การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

Image
เส้นทางสู่การเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" พัฒนาทักษะเพื่อรับมือกับการขาดทุนในการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพ เล่นหุ้นขาดทุน : ความเข้าใจผิดของมือใหม่ ในรูปแบบ  ebook    https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=240758 "การขาดทุน" เป็นเรื่องสำคัญที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญ ทุกคนอยากทำกำไรจากตลาด นั่นเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ นิสัยและทักษะที่จะช่วยให้คุณรักษาความสำเร็จนั้นได้ในระยะยาว หนึ่งในนิสัยที่สำคัญที่สุดก็คือ การเรียนรู้ที่จะเป็น "นักขาดทุนที่ยอดเยี่ยม" (Exceptional Loser) ระบบเทรดและการเทรดตามระบบ เบื้องต้นสำหรับมือใหม่... ในรูปแบบ ebook โดย เซียว จับอิดนึ้ง  https://www.mebmarket.com/?action=book_details&book_id=334986   ทำไมต้องเรียนรู้ที่จะ "แพ้" ให้เป็น? 1. กำไรใหญ่ก็ช่วยไม่ได้ถ้าขาดทุนหนัก การไล่ตามกำไรที่มากมายอาจดูน่าสนใจ แต่ถ้าคุณไม่รู้จักจัดการกับการขาดทุน กำไรนั้นก็อาจหายวับไปเพราะการขาดทุนครั้งเดียว 2. การขาดทุนคือส่วนหนึ่งของการเทรด ไม่มีนักเทรดคนไหนในโลกที่ชนะทุกครั้ง คุณต้องยอมรับค...

แกะเคส KTC ส่วนประกอบของแนวโน้มขาขึ้น

เพิ่งได้เห็นเพจอาจารย์โอ๊ค โพสต์เกี่ยวกับหุ้น KTC
ผมชอบงานแกนะ เก่งเลยคนนี้ สามารถเล่าเรื่องยากๆ ให้ฟังเข้าใจได้อย่าง่ายๆ เท่มากๆ

เมื่อคืนแกแกะงบหุ้นตัวนี้แบบลงลึก https://www.facebook.com/stocktold/videos/2314336335251126/
ทำให้ผมยิ่งศรัทธา ว่า smart money เขาคิดแบบนี้นี่เอง มืออาชีพและละเอียดยิบจริงๆ

และผมเกิดไปสะดุดตอนที่แกบอกว่า
ปีก่อนราคามันอยู่ที่ 9.5 บาท(ราคาหลังแตกพาร์) แล้วก็วิ่งรวดเดียวเป็น ๓ เด้ง!!
นี่มันเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ชัดๆ
ก็เลยเกิดความสนใจกราฟหุ้นตัวนี้ จึงลองกลับไปดูกราฟของมันอีกครั้ง

ปล. ต้องออกตัวก่อนว่า เป็นงานวิเคราะห์ย้อนหลังนะครับ
จะเขียนยังไง จะชี้ตรงไหน ยังไงก็ถูก

นี่เป็นกราฟ 3 ปีย้อนหลัง

ท่านเห็นจุดร่วมอะไรบ้างมั้ยครับ?
ที่ผมเห็นนะครับ คือมันวิ่งรอบใหญ่
จากกราฟกรอบ ๓ ปี สองปีก่อนหน้านั้น มันขึ้นแบบซึมๆ ในรูปแบบการสร้างฐาน
ก็มี ๑ ปีล่าสุดนี่แหละที่ราคายกไฮยกโลว์ ดีดขึ้นแรง บวก ๓ เด้ง!!


ถ้าเราจะหาสัญญาณเปลี่ยนเทรนด์ ก่อนที่จะเป็นขาขึ้นรอบใหญ่ มีอะไรที่น่าสังเกตบ้าง?
ดูรูปต่อไปครับ

๑) จุดสังเกตแรกคือราคาทำ All time high ครับ
๒) โดยก่อนหน้านั้น ราคาข้าม EMA50 ขึ้นไปได้(จากที่เคยมุดอยู่ใต้) แล้วย่อลงไปย่ำบน EMA50
๓) จากนั้นมันก็ดีดขึ้นไป  breakout ยอดเดิมขึ้นไปทำนิวไฮ  เป็นการยืนยันขาขึ้น
๔) จากนั้นมันก็วิ่งแรงทะลุไฮเดิม ทำ all time high
๕) พอข้ามไปได้ ก็เจอการขายเพื่อทดสอบ ราคาหลุดระดับ ath แต่ EMA50 รับได้
๖) พอเด้ง ก็ดีดขึ้นไปเรื่อยๆ ย่อแรงก็เด้งที่ EMA50 จนไปถึง 38 บาท

นี่เป็นส่วนประกอบของการเป็นขาขึ้นครับ
ซึ่งหุ้นทุกตัวต้องทำท่าแบบนี้
๑) ยืนยันขาขึ้น
๒) all time high
๓) ทดสอบไฮเดิม และเอาอยู่
๔) ดีดกลับขึ้นไป พอย่อก็เด้งที่เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน

เรามาดูจุดเปลี่ยนเทรนด์กันชัดๆอีกนิด

๑) การเปลี่ยนเทรนด์ก็เป็นไปตามสูตร คือหลังจากที่ราคาพักฐานแรง หลุด EMA50 ลงไป
จากนั้นก็ฟื้นตัวขึ้นมาด้วยการยกไฮยกโลว แบบยืนยันขาขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนอันดับแรก
๒) จากนั้น จุดเปลี่ยนที่สองก็คือ ราคาทะลุขึ้นไปทำ all time high
๓) ตรงนี้สำคัญกว่า คือหุ้นหลายตัวมักจะจบรอบเมื่อราคายืนเหนือระดับ all time high ไม่ได้ ซึ่ง KTC ก็ดูเหมือนว่าจะเอาไม่อยู่โดนกดให้ปิดหลุด
๔) แต่อีกวันแม้เริ่มต้นจะโดนขายให้ร่วงต่อ แต่ก็มีการซื้อคืนดันกลับไปปิดที่ระดับ All time high ได้
และจากนั้นก็ไม่มีอะไรหยุดเขาได้อีก

จุดซื้อที่ดี อยู่ตรงไหน?
๑) ดีที่สุดคือ ตอนยืนยันขาขึ้น ครับ
๒) ระดับ all time high เสี่ยงกว่า เพราะครั้งแรกมักจะไม่ผ่าน เพราะต้องเจอคนเล่นรอบขายแน่ๆ และมักจะไม่ผ่าน การรอราคาพักตัวเพื่อซับแรงขาย การข้ามไปรอบ ๒ จึงปลอดภัยกว่า เพราะมันได้บอกโลกแล้วว่า ต้องการไปต่อมากกว่าจบรอบ
๓) จากนั้น ก็รอดูการเด้งจากเส้นค่าเฉลี่ยครับ โดยเฉพาะ EMA50


ต่อมาอีกส่วนประกอบสำคัญของความเป็นขาขึ้น สำหรับหุ้น growth นั่นคือ EMA50
ทำไมเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันถึงมีนัยยะ?
ขอคัดเอามาจากหนังสือเล่มเขียวของผมเอง


กราฟของ KTC เราพบว่าพอมันเป็นขาขึ้น มันเคารพเส้น EMA50 ตลอดเลยว่ามั้ย
มาดูความสัมพันธ์ของมันไกล้ๆ

พอราคาข้าม all time high ไปแล้ว เป็นขาขึ้นรอบใหญ่ ตอนนี้มันเคารพ EMA50 หลายครั้ง
พอราคาย่อแรง ก็ไปหยุดแล้เด้งที่เส้นค่าเฉลี่ยนี้สามครั้ง
จากนั้นเมื่อได้ละเมิด ราคาเด้งขึ้นไปไม่สามารถทำนิวไฮได้ ก็โดนกดพรวด แท่งแดงยาว วอลุ่มทะลักล้น

ทีนี้ มีอีกประเด็นเกี่ยวกับการแตกพาร์
บางคนบอกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ราคาแตกพาร์ มักจะร่วงแรง จริงมั้ย?
ดู TASCO
หลังจากแตกพาร์ ก็โดนเช่นกันครับ
แต่ข้อดีของมันคืออะไรครับ?
มันลงไปเด้งที่ EMA50 เท่านั้นเอง ไม่หลุด
โน่นแหละ พอเลิกเคารพ ก็จบรอบเลย

สรุปคือ สายโมเมนตัม เขาจะใช้เส้นนี้เป็นตัวดูความแข็งแรงด่านสุดท้ายครับ
ถ้าหลุด พร้อมวอลุ่มโหดเนี่ย เขาถือว่าไม่น่ารอด ต้องหนีก่อน


แต่อย่างไรก็ตาม การหยุดลงครั้งนี้ มันดันไปเด้งที่ EMA200 พอดีเสียด้วยสิ ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นแนวรับทางจิตวิทยา หรือจะเป็นการเข้ารับซื้อของคนอีกกลุ่ม
อนาคตเท่านั้นที่เฉลย

ปล. เห็นช่วงที่ผมระบุว่าเป็น "ขาลง" นั้น มันเหมือน bear trap ในหนังสือเล่มเขียวมั้ยครับ?

ราคาจะไปไหนต่อ?
ผมไม่รู้หรอกครับ ไม่ใช่หมอดู
แต่ถ้าให้เดานะ ขอเดาตามประสานักเทคนิคอลมวยวัดว่า
ถ้าเกิดแท่งแดงยาว วอลุ่มสูงปรี๊ดขาดนี้(แม้ว่าจะเป็นวอลุ่มหลังแตกพาร์ก็ตาม) 
แม้ว่าวันต่อไปมันจะดีดขึ้น
แต่ผมมองว่ามันเข้าข่าย distribution แล้วล่ะ ไม่น่าจะจบสวย
เพราะต้องคิดต่อว่า ใครล่ะที่มีหุ้นเยอะขนาดนั้น เอามาขายจนฟลอร์ได้?
ไม่ใช่เทรดเดอร์ธรรมดาแน่นอนครับ

ปล...
อย่าเชื่อผมมาก ผมมั่ว ถ้าเดาถูกนะ
ป่านนี้ผมรวยไปแล้ว
ไม่มาโฆษณาขายหนังสือท้ายบทความอย่างนี้หรอก

--------------(โฆษณา)-----------------

7 บทความยอดนิยมในรอบ 30 วันที่ผ่านมา

คำคมเกี่ยวกับเคล็ดวิชาจากหนังเรื่อง กังฟูแพนด้า

(มือใหม่เล่นหุ้น) Wyckoff Logic ของดีที่เม่ามือใหม่เอาไปใช้ได้ง่ายๆ

VCP (Volatility Contraction Pattern) และรูปแบบที่คล้ายกัน

รวมแนวทางการนับคลื่นจากเซียน Elliott Wave

ชมฟรี! คอร์สหุ้น ออนไลน์ 170 คลิป จัดเต็ม ไม่มีกั๊ก Free Full Trading Course by Zyo

แชร์วิธีการหารายได้จากการช่วยขาย ebook ที่ mebmarket.com

อธิบาย Wyckoff Accumulation Phase แบบละเอียดยิบ