปเลย



แต่บางตัวก็สามารถกลับมาได้นะ
จากข้อสังเกตของผมคือ มันเกิดในช่วงต้นๆ คือราคาบวกไปไม่ถึงเด้ง
วิชา ปออันปัน เขาเรียกว่า "ยิงดาวเอาหุ้น"
โดยที่ราคาเพิ่งฟื้นจากก้นขึ้นมา แล้วมีการไล่ราคาแรงก่อนเวลาอันควร
ก็โดนขายกดดันให้ร่วงแรงเสียก่อน เพื่อตัดกำลัง หรือเก็บของก็แล้วแต่

โดยถ้าคนทำราคาต้องการเอาขึ้นอีกรอบ
เขาจำเป็นต้องใช้เวลาในการย่อยแรงขาย เป็นเดือนขึ้นไปเลย
เพราะถ้าดันราคาขึ้นไปพรวดพราด ต้องเจอการขายใส่ตลอดทางจากคนติดดอยแน่
เพราะตอนนั้นแผลยังสดอยู่
สิ่งที่คนทำราคา(ถ้าเขาอยากดันต่อ) คือต้องยืดเวลาให้คนหมดใจ
และขายหุ้นออกมาให้เขาในราคาต่ำๆ


เคสของ KCM ก็เข้าสูตรนี้ครับ คือราคาวิ่งจาก 1 บาท ไป 1.8 เองนะ
ยังไม่ถึงเด้ง อีกอย่าง ราคาแค่บาทเดียว
สำหรับนักลงทุนรายยย่อยแล้ว มันถูกมากครับ
โน่นแหละ 10 บาท ถึงจะเรียกว่าแพง
ดังนั้น โอกาสในการไล่ราคายังมีอีกบานเลยครับ

คนทำราคา (ถ้ายังจะเอาอีกนะ) เขาจะทำการสะสมในช่วง "ย่อยแรงขาย"
ทรงของการย่อยแรงขายเป็นแบบนี้ครับ (เอามาจากหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่)


คือเขาจะทำให้ราคาหุ้นอยู่ในช่วง "สูญญากาศ" คือไม่มีคนเล่น
ทิ้งให้ราคาย่อย คนเล่นเก็งกำไรระยะสั้นเทรดกินตังค์กันเอง
ผลก็คือราคาจะแกว่งในกรอบแคบๆครับ
บ่อยครังที่ช่วงนี้เป็นตอนที่ติด cash balance

จนถึงเวลาที่เขาจะเอาจริง
เช่น หลุด cash balance ใช้เงินมาร์จิ้นได้
ก็มาไล่ราคาต่อ
แบบนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับคนที่ได้เฝ้าดูหุ้นครับ



วิธีรับมือกับ Pinocchio Bar
๑) ถ้าท่านทุนสูง
ลดความเสี่ยงอย่างเดียวครับ
อย่าไปมีความหวังอีก เพราะถ้าท่านมัวรีๆรอๆ เพื่อหวังให้มันเด้งกลับไปคืนทุน
หรือไม่กล้าขายเพราะกลัวเด้ง
ผมบอกว่าท่านกำลังคิดผิดอย่างมาก
แม้ไม่กล้าขายหมด ก็ต้องทยอยขายออกไป เพื่อให้ตัวเองสบายใจครับ

เพราะทรงแบบนี้ ความกลัว มีความรุนแรงกว่าความกล้า
คนอยากขายมีมากกว่าคนอยากซื้อ
ถ้าท่านไม่ขาย คนอื่นก็ต้องขายออก

๒) ถ้าท่านทุนต่ำ
ก็สามารถรอดูได้ครับ ว่า EMA10 รับอยู่มั้ย
ถ้าเอาไม่อยู่ ดู EMA50 ว่าทำหน้าที่หรือเปล่า?
แล้วแนวรับที่เป็นกรอบการย่อยแรงขายล่ะ เอาอยู่มั้ย?

ถ้าเอาไม่อยู่ ก็เอากำไรเท่าที่ได้เถอะครับ
เพราะท่านต่อราคา และยื้อมานานพอสมควรแล้ว


AEONTS คือเหตุผลที่ผมให้คำแนะนำแบบนั้นไปครับ
เพราะตัวนี้ทิ้งไส้บนตลอด แทบจะทุกวัน
ถ้าท่านระแวง คงได้ขายตั้งแต่ต้นขาขึ้นแน่

แต่ถ้าท่านมีความโลภมากพอ และกล้าได้กล้าเสียมากกว่านั้น
ก็รอดูการเด้งที่ EMA10 ครับ
เพราะเรามีสมมุติฐานว่า หุ้นซิ่ง มักจะเด้งที่เส้นนี้
ซึ่งมันก็ทำตามสูตรนี้เลย แม้จะร่วงแรง แดงต่อเนื่อง ก็ไปเด้งที่ EMA10



แต่ปัญหาของแนวทางนี้คือ คุณจะไม่ได้ขายที่จุดสูงสุด
เพราะอยากจะรอดูการเด้งก่อน
อย่างตัวนี้ แทนที่ท่านจะได้ขายที่ 180 บาท
ก็อาจจะได้ขายที่ 160-170 บาทก็ได้ครับ

แม้จะรู้สึกเสียดายอยู่บ้าง
แต่ท่านก็ได้ขายในโซนสูงสุดอยู่ดีครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ