การเทรดที่ประสบความสำเร็จ นั้น แค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ก็ยังไม่พอ

Image
Alexander Elder กล่าวว่า การเป็นเพียงแค่ “ดีกว่าค่าเฉลี่ย” ยังไม่เพียงพอ คุณต้องโดดเด่นกว่าใครๆ เพื่อที่จะชนะในเกมที่มีผลรวมติดลบ (Being simply “better than average” is not good enough. You have to be head and shoulders above the crowd to win a minus-sum game.) eBook : คิดและสวิงเทรดเป็นระบบแบบพี่แดน (Dan Zanger) มีจำหน่ายที่แอพ Meb ที่เดียว https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiMTk5MjQzNSI7czo3OiJib29rX2lkIjtpOjM0NDM3MTt9 ในคำพูดนี้ Alexander Elder กำลังเน้นย้ำว่า ในโลกของการเทรด การเป็นเพียงแค่คนที่ "เก่งกว่าค่าเฉลี่ย" อาจไม่เพียงพอที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะการเทรดไม่ใช่เกมที่ทุกคนสามารถชนะพร้อมกันได้ มันคือเกมที่เรียกว่า เกมที่มีผลรวมติดลบ (minus-sum game) ซึ่งหมายความว่า ทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด เช่น กำไรและขาดทุน ถูกกระจายไปในกลุ่มผู้เล่น แต่เมื่อรวมต้นทุนการเทรด เช่น ค่าธรรมเนียม นายหน้า และค่าเสียโอกาสแล้ว จะทำให้โดยรวมตลาดมีผลขาดทุนสุทธิ "เกมที่มีผลรวมติดลบ" หมายถึงอะไร? การเทรดในตลาดไม่ได้มี...

(สรุปหนังสือหุ้น) บันทึกลับเซียนหุ้น


"บันทึกลับเซียนหุ้น" น่าจะเรียกว่า "บันทึกการเทรดของลิเวอร์มอร์" เพราะในเล่มนี้จะไม่มีการพูดถึงเรื่องส่วนตัวเลย เน้นเรื่องการเทรดล้วนๆ

คนอ่านจะได้เรียนรู้วิธีคิด มุมมอง พัฒนาการของวิธีเทรด ที่มีทั้งกำไรและหมดตัว เราจะรู้ว่าอะไรทำให้เขาชนะและที่แพ้จนหมดตัวเพราะอะไร

ผมมองว่านี่เป็นกรณีศึกษาที่ดีมากสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน เหมือนกับที่เขาว่า "ชีวิตคุณไม่ได้ยืนยาวมากพอที่จะทำผิดพลาดได้ทุกอย่างหรอก จงเรียนรู้จากคนอื่นให้มากที่สุด"

ด้วยความที่เป็นหนังสือที่เล่มหนามาก แต่อ่านสนุก เพราะมีเกร็ด คำคม ทริกการเทรดแทรกอยู่มากมาย  ผมอ่านและจดบันทึกไปด้วยเพราะไม่อยากให้ตัวเองพลาดสิ่งดีๆที่มีในเล่มนี้ไปแม้แต่นิดเดียว บอกเลยว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่ผมประทับใจมาก

ใครที่ไม่เคยอ่านก็ขอแนะนำเลยครับ เหมาะมากสำหรับคนที่เคยขาดทุนหนักๆ เล่มนี้จะช่วยปลุกกำลังใจของคุณให้ลุกขึ้นสู้ได้ครับ

ขอแชร์เนื้อหาแบบสรุปตามความเข้าใจของผม ดังนี้


นิสัยของลิเวอร์มอร์
- ชอบและเก่งคณิตศาสตร์มาก มีความจำดี คิดคำนวนเลขได้เร็วกว่าคนอื่น
- ขี้สงสัย ช่างสังเกตุ สามารถหาความหมายของสิ่งต่างๆได้จากการเฝ้าสังเกตุ
- ชอบจดบันทึก ชอบพิสูจน์ความเชื่อ ว่าแนวคิดมีความแม่นยำเพียงใด สิ่งที่คาดการณ์ไว้ถูกต้องหรือไม่
- มีวิธีคิดเป็นวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่สังเกตุ ตั้งทฤษฎี ตั้งสมมุติฐาน พิสูจน์ และสรุป
- ไม่เชื่อใครง่ายๆ ดูข้อมูลที่ตัวเองมีก่อน ค่อยตัดสินใจด้วยตัวเอง
- มีลางสังหรณ์?
- ขาดวินัย หลักการดี ถ้าทำตามแผนจะชนะ 7 ใน 10 ครั้ง แต่เพราะเลือกเทรดตามความพอใจ ไม่ทำตามแผน เลยขาดทุน
- พอผิดพลาดแล้วจะกลับมามองตัวเองก่อน ไม่เคยโต้แย้งกับข้อมูลที่เทปแสดงออกมา(ไม่โทษตลาด)
- ชอบทำอะไรๆ คิดด้วยตัวเอง ลงมือเอง ผิดก็โทษตัวเองก่อน
- คิดบวก มองความล้มเหลวและขาดทุนทุกครั้งเป็นบทเรียน และพยายามไม่ให้ตัวเองผิดซ้ำในแบบเดิมอีก
- ไฝ่รู้ ชอบอ่าน ชื่นชมคนเก่ง ชอบศึกษาวิธีคิดของนักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จ
- ใจอ่อน มีสำนึกรู้คุณคน ทำให้ขาดทุนเพราะเพื่อนหลายครั้ง
- มีการศึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาของนักเก็งกำไร
- เชื่อว่าชีวิตคือการเรียนรู้
- ใจสู้ ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา



พัฒนาการเทรด
- อายุ 14 เริ่มเล่นหุ้นชนะครั้งแรกในร้านบัคเก็ต โดยใช้องค์ความรู้จากการสังเกตุราคาและวอลุ่ม(หรือที่เรียกเทป) ที่มักจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ มาใช้ในการซื้อหรือช็อตหุ้นได้อย่างแม่นยำ(ชนะ 7 ใน 10 ครั้ง) จากการที่เขาสังเกตุได้ว่า ท้ายสุดไม่ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ตัวเลขมักจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมาเสมอ ในแบบที่ซ้ำๆ จึงทำให้เกิดรูปแบบที่สามารถคาดเดาได้
- อายุ 15 เก็บเงินได้ $1000 จากการเล่นหุ้น แต่เพราะความที่ร้านบัคเก็ตคล้ายกับบ่อน เจ้ามือไม่ชอบคนที่เล่นชนะตลอดอยู่แล้ว เขาจึงถูกกีดกันไม่ให้เล่นหุ้น หรือถ้าเข้าไปเล่นได้ก็จะถูกเอาเปรียบและโกง
- อายุ 20 เคยมีเงินเก็บมากกว่า $10,000 ต่อมามีเล่นเสียหลายครั้ง แต่โดยรวมยังกำไร
- อายุ 21 เดินทางเข้านิวยอร์คพร้อมมีเงินเหลือติดตัวเพียง $2,500 จากนั้นก็ขาดทุนหมดตัว เขาพบว่าวิธีการเทรดของเขาใช้ในร้านบัคเก็ตได้ผลกำไรมากกว่าการเทรดในตลาดหุ้นที่นิวยอร์ค
- อายุ 22 ทำเงินได้ $50,000 แต่ก็ขาดทุนหมดตัวอีกครั้งจากตลาดหุ้นนิวยอร์ค จึงเริ่มรู้สึกตัวและปรับตัวว่าแยกความต่างไม่ออกระหว่างการเก็งกำไรกับการพนันในหุ้น


ยกระดับการเทรด
อายุ 27 เปลี่ยนวิธีการเทรดจากการคิดจะเอากำไรแค่ 1-2 จุดเป็นเล่นตามแนวโน้มใหญ่ ซื้อแล้วถือจนกว่าตลาดจะเปลี่ยนแนวโน้ม  เข้าใจการเคลื่อนไหวของหุ้นรายตัวจะเป็นไปในทางเดียวกับแนวโน้มใหญ่ เริ่มศึกษาพื้นฐานและการเหวี่ยงของราคาจากสภาวะตลาดโดยรวม เขามองภาพใหญ่ขึ้นโดยดูทิศทางตลาดมากกว่าการดูหุ้นเป็นรายตัว ถือว่าเป็นการยกระดับการเทรดไปอีกขั้น


ชอร์ตหุ้นจนตลาดพัง
เริ่มมีชื่อเสียงจากการชอร์ตหุ้น ในปี 1907 ตลาดวิกฤติอย่างหนัก เขาทำกำไรได้อย่างมากมายจากการชอร์ตหุ้นในช่วงนี้ จนธนาคารต้องมาขอร้องให้หยุด


กำไรฝ้าย
เริ่มเข้ามาเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะมองว่าระยะยาวแล้วมันจะเกี่ยวข้องกับ อุปสงค์ และอุปทาน เท่านั้น เริ่มต้นด้วยการเทรดฝ้าย ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก  จากระบบการเทรดแบบใหม่ที่เขาคิดขึ้นมาเพื่อทดแทนที่การเล่นแบบการพนัน นั่นคือการซื้อถัวเฉลี่ยขาขึ้น ทุ่มเมื่อถูกทาง และรีบตัดขาดทุนเมื่อรู้ว่าผิดทาง ตอนนี้เขาโด่งดังมากๆ


ขาดทุนเพราะเชื่อเพื่อน
จากนั้นเขาก็ขาดทุนอย่างหนัก เพราะไม่เชื่อในระบบเทรดของตัวเอง ไปหลงเชื่อคารมโน้มน้าวใจจากคนที่เขาชื่นชม ทำให้ทุ่มซื้อฝ้ายอย่างหน้ามืดตามัว แม้จะผิดทางเขาก็ยังดันทุรังซื้อเพื่อพยุงราคา แม้จะได้กำไรจากข้าวสาลี แต่กลับขายออกเพื่อเอาเงินมาซื้อฝ้าย (ในบันทึกบอกว่าตอนนั้นสุขภาพเขาเริ่มแย่อีกด้วย)
สุดท้ายยอมขายขาดทุน โดยเหลือเงินอยู่ไม่กี่แสน


หมดตัวอีกครั้งหนำซ้ำเป็นหนี้หลักล้าน
เพราะความที่มีปัญหาสุขภาพ และการใช้จ่ายที่ฟุ้งเฟ้อ ทำให้มันมีผลต่อการเทรดของเขา ที่ทำไปแบบคนร้อนเงิน พอขาดทุนก็รีบเอาคืนเพราะเชื่อว่าในที่สุดตลาดหุ้นต้องทำกำไรให้เขาในท้ายที่สุด ส่งผลให้เขาขาดทุนอย่างต่อเนื่องกระทั่งหมดตัว แถมยังติดหนี้โบรคเกอร์ และเพื่อนอีกเป็นล้านเหรียญ ทำให้เขาหดหู่มาก


ไม่ยอมแพ้
เริ่มกลับมาเทรดใหม่โดยใช้เงินน้อยๆ จากเครดิตของบริษัทเล็กๆที่ยังเชื่อมั่นในชื่อเสียงของเขา เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำเงินเพื่อเอาไปคืนเจ้าหนี้ให้ได้


คืนวงการด้วยการเป็นฉากบังหน้า
มีโบรกเกอร์ติดต่อเขาให้เข้าสูวงการอีกครั้ง โดยเสนอเงินให้เขาเทรด $25,000 ฟรีๆ เพื่อให้เป็นฉากบังหน้าการเทรดของคนในบริษัทที่เล่นหนักเหมือนกัน พอได้เงินนั้นไปเทรดเขาก็ทำกำไรได้ในทันทีจนมีเงินคืน เริ่มมีความมั่นใจ แต่ก็ถูกทำลายลงไปอีกเพราะโบรกเกอร์ที่ให้เงินเขาเริ่มมีการจำกัดอิระในการเทรดแถมบังคับให้ซื้อขายหุ้นที่ขัดแย้งกับระบบเทรด เขาเลยตัดสินใจออกไปเทรดที่อื่นแต่ก็ยังขาดทุน ในตอนนี้นี่เองที่เขาหมดกำลังใจในการเทรดเป็นครั้งแรกในชีวิต


ทบทวนตัวเองพบทางสว่าง
เริ่มกลับมาทบทวนตัวเองอย่างหนัก พบว่าปัญหาไม่ใช่วิธีการอ่านเทป แต่เป็นที่ความกระวนกระวายเกี่ยวกับหนี้ เพราะความที่เขาตั้งมั่นว่า "ต้องผ่านช่วงเวลาหมดตัวนี้ไปให้ได้" เขาเลยไปเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ให้ปลดหนี้ไปก่อน ก็ได้รับการตกลง


เป็นอิสระ
เมื่อเขาเป็นอิสระ ก็กลับไปเริ่มต้นเทรดใหม่ด้วยจำนวนจำกัดเพียง 500 หุ้นเท่านั้น ซึ่งผลจากการที่เขาเตรียมตัวมาดี มีการศึกษาสภาวะตลาดทั่วไปและพยายามคิดเรื่องของจิตวิทยาของคนอื่นๆ และรู้จักตัวเองให้ดีก่อน เขาได้เรียนรู้ว่าความสำคัญของการอ่านเทปสำคัญเท่าๆกับการอ่านตัวเอง นอกจากจะศึกษาภาวะตลาดแล้ว เขายังมีการวิเคราะห์งบการเงินด้วย


กลับมากำไรอีกครั้ง
และเขาก็กลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง จนมีเงินทุนพอที่จะเทรดในระดับที่เหมาะสม
 เขาพบว่าก่อนหน้านี้เขาถูกรบกวนและเทรดผิดตลอด เพราะถูกเจ้าหนี้คอยรังควาน และขาดแคลนเงินทุน เมื่อไม่มีสิ่งรบกวน เขาก็เทรดได้ชนะตลอดทาง


ใช้หนี้ได้หมด
ปี 1917 เขาสะสมกำไรจนมีเงินเหลือ ให้สามารถจ่ายหนี้คืนได้หมด ซึ่งเป็นการจ่ายคืนทั้งก้อนในครั้งเดียว ส่วนเงินที่เหลือ เขาเริ่มรู้จักเอาไปซื้อพันธบัตร ซื้อกองทุนให้เมียและลูก เพื่อเป็นหลักประกัน ว่าลูกเมียจะปลอดภัยจากเขา


ปั่นหุ้น
การกลับมาชนะตลาดในครั้งนี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงมากขึ้นกว่าเดิมอีก จึงมีคนเข้ามาติดต่อให้เขาเป็นคนทำราคาหุ้นให้ และก็ยังมีคนอาศัยชื่อเสียงของเขาเพื่อเป็นเครื่องมือในการดึงรายย่อยมาซื้อหุ้นอีกด้วย


เกร็ดและคำคมที่น่าสนใจ
การสังเกต, ประสบการณ์, ความจำ และ ตัวเลข เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นักเก็งกำไรที่ประสบความสำเร็จต้องมี นอกจากนักเก็งกำไรจะต้องสังเกตุให้แม่นยำเพียงอย่างเดียวแต่ต้องจำได้ตลอดเวลาถึงเรื่องที่เขาสังเกตุว่าเห็นอะไรบ้าง เขาไม่ควรเสี่ยงบนความไม่มีเหตุผลและความไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามความมั่นใจส่วนตัวอาจจะเกิดจากความไม่มีเหตุผลต่างๆหรือความไม่มั่นคงที่เขาอาจจะรู้สึกว่าสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เขาต้องเสี่ยงบนความน่าจะเป็น นั่นคือ การลองวิเคราะห์คาดการณ์ความเป็นไปได้ของมัน เวลาหลายปีแห่งการเรียนรู้และฝึกฝน การศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และการจำการเทรดของตัวเองได้จะทำให้เราสามารถตัดสินใจในการเทรดได้ทันที ถ้ามีเรื่องที่ไม่คาดคิดเข้ามา

ผมค้นพบว่าประสบการณ์เป็นเหมือนคนจ่ายเงินปันผลให้เราอย่างสม่ำเสมอในเกมการลงทุน และการสังเกตุก็เป็นการบอกข่าวที่ดีที่สุด พฤติกรรมของหุ้นเป็นสิ่งเดียวที่คุณต้องการ คุณต้องสังเกตุมัน จากนั้นประสบการณ์ก็จะแสดงให้คุณเห็นว่าคุณจะทำกำไรได้ยังไง

หน้าที่ของผมคือการเทรดที่ยึดติดกับข้อเท็จจริงมากกว่าไปคิดถึงเรื่องที่คนอื่นๆจะทำยังไงกับมัน

ผมมีความสนใจในทุกช่วงการลงทุนของผม และแน่นอนว่าผมเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นๆ เหมือนกับที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเอง

การศึกษาปัจจัยของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อโดยปราศจากเงื่อนไข หรือแม้กระทั่งเรื่องที่พวกเขายอมให้ตัวเองถูกจูงใจโดยความโลภหรือความไม่ใส่ใจคนอื่น ความกลัวและความหวังของคนเรายังคงเหมือนเดิมทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นการศึกษาเรื่องของจิตวิทยานักเก็งกำไรเป็นเรื่องที่มีค่าที่สุด

องค์ประกอบสำคัญของการประสบความสำเร็จในการเก็งกำไรมักจะขึ้นกับสมมุติฐานของคนที่จะทำผิดพลาดแบบเดียวกับที่พวกเขาเคยทำในอดีต

ยังมีอีกเยอะ เดี๋ยวถ้าพวกคุณไม่เบื่อเสียก่อน ผมจะทยอยเอามาขยายความให้อ่านอีก

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

Marios Stamatoudis สวิงเทรดปั้นพอร์ตโต 291.2% ในปีเดียว เขาทำได้อย่างไร?

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

Oliver Kell: วงจรของการเคลื่อนไหวของราคา (Cycle of Price Action)