Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)

Image
วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action) แปลจาก  https://traderlion.com/technical-analysis/chart-patterns/cycle-of-price-action-by-oliver-kell/ Oliver Kell เป็นนักเทรดที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ โดยเขาทำผลตอบแทนได้ถึง 941% ในการแข่งขันเทรด U.S. Investing Championship ปี 2020   ด้วยประสบการณ์การเทรดที่ยาวนาน เขาได้พัฒนากลยุทธ์ที่สามารถทำกำไรได้ทั้งในช่วงตลาดขาขึ้น (Uptrend) และตลาดขาลง (Downtrend)   ภาพรวมของกลยุทธ์ Cycle of Price Action กลยุทธ์ Cycle of Price Action ของ Oliver Kell เน้นการใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)   - เป้าหมาย: ช่วยให้นักเทรดสามารถระบุแนวโน้มของราคาได้อย่างชัดเจน   - วิธีการ: มุ่งเน้นที่สัญญาณ การสะสม (Accumulation) และ การแจกจ่าย (Distribution) บนกราฟหุ้น   กลยุทธ์ที่เหมาะกับทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง กลยุทธ์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ได้ในทุกสภาพตลาด:   - ในตลาดขาขึ้น: ช่วยค้นหาหุ้นที่มีศักยภาพสูง   - ในตลาดขาลง: ช่วยลดความเสี่ยงและหาจุดเข้าเทรดที่มีโอกาสทำกำไร ...

(มือใหม่เล่นหุ้น) ความเสี่ยงของหุ้นเศษสลึง - ต่ำบาท : penny stocks

วันนี้อยากแชร์ความผิดพลาดของผมเอง เกี่ยวกับหุ้นเศษสลึง - ต่ำบาท
ย้ำนะครับ ความผิดของผม แต่ถ้าหากท่านประสบความสำเร็จกับมัน
ก็ยินดีด้วย ขอยกนิ้วชมว่าท่าน "โคตรเก่ง"

บทความนี้ ผมไม่ได้ตั้งใจจะโจมตีว่ามันไม่ดีอะไรหรอกนะ สบายใจได้
แต่ผมอยากชี้ให้ท่านเห็น "ความเสี่ยง"
เพราะผมมั่นใจว่านักเทรดหน้าใหม่ส่วนใหญ่มักจะมีโฟกัสไปหาหุ้นประเภทนี้กัน
แต่ปัญหาก็คือ เรามองเฉพาะโอกาส คือ ราคาวิ่งขึ้น เท่านั้น
ทว่า ลืมคิดว่าถ้ามันลง หรือเกิดอาเพศขึ้นมา ความร้ายแรงมันจะเป็นไปได้มากแค่ไหน
ท่านจะได้เอาไปพิจารณาต่อไปครับ
ที่มาของแนวคิดนี้ ก็มาจากประสบการณ์ของผมเองครับ เจ็บมาเยอะ


คำว่าหุ้นเศษสลึง ในความหมายของผมก็คือหุ้นต่ำกว่า 25 สตางค์ หรือรวมถึง ต่ำกว่า 1 บาทไปเลย
ถ้าอยากรู้ว่าหุ้นราคาต่ำบาทมีกี่ตัว ก็ให้ลองเข้าไปเช็คที่เว็บ siamchart.com ได้ครับ คลิกที่ Last


สาเหตุที่ราคาหุ้นต่ำบาท
๐) กราฟเป็นขาลง  ราคาลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ได้ต่อเนื่องยาวนาน
๑) สาเหตุก็มาจาก ผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่อง นักลงทุนรายใหญ่เห็นว่าไม่มีอนาคต เลยขายออกไปเรื่อยๆ และคนที่เข้ามาทยอยรับก็คือรายย่อย
๒) เมื่อผลประกอบการขาดทุน วิธีรักษาตัวให้รอดได้ ก็ต้องเพิ่มทุน ทำให้ต้องพาร์ แตกหุ้นออกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นต่ำลงไป
๓) ในสถานการณ์วิกฤติ ตลาดหุ้นร่วงแรง เป็นขาลงอย่างยาวนาน แม้แต่หุ้นชั้นดีมีผลประกอบการยอดเยี่ยมก็โดนขายให้เป็นหุ้นต่ำบาทได้เช่นกัน



ใครชอบเล่นหุ้นต่ำบาท
๑) นักธุรกิจหุ้นเงินเยอะ (ก็เป็น smart money อีกประเภทหนึ่งนะ)
ถ้าท่านอ่านข่าวหุ้นประเภทนี้ต่อเนื่อง ก็จะเห็นมีเสี่ยคนโน้น เสี่ยคนนี้ได้เข้าไปซื้อหุ้นต่ำบาทสักตัวเพราะได้ราคา PP (Private Placement) หรือ ได้หุ้นที่จัดสรรให้กับบุคคลในวงจำกัด พวกเขาจะมีกลุ่มก๊วนของตัวเอง ซึ่งถ้าหากเจ้าของหุ้นต้องการเงินเพิ่มทุนไปสร้างสภาพคล่อง โดยไม่เสียดอกเบี้ย ก็มักจะใช้หนทางนี้กัน

เมื่อรวมกลุ่มกันได้ ก็จะมีการต่อรองราคาซื้อ ซึ่งแน่นอนว่าต้องต่ำกว่ากระดาน ไม่งั้นเขาไม่โง่ซื้อหรอกครับ เพราะเขาก็ฉลาดพอที่จะไม่เสี่ยงกับหุ้นที่การบริหารมีปัญหาทุกด้านแบบนั้น

เพราะพวกเขาเทรดแบบนักธุรกิจครับ มองอะไรรอบด้าน (นี่คือเหตุผลที่ผมเรียกว่า smart money) ก่อนลงทุนมีการดีดลูกคิดเรียบร้อยแล้วว่า ได้กำไรแน่ ไม่มีขาดทุน ถึงได้ลงเงิน เพราะเงินที่ใช้ก็เป็นหลักสิบหลักร้อยล้าน ที่เขาหามาได้อย่างยากลำบาก

๒) นักเทรดหน้าใหม่
ด้วยความเชื่อ ความหวัง ความมั่นใจ ในเรื่องของความต้องการรวยเร็วๆ อยากรวยด่วน แบบแจ๊คพ็อต เหตุผลเหล่านี้ทำให้นักเทรดหน้าใหม่มักจะโฟกัสไปเล่นหุ้นต่ำบาทกัน
เรามาเทรดแบบคนช่างฝัน ละเมอเดินชมนกชมไม้ในดงระเบิด!!

พวกเรามองแต่โอกาส คือ ซื้อตอนนี้ถ้าราคาเด้งขึ้น (ซึ่งเรามั่นใจ เพราะคิดว่าราคาลงต่ำที่สุดแล้ว) มันจะทำให้เรารวย พอรวยก็จะเอาไปอวดชาวบ้านว่าเก่ง จะเขียนหนังสือ เปิดคอร์ส ก็ทำได้หมด มันเท่สุดๆ



ใครได้ประโยชน์จากหุ้นต่ำบาทแน่ๆ
๑) รายใหญ่ คนเงินเยอะ ซื้อได้ราคา PP ต่ำกว่ากระดาน แม้จะมี silence period แต่ก็เสี่ยงน้อยมาก เพราะสายสนกลใน เครือข่ายเยอะ
๒) ผู้บริหาร ถ้าขายหุ้น PP หรือเพิ่มทุนได้หมด ก็สามารถซื้อเวลาแก้ตัวได้ไปอีกปี ถ้าเป็นบริษัทที่ห่วยหน่อย(ดูจากผลประกอบการก็รู้เอง) ก็ไม่ต้องสนใจบริหารธุรกิจอะไรมากมาย ประคองตัวไว้ สิ่งที่ต้องฝึกคือวิธีการพูด ทำยังไงถึงจะขายฝันให้รายย่อยเคลิ้ม เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนเยอะๆ
๓) นักเทรดบางกลุ่ม ผมคิดว่าน่าจะมีคนกำไรจากการวิ่งขึ้นลงแค่ช่องเดียวแหละ แต่เขาไม่บอกเคล็ด แต่ยืนยันได้เลยว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่



ใครเสียประโยชน์จากหุ้นเศษสลึง
๑) นักเทรดรายย่อย
เหยื่อตลอดกาลของตลาดหุ้น เพราะความที่เชื่อว่าตลาดหุ้นมันง่าย อยากรวยเร็ว ได้แจ๊คพ็อต จึงชักนำให้มองลงต่ำ เข้าซื้อผิดจังหวะ ซื้อไม่ได้ดูเรื่องการบริหารเงินทุน ซื้อเยอะเกินไป เพราะอยากรวยเร็ว แต่พอซื้อแล้วก็ดอยทันที เพราะไม่มีแผน เมือราคาลงต่ำได้อีก ถ้าอยากแก้ตัว ก็ต้องซื้อถัวเฉลี่ยเพิ่ม ยิ่งซื้อก็ยิ่งลง พอถึงจังหวะเหมาะ บริษัทก็ประกาศเพิ่มทุน ด้วยเหตุผลหรูหรา ผ่านการพูด การสื่อสาร ที่มาพร้อมกับสตอรี่เร้าใจ ให้เม่ามีฝัน ทำให้เม่าหลงเชื่อผสมโรงกับไม่มีทางเลือก ก็ต้องเพิ่มทุน เอาเงินให้บริษัทใช้จ่าย มีสภาพคล่องในการทำอะไรสักอย่าง?
หุ้นบางตัว ถือมาสองสามปี ก็ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวก็มี เงินเม่าจมอยู่ในนั้น เป็นพันล้าน



ความเสี่ยง
ประเด็นนี้ที่ผมอยากแชร์ให้อ่านกันมากครับ เพราะเท่าที่ผมเจ็บหนักจากการเล่นหุ้นประเภทนี้ ก็มาจากการไม่เคยคิดถึงความเสี่ยงเลย ผมเล่นเพราะความฝัน คิดว่าเหรียญต้องออกมาด้านเดียวเท่านั้น คือฉันต้องกำไรเป็นเด้ง แหงนมองฟ้า แต่ลืมก้มหน้ามองดิน ว่าข้างหน้านั้นมันเป็นเหว ซึ่งโอกาสร่วงลงเหวมากกว่าจะคว้าดาวได้ เพราะ....

1) เปอร์เซ็นต์ขาดทุนและกำไรแต่ละช่อง กว้างมาก
0.01 - 0.02 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 100%
0.02 - 0.03 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 50%
0.03 - 0.04 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 33%
0.04 - 0.05 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 25%
0.05 - 0.06 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 20%
0.06 - 0.07 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 17%
0.07 - 0.08 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 14%
0.08 - 0.09 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 12.5%
0.09 - 0.10 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 11%
0.10 - 0.11 ช่องโอกาสและความเสี่ยง คือ 10%
ฯลฯ
นี่ยังไม่ได้รวมค่าคอมมิชชันด้วยเลยนะ

ผมในตอนนั้นนะ เห็นเปอร์เซ็นต์อย่างเดียวก็ตาลุกแล้วครับ คิดเลยว่า
ถ้าซื้อที่ 0.01 และขายที่ 0.02 ได้ กำไรวันละเด้งสบายๆเลย

นี่เป็นความคิดที่มักง่ายมากครับ เพราะอะไร รู้มั้ย?
เพราะผมมีโอกาสน้อยมากที่จะได้หุ้นที่ราคา 0.01 บาท เพราะเปิดตลาดมา ก็มีการตั้งพรืดดักเป็นพันล้านหุ้นไปแล้ว แสนหุ้นล้านหุ้นอย่างเราก็ไปแทรกจากนั้น
ต้องถามต่อว่า มันจะถึงคิวเรามั้ย? ไม่มีทางครับ
ถ้าท่านอยากได้หุ้นก็ต้องซื้อที่ 0.02 อันเป็นราคา offer เท่านั้น ซึ่งท่านก็จะได้ต้นทุนของค่าคอมมิชชั่นเพิ่มไปด้วย จากนั้นท่านก็ buy and hope คือลุ้นให้ 0.03 ขึ้นไปเป็น bid ท่านจะได้ขายเอากำไร
แต่พนันได้เลยว่า น้อยคนที่จะขาย เพราะอยากได้อีก รอ 0.04 อีกช่องเดียวน่า

และจากนั้น มันก็ร่วงกลับไปเล่นกรอบ 0.02-0.03 อีก ซึ่งคุณก็ขายไม่ได้ เพราะทุนมากกว่า 0.02
หากจะขายก็ต้องไปตั้งขายรอคิวอีก ซึ่งก็เหมือนเคยครับ เปิดตลาดมาก็มีคนตั้งดักรอขายเป็นพันล้านหุ้นไปแล้ว ท่านคิดต่อเองสิ ว่าจะได้ขายมั้ย?

2) ความเสี่ยงเรื่องแนวโน้ม
หุ้นต่ำบาทเป็นหุ้นขาลง 90% ครับ
ดังนั้น นิสัยของหุ้นขาลง คือยังลงได้อีก จนกว่าจะหมดแรงเฉื่อย
การที่คุณเห็นว่าราคาร่วงจากยอดมา 50% แล้ว ใช่ว่าราคาจะถูกที่สุดแล้ว

มันมีโอกาสลดจากนั้นได้เป็น 50%, 70% 80% ได้นะครับ
การที่เราไปมองในแง่ดีแค่ว่า มันเป็นราคาต่ำสุดแล้วนั้น มันก็เป็นแค่การเดาเท่านั้นเอง
เพราะราคาเป็นขาลงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันเกิดจากความกลัว
ซึ่งมีสาเหตุจากผลประกอบการเป็นหลัก ความสามารถในการทำธุรกิจ การแข่งขันที่อ่อนแอ
จึงมีการขายหุ้นหนีตายเพื่อลดความเสี่ยงกัน
กลายเป็นว่าคนฉลาดขาย แต่คนไม่รู้อิโหน่อิเหน่เข้าไปรับหุ้นเพราะคิดว่าราคาถูก
ซึ่งมันเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็น "เหยื่อ" หรือ "ลูกไล่" ในอีกไม่ช้า



3) ความเสี่ยงเรื่องเพิ่มทุน
มันเป็นวังวนแบบนี้เรื่อยไป จนวันดีคืนดี บริษัทก็สั่นกระดิ่งอีก ขอเพิ่มทุน
ราคาหุ้นก็ร่วงลงไปได้อีก เพราะไม่มีใครอยากเสียเปรียบ
ท่านก็ติดดอยอีกแล้ว ไปฟังผู้บริหารในวันประชุมผู้ถือหุ้น ก็เคลิ้มกับสตอรี่อีก ยอมหาเงินก้อนใหม่ไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีกจนได้

ในขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ ได้ราคา PP ถูกกว่าท่านหลายเปอร์เซ็นต์!!

แต่ผมบอกท่านเลยว่าอย่าไปโวยวาย ขอความเป็นธรรม ว่าต้องได้ราคาเท่ากับ PP
มันเป็นไปไม่ได้!!

ผมขอนำเสนอเหตุผลที่เป็นกลาง ในฐานะของคนที่เล่นหุ้นมาพอสมควร
และมองการเทรดเป็นธุรกิจ
และก็ไม่มีความต้องการเล่นหุ้นประเภทนี้อีกต่อไป

การที่นักลงทุนได้ราคา PP ซึ่งต่ำกว่าราคา PO : Public Offering หรือ จัดสรรให้กับประชาชน
มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะ....
๑) PP มีการรวมตัว มีเงินก้อนใหญ่ และมีการต่อรอง เขาเจราจาด้วยการถือไพ่เหนือกว่า
๒) ตรงกันข้ามกับรายย่อย คุณไม่มีอะไรได้เปรียบเลย ติดหุ้น รวมกลุ่มกันไม่ได้ เงินก็น้อยกว่า
คุณเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เป็นลูกไล่
แค่สองเหตุผลนี้ ก็ชัดเจนแล้วครับ ว่าบริษัทจะยอมใคร
มันยุติธรรมดีอยู่แล้วในโลกธุรกิจ มือใครยาวสาวได้สาวเอา
แต่เม่ามองว่ามันเป็นผ้าป่าสามัคคี ทุกคนต้องได้เท่าๆกัน ฝันไปหรือเปล่า?

ปัญหาของคุณคือ คุณไปยุ่งกับมันทำไม???
ต้องกลับมาตรวจสอบตัวเองว่าท่านซื้อทำไม
๑) โลภ ใช่มั้ย?
๒) อยากรวยเร็ว ใช่มั้ย?
๓) ซื้อเพราะข่าว หลงสตอรี่ ใช่มั้ย?
๔) ซื้อเพราะรายใหญ่ที่ท่านชอบใช่มั้ย?

ทั้งหมด ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องภายนอกเลย
มันมาจากการตัดสินใจของคุณทั้งสิ้น เขาก็อยู่ของเขาดีๆ ถ้าคุณไม่โลภ ไม่อยากรวยเร็ว
ข้อ ๓ กับ ๔ ก็ทำอะไรคุณไม่ได้แม้แต่นิดเดียว

มันไม่ใช่เกมของคุณแต่แรกแล้ว



4) เสี่ยงติด SP!!
นี่คือความเสี่ยงที่เลวร้ายที่สุดที่ท่านอาจได้เจอ
ตอนนี้ตลาดหุ้นมีความเขี้ยวมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทไหนไม่ยอมทำตามกฎ มีความน่าสงสัย
เป็นโดนหมด ไม่ว่าราคาจะต่ำบาท หรือหลักสิบ
ซึ่งก่อนที่จะโดน SP นั้น มันก็มีสัญญาณ มาตลอด ตั้งแต่งบไม่ส่ง หรือผลประกอบการขาดทุน จนกินส่วนทุนไปหมด นักลงทุนรายใหญ่ขายออกจนฟลอร์ติดต่อกัน ฯลฯ
แต่นักลงทุนหน้าใหม่ส่วนใหญ่ ไม่ยอมฟัง ไม่สนใจ เพราะไม่อยากขาดทุน ไม่อยากเป็นคนผิด
ไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบในช่วงที่ตัวเองยังมีอำนาจเต็ม
พอติด SP แล้วเพิ่งคิดหาทางออก ผมว่าท่านคิดอะไรผิดไปหลายกิโลเลย

บทความเกี่ยวกับการเคารพความเสี่ยง เพิ่ม
- การเคารพความเสี่ยงแบบพี่มาร์ค
---------------------

หุ้นต่ำบาทที่ประสบความสำเร็จ
ใช่ว่าหุ้นต่ำบาททุกตัวจะเน่าหมดนะครับ มันก็มีเสี้ยวหนึ่ง ไม่เกิน 2% ที่วิ่งหลายเด้ง
๑) JAS เป็นหุ้น turnaround ที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ธุรกิจเป็น mega trend และก็ฟื้น + เติบโต
๒) KAMART เป็นหุ้น turnaround ธุรกิจเป็น mega trend และก็ฟื้นตัวได้
๓) หุ้นปั่น พวกนี้จะมีสตอรี่ร่วม และเกิดในช่วงตลาดขาขึ้น
๔) หุ้นชั้นดีที่ร่วงจนต่ำบาทในช่วงวิฤติเศรษฐกิจครั้งต่อไป ถือเป็นเคสพิเศษ
เพราะเมื่อตลาด มีการกวาดล้างแบบนั้น คนกลัวมาก ขายหนีตาย ไม่สนพื้นฐานอะไรทั้งสิ้น

อ่านบทความเพิ่ม
- หุ้น Trunaround คำแนะนำจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

---------------------

แนวทางการทำเงินจากหุ้นต่ำบาท
๑) อย่าเล่น
โดยเฉพาะหุ้นเศษสลึง เพราะแต่ละช่องมีความต่างของเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสูงมาก
โอกาสได้กำไรน้อยมาก แต่โอกาสเพิ่มทุนสูงซ้ำซากสูงมาก

๒) ถ้าอยาก ท่านต้องทำวิจัยเข้มข้นเรื่องพื้นฐานอย่างหนักหน่วง มองรอบด้านแบบไม่มีอคติเลย
แต่พูดก็พูดเถอะ วีไอระดับเซียน ก็ขาดทุนเละจากหุ้น turnaround มาหลายคนแล้ว
ที่สำคัญคือ bias ของเราเองนี่แหละ

๒) รอให้มันเกิดแนวโน้ม
การยืนยัน การกลับตัว
แต่ซื้อให้น้อยนะครับ เพราะท่านต้องคำนวน risk reward ratio ให้ดีด้วย




แต่ก็นั่นแหละ ได้กำไรก็อย่าเพลิน จบรอบก็ต้องขาย ไม่งั้น ขาดทุน เพราะราคาลงหนักได้อีก

อ่านบทความเพิ่มเติม
- วอลุ่มและการยืนยันขาขึ้น


๓) รอให้ตลาดเกิดวิกฤติขั้นรุนแรง
เก็บเงินไว้ครับ ตอนนั้นขอดีราคาถูกจะเอามากองเร่ขายมากมายครับ
แต่ก็ไม่รู้เมื่อไหร่ เหมือนกัน

อาจจะดูว่าผมเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายนะครับ
เพราะผมเองก็เคยเล่นหุ้นต่ำบาทมาหลายปี ซึ่งแพ้ 99% ชนะแค่ 1% เท่านั้นเอง
ดังนั้นการที่ผมอยากให้ท่านมองที่ความเสี่ยงมาก่อน ถือเป็นความปรารถนาดีจากผมเอง
และอีกอย่างที่สำคัญคือ การให้ความเสี่ยงมาก่อนโอกาส คือสิ่งที่นักเทรดมืออาชีพ เขาทำกัน

---------------(โฆษณา)-------------
----------------------
----------------------
สนับสนุนโดยหนังสือหุ้น 2018 ที่ปล่อยของไม่มีกั๊กของผมเอง
ซึ่งเป็นเสมือนบันทึกการเรียนรู้เทคนิคอล เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับตัวเอง
"หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" และ "หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" ครับ

ทำไมใครๆต่างบอกว่าหนังสือทั้งสองเล่มเป็นการปล่อยของแบบไม่กั๊ก?

"หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่" แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้น ด้วย กราฟวีค ก็จะเน้นการดูแนวโน้มขาขึ้นด้วย price pattern จากนั้นก็รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย จบลงที่การขายด้วย price pattern เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเลยครับ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นขาขึ้นรอบใหญ่ ที่ http://zyo71.blogspot.com/2017/09/blog-post_7.html

ส่วน "หุ้นซิ่ง สวิงเทรด" แนะแนวทางการเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นด้วยกราฟรายวัน เล่มนี้จะเน้นการดูแท่งเทียน เอามาใช้ในการหาสัญญาณต้นเทรนด์ของขาขึ้น ซื้อหุ้นแบบ buying strength, buy weakness รันเทรนด์ด้วยเส้นค่าเฉลี่ย 5, 10,20,50, 100, 200 วัน ขายหุ้นออกด้วย selling into strength, selling weakness เรียกว่าครบวงจรตั้งแต่ซื้อยันขายเช่นกันครับ
อ่านสรุปหนังสือ หุ้นซิ่ง สวิงเทรด ที่ http://zyo71.blogspot.com/2018/04/ema-swing-trade.html 


สนใจติดต่อสั่งซื้อหนังสือหุ้นทั้งสองเล่ม
ส่งข้อความไปที่เพจ Zyo Books : facebook.com/zyoboooks


ขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนผลงานของเซียว จับอิดนึ้ง ครับ

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

ใช้ EMA200 กับ EMA50 แยกหุ้นว่าช่วงไหนน่าเล่น ช่วงไหนไม่น่าแล