เจ้าของเรื่องนี้คือลุง Rande Howell ครับ คือผมเสิร์ชไปเจอคลิปเสียงที่แกในยูทูป ก็เห็นว่าน่าสนใจดี
โดยแกมีช่องยูทูปของตัวเอง ก็คือ Rande Howell :
https://www.youtube.com/channel/UCETBN5OuJ_jktX7V0txmbKg
และมีไปทำ webinar ที่ช่อง FXStreet หลายคลิปเลย หากท่านสนใจก็ไปค้นจาก google ได้ครับ เจอเพียบเลย
จากประวัติ แกเป็นนักจิตวิทยาการเทรด (Trader Psychologist) ที่มีประสบการณ์ 15 ปี ในการเป็นนักบำบัดและโค้ชในเรื่องของจิตวิทยาประสิทธิภาพ(performance psychology coach)
การทำงานของเขาเน้นไปที่วิธีการทำลายความกลัว, การจำกัดกรอบคิด, การปรับตัวให้เข้ากับสมองเพื่อการอยู่รอด และการจัดระเบียบตัวเองให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นในการทำงาน ซึ่งมันสามารถทำได้โดยการเรียนรู้วิธีการจัดการความกลัวทางชีวภาพ (และผลกระทบต่อความคิด) และทำให้เข้าถึงส่วนที่มีอำนาจมากขึ้นของตัวเองที่เปลี่ยนความสามารถของเราสำหรับการปฏิบัติงานในเชิงบวก (เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ต้องซื้อขายในสภาพที่น่ากลัว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถเปิดโอกาสในการดำเนินการได้ในระดับที่สุดยอดได้) งานของ Rande จึงเป็นการสอนวิธีเปลี่ยนวิธีทำความเข้าใจและทำงานกับชีววิทยาของคน ซึ่งช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการควบคุมอารมณ์ของคุณและทำลายข้อจำกัด (ซึ่งมันสำคัญต่อความสำเร็จในการเทรดมาก) การฝึกการควบคุมด้านอารมณ์ของเขา ยังถูกนำไปใช้เพื่อรักษาผู้ต้องขังที่มีความรุนแรง ทำลายวงจรความรุนแรงในครอบครัว และปลดปล่อยคนทั่วไปจากข้อจำกัดของความคิดที่น่ากลัว
ที่มา
https://www.mytradersstateofmind.com/about-us.html
How to Stay Cool, Calm and Collected while Trading
https://www.mytradersstateofmind.com/how-to-stay-cool--calm-and-collected-while-trading.html
VIDEO
ใครอังกฤษเก่ง ก็แนะนำให้ดูคลิปและอ่านต้นฉบับนะครับ เพราะผมเองก็มั่วไม่น้อย
เรียนมาก็เยอะ เข้าคอร์สมาก็แยะ ทำไมถึงยังเทรดขาดทุน?
ผู้คนเชื่อว่าการอ่านหนังสือเยอะ เข้าคอร์สอบรมมากๆ ทำการบ้านหนักๆ จะทำให้เขาเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จได้ เทรดเดอร์ผู้มีความทะเยอทะยานพยายามไล่อ่านหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่า Take course เข้าเรียนมากับทุกอาจารย์ด้วยความหวังว่าความรู้เหล่านั้นจะทำให้เขาได้พบสุดยอดวิชาเทรดไม่แพ้ และพวกเขาก็ยังก้มหน้าก้มตาทำการบ้าน backtest ตรวจสอบความถูกต้องวัยแล้ววันเล่า พวกเขาทำงานหนักในเพื่อปกปิดความกลัวอันเกิดจากการมีข้อมูลจำนวนมาก (ยิ่งรู้เยอะก็ยิ่งกลัว)
แทนที่ความรู้ที่ก่ายกองเหล่านั้นจะทำให้พวกเขาได้ประโยชน์ มันกลับทำให้เขาเกิดความสับสนและหยุดชะงักไม่สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ แต่ด้วยความอยากไปต่อ จึงได้ชักนำเอาอารมณ์เข้ามาปนเป จึงได้เทรดด้วยจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความกลัว, ความเร่งรีบ, หรือมั่นใจเกินเหตุ
ไม่ว่านักเทรดคนนั้นจะมีความรู้สะสมมากเพียงใด, มีชั่วโมงในการทำการบ้านมากเพียงไหน พวกเขาจึงละเลยผลกระทบที่เกิดจากอารมณ์ที่อยู่เหนือความสามารถในการเทรดให้มีประสิทธิภาพไป
หากปราศจากความฉลาดทางอารมณ์แล้ว การลงมือทำงานหนักและความรู้ที่อุตส่าห์ร่ำเรียนมาก็จะไร้ค่าไปทันที ปัญหาก็คือนักเทรดละเลยผลกระทบที่อารมณ์ไปมีส่วนทำให้พวกเขาเทรดด้วยจิตใจที่ขุ่นมัว อุปมาเหมือนกับการมีรถแข่ง Formular 1 ที่สมบูรณ์แบบ แต่มีคนขับ(ที่สับสนในบทบาทของตนเอง)เป็นคนบังคับพวงมาลัยเข้าไปแข่งขัน มันจึงกลายเป็นมหกรรมการเสียของไปโดยเปล่าประโยชน์ เช่นเดียวกันกับนักเทรดที่เปี่ยมไปด้วยภูมิรู้ แต่กลับเอาวิทยาการเหล่านั้นไปใช้ไม่ได้แม้แต่นิดเดียว เพราะจำต้องเทรดภายใต้ภาวะกดดัน
อารมณ์และความคิดขณะซื้อขาย
ความสามารถในการดำเนินงานภายใต้ความกดดันจำต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก เช่นกับเทรดเดอร์ผู้ซึ่งจำต้องเผชิญกับอารมณ์ไม่ว่าจะชอบมันหรือไม่ก็ตาม นักเทรดส่วนใหญ่มักจะทำให้ตัวเองล้มเหลวก่อนหน้าที่จะเทรดด้วยซ้ำไป เพราะเขาให้ความกลัวเป็นผู้ชักจูงจิตใจ
อย่างแรกเลยคือพวกเขาได้เพิกเฉยความกลัว แล้วโฟกัสไปที่ข้อมูล-ข้อมูล และข้อมูลทั้งหมด แต่มันกลับไม่เวิร์ค กระนั้น,เขาก็ยังไม่ลดละ และยิ่งเขาต่อต้านความกลัวมากเท่าไหร่ มันก็ยังไม่หายไปจากใจของพวกเขา
พวกเขายังพยายามจินตนาการถึงความสำเร็จและพิชิตความกลัวนั้น แต่ความหวาดหวั่นกลับกลายแปรไปเป็นความสงสัยซึ่งไปปะปนอยู่ในการตัดสินใจไปแล้ว ในที่สุดมันก็ทำให้พวกเขาละทิ้งความรู้ไปใช้อารมณ์ในการเทรดแทน
นักเทรดได้พลาดการทำความเข้าใจอารมณ์ ที่ความจริงแล้วมันสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถจัดการจิตใจในช่วงที่สมรรถภาพการเทรดเกิดความปั่นป่วนได้แท้ๆ
ฉะนั้น อันดับแรกเลย เรามาเริ่มทำความเข้าใจมันด้วยคำถามง่ายๆว่า
"
อารมณ์คืออะไร? "
ที่จริงแล้ว สิ่งที่เข้าใจเกี่ยวกับอารมณ์นั้น มันไม่ใช่ทั้งหมด คุณรู้หรือไม่ว่าอารมณ์สามารถให้ข้อมูลสำคัญแก่คุณได้ถ้าหากคุณพัฒนาตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับมันได้ อารมณ์คือการตัวเชื่อมประสานระหว่างตัวเรากับสิ่งแวดล้อม มันไม่ใช่ความรู้สึก, แม้ว่ามันจะมีองค์ประกอบเป็นความรู้สึกก็ตาม มันไม่ใช่เรื่องของจิตวิทยา แต่มันได้เป็นนายใหญ่ของจิตใจเทรดเดอร์กำลังตกอยู่ในความเครียด คุณสามารถสังเกตว่าอารมณ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่ด้วยการวัดระดับทางชีวภาพที่เกิดจากการกระทำ-ผ่านการแสดงออกของร่างกายและจิตใจที่ตอบสนองทันที มันเป็นผลมาจากการพยายามปกป้องตัวเองของสิ่งมีชีวิต
อารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด(ระยะสั้น)ของสิ่งมีชีวิตโดยไม่ต้องคิดถึงวันพรุ่งนี้(ประโยชน์ระยะยาว) อารมณ์มันทำงานของมันอยู่ตลอด ความคิดต่างหากที่เกิดหลังจากอารมณ์ ด้วยเหตุนี้, ในการเทรดของพวกเรา เมื่อสมองคิดว่าการซื้อขายขณะนั้นมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดปัญหา มันก็เริ่มส่งสัญญาณให้เราต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อความอยู่รอดในระยะสั้น และตอนนั้นเองที่อารมณ์จะออกมาชักนำการเทรดให้ลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อความอยู่รอดตามสมอง
ความจริงแล้ว, สมองสองข้างของเรา มีหน้าที่ต่างกัน สมองฝั่งซ้ายคือส่วนของความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ฝั่งขวาคือส่วนของอารมณ์ ที่สำคัญคือคุณไม่มีมีจิตใจที่เป็นเหตุเป็นผลหรอก พวกเราน่ะชอบตัดสินอะไรด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น ในขณะที่สมองฝั่งซ้ายกำลังหาเหตุผลมาอธิบาย แต่ฝั่งขวากลับตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นว่าสมองต้องงัดเหตุผลที่สนับสนุนการกระทำตามอารมณ์ในที่สุด
The Trading Mind on Emotions
ในระหว่างการเทรด คุณเคยเกิดอาการแบบนี้บ้างมั้ย?
- ทุกครั้งที่คุณอยู่ภายใต้ภาวะกดดันหรือถูกกระตุ้นและเกิดการ overtrade หรือเทรดเพื่อแก้แค้น
- เกิดอาการ Paralysis by Analysis (เกิดความกลัวหรือวิตกกังวลในใจ จนพยายามใช้การวิเคราะห์และข้อมูลมากเกินไป(overload) เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยงขาดทุนเป็นจำนวนมาก)
- ล่าสุดคุณก็รีบขายหุ้นออกไวเกินไป และเหลือเงินสดอยู่ในมือมากเกินไป เพราะคุณรู้สึกกลัวมาก ไม่กล้าเทรดต่อ ไม่ยอมทนรวยจนราคาวิ่งไปถึงเป้าหมาย หรือจบแนวโน้ม
- ในทางตรงกันข้าม, คุณเกิดอาการ overconfidence มั่นใจสุดขีด(นี่ก็ใช่อารมณ์) และเกิดความรู้สึกสายใจที่ได้ไล่ซื้อหุ้นร้อนจนกลายเป็น overtrade
ท่านจะสังเกตได้ว่า เคสที่ว่ามานี้เป็นการตัดสินใจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ซึ่งมันไปขัดขวางความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล แม้ต่อมาคุณสามารถชะลออารมณ์เหล่านี้และปรับเปลี่ยนมันให้กลับมาอยู่ในรูปในรอยได้ แต่มันก็จะโผล่มาอีกในการเทรดครั้งต่อไป เพราะอารมณ์มันฝังอยู่ในตัวเรา มันเป็นส่วนหนึ่งของตัวเรามาแต่ต้น
อย่ากลัวความกดดันหรืออารมณ์ คุณต้องอาศัยมันเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาสภาพจิตใจให้เติบโตไปถึงจุดที่มีเหตุมีผลให้ได้
เพราะถ้าคุณเข้าใจอารมณ์ได้ คุณจะสามารถใช้มันให้เป็นประโยชน์ในเรื่องของการจัดการความน่าจะเป็นของสถานการณ์ได้ ถ้าหากเรารู้เท่าทันอารมณ์ คุณก็สามารถพัฒนากลยุทธ์และทักษะที่มีอารมณ์เป็นส่วนประกอบ ไม่ใช่เป็นตัวขัดขวางอีกต่อไป คุณจะเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการอารมณ์ที่เกิดในระหว่างการเทรดให้อยู่หมัดได้เลย
ส่วนประกอบของอารมณ์
เมื่อนักเทรดมีความเข้าใจอารมณ์ที่ดีขึ้น เขาจะตระหนักรู้ดีว่าอารมณ์ไม่ใช่ทางเลือก เขาต้องเรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมขณะเทรด
องค์ประกอบของอารมณ์ มีอยู่ ๕ อย่าง หากเราได้รู้จักการทำงานของมัน คุณก็สามารถฝึกฝนตัวเองเพื่อจัดการและควบคุมอารมณ์ที่คอยขัดขวางการเติบโตของธุรกิจเทรดได้
ส่วนประกอบของอารมณ์ มีดังนี้
๑) Arousal - ความเร้าทางอารมณ์
มันเป็นองค์ประกอบของอารมณ์ ที่ทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า เป็นสัญญาณทางชีวภาพที่เด่นชัด ถ้าคุณรู้จักสัญญาณนี้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถจับสังเกตจุดเริ่มต้นของอารมณ์ได้ก่อนที่มันจะไปจับมือกับความคิดเพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนอารมณ์(ซึ่งจะทำให้เราเกิดความไขว้เขวได้)
ในการเทรดจะมีอารมณ์พื้นฐานอยู่ ๓ อย่างคือ
ความกลัว
ความโกรธ
และความอิ่มอกอิ่มใจ
ช่วงเริ่มต้นของการเกิดอารมณ์ ร่างกายจะถูกกระตุ้น จึงมีการเพิ่มของอัตราเต้นชีพจร เมื่ออัตราเต้นของชีพจรเพิ่มขึ้นมันเป็นตัวบอกว่าร่างกายเราพร้อมที่จะดำเนินการตามอารมณ์เต็มที่ ไม่เพียงแค่อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น แต่ลักษณะการหายใจก็เปลี่ยนด้วย เมื่อนักเทรดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการซื้อและขาย พวกเขาจะสูดอากาศเข้าไปในปอดอย่างรวดเร็วและถี่แบบไม่รู้ตัว ตอนนั้นความคิดจะไม่ถูกใช้งาน แต่มันจะมีเพียงเพื่อเตรียมการสำหรับการสู้หรือถอยเท่านั้น
เมื่อคุณได้เรียนรู้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจถี่ขึ้น มันเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ที่ช่วยเร่งจิตใจและร่างกายของคุณให้ลงมือทำอะไรสักอย่างเพื่อสนองต่อมัน คุณต้องเรียนรู้ที่จะติดตามตัวเองและขัดขวางกระบวนการนี้ให้ได้
วิธีการจัดการก็คือคุณต้องเริ่มที่การหายใจ ถ้าหากตัวเองรู้สึกว่าเลือดลมสูบฉีดและหายใจแรง ก็ต้องรู้ตัวเองว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นแล้ว จงพยายามหายใจให้ยาวขึ้น และควบคุมมันให้มีความสม่ำเสมอ สิ่งนี้จะช่วยให้ร่างกายและอารมณ์รู้สึกสบายขึ้น
อีกด้านของช่วง Arousal คือความตึงเครียดของร่างกาย เพราะในตอนนั้นร่างกายมันมีการเตรียมตัวสำหรับการต่อสู้เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กล้ามเนื้อของคุณจะเกิดความเครียดอย่างชัดเจน คุณจะสังเกตเห็นความตึงเครียดนี้ในใบหน้า, คอ, ไหล่, อก, ลำไส้ และขา มันจะเกร็งไปหมด ทั้งนี้เพราะลมหายใจ และความตึงเครียด เป็นส่วนหนึ่งของการปลุกเร้าอารมณ์
การฝึกตัวเองเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและจัดการกับการหายใจ สามารถช่วยลดความรุนแรงของอารมณ์ลงได้ ซึ่งมันก็จะส่งผลดีต่อคุณ ที่จะไม่เกิดอาการมือลั่นซื้อขายไปตามอารมณ์อีกต่อไป
๒) Feeling - ความรู้สึก
มันคือเคมีของอารมณ์ในร่างกายและสมอง เมื่อใดก็ตามที่คุณมีความรู้สึก มันก็บอกว่าสายเกินไปที่จะจัดการมันด้วยการสูดลมหายใจยาวๆเพื่อลดความตึงเครียดแบบที่เคยทำได้ในช่วง Arousal
คนอาจเคยรู้สึกปวดท้อง รู้สึกไม่สบาย รู้สึกหนัก หรือรู้สึกว่าตัวเองมีความสุขที่สุดในโลก ในขณะเทรดกันบ้างแล้ว
มันเป็นช่วงที่ร่างกายปลดปล่อยพลังงานออกมาแล้ว
ด้วยความที่คุณไม่สามารถหยุดยั้งมันได้ด้วยการหายใจ การออกไปเดินเล่นข้างนอก หรือหยุดพักไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการกับอารมณ์ในขั้นตอนนี้
เพราะว่าความรู้สึกมันเป็นช่วงที่ร่างกายได้ปลดปล่อยพลังงานออกมา ดังนั้นจำคุณต้องมีการสลายพลังงานนั้น การออกไปเดินเล่น วิ่ง ออกกำลังกาย ทิ้งการเทรดเอาไว้ข้างหลัง จึงเป็นแนวทางการสลายพลังงานที่ดีที่สุด
เพราะเมื่อคุณรู้สึกถึงอารมณ์ ความรู้สึกมันมีอิทธิพลเหนือการรับรู้และความคิดของคุณแล้ว จนกว่าคุณจะเผาหลาญมันออกไปจากระบบนั่นแหละ คุณถึงจะได้มีสติและความคิดที่เป็นตรรกะได้ใหม่
ดังนั้นเมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะทำตามอารมณ์ ก็ให้หยุดการเทรดซะ วางมือ ออกไปทำกิจกรรมที่มันนอกเหนือจากการซื้อขายสักพัก เพื่อตัดความเชื่อมโยงของสมองกับการเทรดออกไป จนกว่าคุณจะมีสติที่ชัดเจนมองอะไรในมุมของตรรกะจึงค่อยกลับมาเทรดใหม่ เพราะเราก็รู้ดีว่าถ้าเราเทรดด้วยอารมณ์เมื่อไหร่ ความยุ่งเหยิงและปัญหาก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน
๓) Motivation - แรงจูงใจ
อารมณ์กำลังบอกคุณให้ทำอะไร? สิ่งนั้นแหละที่เรียกว่าแรงจูงใจทางอารมณ์ โดยอารมณ์จะชักนำให้ร่างกายและจิตใจลงมือทำอะไรสักอย่าง
Fear : อารมณ์กลัวบอกให้คุณหลีกเลี่ยง
Anger: อารมณ์โกรธบอกให้คุณโจมตี
Euphoria: อารมณ์อิ่มเอมใจ (หรือ overconfidence)บอกให้คุณลงมือทันทีโดยไม่สนใจข้อเสีย
คุณต้องพยายามเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งที่อารมณ์ปรากฎขึ้นในช่วงที่นักเทรดกำลังบริหารจัดการความเป็นไปได้ของความไม่แน่นอน(อารมณ์ที่เกิดในช่วงที่เรากำลังสับสน ให้ต้องเลือกสักทาง) นี่แหละคือแรงจูงใจให้ลงมือทำ มันจะคอยบอกให้คุณตื่นตัว, มุ่งเน้น และพร้อมลงมือในทุกสถานการณ์ที่ตลาดแสดงออก
๔) Belief - ความเชื่อ
นี่คืออคติและสมมุติฐานที่คุณมีเกี่ยวกับความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอน มันคือ performance beliefs หรือ ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ พูดง่ายๆคือ คุณเริ่มตั้งคำถามกับแผนหรือกลยุทธ์การเทรดของตัวเอง เริ่มไม่มั่นใจว่ามันจะยังใช้ดีในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนครั้งนี้หรือเปล่า
มีคนน้อยมากที่เกิดมาพร้อมกับจิตใจที่นิ่งสงบเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ส่วนใหญ่มักจะเป๋และเละเทะในช่วงนี้ โดยเฉพาะนัเทรดมือใหม่ คุณต้องพยายามเรียนรู้ และพยายามจัดระเบียบความเชื่อในช่วงไม่แน่นอนนี้ให้ได้ ถ้าทำได้ดี พอร์ตคุณก็มีโอกาสเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
กระบวนการพัฒนาตนเองให้เท่าทันอารมณ์
สิ่งแรกคือคุณต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์ที่คุณได้รับในขณะเทรด
อย่าทิ้งหรือข่มอารมณ์ แต่จงปล่อยให้มันมีเสรีภาพในการแสดงออก เมื่อคุณเห็นอารมณ์โผล่เข้ามาในระหว่างการเทรดแล้ว....
ขั้นตอนต่อไปก็คือการฝึกอารมณ์
อย่างแรกคือเรียนรู้ที่จะจัดการความเร้าอารมณ์ จากนั้นก็เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความเชื่อที่คุณกำลังจะเอาไปใช้ร่วมกับการเทรดทุกวันโดยที่คุณไม่รู้ตัว นี่คือจุดที่คุณควบคุมพลังแห่งอารมณ์และจิตใจให้มีส่วนร่วมกับความไม่แน่นอนของการซื้อขายจากมุมมองใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเปลี่ยนจากการตอบรับตามสัญชาตญาณไปสู่การจัดการอารมณ์แบบเชิงรุก
นักเทรดต้องรับผิดชอบในการเป็นนักออกแบบอารมณ์และจิตใจที่เขานำมาใช้ร่วมกับการเทรด นี่คือขั้นตอนที่นักเทรดผู้ทะเยอทะยานไม่สนใจ พวกเขารอให้มีการดปลี่ยนแปลงภายนอกตัว แต่แท้จริแล้ว,การเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องควรมาจากภายในสู่ภายนอก จิตใจของคุณที่มุ่งเน้นที่การควบคุมผลลัพธ์นั้น-มันไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายในการซื้อขายเลย จึงไม่แปลกที่พวกเขาไม่สามารถทำกำไรได้อย่างยั่งยืนหนำซ้ำต้องขาดทุนต่อเนื่องอย่างถอนตัวไม่ขึ้น
ดังนั้น คุณต้องกล้าเปลี่ยนแปลง ถ้าอยากมีผลการเทรดที่ดีขึ้น ด้วยการกำหนดโปรแกรมสมอง / ใจสำหรับการจัดการความน่าจะเป็น (แทนการจัดการเพื่อการอยู่รอด คุณต้องพร้อมและยินดีที่จะต้อนรับอารมณ์และใช้มันเพื่อเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความคิดจากการให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ชนะไปเป็นให้ความสนใจกับกระบวนการ
คำถามคือ: คุณพร้อมและเต็มใจที่จะใช้สิทธิ์ในศักยภาพที่แท้จริงของคุณหรือไม่?
Mastering the Mind that Over-Trades: Teaching Patient Discipline to Your Inner Alpha
https://www.mytradersstateofmind.com/mastering-the-mind-that-over-trades---teaching-patient-discipline-to-your-inner-alpha.html
ความต่างระหว่าง ความปรารถนาที่จะชนะ กับ Mindset เพื่อการทำกำไร
ความปรารถนาของเทรดเดอร์ทุกคน ล้วนพุ่งเป้าไปที่ชัยชนะ ทุกคนอยากได้กำไร ไม่มีแท้แต่คนเดียวที่ต้องการขาดทุน
ตรงนี้แหละที่ "ความปรารถนาที่จะชนะ" กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่คอยขัดขาเทรดเดอร์ ซึ่งเราสามารถดูขนาดปัญหาได้จากประวัติการเทรดของพวกเขา(ซึ่งมันมักจะไม่ค่อยตรงกับความปรารถนาของเทรดเดอร์ตคนนั้นเลย)
แม้พวกเขาจะทำใจไม่ให้เชื่อกับผลงานของตัวเอง ว่าการพยายามทำงานอย่างหนักกลับไม่ได้ผลที่ต้องการเลยแม้แต่นิด ทัศนคติปรารถนาชัยของคุณก็ดูเหมือนจะมีปัญหาบางอย่างซ่อนอยู่ในขณะซื้อขายเป็นแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความปรารถนาที่จะชนะ" กับ"ความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ" มันเหมือนจะไปคนละทางกัน(ก็หลักฐานทางบัญชีการเทรดมันฟ้องอย่างนั้น)
ตรรกะดังกล่าวอาจจะทำให้บัญชีคุณมีปัญหา เช่น ขาดทุนหนักแบบไม่ทันตั้งตัว, ขาดทุนทีละนิดแต่ต่อเนื่อง, ขาดทุนกำไรที่เพิ่งได้มารวดเดียว,ฯลฯ
พูดง่ายๆคือ คุณไม่สามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งๆที่ตัวอยากชนะใจจะขาด(สั้นๆคือ-ต้องการชนะ แต่เทรดแพ้)
ฉะนั้น, หากคุณต้องการได้กำไรอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องให้ความสำคัญญกับประสิทธิภาพในการซื้อ-ขายของคุณ เพราะมันคือสาเหตุหลักของการติดหล่มครั้งนี้
แต่ในเมื่อมันยังเกิดขึ้นแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ว่าคุณจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม คุณก็ยังไม่รู้ว่าควรทำยังไงดี?
แนวทางแก้ปัญหานี้ มันต้องเริ่มต้นที่การตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้วคุณไม่สามารถควบคุมตลาด(ให้เคลื่อนไหวตามใจคุณ)ได้
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะหาแนวทางใหม่ๆเพื่อเอามาชนะตลาดนั้น มันเป็นเรื่องสุดวิสัย
ยิ่งคุณพยายามมาก แถมแก้ไม่ถูกจุด ไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ก็ยิ่งขาดทุนไม่สิ้นสุด
ความรู้สึกในขณะซื้อขายจริง มันต่างจากสิ่งที่พวกเขาเคยชินมาก แม้จะพยายามมากมายก็คล้ายกับการโยนก้อนกรวดลงมหาสมุทร
ตลาดไม่สนใจคุณแม้แต่นิด
นี่คือเหตุผลว่า การหันกลับมาตรวจสอบบัญชีของตัวเอง จึงจำเป็น และมันอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยน
ผลงานการเทรดของคุณจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความบกพร่องต่างๆ อันจะเป็นเชื้อให้คุณหาทางฝึกสมองและจิตใจเพื่อรับมือกับความโหดร้ายของตลาด
A New Understanding of Alpha’s Need to Win
เมื่อมีความปรารถนาที่จะชนะอย่างแรงกล้า-จึงพยายามลงมือทำให้เกิดผลและพยายามควบคุมผลลัพธ์-กลายเป็นอคติที่ขัดแย้งต่อความสำเร็จในการเทรดระยะยาว
มันเป็นอย่างนี้ได้ไง?
บรรพบุรุษของเราล้วนมีความจริงจังในการต่อสู้ชนะเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการล่าเหยื่อมาเป็นอาหาร เผชิญหน้ากับภัยคุกคาม เลือกคู่ครองที่ดีผ่านฐานะทางสังคม - ผู้ชนะจะได้อาหาร,ที่พัก, และขยายเผ่าพันธุ์ของตนได้สะดวก
เมื่อเวลาผ่านไป คุณลักษณะที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เรียกว่า Alpha
สิ่งสำคัญของอัลฟ่าก็คือ การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด
การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด(ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของการเป็นนักล่าที่ประสบความสำเร็จ, ผู้พิทักษ์ หรือสถานะสังคมชั้นสูงในกลุ่ม) หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้ และมันก็ได้สืบทอดมายังชนรุ่นหลังกระทั่งปัจจุบันนี้
พูดง่ายๆคือ ถ้าอยากเป็นผู้ชนะ พวกเขาต้องทำงานหนักและควบคุมผลงานให้เป็นไปตามต้องการได้
ซึ่งตัว alpha ลักษณะนี้ มันใช้ไม่ได้ในโลกของการเทรด
ดังนั้น ถ้าอยากกำไรจากตลาดอย่างสม่ำเสมอ คุณต้องเปลี่ยนความหมายของ alpha เสียใหม่
เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ ยังยึดติดกับ alpha แบบเดิม (โดยเฉพาะกูรูสอนเทรด)ต่างคนต่างโฆาณาชวนเชื่อว่าตัวเองมีสูตรสำเร็จในการควบคุมผลที่เกิดจากความพยายามอย่างหนัก มันจึงส่งทอดความเชื่อให้กับนักเรียนใช้หลักการนี้ต่อ ซึ่งผลก็รู้กันว่านักเรียนขาดทุน พอขาดทุนก็หาเงินไปเรียนใหม่กับกูรูคนนั้น สรุปคือกูรูรวย แต่พอร์ตของนักเรียนแทบล้มละลาย
แม้แต่นักเทรดที่เรียนรู้ด้วยตัวเองก็ตามที พวกเขามีความพยายาม มีความสามารถในการปลุกเร้าตัวเองให้มุ่งมั่น กระหายชัย มี passion ในการเรียนรู้ แต่ก็ยังติดหล่มเดียวกันนี้
ปัญหาของความปรารถนาที่จะควบคุมและมุ่งมั่นเพื่อชัยชนะ ได้เปิดให้เห็นภาพลวงตาของการควบคุม - ซึ่งไม่ใช่ความสามารถในการควบคุมได้อย่างแท้จริง ถ้าไม่เชื่อก็กลับไปดูบัญชีซื้อขายของพวกเขาดูสิ มันฟ้องชัดว่าความพยายามแบบนี้ไม่ได้ผลเลย-แม้แต่-นิดเดียว
เมื่อพวกเขามีความปรารถนาที่จะชนะ สิ่งที่คิดได้ก็คือ ต้องทำให้มากที่สุด เทรด-เทรด-ซื้อ-ขาย-ซื้อ-ขาย-ซื้อ วันละหลายๆรอบ หากเอาส่วนต่างมาทบต้นแล้วสามารถเป็นเศรษฐีคนต่อไปได้ในเวลาไม่ถึงปี
แต่พวกเขาอยู่ในโลกของจินตนาการนานเกินไป เพราะตลาดไม่มีทางยอมให้คุณได้กำไรทุกตา เมื่อพวกเขาแพ้, สัญชาติญาณของการดิ้นรน ทำให้รีบตั้งป้อมสู้เพื่อเอาคืนทันที แต่แทนที่จะได้ พวกเขากลับสูญเสียมากขึ้นไปอีก เมื่อขาดทุนหนักก็เกิดอารมณ์กลัว
อีกทั้งความปรารถนาที่จะชนะ กลับเป็นตัวผลักดันไม่ให้นักเทรดรีบตัดขาดทุนไปเสียอีก ส่งผลให้ความเสียหายลุกลามใหญ่โตกว่าเดิม บ่อยครั้งก็บานปลายเกินเยียวยา
The New Alpha Rising
ความจริงแล้ว alpha มันใช้ดีในเกือบทุกสาขาอาชีพ ยกเว้นแค่ในตลาดหุ้น ดังนั้นถ้าหากเราต้องการเอามันมาใช้ที่นี่ ก็ต้องมีการปรับปรุง ดัดแปลงให้เหมาะสม
เริ่มต้นคือ เทรดเดอร์ต้องทำตัวเป็น "ผู้แพ้ที่ดี" คือรีบยอมรับว่าตัวเองพลาดแล้วรีบตัดขาดทุนให้เสียหายน้อยที่สุด ดังนั้น alpha ใหม่ที่เหมาะสำหรับการเทรดก็คือ เปลี่ยนจาก "ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะชนะ" ไปเป็น "ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำเนินการเทรดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด"
ต่อมาก็คือ การยอมรับว่า alpha ไม่สามารถช่วยให้คุณเอาชนะตลาดได้ หนำซ้ำมันไม่สามารถกำหนดผลลัพธ์การเคลื่อนไหวของตลาดได้ว่าจะต้องไปถึงเป้าแบบเป๊ะๆ ดังนั้นแทนที่จะควบคุมผลลัพธ์ คุณต้องพยายามควบคุมประสิทธิภาพของตนเองแทน
ตอนนี้อัลฟากำลังก้าวไปไกลกว่าการอยู่รอดและเรียนรู้วิธีการพัฒนาจิตใจที่เจริญเติบโตในโลกแห่งความน่าจะเป็นความเสี่ยงและทุน
นอกจากนี้, ระเบียบวินัยและการอดทน ก็เป็นสิ่งที่ต้องเอามาเสริม เพราะเรารู้แล้วว่าการขยันเกินไปก็ใช่จะเป็นผลดีต่อประสิทธิภาพการเทรด มันมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการขาดทุน-ล้างแค้น-ขาดทุนเพิ่ม
แต่ถ้าหากเราเอาความรอบคอบเข้ามาอยู่ในสมการด้วย มันก็จะช่วยให้นักเทรดมีการตัดสินใจที่เฉลียวฉลาดมากขึ้น
ให้เลียนแบบพฤติกรรมของเสือ Cougar เอาไว้ มันเป็นนักล่าโดดเดี่ยวที่ปรับตัวให้เหมาะสำหรับป่าในทวีปอเมริกาเหนือ มันไม่ใช่นักวิ่งไล่ล่าเหยื่อ แต่เป็นนักซุ่มโจมตี มันจะอุทิศตัวซุ่มเฝ้ารอเหยื่ออย่างอดทน บนต้นไม้ ในซอกหิน เพื่อรอกวางที่หลงเข้ามาในโซนโจมตี มันรู้จักนิสัยกวางเป็นอย่างดี(เหมือนเทรดเดอร์รู้จักการวิเคราะห์ทางเทคนิค) มันรู้ว่าตัวเองมีความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จสูง(ในการไล่ล่า-ถ้าจะทำ) แต่มันกลับเลือกที่จะซุ่มดักรอให้กวางเดินเข้าไปในพุ่มไม้ของมัน เมื่อจังหวะได้ มันก็กระโจนเข้าจับกวาง(โดยที่ไม่มีการไล่ล่า) ซึ่งผลจากนั้นก็สามารถออกมาได้ทั้งสองแบบ คือจับได้อยู่หมัด-กวางกลายเป็นเหยื่อ-เสือชนะ แต่ถ้าหากเสือพลาด-มันก็ปีนขึ้นไปซุ่มที่ใหม่เพื่อรอโอกาสใหม่ต่อไป
เสือไม่บาดเจ็บ แม้จะพลาด ก็ไม่เป็นไร เอาใหม่
คุณสมบัติที่ต้องเพิ่มและพัฒนาก็คือ ความอดทน เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่อนและความเสี่ยงของการเทรด เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นแทน เพราะสภาพแวดล้อมของการเทรดมันไม่สามารถควบคุมผลได้เลย หากอยากจะได้ประโยชน์จากมันก็ต้องมีทางเดียวคือปรับตัวตาม เมื่อเราสามารถอยู่ในกระแสของตลาดได้แล้ว หากมีความอดทนพอ ก็จะเห็นโอกาสสวยๆที่มีความน่าจะเป็นให้เราชนะ-แล้วเข้าทำเพื่อให้ได้กำไรตามที่ตลาดมอบให้ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร รีบยอมรับมัน-ตัดขาดทุนให้ไว แล้วกลับไปซุ่มรอจังหวะใหม่แบบนักล่ามืออาชีพ
สรุปคือ เราต้องพัฒนาทักษะของความอดทน เพิ่มความเคร่งครัดต่อวินัย รู้จักรอจนกระทั่งได้จังหวะที่ดีที่สุด แล้วค่อยลงมือทำ ถ้าผิดทางก็รีบถอนตัวออกมาเพื่อไม่ให้เกิดความบาดเจ็บ เพราะเราต้องอาศัยพลังในการโจมตีครั้งใหม่ ซึ่งลักษณะของแผนการณ์ก็ขึ้นอยู่กับสภาพตลาดนั้นจะเป็นไปในทางใด เราก็ต้องปรับตัวตามนั้นเพื่อที่จะเห็นโอกาสที่สอดคล้องกัน
((โฆษณา))
เล่นหุ้นขาดทุน อย่าเพิ่งขาดใจ
ยังมีคนโดนหนักกว่าคุณอีก
นี่คือความรู้ที่เขาได้จากการขาดทุน
ความรู้หุ้น มูลค่า 1 ล้านบาท
ลองหาอ่านดู เผื่อท่านจะได้เห็นทางออก
มีขายเป็น eBook แล้วที่ mebmarket.com